วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นิ้ง (วิชาการ): Circular flow, GDP, GNP

Circular flow (กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ)
เป็นแบบจำลองเศรษฐกิจแสดงกระแสการหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องของรายได้สินค้าและเงินที่หมุนเวียนระหว่างครัวเรือน หน่วยธุรกิจ สถาบันการเงิน ภาครัฐบาลและต่างประเทศ ประกอบด้วย ตลาดสินค้าและบริการ ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดการเงินและตลาดต่างประเทศลักษณะการหมุนเวียนอธิบายได้ ดังนี้

สมมติว่าระบบเศรษฐกิจที่จะพิจารณามีเพียงฝ่ายครัวเรือนและหน่วยธุรกิจเท่านั้นในตลาดสินค้าและตลาดปัจจัยการผลิต ครัวเรือนในฐานะที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต "ขาย"ปัจจัยการผลิตให้แก่หน่วยธุรกิจรายได้ที่เกิดจากการขายปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ จะอยู่ในรูปของค่าจ้าง ค่าเช่าดอกเบี้ย และกำไร

จากนั้นครัวเรือนจะนำรายได้ไปซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตโดยหน่วยธุรกิจหน่วยธุรกิจซึ่ง "ซื้อ"ปัจจัยการผลิตจากครัวเรือนจะนำปัจจัยดังกล่าวไปผลิตสินค้าหรือบริการแล้วขายให้กับครัวเรือนต่อไปปัจจัยการผลิตและสินค้ารวมทั้งบริการจะหมุนเวียนในทิศทางหนึ่งรายได้ของปัจจัยการผลิตและค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าก็จะหมุนเวียนในอีกทิศทางหนึ่ง

กระแสการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นเป็นแบบจำลองอย่างง่ายๆเราอาจสร้างแบบจำลองแสดงกระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่สลับซับซ้อนมากขึ้นและใกล้กับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น โดยเพิ่มองค์ประกอบของภาครัฐบาลสถาบันการเงินที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างการออมและการลงทุนรวมทั้งการติดต่อทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศดังปรากฏในรูปข้างต้น

คัดลอกบางส่วนจากบทความ https://finance.myfirstinfo.com/Vocab.aspx?Word=67&Id=7843

จากความสัมพันธ์ระหว่างภาคเศรษฐกิจต่าง ๆโดยเฉพาะความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างการทำหน้าที่ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในฐานะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ผลิต และฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้ใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆจะเห็นว่ากิจกรรมที่เชื่อมโยงภาคเศรษฐกิจทั้งสองเข้าด้วยกัน คือ ภาคครัวเรือนให้ใช้ปัจจัยแรงงาน ที่ดิน ทุน และผู้ประกอบการ ได้รายได้เป็น ค่าจ้าง ค่าเช่าดอกเบี้ย และกำไรเมื่อรวมรายได้ทุกประเภทของเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมดที่มีส่วนร่วมในการผลิตเรียกว่า " รายได้ประชาชาติ "ซึ่งจะนำไปใช้จ่ายเพื่อซื้อผลผลิตที่อยู่ในรูปของสินค้า และบริการต่าง ๆจากภาคธุรกิจ

เพราะฉะนั้นถ้าหากมองความสัมพันธ์อย่างง่าย ๆ จะเห็นว่า " รายได้ประชาชาติ "จะเท่ากับ " ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ "และจะต้องเท่ากับ "มูลค่าของผลผลิต " อีกด้วย เช่นคนในครอบครัวไปซื้อของที่ตลาดเสียเงินไปหนึ่งร้อยบาทก็จะต้องได้สินค้าที่มีมูลค่าหนึ่งร้อยบาทกลับมาใช่ไหม แล้วขอถามต่อว่าแล้วคนในครอบครัว เอาเงินมาจากไหน คำตอบก็คือได้มาจากการขายปัจจัยการผลิตในภาคธุรกิจซึ่งมีผลตอบแทนมาหนึ่งร้อยบาทเท่ากับปัจจัยการผลิตของเรา ที่ให้เขาเอาไปใช้นั่นเองดังนั้น จะคิดมูลค่าของ " รายได้ "หรือ " ค่าใช้จ่าย "หรือ " มูลค่าผลผลิต "มันก็ต้องเป็นจำนวนเท่ากัน

ผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (National Product) หมายถึง มูลค่าทั้งหมดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Goods and Services) ที่ผลิตขึ้นในระบบเศรษฐกิจและทำการซื้อขายกันในตลาดในรอบหนึ่งปี คำว่า " ขั้นสุดท้าย "คือ สินค้าหรือบริการต่าง ๆที่ถูกนำไปบริโภคเป็นขั้นสุดท้ายโดยไม่นำเอาไปทำหรือเป็นส่วนประกอบของสินค้าและบริการอะไรต่อไปอีก เช่น ลำใยพอชาวสวนนำออกจากไร่ ก็ต้องนำออกมาจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลางและลำใยก็ต้องเดินทางมายังตลาดผลไม้ เพื่อให้เราได้รับการบริโภคโดยการซื้อมารับประทานนั่นคือการบริโภคขั้นสุดท้าย แต่อีกทางหนึ่งก็คือไปซื้อมาเพื่อทำการผลิตส่งโรงงานเพื่อทำการแปรรูปเราจะไม่นับว่าเป็นมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เพราะถือว่ายังไม่ใช่การบริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งการใช้ลำใยลงไปในกระป๋องเราจะถือว่าลำใยเป็นสินค้าขั้นกลาง (Intermediate goods) คือยังไม่ไปถึงขั้นของการบริโภค อย่างไรก็ตาม สินค้าและบริการต่าง ๆในผลิตภัณฑ์ประชาชาติ จะนับเฉพาะสินค้าและบริการที่นำไปบริโภคในขั้นสุดท้ายเท่านั้น

สำหรับคำว่า " รอบระยะเวลาหนึ่งปี "หมายความถึง 1 ปี ในรอบระยะเวลาปฏิทิน นั่นก็คือ 1 มกราคมถึง 31 ธันวาคม นั่นเอง

ความสัมพันธ์ของการดำเนินในการผลิตการบริโภค ระหว่างภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ คือ รายได้ ต้องเท่ากับ ค่าใช้จ่ายและเท่ากับ มูลค่าผลผลิต เพราะสามารถนำไปวัดเป็นผลิตภัณฑ์ประชาชาติได้ซึ่งการคำนวณมูลค่าผลิตภัณฑ์มาจาก 3 ทาง คือ
1. คำนวณจากด้านผลิตภัณฑ์ (Product Approach)
2. คำนวณจากด้านรายได้ (Income Approach)
3. คำนวณจากด้านค่าใช้จ่าย (Expenditure Approach)

GDP ย่อมาจากคำว่า Gross Domestic Product ภาษาไทยแปลว่า" ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น "หรือ " ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ "หมายถึงมูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศในรอบปีหนึ่งโดยไม่ต้องสนใจว่าเจ้าของปัจจัยการผลิตจะเป็นคนไทยหรือไม่ถ้ามาทำธุรกิจในอาณาเขตประเทศไทยแล้วจะต้องเหมารวมเป็น GDP ของไทยทั้งหมด

GNP ย่อมาจากคำว่า Gross National Product ภาษาไทยแปลว่า " ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น "หรือ " ผลิตภัณฑ์ประชาชาติมวลรวม "หมายถึงมูลค่าเบื้องต้นของผลผลิตที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตของชาติในรอบหนึ่งปีโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะผลิตที่ใดในโลก เช่น GNP ของไทย คือมูลค่าเบื้องต้นของสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตโดยปัจจัยการผลิตของไทย (ที่ดินแรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ ทุกอย่างต้องเป็นของไทย)โดยจะเป็นการผลิตภายในอาณาเขตของประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม

คัดลอกบางส่วนจากบทความ http://www.fpo.go.th/S-I/Source/Article/Article41.htm

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด
--------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น