วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

PA617/717: สรุปเศรษฐกิจ การเมือง และการบริหาร

อ่านสรุป อ.สุรพงษ์ฯ โดยคุณครูน้องตาล ที่นี่ อ่านเรื่อง Soft power ได้จาก ลิงค์นี้ หรือ ที่นี่
-------------------------------------------------------------------
แนวข้อสอบ ดร.สุรพงษ์ฯ (เท่าที่พอจำได้ลางๆ)
1. จากที่ได้ศึกษาแนวคิดด้านการเมืองของ Aristotle ให้อธิบายความเป็นมาของการเมือง รวมทั้ง องค์ประกอบ แลความสำคัญในเชิงวิชาการโดยละเอียด
2. ให้เลือกนโยบายสาธารณะ 2 นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน แล้วเสนอแนวคิดว่ามีข้อดีข้อเสีย รวมทั้งความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ
-------------------------------------------------------------------
สรุป 30 กันยายน 2554
อาจารย์สุรพงษ์ ชัยนาม
อดีตเอกอัครราชฑูตเวียดนาม โปรตุเกส กรีซ เยอรมัน และแอฟริกาใต้
-------------------------------------------------------------------
สรุปเนื้อหา PA617/717: อ.สุรพงษ์ ชัยนาม
---------------------------------------
เนื้อหาที่บรรยายประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่
1.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2.โครงสร้างของอำนาจในแต่ละยุค แต่ละสมัยของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.มิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับผลประโยชน์ระหว่างประเทศและอำนาจ
4.นโยบายต่างประเทศหรือการฑูต
5.ASEAN (สมาคมเพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค)
6.เศรษฐศาสตร์การเมืองหรือเศรษฐกิจการเมือง
---------------------------------------
1.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและความร่วมมือ หรือสงครามและสันติภาพระหว่างประเทศ โดยมีอำนาจและผลประโยชน์เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายและท่าทีของแต่ละประเทศ เป็นปรากฎการณ์ประจำที่เกิดขึ้นเสมอๆ โดยอำนาจเกิดจากทรัพยากรของประเทศ ได้แก่ ทหาร ศักยภาพของคนในประเทศ และอื่นๆ

อนาธิปไตย (Anarchic World) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าสมัยใด คือ ตัวใครตัวมัน ไม่ขึ้นต่อใคร ใน 193 ประเทศทั่วโลกนี้ ไม่มีประเทศไหนสั่งการหรือบงการให้อีก 192 ประเทศทำตามได้ นั่นคือ
- ไม่มีตำรวจโลก
- ไม่มีรัฐบาลโลก
- เรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติเป็นปัจจัยชี้ขาดในการกำหนดนโยบายและท่าที

ทุกประเทศต่างดูแลผลประโยชน์และความมั่นคงปลอดภัยของตนเอง ธรรมชาติของประชาธิปไตยต้องมีความขัดแย้งเสมอ

พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกิดจากแนวคิด 3 สำนัก ได้แก่
-----------------------------------------------------------------
1) สัจจนิยม (Realism) เชื่อว่ารัฐ(รัฐบาล)เท่านั้นที่จะชี้ขาดทุกอย่างว่านโยบายจะเป็นอย่างไร ท่าทีของประเทศจะเป็นอย่างไร ส่วนตัวแสดงอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบย่อยๆ อยู่ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐ

การวิเคราะห์หรือประเมินว่า ประเทศใดมีพฤติกรรมอย่างไร ให้ดูที่ธรรมชาติของมนุษย์ เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่ตายตัว มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายหรือท่าทีของแต่ละประเทศ เพราะรัฐบาลก็คือมนุษย์ และมนุษย์มีกิเลศและตัณหา

