วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุป PA601: การคลังสาธารณะ (Part I)

บทที่๑ ความหมายของการคลังสาธารณะ
เป็นศาสตร์การคลังมุ่งเน้นศึกษาเนื้อหาสาระเกี่ยวกับหน้าที่ทาง ศ. ของรัฐและมาตรการทางการคลังต่างๆทั้งด้านรายรับ-รายจ่ายให้บรรลุผลตามเป้าหมายทาง ศ. ทางศิลป์คือการกำหนดนโยบายและการดำเนินการทางด้านการคลังและการเงิน การจัดหารายได้ เงินคงคลังและการก่อหนี้รวมถึงการใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่งมีผลกระทบต่อระบบ ศ.ของประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายที่รัฐต้องการ กิจกรรมทางการคลัง-เพิ่ม คือ การซื้อ การให้ความช่วยเหลือ การให้กู้ ลด คือ การขาย การเก็บภาษี การกู้เงินกิจกรรมการคลังเป็นการควบคุมให้เกิดความสมดุลทางด้านการเงินในระบบเศรษฐกิจมิให้มีมากหรือต่ำเกินไป ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับสถานการณ์
(หมายเหตุ: ศ. ย่อมาจาก เศรษฐกิจ)
------------------------------------
บทที่ ๒ ระบบการคลัง( ทฤษฎีระบบมาวิเคราะห์) หน้าที่และความรับผิดชอบ

๑.จัดหารายได้ จัดเก็บภาษีรวมทั้งที่ไม่ใช่รายได้เช่นการขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ ค่าธรรมเนียมโดย ก.การคลัง(กรมสรรพากร ศุลกากร สรรพสามิต)
๒.จัดสรรงบประมาณรายจ่าย สำนักงบประมาณจัดสรรให้หน่วยงานต่างๆที่มีกิจกรรมอันอยู่ภายใต้ขอบเขตหน้าที่ โดยจัดลำดับความสำคัญ ความจำเป็นสูงและสอดคล้องกับสถานการณ์
๓.งานด้านการเบิกจ่ายและบริหารเงินสด (กรมธนารักษ์)เพื่อไม่ให้ขาดแคลนเงินสดหรือขาดมือ ต้องดูแลไม่ให้มีมาก/น้อยเกินไป ถ้ามีมากก็เสียโอกาสในการหารายได้ ถ้าน้อยเกินไปก็ติดขัดไม่สามารถเบิกจ่ายตามข้อผูกพันได้
๔.งานด้านการวางแผนพัฒนา ศ. เป็นการกำหนดทิศทางและจัดลำดับความสำคัญของนโยบายด้าน ศ. ของรัฐ ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างรายได้/รายจ่ายโดยเฉพาะการจ่ายงบด้านการพัฒนา ศ. และสังคมต้องสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจ
๕.งานด้านการตรวจสอบ สตง. รัฐสภา ประชาชน สื่อมวลชนและพรรคการเมือง 1)หลังจากมีการใช้จ่ายก็ต้องตรวจสอบว่าเป็นไปตามระเบียบ วัตถุประสงค์ ความถูกต้องตามระเบียบแบบแผน เช่น การลงบัญชี การจัดซื้อวัสดุ โดยมุ่งเน้นหาการทุจริตของ จนท. 2)ประสิทธิภาพ เกี่ยวกับผลงานกับค่าใช้จ่าย โดยให้ได้ผลงานแต่เสียเงินน้อย อาจจะวัดในลักษณะร้อยละ 3)ประสิทธิภาพ ถึงแม้จะเสียค่าใช้จ่ายมากแต่ผลงานเป็นสิ่งสำคัญ ด้านนี้จึงต้องพิจารณาว่าผลของงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
----------------------------------
บทที่ ๓ เศรษฐกิจกับการคลัง
-----------------------------------------
ระบบ ศ. หมายถึง กลุ่มของสถาบันทาง ศ. (Economic institutions) ซึ่งกระทำกิจกรรมต่างๆคล้ายคลึงกันเพื่อบรรลุเป้าหมายของกลุ่ม สถาบันทาง ศ. ประกอบด้วย สถาบันการผลิต การค้า การเงิน การธนาคาร ฯ โดยจะกำหนดกิจกรรมทาง ศ. ว่าจะผลิตอะไร กรรมวิธีใด และแจกจ่ายให้ใคร

