วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

(Part3 ) PA601: ทฤษฏีและแนวคิดด้านการเงินการคลังสาธารณะ โดย รศ.ดร.ภิรมย์ จั่นถาวร

-------------------------------------------------------------
14. ประมาณการรายได้ รายจ่าย ของรัฐ
-------------------------------------------------------------
o แสดงรายละเอียดที่เพียงพอ เพื่อการวิเคราะห์ ตรวจสอบ มีความชัดเจนโปร่งใส และเปรียบเทียบกับนานาประเทศได้
o แสดงแหล่งที่มาของรายได้ และรายรับ (รวมเงินกู้) รายจ่าย
o แสดงวงเงินงบประมาณ จำแนกตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนงานและกิจกรรมตัวชี้วัดผลสำเร็จ
o แสดงดุลงบประมาณ ดุลเงินสด และดุลบัญชีเดินสะพัดแยกจากกัน
o ระบุวิธีการจัดทำบัญชีเกณฑ์สิทธิ หรือเกณฑ์พึงรับพึงจ่ายที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล

-------------------------------------------------------------
15. ควบคุมและกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
-------------------------------------------------------------
o ระบบบัญชีต้องครอบคลุม สอดคล้องกับโครงสร้างระบบงบประมาณ
o การจัดซื้อ จัดจ้าง ต้องดำเนินตามแบบแผนมาตรฐาน
o ระบบการตรวจสอบภายในที่เชื่อถือได้ และปรับปรุงระบบการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ

-------------------------------------------------------------
16. การรายงาน ตรวจสอบและประเมินผล
-------------------------------------------------------------
o ต้องครอบคลุมและสอดคล้องกับโครงสร้างและระบบงบประมาณ
o มีการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนงบประมาณ
o ต้องมีรายงานให้องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ และสาธารณชนได้ทราบอย่างเป็นระบบ

-------------------------------------------------------------
17. การมีระบบการตรวจสอบองค์กรอิสระภายนอก
-------------------------------------------------------------
o ต้องได้รับการแต่งตั้งจากสถาบันนิติบัญญัติ
o ต้องมีความเป็นอิสระ
o ต้องครอบคลุมประเด็นนโยบายการคลังงบประมาณ

-------------------------------------------------------------
18. กรณีศึกษา > บรรทัดฐาน > งบยุงลาย
-------------------------------------------------------------
o ข้อเท็จจริง
สภาผู้แทนฯ พิจารณาอนุมัติให้ผ่านงบ ดำเนินการกำจัดยุงลาย เสนอโดยกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งไม่มีรายละเอียดประกอบการพิจารณา ทั้งในเรื่องวิธีการดำเนินการ การใช้จ่ายเงิน เพียงตั้งไว้ลอย ๆ ว่า เพื่อกำจัดยุงลาย

-------------------------------------------------------------
19. สรุปความเห็นการพิจารณาบรรทัดฐาน 3 ระดับ
-------------------------------------------------------------
o ระดับสูง: หลักธรรมาภิบาล ความชอบธรรม
> ประชาชนมิได้เสนอ
> ขาดการพิจารณากลั่นกรอง
o ระดับกลาง: วินัยทางการคลัง
> ไม่มีดุลยภาพ
> ไม่คำนึงหลักรับผิดชอบ
> ไม่โปร่งใส
o ระดับล่าง: หลักปฏิบัติถูกต้อง
> หน่วยงานขาดความรอบรู้
> ขาดความเข้าใจในวัสดุที่ใช้
> ขาดมาตรฐานการคลัง

-------------------------------------------------------------
20. แนวคิดของ Wick Sell
-------------------------------------------------------------
o หน้าที่และรายจ่ายของรัฐต้องมาจากการออกเสียงลงคะแนน (vote)
o การลงคะแนนต้องทำ 2 ครั้ง
> ครั้งแรกเพื่อเลือกตัวแทนของสังคม
> ครั้งที่สอง เพื่อให้มีการจัดกิจกรรม
o ผลการลงคะแนน ทำให้ทราบความต้องการของสมาชิกในสังคมว่าต้องการอะไร

-------------------------------------------------------------
21. ข้อสังเกตการทำตามแนวคิดของ Wick Sell
-------------------------------------------------------------
o เป็นการดำเนินการตามหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
o เป็นการใช้วิธีการของประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน
o ไม่ได้คำนึงถึงอำนาจต่อรองของสังคมซึ่งมีไม่เท่ากัน
o ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและเวลาเพื่อให้ได้มาซึ่ง Majority Vote จะสูงมาก เหมาะกับชุมชนขนาดเล็กเท่านั้น

-------------------------------------------------------------
22. แนวคิดของรัฐชาติ
-------------------------------------------------------------
o รัฐเป็นตัวตนที่แยกออกจากสมาชิกของรัฐ
o มีเจตจำนงและความต้องการเป็นของตนเอง
o ผลประโยชน์ของรัฐที่ถูกอ้างว่าเป็นความต้องการโดยรวมของสมาชิกของรัฐ
o รัฐทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นสาธารณะ ที่แตกต่างจากสินค้าหรือบริการเอกชน

-------------------------------------------------------------
23. คุณสมบัติของสินค้าสาธารณะ พิจารณาจาก
-------------------------------------------------------------
o ลักษณะที่แบ่งแยกไม่ได้ Non-excludability
o ลักษณะที่ไม่แข่งขัน Non- rival

-------------------------------------------------------------
24. หน้าที่ของรัฐในการสนับสนุนเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
-------------------------------------------------------------
o เป็นหน้าที่ที่เกิดขึ้นในภายหลังหรือเรียกว่ายุค Neo classic
o ทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
o มีระบบตลาดที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
o ระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีเสถียรภาพ
o มีความเจริญเติบโตในระดับที่เหมาะสม
o ควบคุมและกำกับดูแลให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
• มีการแข่งขันอย่างยุติธรรม
• ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ
• มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
o การควบคุมดูแลในลักษณะการเป็น Regulatory Body
• กำหนดกฎเกณฑ์การดำเนินการที่อยู่ในกรอบ
• ไม่เกิดการผูกขาด
• ไม่ให้เกิดการกำหนดราคาที่ไม่เป็นธรรม
o หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
• เพื่อตอบสนองและรองรับปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
o การรักษาเสถียรภาพ
•รัฐเข้าไปรักษาระดับของเศรษฐกิจไม่ให้เกิดความผันผวนมากกว่าที่ควรจะเป็น

------------------------------------------------------------- (End of Part 3)
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น