รัฐ ประกอบด้วย ดินแดนหรืออาณาเขต ประชากร รัฐบาล และทรัพยากร

โดยธาตุแท้แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจากการต่อสู้เพื่อผลประเทศของประเทศ โดยมีกลไกควบคุมไม่ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือ ทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ระหว่างกันและกัน จึงเกิดเครื่องช่วยดูแลผลประโยชน์ของประเทศขึ้น ได้แก่ กำลังทหาร การสร้างพันธมิตร อแนวร่วม และการรวมกลุ่ม

2) เสรีนิยม (Liberalism) เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนล้วนมีเหตุมีผล ไม่เห็นแก่ตัวไปทุกเรื่อง เมื่อรู้ว่าตนเองผิดพลาดก็พร้อนมที่จะปรับปรุงแก้ไขหรือประณีประนอมโดยมีเหตุมีผล และให้ความสำคัญกับอิทธิพลความคิดของมนุษย์ โดยไม่พึ่งการใช้กำลัง ใช้คิดคิดเสมือนเป็นอาวุธ
- มองความสัมพันธ์ว่า ไม่ใช่เป็นความขัดแย้ง
- โดยธรรมชาติของมนุษย์มีโอกาสทำชั่วมากกว่าทำดี

ดังนั้น รัฐจึงเป็นหลักในการกำหนดนโยบาย แต่ส่วนอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน ได้แก่ ภาคประชาสังคม ซึ่งรัฐจะเข้าแทรกแซงหรือบงการไม่ได้เรียกหลักการนี้ว่า การมีส่วนร่วม (รัฐ+ประชาสังคม) ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างประเทศ

สรุป: แนวคิดนี้มาจากความคิดที่มองว่า มีความซับซ้อนเกี่ยวกับการต่อรองระหว่างประเทศ มีตัวแสดงที่หลากหลาย (รัฐ+ประชาสังคม) มองการสร้างระเบียบโลกใหม่ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการปฏิสัมพันธ์ในหลายๆ ระดับ (ภาครัฐ เอกชน การศึกษา NGO สื่อมวลชน ฯลฯ) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีประเพณีหรือค่านิยมร่วมกัน มีกฎข้อบังคับร่วมกัน มีองค์กรหรือสถาบันระหว่างประเทศ เน้นส่งเสริมความร่วมมือกัน

3) มาร์กซีส (Marxist) มองเรื่องของความขัดแย้งระหว่างประเทศ ว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เกิดจากชนชั้นเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความขัดแย้ง (นายทุน และกรรมาชีพ) โดยชนชั้นไม่มีเชื้อชาติ สัญชาติ หรือประเทศในระดับโลกจะอยู่ภายใต้ความครอบงำของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ ทุนนิยมโลก ทั้งชนชั้นนายทุนและกรรมาชีพจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลกันและกัน

มนุษย์ในสังคมพัฒนามาจากระบบทาส --> ศักดินา --> ทุนนิยม --> คอมมิวนิสต์

ทุนนิยม มองการสะสมทุนและแสวงหากำไร

เมื่อทั้งสองชนชั้นมีความขัดแย้งมากขึ้น ก็จะนำไปสู่การปฏิวัติ แล้วนำไปสู่การจัดชนชั้นใหม่ในแบบไม่มีชนชั้น กล่าวคือ อำนาจของชนชั้นนายทุน ก็มาเป็นอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพ แล้วก็จะเกิดการขจัดอำนาจให้หมดไปจนไม่มีการแบ่งชนชั้น

2.โครงสร้างอำนาจในแต่ละกลุ่ม แต่ละสมัยของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
-----------------------------------------------------------------------
1) ยุคก่อนโลกาภิวัฒน์ (ก่อนการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน) ช่วง คศ.1945-1989 โครงสร้างอำนาจมี 2 ขั้ว ได้แก่ ค่ายเสรี และ ค่ายคอมมิวนิสต์ ลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบการต่อสู้ของลัทธิอุดมการณ์ จ้องทำลายกันเพื่อเอาชนะกัน มีความขัดแย้งรุนแรง เป็นความขัดแย้งทางลัทธิการเมือง

2) ยุคหลังโลภาภิวัฒน์ (หลังการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน) หลัง ค.ศ.1989-ปัจจุบัน โครงสร้างอำนาจเกิดการเสียสมดุลย์อำนาจ เหลือเฉพาะค่ายเสรี เกิดการพัฒนาออกเป็นหลายๆ กลุ่ม เป็นโลกหลายขั้ว เกิดการถ่วงดุลย์อำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ เป็นการเมืองแบบเสรี หรือประชาธิปไตยแบบเสรี ไม่มีการเผชิญหน้า เกิดองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคต่างๆ ขึ้น เช่น ASEAN

กลุ่มอำนาจหลัก 5 กลุ่มที่มีการถ่วงดุลย์ระหว่างกันและมีผลต่อความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ในโลกนี้ ได้แก่ US, EU, Japan, China และ BRIC (Brazil, Russia, India, China)
--------------------------
Tai

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

PA616/716: สัมมนานโยบายและการจัดการสาธารณะ

ถึงเพื่อน รป.ม. 3/1 รามคำแหง หัวหมาก และวิทยาเขตอื่นๆ ทั่วประเทศ
และแล้วการรวบรวมข้อมูลเตรียมสอบจากกลุ่มวิชาการของห้อง 3/1 ก็เริ่มขึ้น ณ บัดนี้ (อาจช้าไปหน่อยเพราะงานยุ่งมากกกก)
แต่เพื่อนๆ 3/1 สามารถเข้าหาข้อมูลได้จากเมล์กลางของเราที่ yahoo! ได้ทุกเวลา
-----------------------------
1. PA616/716: อ.เดช-1
2. PA616/716: อ.เดช-2 by Tarl
3. PA616/716: อ.เดช-2 by Kim
4. PA616/716: 30 Bath
5. PA616/716: 30 Bath-2
6. PA616/716: Free study 15 year
7. PA616/716: One million bath One Village
8. PA616/716: Public policy-1
9. PA616/716: Public Policy-2
10. PA616/716: Thailand reform reccommendation by คปร.
------------------------------
แหล่งอ้างอิง: ข้อมูลจากเมล์กลางโดย ประธานโต พี่วาสและทีมวิชาการ รวมทั้งเพื่อน 3/1 ผู้เสียสละเวลาอันมีค่าทุกๆ ท่าน
ขอให้โชคดี ได้ A กันทุกๆ คนนะครับ
------------------------------
สรุปแนวสอบจริง เท่าที่จำได้ลางๆ (แบบมั่วนิดหน่อย) มี 2 ข้อ หลัก และ ข้อย่อย (อาจารย์ 2 คน) ประมาณนี้
1. ตามที่ได้ศึกษานโยบายสาธารณะมาแล้ว (ที่แบ่งกลุ่มแสดงละคร) ท่านคิดว่า
1.1 นโยบายนี้มีที่มา(บริบท) และวัตถุประสงค์อะไร ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร ควรทำต่อหรือไม่
1.2 ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ กลุ่มผลประโยชน์ กรรมการกองทุน และสมาชิกเกี่ยวข้องอะไรบ้างกับนโยบายนี้
1.3 ตัวชี้วัดและผลสำเร็จของนโยบายนี้
1.4 ให้ใช้ตัวแบบเชิงระบบอธิบายนโยบายนี้
2. จากข้อเสนอแนะของ คปร. ท่านคิดว่า...
2.1 เรื่องใดสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด
2.2 หากเป็นผู้กำหนดนโยบายจะกำหนดนโยบายอะไร อย่างไร
2.3 ใครเป็นมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบายที่กำหนดดังกล่าว ได้อะไร/เสียอะไร
------------------------------
(หมายเหตุเท่าที่จำได้นะ แนวตอบก็ตามข้อมูลข้างต้น 1-10)
Tai