หน่วยงาน ศ.
1.ครัวเรือน(House hold) เป็นหน่วย ศ. ประกอบด้วยบุคคลหนึ่งหรือมากกว่า อาศัยอยู่ภายใต้หลังคาเรือนเดียวกัน ตัดสินใจร่วมกันในการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตเพื่อให้เกิดประโยชน์
2. ธุรกิจ(Business) บุคคลหรือกลุ่มบุคคลทำหน้าที่นำเอาปัจจัยการผลิตมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและบริการ นำไปขายให้แก่ผู้บริโภค แสวงหากำไรสูงสุด
3.องค์กรรัฐบาล (Government agency) คือ หน่วยงานของรัฐหรือส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการของรัฐ มีทั้งฝ่าย นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ มีหน้าที่ปกครอง ดูแล รับผิดชอบระบบเศรษฐกิจ

ระบบ ศ.
1. เสรีนิยม (ทุนนิยม) เปิดโอกาสให้เอกชนมีสิทธิ์ในทรัพยืและปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการเลือกอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย กลไกราคาหรือระบบการตลาดเป็นตัวกำหนดว่าจะผลิตอะไร การแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญ ข้อดี จูงใจในการทำงาน มีอิสระ รัฐไม่เข้าไปแทรก ไม่เกิดราคาดุลยภาพ กำหนดราคาตามใจ ข้อเสีย มีการเอารัดเอาเปรียบ มีการลดต้นทุน มือใครยาวสาวได้สาวเอา
2. สังคมนิยม ธุรกิจเป็นของรัฐ ว่าจะผลิตอะไร เท่าไรราคาใด ปริมาณ ระบบนี้จะเน้นเรื่องสวัสดิการประชาชนเป็นส่วนใหญ่ ข้อดี ประชาชนได้รับสิทธิพื้นฐาน ข้อเสีย ขาดแรงจูงใจ กฎ ระเบียบเคร่งครัด มีการเก็บภาษีสูง ไม่มีการพัฒนา
3. แบบผสม เอกชนมีสิทธิในทรัพย์สินบางอย่างมีการแข่งขันแบบเสรีนิยม ผู้บริโภคมีสิทธิเลือก แต่บางประเภทรัฐก็เข้ามาควบคุมดำเนินการ ความสำคัญในระบบ ศ. ครัวเรือนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตขายให้หน่วยธุรกิจเพื่อนำมาผลิตสินค้า โดยได้รับผลตอบแทนในรายได้ ค่าเช่า แต่ประชาชนก็นำรายได้ไปซื้อสินค้าของธุรกิจกลับมา หากประชาชนและธุรกิจมีการออมเพื่อสะสมทุนโดยฝากกับสถาบันการเงิน ในขณะเดียวกันธุรกิจบางครั้งก็ต้องนำเงินมาลงทุน ก็ต้องกู้ยืม หรือประชาชนต้องกู้ยืมมาบริโภคก็ต้องมีการกู้ยืม

