วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

(Part1 ) PA601: ทฤษฏีและแนวคิดด้านการเงินการคลังสาธารณะ โดย รศ.ดร.ภิรมย์ จั่นถาวร

เป็นส่วนหนึ่งของการบรรยายหัวข้อ “ขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฏี รัฐประศาสนศาสตร์”

ประวัติผู้บรรยาย
ชื่อ : ร.ศ. ดร.ภิรมย์ จั่นถาวร
การศึกษา :
เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
M.A. UNH USA.
PH.D OSU USA
ประสบการณ์ :
อาจารย์ประจำ / พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยราชภัฏโคราช
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
มหาวิทยาลัยปทุมธานี
วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
--------------------------------------------
1. หัวข้อการบรรยาย
--------------------------------------------
o ความหมายของการคลังสาธารณะ
o บรรทัดฐานการบริหารงานคลัง
o กรณีตัวอย่าง บรรทัดฐานการคลัง
o หน้าที่ของรัฐ
o ในการจัดบริการสาธารณะ
o ในการสร้างความเท่าเทียมกันและความเป็นธรรมในสังคม
o ในการสนับสนุนเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
o หลักการบริหารรายจ่ายภาครัฐ
o รายได้ของรัฐบาล
o หลักการจัดเก็บภาษีที่ดี
o คำถามท้ายหัวข้อการบรรยาย

--------------------------------------------
2. ความหมาย > การคลังสาธารณะ
--------------------------------------------
ความหมาย
บทบาทและหน้าที่ของรัฐในการกำหนดรายรับ-รายจ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของรัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
การศึกษา
ใช้หลักการทั้ง positivism และ Normativism

--------------------------------------------
3. แนวคิด > การบริหารงานคลัง
--------------------------------------------
o ธรรมาภิบาล
o วินัยทางการคลัง
o ความโปร่งใส
o ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
o ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร

--------------------------------------------
4. ระดับ > แนวคิด
--------------------------------------------
o ระดับสูงสุด > ธรรมาภิบาล
o ระดับกลาง > วินัยทางการคลัง
o ระดับล่างสุด หรือ ระดับปฏิบัติการ > หน้าที่และรายจ่ายของรัฐ

--------------------------------------------
5. ธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐ
--------------------------------------------
o รัฐที่ดีควรมีลักษณะความเป็น Participatory Democracy มากกว่า Authoritarian
o การเป็น Good Governance ในทางการคลัง และ ต้องได้รับการยินยอมจากประชาชนผู้เสียภาษี

--------------------------------------------
6. วินัยทางการคลัง
--------------------------------------------
o การรักษาดุลยภาพระหว่างรายได้กับรายจ่าย หรือดุลทางการคลังเอาไว้ได้
o ความได้รับความเชื่อถือในกระบวนการทางการคลังจากประชาชน ในด้านรายได้ รายจ่าย และการเงินการบัญชี

--------------------------------------------
7. องค์ประกอบ วินัยทางการคลัง > ด้านรายได้
--------------------------------------------
o มีระบบการประมาณการรายได้และการจัดเก็บที่น่าเชื่อถือ
o ตัวเลขที่ประมาณการและตัวเลขจริงต้องใกล้เคียงกัน
o มีวิธีการและกระบวนการในการจัดเก็บรายได้ที่มีประสิทธิภาพ

--------------------------------------------
8. องค์ประกอบ วินัยทางการคลัง > ด้านรายจ่าย
--------------------------------------------
o ควบคุมการใช้จ่ายในกรอบของงบประมาณที่กำหนด
o มีการประมาณการรายจ่ายครอบคลุมทุกประเภท
o ต้องน่าเชื่อถือ
o การบริหาร การเบิกจ่าย การก่อหนี้ผูกพัน ต้องสอดคล้องกัน

--------------------------------------------
9. องค์ประกอบ วินัยทางการคลัง > ด้านการเงินการบัญชี
--------------------------------------------
o ดูแลการรับ การจ่ายเงิน การก่อหนี้ผูกพัน
o ต้องมีการปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
o ป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดการคอรัปชั่น
o ต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และตรวจสอบได้

--------------------------------------------
10. เกณฑ์มาตรฐานการบริหารการคลังภาครัฐ
--------------------------------------------
o กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบขององค์กรภาครัฐให้ชัดเจน
o การเปิดเผยข้อมูลทางการคลังต่อสาธารณชน
o การมีระบบงบประมาณแบบเปิด
o การมีระบบการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระจากภาคนอก

--------------------------------------------
11. บทบาทและความรับผิดชอบขององค์กรภาครัฐ
--------------------------------------------
o ขอบเขตความรับผิดชอบในระบบเศรษฐกิจ สังคมต้องชัดเจน
o สาธารณชนมีความเข้าใจอย่างถูกต้อง
o ต้องเปิดเผย การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
o มีระเบียบวิธีการที่ชัดเจน ไม่เลือกปฏิบัติ
o จัดแบ่งภารกิจภายในภาครัฐบาล ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการให้ชัดเจน
o ต้องมีกลไก และขั้นตอนการประสานงานและการบริหารกิจกรรมทั้งในและนอกระบบงบประมาณที่ชัดเจน
o มีหลักกฎหมายและแบบแผนการเนินงานที่ชัดเจน
o ยึดหลักกฎหมายที่ครอบคลุม และดำเนินการโดยชอบ
o จัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม ค่าบริหารโดยมีกฎหมายรองรับ และเข้าใจง่าย
o เปิดโอกาสให้พนักงานรัฐใช้ดุลพินิจน้อยที่สุด
o มีจริยธรรมและวินัยของผู้ปฏิบัติงานในภาครัฐชัดเจน และเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ และเข้าใจทั่วถึง
-------------------------------- (end of part 1)
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น