นอกจาก 3 ระบบนี้แล้ว กลไกของระบบ ศ.ยังเกี่ยวข้องกับรัฐบาลอีกโดยรัฐบาลเก็บภาษีจากประชาชนและธุรกิจ เท่ากับเป็นการเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากเอกชนมาสู่รัฐ การจัดเก็บจึงส่งผลกระทบต่อระบบ ศ. รัฐจึงสามารถใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการหาแหล่งรายได้ เป็นเครื่องมือดำเนินการทาง ศ. เมื่อรัฐมีเงินรายได้จากภาษี ก็นำเงินมาใช้จ่ายผลิตสาธารณูปโภค และสิ่งสาธารณะที่จำเป็น เช่น การศึกษา สาธารณสุข การใช้จ่ายของรับก็จะกลับเข้าสู่ระบบ ศ. กลับสู่ประชาชนและธุรกิจ เพราะรัฐต้องซื้อปัจจัยการผลิตจากประชาชน เช่น แรงงาน และซื้อสินค้าจากธุรกิจ บางครั้งรัฐก็มีรายได้ไม่พอก็ต้องหากู้ยืมจากประชาชน สถาบัน เมื่อครบกำหนดชำระ การยืมของรัฐจึงเป็นเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญส่งผลกระทบต่อ ศ. โดยรวม นอกจากนี้ในระบบเปิดยังคงมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ บางครั้งการกู้จากในประเทศไม่พอก็ต้องกู้จากต่างประเทศ
-----------------------------------------
บทที่ ๔ เป้าหมายพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
-----------------------------------------
1.ความเติบโตหรือความก้าวหน้าทาง ศ. (Growth) สำคัญมาก เพราะทุกประเทศทุกสังคมต่างหวังให้ตนเองก้าวหน้าโดยเฉพาะด้าน ศ. ซึ่งหมายถึงการเพิ่มขึ้นของผลผลิตทั้งการลงทุน การผลิต การบริโภค เมื่อมีเพิ่มจะเห็นว่ามีการจัดสรรทรัพยากร หากตรงข้ามระบบ ศ. มีการลงทุน การผลิต การบริโภคน้อยลงแสดงถึงภาวะล้มเหลว ประชาชนและรัฐจะอยู่ด้วยความลำบาก ความเจริญวัดได้จาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติGross Nation Product ว่าเพิ่มในอัตราเท่าใดเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา GDP หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการที่ประเทศสามารถผลิตและขายในระยะเวลา ๑ ปี วิธีการคำนวณคือคำนวณจากด้านรายจ่ายY =C+I+G+(X-M) C=การใช้จ่ายซื้อสินค้า/บริการของผู้บริโภค I=การใช้จ่ายภาครัฐในสินค้าทุน G=การใช้จ่ายของรัฐในการซื้อสินค้า/บริการX=มูลค่าการส่งออก M=มูลค่าสินค้านำเข้า หากปีใดประเทศสามารถผลิตสินค้าได้มากแสดงว่าประชาชนกินดีอยู่ดี ก้าวหน้ามีค่าครองชีพสูง นอกจากนี้ยังต้องพิจารณารายได้ต่อหัวประชากร อัตราการเพิ่มของประชาชน และระดับราคาสินค้าหรืออัตราเงินเฟ้อ
2.ความมีเสถียรภาพทาง ศ. (Stability) วัฏจักรจะมีช่วงรุ่งเรือง การผลิตและการบริโภคไม่เกิดปัญหาประชาชนก็สุขสบาย จากนั้นสักระยะหากภาวะ ศ. เริ่มถดถอย จนกระทั่งตกต่ำ เป็นช่วงที่ระบบ ศ. เกิดปัญหา การผลิต การบริโภค การลงทุนชะลอตัว และมีการดำเนินการแก้ไขต่างๆ ศ. ก็เริ่มฟื้นตัว จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเฟื่องฟู
3.ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทาง ศ. (Equity) เพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็น หน้าที่ของรัฐจึงต้องกระจายรายได้ จัดให้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นธรรมและเสมอภาค
4.เสรีภาพทาง ศ. (Freedom) หมายถึงเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการ ในการผลิต/ประกอบการ ในการดำเนินการในระบบ ศ. ของสังคมนั้น ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเมืองและระบบ ศ. ถ้าตามประชาธิปไตยใช้ระบบ ศ. แบบทุนนิยม อาศัยกลไกตลาดเป็นสำคัญ กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆมอิทธิพลต่อการเมืองสูง การกำกับควบคุมของรัฐก็ไม่มาก แต่ถ้าเป็นเผด็จการ สังคมนิยม การวางแผนควบคุมมาจากส่วนกลาง ธุรกิจ/ประชาชนถูกรัฐควบคุม
แม้ว่าเป้าหมายทั้ง 4 สำคัญ แต่ระบุไม่ได้ว่าอะไรสำคัญที่สุด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ช่วงหนึ่งเป้าหมายหนึ่งอาจสำคัญกว่าอีกเป้าหมายหนึ่ง แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนเป้าหมายที่สำคัญน้อยอาจสำคัญมาก ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และการที่จะให้บรรลุเป้าหมายทั้ง 4 ก็ทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ เพราะแต่ละเป้าหมายมีความขัดแย้งกัน ยิ่งถ้าประเทศเจริญมากก็พบว่ามีความแตกต่างในชีวิตความเป็นอยู่มาก มีคนรวย คนจน มีเมืองกับชนบท เป้าหมายด้านความยุติธรรมก็ขัดแย้งกับเป้าหมายด้าน ศ. ดังนั้นเป้าทั้ง 4 รัฐคงเน้นบางเป้าในบางช่วงเวลา เปรียบเสมือนกับที่สุนัขคาบลูกบอล ซึ่งคาบได้ทีละลูก
-----------------------------------------
บทที่ ๕ หน้าที่ด้านเศรษฐกิจของรัฐ
-----------------------------------------
การบรรลุเป้าหมายทำให้สำเร็จได้ยาก จึงเป็นหน้าที่ของรัฐ ด้าน ศ.
1.จัดสรรทรัพยากร ที่ดินทุน แรงงานมีข้อจำกัดทั้งปริมาณ คุณภาพเพื่อใช้ในการผลิต สินค้าและบริโภค ตอบสนองความต้องการสังคมและมนุษย์เองก็มีความต้องการแสวงหาอย่างไม่มีขอบเขตจำกัดเมื่อสังคมมีคนมากความเจริญก้าวหน้ามากจึงเกิดปัญหาว่าจะจัดสรรทรัพยากรของสังคมอย่างไร
2. การกระจายรายได้และความมั่งคั่งทางสังคม โดยให้คนทุกกลุ่ม ทุกคน ทุกภาคมีโอกาสบริโภคสินค้ามากน้อยแค่ไหน ผ่านช่องทางการจำหน่ายอย่างไร เพื่อสร้างความเป็นธรรม รัฐจึงต้องผลิตสินค้าสาธารณะให้คนเพื่อได้มีโอกาสเท่าเทียมกัน
รัฐจึงต้องมีมาตรการด้านการ
1. หารายได้ ได้แก่ ภาษี เก็บจากคน โดยยึดหลักความสามารถและแบบก้าวหน้า แล้วนำเงินภาษีมาผลิตสินค้าและบริโภค บริการสาธารณะมุ่งให้แก่คนบางคนบางกลุ่ม บางภาค
2. ด้านรายจ่าย โดยเลือกการใช้จ่ายเพื่อลดความแตกต่างทางสังคม โดยผลิตสินค้า บริโภคที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่เสียเปรียบ พิจารณาได้สองแนวทาง คือ การใช้จ่ายด้านสวัสดิการ (เพื่อลดความเดือดร้อนของผู้มีรายได้ต่ำให้มีโอกาสได้ใช้สินค้าบริโภคที่จำเป็นในการครองชีพหรือหลักประกันในชีวิตความเป็นอยู่ เช่น การศึกษา สังคมสงเคราะห์) และการใช้จ่ายเพื่อเพิ่มพูนความสามารถและประสิทธิภาพ(ในการหารายได้ของผู้เสียเปรียบ ให้ช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น การชลประทาน การฝึกอบรมวิชาชีพการปฏิรูปที่ดินฯ
3. การรักษาเสถียรภาพทาง ศ. หมายถึงทำอย่างไรให้มีการจ้างงานหรือทรัพยากรอยู่ในอัตราสูงและให้ค่าของเงินตราหรือระดับราคาสินค้าอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพดุลการค้าและดุลการชำระเงินอยู่ในสภาพเหมาะสม (กลไกตลาด ดีมานและซัพพลาย เช่น เมื่อคนต้องการสินค้าเพิ่ม แต่สินค้ามีเท่าเดิม ราคาก็สูง คนผลิตก็ผลิตเพิ่ม ราคาก็จะเข้าสู่ดุลยภาพ ถ้าราคาสินค้าเพิ่มตลอดเวลาเป็นสาเหตุของเงินเฟ้อ แต่ถ้ามีราคาลดลงตลอดเรียกว่าเงินฝืด
หน้าที่ของรัฐในการดำเนินการมาตรการทางการคลัง 3 ประการ
1. เมื่อเกิดว่างงาน รัฐต้องเพิ่มการใช้จ่ายรวมของประเทศให้มากจนเกิดการจ้าง
2. เกิดเงินเฟ้อ รัฐต้องปรับการใช้จ่ายของประเทศให้ลดต่ำลง ลดปริมาณเงินทุนหมุนเวียนระบบ ศ. เพิ่มเงินสำรองตามกฎหมาย ใช้งบประมาณเกินดุล ลดการใช้จ่ายรัฐบาล เพิ่มอัตราภาษี
3.กรณีระดับการจ้างอยู่ในอัตราสูง และระดับราคามีเสถียรภาพ ต้องพยายามรักษาให้เป็นตลอดไป
*เงินเฟ้อมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับการว่างงาน เมื่อเงินเฟ้อสูงการว่างงานต่ำ เพราะเงินเฟ้อสัมพันธ์กับค่าจ้างในทิศทางเดียวกัน ถ้าเฟ้อมากค่าจ้างสูง แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป แต่เงินเฟ้อและการว่างงานมักเกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อเกิดเงินเฟ้อ ราคาสินค้าสูง ค่าจ้างสูง อัตราการว่างงานกลับเพิ่ม เพราะเมื่อต้นทุนการผลิตสูง มีผลทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตและขายสินค้าราคาสูง การว่างงานและเงินเฟ้อก็สูงขึ้นด้วยเรียกสถานการณ์นี้ว่า Stagflation
--------------------------------- (End of Part I)------------------------
Tai รวบรวมจาก Internet

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

1 ความคิดเห็น: