วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แผนที่รายงาานอุบัติเหตุบนทางหลวง และทางเลี่ยงทางลัด กระทรวงคมนาคม (TRAMS)

เรียน ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกท่าน

ในช่วงเทศกาลสำคัญๆ การเดินทางจะค่อนข้างติดขัด ทำให้เกิดอุบัตเหตุได้ง่าย กระทรวงคมนาคมได้พัฒนาระบบรายงานข้อมูลอุบัติเหตุบนทางหลวง เพื่อให้บริการข้อมูลด้านอุบัติเหตุและทางเลี่ยงทางลัดแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนผ่านเว็บท่าคมนาคม ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้งานได้ทั้งผ่านเครื่อง Desktop, Notebook, Netbook, iPAD, iPod และ Tablet Android ได้ผ่าน URL ดังนี้

เว็บท่าคมนาคม
แผนที่รายงานอุบัติเหตุบนทางหลวง: TRAMS
แผนที่ทางเลี่ยงทางลัด

------------
ด้วยความปรารถนาดีจาก สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม

สวัสดีปีใหม่ชาว รป.ม. รามคำแหง

สวัสดี ชาว รป.ม. รามคำแหงทุกๆ ท่าน
.
และแล้ววันสิ้นสุดปีเก่า 2554 กำลังจากเดินทางมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้ นั่นหมายถึงปีใหม่ 2555 ก้อกำลังเดินทางตามมาติดๆ เช่นกัน
.
ในโอกาสที่ปีใหม่ 2555 จะมาเยือนนี้
ขออนุญาตอัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย อันมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาว รป.ม. นับถือ จงดลบันดาลให้ทุกๆ ท่านมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแร็งทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ หายเจ็บหายไข้ในเร็ววัน ร่ำรวย สวยๆ หล่อๆ มีแฟนหน้าตาดีกันทุกๆ ท่าน  และที่สำคัญคือ ให้ตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมตัวให้พร้อมรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกคนนะครับ
.
ขอให้โชคดีปีใหม่ พ.ศ. 2555 หรือ ปี ค.ศ. 2012 ปีโลกกาวินาศตามคำนายนี้
.
เว็บนี้ เป็นอันหมดภารกิจเชิงวิชาการสำหรับชาว รป.ม. รุ่น 3 รามคำแหง หัวหมาก แต่ยังจะเป็นวิชาการ เป็น KM และแรงบันดาลใจให้ชาว รป.ม. รุ่นต่อๆ ไปอีกนานแสนนาน จนกว่าจะโดยปิดเว็บ
.
ในนามผู้จัดทำเว็บนี้ และเพื่อนๆ ฝ่ายวิชาการทุกๆ คน และ รป.ม. รุ่น 3 รามคำแหงหัวหมาก ขอขอบคุณทุกๆ กำลังใจที่โพสต์ไว้
.
ท้ายสุด ยังไม่สุดท้าย ขอจงเดินหน้าต่อไป (Keep moving forward).
------------------
Tai

สุขสันต์วันขึ้นปีใหม่ 2555,Happy New Year 2012

เรียน ชาวโลกทกๆ คน
.
ขออนุญาตอวยพรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2555 จะมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้
.
ขออัญเชิญอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย อันมี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวโลกเคารพบูชา ได้โปรดดลบันดาลให้ทุกๆ คนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เจ็บไข้ให้หายเร็ววัน (ไม่เจ็บไม่ไข้ก็ยิ่งดี) ร่ำรวย สวยๆ หล่อๆ ใครที่ยังไร้คู่ก็ขอให้สมหวังในเร็วพลัน
.
โชคดีีใหม่กันทุกคน

โปรแกรม Convert หนังแบบ Hidef พร้อม Serial Numver

สวัสดีชาวโลกอีกครั้ง
------------------
วันนี้ขอแนะนำโปรแกรมแปลงหนังแบบ Hidef
ตามนี้เลย
------------------
คลิกโหลดตัวโปรแกรม
คลิกโหลดไฟล์ Serial number
------------------
ขอให้ทุกๆ ท่านที่ผ่านมาเยี่ยมเว็บนี้ ให้โชคดีปีใหม่ 2555 ร่ำรวย สวยๆ หล่อๆ ใครที่ยังไร้แฟน/กิ๊กก็ขอให้สมหวังในปีใหม่นี้
------------------
ส่วนใครที่ไม่สมหวัง ก็ขอให้พิจารณาใช้แนวทางแบบหาแฟนเชิงรุกนะ ดังนี้
หาแฟนเชิงรับ ใช้สูตร เรา (รอ-เอา-เรา) อีกนานเลย
หาแฟนเชิงรุก ใช้สูตร เขา (ขอ-เอา-เขา) ลุยเลย!!!
------------------
ลุยโลด

โปรแกรม Convert สารพัดนามสกุล พร้อม Serial Number

สวัสดีชาวโลกอีกครั้ง
------------------
วันนี้ขอแนะนำโปรแกรมแปลงหนัง จากนามสกุลต่างๆ (รวมทั้ง DVD) ให้เป็น AVI หรือ DVD หรือ WMV
ตามนี้เลย
*** โหลดเสร็จแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นนามสกุล .exe ด้วยนะ แล้วจึงติดตั้งตามปกติ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เปิดโปรแกรมขึ้นมา โปรแกรมจะให้ใส่ Serial number ก้อให้เปิดไฟล์ .txt ขึ้นมา แล้วป้อนรหัสตามที่แนะนำไว้ เป็นอันแล้วเสร็จ happy new year 2012
------------------
คลิกโหลดตัวโปรแกรม
คลิกโหลดไฟล์ Serial number
------------------
ขอให้ทุกๆ ท่านที่ผ่านมาเยี่ยมเว็บนี้ ให้โชคดีปีใหม่ 2555 ร่ำรวย สวยๆ หล่อๆ ใครที่ยังไร้แฟน/กิ๊กก็ขอให้สมหวังในปีใหม่นี้
------------------
ส่วนใครที่ไม่สมหวัง ก็ขอให้พิจารณาใช้แนวทางแบบหาแฟนเชิงรุกนะ ดังนี้
หาแฟนเชิงรับ ใช้สูตร เรา (รอ-เอา-เรา) อีกนานเลย
หาแฟนเชิงรุก ใช้สูตร เขา (ขอ-เอา-เขา) ลุยเลย!!!
------------------
ลุยโลด

โปรแกรม Convert ไฟล์หนัง เป็น iPod MP4 พร้อม Serial Number

สวัสดีชาวโลก
------------------
วันนี้ขอแนะนำโปรแกรมแปลงหนัง จากนามสกุลต่างๆ (รวมทั้ง DVD) ให้เป็นไฟล์ iPod, MP4 และ อื่นๆ
ตามนี้เลย
*** เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เปิดโปรแกรมขึ้นมา โปรแกรมจะให้ใส่ Serial number ก้อให้เปิดไฟล์ .txt ขึ้นมา แล้วป้อนรหัสตามที่แนะนำไว้ เป็นอันแล้วเสร็จ happy new year 2012
------------------
คลิกโหลดตัวโปรแกรม
คลิกโหลดไฟล์ Serial number
------------------
ขอให้ทุกๆ ท่านที่ผ่านมาเยี่ยมเว็บนี้ ให้โชคดีปีใหม่ 2555 ร่ำรวย สวยๆ หล่อๆ ใครที่ยังไร้แฟน/กิ๊กก็ขอให้สมหวังในปีใหม่นี้
------------------
ส่วนใครที่ไม่สมหวัง ก็ขอให้พิจารณาใช้แนวทางแบบหาแฟนเชิงรุกนะ ดังนี้
หาแฟนเชิงรับ ใช้สูตร เรา (รอ-เอา-เรา) อีกนานเลย
หาแฟนเชิงรุก ใช้สูตร เขา (ขอ-เอา-เขา) ลุยเลย!!!
------------------
ลุยโลด

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

PA617/717: สรุปเศรษฐกิจ การเมือง และการบริหาร

อ่านสรุป อ.สุรพงษ์ฯ โดยคุณครูน้องตาล ที่นี่ อ่านเรื่อง Soft power ได้จาก ลิงค์นี้ หรือ ที่นี่
-------------------------------------------------------------------
แนวข้อสอบ ดร.สุรพงษ์ฯ (เท่าที่พอจำได้ลางๆ)
1. จากที่ได้ศึกษาแนวคิดด้านการเมืองของ Aristotle ให้อธิบายความเป็นมาของการเมือง รวมทั้ง องค์ประกอบ แลความสำคัญในเชิงวิชาการโดยละเอียด
2. ให้เลือกนโยบายสาธารณะ 2 นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน แล้วเสนอแนวคิดว่ามีข้อดีข้อเสีย รวมทั้งความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ
-------------------------------------------------------------------
สรุป 30 กันยายน 2554
อาจารย์สุรพงษ์ ชัยนาม
อดีตเอกอัครราชฑูตเวียดนาม โปรตุเกส กรีซ เยอรมัน และแอฟริกาใต้
-------------------------------------------------------------------
สรุปเนื้อหา PA617/717: อ.สุรพงษ์ ชัยนาม
---------------------------------------
เนื้อหาที่บรรยายประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่
1.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2.โครงสร้างของอำนาจในแต่ละยุค แต่ละสมัยของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.มิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับผลประโยชน์ระหว่างประเทศและอำนาจ
4.นโยบายต่างประเทศหรือการฑูต
5.ASEAN (สมาคมเพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค)
6.เศรษฐศาสตร์การเมืองหรือเศรษฐกิจการเมือง
---------------------------------------
1.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและความร่วมมือ หรือสงครามและสันติภาพระหว่างประเทศ โดยมีอำนาจและผลประโยชน์เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายและท่าทีของแต่ละประเทศ เป็นปรากฎการณ์ประจำที่เกิดขึ้นเสมอๆ โดยอำนาจเกิดจากทรัพยากรของประเทศ ได้แก่ ทหาร ศักยภาพของคนในประเทศ และอื่นๆ

อนาธิปไตย (Anarchic World) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าสมัยใด คือ ตัวใครตัวมัน ไม่ขึ้นต่อใคร ใน 193 ประเทศทั่วโลกนี้ ไม่มีประเทศไหนสั่งการหรือบงการให้อีก 192 ประเทศทำตามได้ นั่นคือ
- ไม่มีตำรวจโลก
- ไม่มีรัฐบาลโลก
- เรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติเป็นปัจจัยชี้ขาดในการกำหนดนโยบายและท่าที

ทุกประเทศต่างดูแลผลประโยชน์และความมั่นคงปลอดภัยของตนเอง ธรรมชาติของประชาธิปไตยต้องมีความขัดแย้งเสมอ

พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกิดจากแนวคิด 3 สำนัก ได้แก่
-----------------------------------------------------------------
1) สัจจนิยม (Realism) เชื่อว่ารัฐ(รัฐบาล)เท่านั้นที่จะชี้ขาดทุกอย่างว่านโยบายจะเป็นอย่างไร ท่าทีของประเทศจะเป็นอย่างไร ส่วนตัวแสดงอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบย่อยๆ อยู่ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐ

การวิเคราะห์หรือประเมินว่า ประเทศใดมีพฤติกรรมอย่างไร ให้ดูที่ธรรมชาติของมนุษย์ เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่ตายตัว มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายหรือท่าทีของแต่ละประเทศ เพราะรัฐบาลก็คือมนุษย์ และมนุษย์มีกิเลศและตัณหา

รัฐ ประกอบด้วย ดินแดนหรืออาณาเขต ประชากร รัฐบาล และทรัพยากร

โดยธาตุแท้แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจากการต่อสู้เพื่อผลประเทศของประเทศ โดยมีกลไกควบคุมไม่ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือ ทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ระหว่างกันและกัน จึงเกิดเครื่องช่วยดูแลผลประโยชน์ของประเทศขึ้น ได้แก่ กำลังทหาร การสร้างพันธมิตร อแนวร่วม และการรวมกลุ่ม

2) เสรีนิยม (Liberalism) เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนล้วนมีเหตุมีผล ไม่เห็นแก่ตัวไปทุกเรื่อง เมื่อรู้ว่าตนเองผิดพลาดก็พร้อนมที่จะปรับปรุงแก้ไขหรือประณีประนอมโดยมีเหตุมีผล และให้ความสำคัญกับอิทธิพลความคิดของมนุษย์ โดยไม่พึ่งการใช้กำลัง ใช้คิดคิดเสมือนเป็นอาวุธ
- มองความสัมพันธ์ว่า ไม่ใช่เป็นความขัดแย้ง
- โดยธรรมชาติของมนุษย์มีโอกาสทำชั่วมากกว่าทำดี

ดังนั้น รัฐจึงเป็นหลักในการกำหนดนโยบาย แต่ส่วนอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน ได้แก่ ภาคประชาสังคม ซึ่งรัฐจะเข้าแทรกแซงหรือบงการไม่ได้เรียกหลักการนี้ว่า การมีส่วนร่วม (รัฐ+ประชาสังคม) ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างประเทศ

สรุป: แนวคิดนี้มาจากความคิดที่มองว่า มีความซับซ้อนเกี่ยวกับการต่อรองระหว่างประเทศ มีตัวแสดงที่หลากหลาย (รัฐ+ประชาสังคม) มองการสร้างระเบียบโลกใหม่ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการปฏิสัมพันธ์ในหลายๆ ระดับ (ภาครัฐ เอกชน การศึกษา NGO สื่อมวลชน ฯลฯ) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีประเพณีหรือค่านิยมร่วมกัน มีกฎข้อบังคับร่วมกัน มีองค์กรหรือสถาบันระหว่างประเทศ เน้นส่งเสริมความร่วมมือกัน

3) มาร์กซีส (Marxist) มองเรื่องของความขัดแย้งระหว่างประเทศ ว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เกิดจากชนชั้นเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความขัดแย้ง (นายทุน และกรรมาชีพ) โดยชนชั้นไม่มีเชื้อชาติ สัญชาติ หรือประเทศในระดับโลกจะอยู่ภายใต้ความครอบงำของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ ทุนนิยมโลก ทั้งชนชั้นนายทุนและกรรมาชีพจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลกันและกัน

มนุษย์ในสังคมพัฒนามาจากระบบทาส --> ศักดินา --> ทุนนิยม --> คอมมิวนิสต์

ทุนนิยม มองการสะสมทุนและแสวงหากำไร

เมื่อทั้งสองชนชั้นมีความขัดแย้งมากขึ้น ก็จะนำไปสู่การปฏิวัติ แล้วนำไปสู่การจัดชนชั้นใหม่ในแบบไม่มีชนชั้น กล่าวคือ อำนาจของชนชั้นนายทุน ก็มาเป็นอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพ แล้วก็จะเกิดการขจัดอำนาจให้หมดไปจนไม่มีการแบ่งชนชั้น

2.โครงสร้างอำนาจในแต่ละกลุ่ม แต่ละสมัยของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
-----------------------------------------------------------------------
1) ยุคก่อนโลกาภิวัฒน์ (ก่อนการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน) ช่วง คศ.1945-1989 โครงสร้างอำนาจมี 2 ขั้ว ได้แก่ ค่ายเสรี และ ค่ายคอมมิวนิสต์ ลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบการต่อสู้ของลัทธิอุดมการณ์ จ้องทำลายกันเพื่อเอาชนะกัน มีความขัดแย้งรุนแรง เป็นความขัดแย้งทางลัทธิการเมือง

2) ยุคหลังโลภาภิวัฒน์ (หลังการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน) หลัง ค.ศ.1989-ปัจจุบัน โครงสร้างอำนาจเกิดการเสียสมดุลย์อำนาจ เหลือเฉพาะค่ายเสรี เกิดการพัฒนาออกเป็นหลายๆ กลุ่ม เป็นโลกหลายขั้ว เกิดการถ่วงดุลย์อำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ เป็นการเมืองแบบเสรี หรือประชาธิปไตยแบบเสรี ไม่มีการเผชิญหน้า เกิดองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคต่างๆ ขึ้น เช่น ASEAN

กลุ่มอำนาจหลัก 5 กลุ่มที่มีการถ่วงดุลย์ระหว่างกันและมีผลต่อความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ในโลกนี้ ได้แก่ US, EU, Japan, China และ BRIC (Brazil, Russia, India, China)
--------------------------
Tai

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

PA616/716: สัมมนานโยบายและการจัดการสาธารณะ

ถึงเพื่อน รป.ม. 3/1 รามคำแหง หัวหมาก และวิทยาเขตอื่นๆ ทั่วประเทศ
และแล้วการรวบรวมข้อมูลเตรียมสอบจากกลุ่มวิชาการของห้อง 3/1 ก็เริ่มขึ้น ณ บัดนี้ (อาจช้าไปหน่อยเพราะงานยุ่งมากกกก)
แต่เพื่อนๆ 3/1 สามารถเข้าหาข้อมูลได้จากเมล์กลางของเราที่ yahoo! ได้ทุกเวลา
-----------------------------
1. PA616/716: อ.เดช-1
2. PA616/716: อ.เดช-2 by Tarl
3. PA616/716: อ.เดช-2 by Kim
4. PA616/716: 30 Bath
5. PA616/716: 30 Bath-2
6. PA616/716: Free study 15 year
7. PA616/716: One million bath One Village
8. PA616/716: Public policy-1
9. PA616/716: Public Policy-2
10. PA616/716: Thailand reform reccommendation by คปร.
------------------------------
แหล่งอ้างอิง: ข้อมูลจากเมล์กลางโดย ประธานโต พี่วาสและทีมวิชาการ รวมทั้งเพื่อน 3/1 ผู้เสียสละเวลาอันมีค่าทุกๆ ท่าน
ขอให้โชคดี ได้ A กันทุกๆ คนนะครับ
------------------------------
สรุปแนวสอบจริง เท่าที่จำได้ลางๆ (แบบมั่วนิดหน่อย) มี 2 ข้อ หลัก และ ข้อย่อย (อาจารย์ 2 คน) ประมาณนี้
1. ตามที่ได้ศึกษานโยบายสาธารณะมาแล้ว (ที่แบ่งกลุ่มแสดงละคร) ท่านคิดว่า
1.1 นโยบายนี้มีที่มา(บริบท) และวัตถุประสงค์อะไร ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร ควรทำต่อหรือไม่
1.2 ข้าราชการการเมือง ข้าราชการประจำ กลุ่มผลประโยชน์ กรรมการกองทุน และสมาชิกเกี่ยวข้องอะไรบ้างกับนโยบายนี้
1.3 ตัวชี้วัดและผลสำเร็จของนโยบายนี้
1.4 ให้ใช้ตัวแบบเชิงระบบอธิบายนโยบายนี้
2. จากข้อเสนอแนะของ คปร. ท่านคิดว่า...
2.1 เรื่องใดสำคัญที่สุด เพราะเหตุใด
2.2 หากเป็นผู้กำหนดนโยบายจะกำหนดนโยบายอะไร อย่างไร
2.3 ใครเป็นมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบายที่กำหนดดังกล่าว ได้อะไร/เสียอะไร
------------------------------
(หมายเหตุเท่าที่จำได้นะ แนวตอบก็ตามข้อมูลข้างต้น 1-10)
Tai

วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554

NESDB: บทวิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-11

เรียน เพื่อนๆ รป.ม. 3/1
ข้อมูลบทความ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-11 โดย สภาพัฒน์ฯ (NESDB)
รวบรวมโดย คุณวาสฯ ฝ่ายวิชาการ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ คลิกดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่นี่
----------
Tai

สรุป PA615: การนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย

ถึงเพื่อน รป.ม. 3/1 รามฯ หัวหมาก
กรุณาตรวจดูรายชื่อและเลขที่สอบได้โดย คลิ้กที่นี่
และแล้ว ก็จะถึงวันสอบ PA615: การนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย อีกแล้ว (เสาร์ที่ 20 ส.ค. 2554) ที่อาคารสวรรคโลก โดยเลขที่ 1-70 สอบห้อง 401 ส่วนที่เหลือสอบห้อง 603
ดังนั้น เพื่อนๆ ทีมวิชาการที่น่ารักน่าชัง จึงได้ร่วมกันสรุปบทเรียนและทยอยมาให้อ่านกัน ดังนี้ครับ
----------
PA615/715 (อ.วิโรจน์)
PA615/715 (อ.วัลลพ)
PA615/715 (อ.วัลลพ)
PA615/715 อ.ไตรรัตน์
PA615/715 แนวคำถามสอบหลายๆ แบบ
PA615/715 แบบเขียนลายมือ (โดย นก) 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27
------
เพิ่มติม
------
PA615/715: Vision
PA615/715: การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ
PA615/715: SWOT Analysis
----------
ข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ดูได้ที่เมล์กลาง Yahoo!
user: mpa_ru3
pw: (ไม่บอก อยากรู้ให้เมล์มาถามโดยตรง)
----------
Tai

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Photos by Tai : สวิสเซอร์แลนด์ & อิตาลี

เมื่อยล้ากับการเรียนไปพักสมองที่สวิสเซอร์แลนด์กันดีกว่า (6-15 July 2011)
.

.
หรือที่อิตาลีก็ดีเช่นกัน
.

---------------
Tai

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

PA611: สรปเนื้อหา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย

ถึงเพื่อนๆ pa611/711 เชิญทัศนาจรไปกับการสรุปเนื้อหา การจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย ในรูปแบบ PDF file กันได้แล้ว ณ บัดนี้ มีทั้งสิ้น 7 ไฟล์ เนื้อหาปนๆ กันไป อ่านแล้วมึนตึบ และงวดนี้ขอโดดสอบไปยุโรปสัก 8 วัน กลับมาค่อยมาขอยาแก้ไอละกัน ขอให้โชคดี (A) กับการสอบทุกๆ คนนะครับ
หมายเหตุ: ข้อมูลจากหลายแหล่ง
------------------------------------
1. PA611/711-1
2. PA611/711-2
3. PA611/711-3
4. PA611/711-4
5. PA611/711-5
6. PA611/711-6
7. PA611/711-7
------------------------------------
Tai

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

PAxxx : ดาวน์โหลดสรุปข้อมูลวิชา รป.ม. เพื่อเตรียมสอบ

เรียน เพื่อนๆ ชาว รป.ม. รามคำแหงทุกท่าน
วันนี้ขอเปิดพื้นที่ใหม่สำหรับบริการให้ดาวน์โหลดสรุปข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลจากการสรุปของฝ่ายวิชาการแต่ละกลุ่ม โดยรวบรวมจากเมล์กลาง รวมทั้งจากเว็บชาว รป.ม. วิทยาเขตอื่นๆ ที่เป็นผู้ใจบุญทั้งหลาย โดยไฟล์ทั้งหมดเป็น PDF ที่แปลงด้วยโปรแกรม doPDF version ล่าสุด โดยการติดตั้งและสั่งพิมพ์ สะดวกมากๆ ลองโหลดมาใช้ดูนะครับ (ฟรี) หรือ คลิกโหลดจากที่นี่ (3.99MB) หรือ คลิกลิงค์นี้ สำหรับ version กระทัดรัด Z(1.42MB)

ปล. ข้อมูลต่างๆ ที่ให้บริการดาวน์โหลดนี้ ใช้บริการ Dropbox ในการจัดเก็บข้อมูล สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต
สนใจ คลิกที่นี่ได้เลย แล้วสมัครง่ายพร้อมติดตั้งลงที่เครื่องคอมเพื่อการ copy และ paste (ลาก-ปล่อย) เหมือนเป็น folder อยู่บนเครื่องเรา หากเพื่อนๆ สนใจก็ดูนะครับ

มาเริ่มกันเลย
---------------------
PA601/701: ขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์
โหลด: สรุปแนวสอบทั้งหมด

PA602/702: ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
โหลด: สรุปแนวสอบทั้งหมด

PA603/703: ระบบการเมืองและระบบราชการไทย
โหลด: สรุปแนวสอบทั้งหมด

PA604/704: การกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
โหลด: ....

PA609/709: องค์การและนวัตกรรมในองค์การ
โหลด: สรุปแนวสอบทั้งหมด

PA610/710: การบริหารเชิงกลยุทธ์
โหลด: สรุป ดร.วิชัย สรุป ดร.วิชัย โดยครูน้องตาล PowperPoint รศ.สมชัย

PA611/711: การจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย
PA611/711-1
PA611/711-2
PA611/711-3
PA611/711-4
PA611/711-5
PA611/711-6
PA611/711-7

PA612/712:
โหลด: สรุปไทย-ญี่ปุ่น อ.บุญยงค์ สรุปญี่ปุ่น อ.บุญยงค์ สรุปชุมชนเข้มแข็ง: คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติกับการพัฒนาชาติ สรุปการพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ในประเทศไทย สรุปแปรถิ่นเปลี่ยนฐาน สรุปความสุขและตัวชี้วัดความสุขของคนในชาติ

PA615: การนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย
แนวข้อสอบ (คร่าวๆ):
1. SWOT Analysis สำคัญต่อการกำหนดวิสัยทัศน์และการกำหนดกลยุทธ์ของหน่วยงานอย่างไร ยกตัวอย่าง 1 หน่วยงาน
2. อธิบายรูปแบบ/ตัวแบบ/การนำตัวแบบในการกำหนดนโยบายไปปฏิบัติ โดยยกตัวอย่างนโยบายรัฐบาล 1 นโยบาย
3. อธิบายขั้นตอนการบริหารโครงการ โดยยกตัวอย่างโครงการ 1 โครงการ
----------
PA615/715 (อ.วัลลพ)
PA615/715 (อ.วัลลพ)
PA615/715 อ.ไตรรัตน์
PA615/715 แนวคำถามสอบหลายๆ แบบ
PA615/715 SWOT Analysis
PA615/715 แบบเขียนลายมือ (โดย นก) 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27

PAXXX: เตรียมสอบประมวลก่อนจบ
โหลดที่นี่:
ติวโดย พี่ปุ้ย เมื่อ 5 ก.พ. 2555 สรุปย่อโดย Aod นำเสนอโดย Toto คลิ๊ที่นี่
กลุ่มนโยบายสาธารณะ
กลุ่มนโยบายสาธารณะ ตอนที่ 1 (อีกแนว)
กลุ่มนโยบายสาธารณะ ตอนที่ 2 (อีกแนว)

กลุ่มทรัพยากรมนุษย์

กลุ่มองค์การสาธารณะ

ตัวอย่างฉบับย่อ การตอบสอบประมวล โดย เพื่อนจาก รป.ม. 3/2 หัวหมาก
ตัวอย่างฉบับเต็ม การตอบสอบประมวล โดย เพื่อนจาก รป.ม. 3/2 หัวหมาก

แนวข้อสอบ (จริง) รป.ม. 3 หัวหมาก ประจำปี 2555 (เท่าจำได้นะ)
------------------------------------------------------------
1. กลุ่มนโยบายสาธารณะ
คำถาม 3 ข้อ ให้ใช้ตัวแบบและแนวคิด รป.ม. ในการตอบ
- นโยบายสาธารณะมีความสำคัญอย่างไร
- ตัวแสดงมีความสำคัญและมีบทบาทอย่างไรต่อกระบวนการนโยบายสาธารณะ
- นโยบายสาธารณะคือสิ่งที่ทำให้ประชาชนทุกคนได้รับผลประโยชน์ และไม่มีคนใดเสียประโยชน์ จริงหรือไม่ เพราะอะไร
แนวตอบ: ความหมาย นโยบายสาธารณะ ตัวแสดง และอื่นๆ

2. กลุ่มทรัพยากรบุคคล
คำถามมี 3 ข้อ ใช้ทฤษฏีและแนวคิด รป.ม. ตอบ ดังนี้
- ประชาชนถือเป็นส่วนสำคัญและมีผลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะหรือไม่อย่างไร
- ปัจจุบันประเทศมีแนวทางในการพัฒนาประเทศอย่างไร
- ให้วิเคราะห์ผลการพัฒนประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา
แนวตอบ: - เน้นคนเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทุกด้าน แนวทางแผนฯ 11 และ ผลของแผน 1-9

3. กลุ่มองค์การสาธารณะ
คำถาม: ประเทศไทยเตรียมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ให้วิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อนของประเทศไทย แล้วเสนอแนะนวัตกรรมจากผลการวิเคราะห์เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมเข้าสู่ AEC
แนวคำตอบ: ใช้ 4M (แนะนำ) หรือ 7S (ถ้ากล้า) ในการวิเคราะห์ SW แล้ว เสนอนวัตกรรมทั้ง 4 ด้าน (การบริหารจัดการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรมองค์การ และเทคโนโลยีองค์การ)


Mindmap โดย คุณเผดิม รอดอินทร์ รป.ม. รุ่น 1 ม.รามคำแหง หัวหมาก

นโยบายสาธารณะ 1/2
นโยบายสาธารณะ 2/2
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
องค์การสาธารณะ

--------
Tai
27 May 2011

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

PA612: แนวสอบ รศ.ชลิดา: ชุมชนเข้มแข็ง : บทบาทในการพัฒนาคนและพัฒนาชาติ

โดย กลุ่ม sup_ant@hotmail.com
------------------------------
สังคมไทยประกอบด้วย ชุมชน หมู่บ้าน ทั้งชุมชนในเขตชนบทและเขตเมืองซึ่งชุมชนส่วนใหญ่ ของประเทศเป็นชุมชนชนบท จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ ส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกชั้นของสังคม ประเด็นเรื่องชุมชนเข้มแข็ง จึงได้รับการหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงเป็นอันมาก ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง ตามหลักปรัชญาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 โดยการเพิ่มศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง มีความพร้อม ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ชุมชนความเข้มแข็งจึงเป็นฐานสำคัญในการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงการสร้างกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในอนาคต
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข็มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพและเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี” ซึ่งได้กำหนดพันธกิจของการพัฒนาประเทศ ในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรม นำความรอบรู้อย่างเท่าทัน มีสุขภาวะที่ดีอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนที่เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้ดุลยภาพของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) การจัดเตรียมแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 - 10 โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” และ “สร้างสมดุลการพัฒนา” โดยได้ยึดวิสัยทัศน์ปี พ.ศ. 2570 เป็นเป้าหมาย ซึ่งจะส่งผลให้บรรลุการพัฒนาที่อยู่บนรากฐาน ของสังคมไทย อยู่บนกรอบแนวคิดของการพัฒนาบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักของความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติ ครอบครัว มีความสุขเป็นพื้นฐานที่สร้างคนเป็นคนดี ชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีบทบาทในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพและความสามารถในการแข่งขัน มีการบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ มีกฎระเบียบและกฎหมายที่บังคับใช้อย่างเป็นธรรม และประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับประเทศภูมิภาคและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ความหมายของชุมชนเข้มแข็ง
ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกัน และมีการติดต่อสื่อสารเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นปกติต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการอยู่ในพื้นที่ร่วมกันหรือมีอาชีพร่วมกันหรือการประกอบกิจการซึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกันหรือการมีวัฒนธรรม ความเชื่อ หรือความสนใจร่วมกัน
(นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม) โดยความเป็นชุมชนอาจหมายถึงการที่คนจำนวนหนึ่งเท่าใดก็ได้ มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการติดต่อสื่อสารหรือรวมกลุ่มกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มีการเรียนรู้ร่วมกัน ในการกระทำ มีการจัดการ เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ร่วมกัน (ศ.นพ.ประเวศ วะสี)
จากความหมายข้างต้น อาจกล่าวได้ว่า ชุมชนมีความหมายมากกว่าการที่คนแต่ละคนมาอยู่ร่วมกัน แต่ได้สร้างความสัมพันธ์กันโดยมีหลักการ เงื่อนไข กติกา ซึ่งเราเรียกโดยรวมว่าระเบียบบรรทัดฐานของการ อยู่ร่วมกัน ชุมชนจึงมีลักษณะเป็นองค์กรทางสังคมที่สามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวัน ของสมาชิก และสามารถช่วยให้สมาชิกสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ร่วมกันได้
ความเข้มแข็งของชุมชน หมายถึง การที่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ของเมืองหรือชนบทรวมตัวกันเป็น “องค์กรชุมชน” โดยมีการเรียนรู้ การจัดการและการแก้ไขปัญหาร่วมกันของชุมชนแล้วถึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนตลอดจนมีผลกระทบสู่ภายนอกชุมชนที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยจะเรียกชุมชนนี้ว่า กลุ่ม ชมรม สหกรณ์ บริษัท องค์กรชาวบ้าน เครือข่ายหรืออื่น ๆ ที่มีความหมายแสดงถึงการร่วมมือช่วยเหลือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและด้วยความเอื้ออาทรต่อชุมชนอื่น ๆ ในสังคมด้วย
ชุมชนเข้มแข็งจึงหมายถึง ชุมชนที่มีลักษณะดังนี้
1) ชุมชนมีการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งดี
2) ชุมชนมีความเป็นปึกแผ่น
3) ชุมชนพึ่งตนเองได้
4) ชุมชนมีผู้นำตามธรรมชาติ
การส่งเสริมกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤต โดยพัฒนาศักยภาพให้คนในชุมชนรวมกลุ่มกันร่วมคิดร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรักษาผลประโยชน์ของชุมชน ด้วยตนเอง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานของบุคลากรภาครัฐจากการเป็นผู้สั่งการเป็นผู้สนับสนุนในการจัดการและแก้ไขปัญหาของชุมชนเอง
การส่งเสริมกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมทำ และ ร่วมเรียนรู้” เพื่อส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบด้วยกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนได้มีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อการพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจชุมชน การพัฒนาสวัสดิการสังคมและสวัสดิภาพของชุมชนการฟื้นฟูอนุรักษ์และจัดการทัพยากรธรรมชาติของชุมชน การค้นหาศักยภาพและ การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการจัดทำแผนความต้องการของชุมชน รวมทั้งการสร้างประชาคมภายในชุมชนและการสร้างเครือข่ายของชุมชน
กระบวนการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยสามารถแก้ไขได้ทุกๆ ด้าน ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิตและการบริโภคในชุมชน กลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และความสามารถในการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจของชุมชน
ด้านสังคมและองค์กรชุมชน ได้แก่ การจัดการและการบริหารองค์กรชุมชนความสัมพันธ์ภายในองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน
ด้านวัฒนธรรมและการเรียนรู้ ได้แก่ การอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน การจัดการตนเองทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระบวนการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนมี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมคนหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหาของชุมชนและการพัฒนาทางเลือกเพื่อดำเนินกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินกิจกรรมของชุมชน
ขั้นตอนที่ 4 ขยายเครือข่ายความร่วมมือ
กระบวนการจัดการที่สำคัญ 7 ประการ เพื่อก่อให้เกิดศักยภาพของการพัฒนาชุมชนนำไปสู่ความเข้มแข็งประกอบด้วย
(1) กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
(2) กระบวนการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
(3) กระบวนการการฟื้นฟู ผลิตซ้ำและสร้างใหม่
(4) กระบวนการใช้สิทธิชุมชนและข้อบัญญัติของชุมชน
(5) กระบวนการตัดสินใจร่วมกันของชุมชน
(6) กระบวนการของเครือข่ายการพัฒนา
(7) กระบวนการด้านการจัดการตนเอง
บทบาทของชุมชนเข้มแข็งชุมชนเข้มแข็งที่มีต่อการพัฒนาคน
1. ส่งเสริมด้านการศึกษาและเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ในอาชีพ เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง และพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
2. ด้านบริการสาธารณสุข การป้องกันปัญหาด้านสุขภาพ และการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างถ้วนหน้าของคนในชุมชน
3. ขยายศักยภาพเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง โดยการสร้างช่องทางการแลกเปลี่ยนและสื่อสารข้อมูลของคนในชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น วางแผน และร่วมดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน
4. สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่คนในชุมชน เช่น การจัดตั้งกองทุนชุมชนทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในชุมชนสามารถ หรือกองทุนด้านสวัสดิการ เงินทุน ฌาปนกิจ ทุนการศึกษา เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
5. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการทางประชาธิปไตย รวมทั้งการปลูกจิตสำนึก การมีส่วนร่วมและการแสดงออกทางการเมืองของคนในชุมชน
6. บทบาทในการดูแลผู้ด้อยโอกาสในชุมชน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย เด็กกำพร้าขาดผู้อุปการะ เป็นต้น ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เคารพในศักดิ์ศรีของตนเอง และรู้จักพึงตนเอง
7. บทบาทในการเฝ้าระวัง สอดส่อง และดูแล เยาวชนในชุมชน ทั้งด้านความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
8. บทบาทในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการกระจาย และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็น
5. บทบาทของชุมชนเข้มแข็งชุมชนเข้มแข็งที่มีต่อการพัฒนาชาติ
ชุมชนเป็นรากฐานของประเทศ เป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคมที่สำคัญในการสร้าง ความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ ถ้ารากฐานเข้มแข็งหรือแข็งแรง ประเทศก็จะเจริญก้าวหน้าไปด้วย การพัฒนาชุมชน (Community Frbrlopmrny) แตกต่างกับกับการพัฒนาโดยทั่วไป คือ
1. ปรัชญาการพัฒนาชุมชนมุ่งพัฒนาและให้ความสำคัญกับคนมากที่สุด แต่การพัฒนาโดยทั่วไปมุ่งพัฒนาทางด้านวัตถุ เศรษฐกิจ หรือพื้นที่เป็นหลัก
2. การพัฒนาชุมชนเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนอย่างมาก แต่การพัฒนาโดยทั่วไปไม่ได้ให้ความสำคัญกับประชาชนมากเท่าที่ควร หรือเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม พอเป็นพิธี หรือเพื่อให้ครบขั้นตอนเท่านั้น
3. การพัฒนาชุมชนมีแนวคิดที่ต้องการให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองและปกครองตนเอง โดยรัฐคอยให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ในขณะที่การพัฒนาโดยทั่วไปมีส่วนสำคัญ ทำให้ประชาชนต้องพึ่งพารัฐหรือบุคคลภายนอก
4. การพัฒนาชุมชนเน้นขั้นตอนการดำเนินการ เช่น การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคิด การตัดสินใจ การวางแผน ลงมือปฏิบัติและการประเมินผล แต่การพัฒนาโดยทั่วไปมุ่งที่ผลสำเร็จของงานเป็นหลัก เป็นต้น
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 โดยมุ่งพัฒนาคนเป็นหลักและนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย การพัฒนาที่แท้จริงจะต้องไม่แยกส่วน แต่ต้องมีความเชื่อมโยงทั้งเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม สุขภาพและการเรียนรู้เข้ามาด้วยกันเป็นบูรณาการ การพัฒนาอย่างบูรณาการ ทำให้เกิดความสมดุล พอเพียงและยั่งยืน
ดังนั้น แนวทางการในปฏิรูปประเทศและการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทุกภาคส่วนของสังคมปัจจุบัน จะเน้นไปที่กระบวนการพัฒนาชุมชน และองค์กรชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง เป็นกลไกและเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นหลัก ส่งเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) ของกลุ่มองค์กรชุมชน ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ ตลอดจนเชื่อมโยงไปถึงกระบวนการพัฒนาประเทศได้โดยอาศัยความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการกำหนดวิถีทางในการปฏิรูปและการพัฒนาชาติ โดยอาศัยพลังของชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน
------------------------------
Tai

PA612: แนวสอบ รศ.ชลิดา: การพัฒนามนุษย์ในประเทศไทย

โดย กลุ่ม 6
--------------------------------
การพัฒนามนุษย์ (HUMEN DEVELOPMENT) หมายถึง การส่งเสริมให้คนมีทางเลือกในชีวิตมากขึ้น สามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพ มีสุขภาพดีและมีความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งมีเสรีภาพและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ย่อมจำเป็นต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้คนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ และสามารถเข้าถึงเครื่องมือสำคัญการเพิ่มสมรรถนะของตนเองได้ ทั้งนี้ แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ สามารถจำแนกได้เป็น ๓ ระดับ ได้แก่ การพัฒนาระดับชาติ การพัฒนาระดับองค์กร และการพัฒนาระดับบุคคล
การพัฒนามนุษย์ในประเทศไทย
อาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรอบการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศมาตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ แต่ละแผนฯ มีระยะเวลาประมาณ ๕ ปี ปัจจุบันอยู่ในฉบับที่ ๑๐ (๕๐ – ๕๔) โดยจุดเปลี่ยนที่ก่อให้เกิดแนวคิดการพัฒนาคน “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” เกิดจาก ผลการพัฒนาประเทศในช่วงแผนฯ ๑ – ๗ ที่ถึงแม้จะมีความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค แต่กลับพบว่าเกิดปัญหาด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิ ความเจริญเติบโตกระจุกตัวอยู่ในเมืองไม่กระจายสู่ชนบท รายได้ต่อหัวของประชากรระหว่างคนรวยกับคนจน คนในเมืองกับชนบทต่างกันมาก เกิดการละทิ้งภูมิลำเนาไปรับจ้างในเมือง การบริหารราชการเป็นแบบรวมศูนย์อำนาจบริหารอยู่ในส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย สภาพแวดล้อมเป็นพิษ เกิดการเสื่อมสลายทางวัฒนธรรม จึงอาจสรุปได้ว่า “เศรษฐกิจก้าว หน้าสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน” ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดและกระบวนการวางแผนในช่วงแผนฯ ๘ จากการมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ มาเป็นการเน้นให้ผลการพัฒนาเป็นประโยชน์ต่อตัวคน หรือ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” พร้อมทั้งเปลี่ยนวิธีการวางแผนจากต่างคนต่างทำเป็นการร่วมมือร่วมใจกัน เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งยึดพระราชดำรัส “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางการพัฒนาต่อเนื่องมาถึงแผนฯ ๙ และแผนฯ ๑๐
การพัฒนามนุษย์ในประเทศไทยในปัจจุบัน
๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐ มีหลายมาตรที่บัญญัติเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ อาทิ
มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย มาตรา ๕๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้ มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มาตรา ๘๐ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม (สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย /ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ /พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ) มาตรา ๘๓ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาตรา ๘๗ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
๒. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (๒๕๕๐-๒๕๕๔)
ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔) ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยยังคงอัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” และให้ความสำคัญต่อการรวมพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอนของแผนฯ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน ดังนี้ ให้คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ ความสามารถ ทักษะการประกอบอาชีพ และมีความมั่นคงในการดำรงชีวิตครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับตนเองที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคมไทย โดยเพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น ๑๐ ปี พัฒนากำลังแรงงานระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ ๖๐ ของกำลังแรงงานทั้งหมด โดยรายได้เฉลี่ยของแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๕ และเพิ่มสัดส่วนนักวิจัยเป็น ๑๐ คน ต่อประชากร ๑๐,๐๐๐ คน พร้อมทั้งกำหนดให้อายุคาดเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น ๘๐ ปี ควบคู่กับการลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคป้องกันได้ใน ๕ อันดับแรก คือ หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง และหลอดเลือดสมองและนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และลดรายจ่ายด้านสุขภาพร้อยละ ๑๐
๓. แผนงาน/โครงการด้านการพัฒนามนุษย์ของกระทรวง ทบวง กรม หน่วยงาน
ราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๕๐ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ อาทิ แผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ
ดัชนีตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ที่นิยมใช้ในสังคมไทย เป็นที่ยอมรับเนื่องจากมีการใช้และพัฒนาเครื่องมือคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง มีเกณฑ์และตัวชี้วัดการพัฒนา ประกอบด้วย ดัชนีความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ดัชนีชี้วัดครอบครัวผาสุก ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข ดัชนีชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ ดัชนีชี้วัดกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) ดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index – HAI) ทั้งนี้ HDI และ HAI เป็นตัวชี้วัดที่กำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ
แนวคิดการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยในอนาคต
๑. แนวคิดว่าด้วยการพัฒนาแบบยั่งยืน
ประชากรของประเทศนับว่าเป็นปัจจัยหลักสำหรับการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเห็นได้จากนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมนั้นล้วนต้องอาศัยทุนมนุษย์ ทั้งนี้ แนวคิดว่าด้วยการพัฒนาแบบยั่งยืน เป็นแนวความคิดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ตามที่ UNFPA ได้รวบรวมคำอธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาแบบยั่งยืนดังนี้ “การพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นการพัฒนาที่กระจายประโยชน์ของความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึงตลอดจนเป็นการพัฒนาที่ปกป้องสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นและในระดับโลกโดยรวมเพื่อชนรุ่นหลัง และเป็นการพัฒนาที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างแท้จริง”
๒. นโยบายของรัฐบาลด้านพัฒนาคน
นโยบายของรัฐบาลควรมีเป้าหมายของการพัฒนาคือการทำให้คนมีความสุข ซึ่งจะต้อง
ประกอบด้วย การมีสุขภาพแข็งแรง ครอบครัวที่อบอุ่น มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีสังคมที่สันติและเอื้ออาทร จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพ รวมถึงอนุรักษ์ส่งเสริมทุนทางสังคมที่เข้มแข็งของประเทศไทยซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงและยั่งยืนได้ ทั้งนี้ รัฐบาลต้องเร่งสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการพัฒนาให้มีความรู้และจริยธรรม และเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอนทุกรูปแบบ
๓. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑
กรอบแนวคิดของแผนฯ ฉบับที่ ๑๑ เป็นการดำเนินการเพื่อบรรลุถึงวิสัยทัศน์ระยะยาว โดยมีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง และคำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นทั้งโอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนา หลักการสำคัญ คือ พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลในทุกมิติ ยึดวิสัยทัศน์ปี ๗๐เป็นเป้าหมาย ซึ่งจะส่งผลให้บรรลุ การพัฒนาที่อยู่บนรากฐานของสังคมไทย อยู่บนกรอบแนวคิดของการพัฒนาบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักของความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติ ครอบครัวมีความสุขเป็นพื้นฐานที่สร้างคนเป็นคนดี
แผนฯ ๑๑ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันทั้งเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และเสริมรากฐานของประเทศด้านต่าง ๆ ให้เข้มแข็ง รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประเทศสามารถเจริญก้าวหน้าต่อไป โดยให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ที่ลำดับความสำคัญสูง ในมิติสังคมเน้นการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เชื่อแน่ว่าหากประเทศไทยได้ดำเนินการตามแผนพัฒนามนุษย์ที่วางไว้ เชื่อว่าการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยจะต้องประสบความสำเร็จ นำไปสู่สังคมที่ดี ประชาชนมีความรู้คู่คุณธรรม ภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคมและธรรมชาติที่ดี เป็นไปตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย ปี ๗๐ อย่างแน่นอน

--------------------------------
Tai

PA612: แนวสอบ รศ.ชลิดา : ความสุขและตัวชี้วัดความของคนในชาติ

โดย กลุ่ม 2
---------------------------------------
คำจำกัดความ “ความสุข”
(พจนานุกรมของราชบัณฑิต 2548) ได้ให้ความหมายของ คำว่า “สุข” หมายถึง ความสบายกาย สบายใจ
(สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ 2548) ได้ให้ความหมายของความอยู่ดีมีสุข หมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ มีความรู้ มีงานที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของรัฐ
ดัชนีความสุขกับการพัฒนาประเทศ
แนวคิดดัชนีชี้วัดความสุขกับการพัฒนาประเทศ เป็นดัชนีทางเศรษฐศาสตร์แนวใหม่ ที่ใช้วัดความสำเร็จของการพัฒนาประเทศโดยใช้ ดัชนีชี้วัดความสุขรวมประชาชาติ (GNH : GROSS National Happiness ) เป็นเป้าหมายหลัก แทนการพัฒนาประเทศที่ยึดความเติบโตของตัวเลขรายได้มวลรวมประชาชาติ ( GDP : Gross Domestic Product ) และผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GNP : Gross National Product)
ความสุขรวมประชาชาติ (GNH : Gross National Happiness ) กล่าวถึงความสำคัญของการวัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและทางวัตถุเช่นเดียวกับ ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ( GNP : Gross National Product) แต่ขณะเดียวกันก็คำนึงถึง คุณค่าเชิงบวก ด้านสังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณ ความเคารพต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งความจำเป็นที่ต้องมีธรรมาภิบาล เป็นพื้นฐานในการวางนโยบายและกำหนดเป้าหมายของชาติ
ในขณะเดียวกัน จีดีพี ไม่สามารถวัดสิ่งที่เป็นเชิงคุณภาพ เช่น ความสุขและความมีสวัสดิภาพที่ดีได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถวัดคุณค่าของการใช้เวลาว่างในการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การชื่นชมงานศิลปะ การชื่นชมธรรมชาติได้ เป็นต้น และจีดีพี ไม่นับรวมการทำงานทั้งหลายที่ไม่ได้รับเงิน เช่น งานบ้าน ทำกับข้าว ดูแลเด็ก คนชรา
ประเทศภูฎาน
ประเทศภูฎานได้สร้างแนวคิดใหม่ในการนิยามความเจริญก้าวหน้าแบบองค์รวม โดยการวัดความอยู่ดีมีสุขที่แท้จริงมากกว่าการบริโภคและกลายเป็นผู้นำในการเผยแพร่แนวคิดเรื่อง ความสุขรวมประชาชาติ (GNH : Gross National Happiness ) ซึ่งริเริ่มโดยกษัตริย์ จิกเม ซิงเย วังชุก ตั้งแต่วันที่ทรงขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1972 ทำให้ภูฎาน มีระบบเศรษฐกิจที่มุ่งรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมทางพุทธศาสนาของภูฎาน ไว้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ และแนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลกแนวคิดดังกล่าวประกอบด้วยเสาหลัก 4 ได้แก่


1. การมีเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง (economic self reliance)
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (environmental preservation)
3. การส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ (culture promotion)
4. การมีผู้นำที่ดีด้วยธรรมาภิบาล (good governance)
กลุ่มมูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Foundation- NEF)
ปัจจุบันมีหลายองค์กรที่ตระหนักถึงการมีชีวิตที่ดีของผู้คน และมองเห็นข้อบกพร่องของจีดีพี จึงพยายามพัฒนาตัวชี้วัดใหม่ขึ้นมา อาทิ ดัชนีโลกมีสุข (Happy Planet Index - HPI) ทำการศึกษาและวิจัยโดยกลุ่มมูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Foundation- NEF) มีการประกาศผลการจัดอันดับประเทศทั่วโลก ด้วยเกณฑ์ชี้วัดนี้เป็นครั้งแรกในปี 2550 New Economics Foundation (NEF) ได้กำหนดดัชนีความสุข (Happy Planet Index: H P I) ไว้
3 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย
1. ความพึงพอใจในการมีชีวิต
2. ความคาดหวังในชีวิต
3. การรักษาระบบนิเวศตามแบบฉบับเดิม
หรือเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
ดัชนีความสุข = ความพึงพอใจในการมีชีวิต + ความคาดหวังในชีวิต + การรักษาระบบนิเวศตามแบบฉบับเดิม
ดัชนีความสุข (Happy Planet Index =HPI) บอกว่า
1. คนจะมีความสุข สังคมจะอยู่เย็นเป็นสุขไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรโลกมากมายอย่างที่ใช้กัน
2. การพัฒนาที่สมดุลจะสร้างความสุขวันนี้ และมีเหลือให้ลูกหลานในวันหน้า นี่คือการพัฒนายั่งยืน
HPI ได้เสนอแนวทางไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข โดยมีวิถีชีวิตอยู่ด้วยทรัพยากรที่จำกัด คือ
1. กำจัดความยากจนและหิวโหยให้หมดไป
2. สนับสนุนชีวิตที่มีความหมาย ซึ่งอยู่นอกจากงานซึ่งอาจไม่ได้ทำเพื่อเงินแต่ทำด้วยใจรัก
3. พัฒนานโยบายเศรษฐกิจในขอบเขตของทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ใช้เกินขีดจำกัด ทุกประเทศใช้เกินขีดจำกัดทั้งนั้น


เกณฑ์ในการพิจารณาหาดัชนี HPI ประกอบด้วย 7 หัวข้อสำคัญซึ่งประเมินทั้งทางปริมาณและคุณภาพ ดังนี้
1. ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
2. ความเข้มแข็งในการรักษาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
3. ความเข้มแข็งทางสุขภาพอนามัย
4. ความเข้มแข็งทางสุขภาพจิต
5. ความเข้มแข็งทางการทำงาน และสวัสดิการแรงงาน
6. ความเข้มแข็งทางสังคม ความปลอดภัย การหย่าร้าง ความขัดแย้งระหว่าง
พลเมือง กฎหมาย
7. ความเข้มแข็งทางการเมือง

ดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์ หรือ Human Development Index : HDI
องค์กรของสหประชาชาติ UNDP ได้พัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์ หรือ Human Development Index : HDI ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. การประเมินอายุเฉลี่ยของประชากร
2. ระดับความรู้หนังสือในแง่อ่านออกเขียนได้
3. รายได้เฉลี่ย
โดยคำนวณออกมาเป็นคะแนนหนึ่งถึงร้อย โดยประเทศที่มีคะแนนต่ำกว่า 50 ถือว่ามีการพัฒนาการของประชากรต่ำและหากมากกว่า 80 คะแนนก็ถือว่าสูง แต่ทว่า Human Development Index : HDI ก็มิใช่ดัชนีที่สมบูรณ์และยังมีข้อจำกัดในการวัดความอยู่ดีมีสุขของประชาชนในประเทศต่างๆ อยู่มาก

ตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย
ความอยู่ดีมีสุข
หมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ มีงานทำที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวทีอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และอยู่ภายใต้ระบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ




องค์ประกอบของความอยู่เย็นเป็นสุข


แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society)คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขอาจแบ่งได้ 3 ระดับ
1) ระดับสังคมไทย 2) ระดับชุมชน 3) ระดับครอบครัว/บุคคล
**** สรุป ****
การพัฒนาประเทศไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของคนและสังคมไทยร่วมกัน จำเป็นต้องให้ความสำคัญ ดังนี้
1. พัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรอบรู้และมีสุขภาพแข็งแรง
2. สร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลายประเภทอย่างทั่วถึง
3. เสริมสร้างครอบครัวให้มีความเข้มแข็งบนบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของครอบครัวไทย
4. ขับเคลื่อนการเสริมสร้างชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมให้เข้มแข็งต่อเนื่อง
ตารางแสดงการเปรียบเทียบประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก
การจัดอันดับ Happy Planet Index (HPI)
ปี ค.ศ.2006 ปี ค.ศ.2009
อันดับ 1 วานูอาตู
อันดับ 2 โคลัมเบีย
อันดับ 3 คอสตาริกา
อันดับ 4 โดมินิกา
อันดับ 5 ปานามา
อันดับ 6 คิวบา
อันดับ 7 ฮอนดุรัส
อันดับ 8 กัวเตมาลา
อันดับ 9 เอล ซา วาดอร์
อันดับ 10 เซนต์วินซองค์
อันดับ 11 เวียดนาม
อันดับ 17 ฟิลิปปินส์
อันดับ 23 อินโดเนียเซีย
อันดับ 31 จีน
อันดับ 32 ไทย
อันดับ 1 คอสตาริกา
อันดับ 2 โดมินิกัน
อันดับ 3 จาไมกา
อันดับ 4 กัวเตมาลา
อันดับ 5 เวียดนาม
อันดับ 6 โคลัมเบีย
อันดับ 7 คิวบา
อันดับ 8 เอล ซา วาดอร์
อันดับ 9 บราซิล
อันดับ 10 ฮอนดูรัส
อันดับ 41 ไทย

การจัดอันดับ Human Development Index (HDI)
ปี ค.ศ.2010 อันดับ 1 "นอร์เวย์“
สำหรับประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ที่สุดในโลกรองลงไป ได้แก่
อันดับ 2 ออสเตรเลีย อันดับ 3 นิวซีแลนด์
อันดับ 4 อเมริกา อันดับ 5 ไอร์แลนด์
อันดับ 6 เลคเทนสไตล์ อันดับ 7 เนเธอร์แลนด์
อันดับ 8 แคนนาดา อันดับ 9 สวีเดน
อันดับ 10 เยอรมัน อันดับ 92 ไทยแลนด์
จาก UNDP REPORT
ข้อมูลโดย พี่นก BEN10
---------------------------------------
Tai

PA612: แนวสอบ รศ.ชลิดา :แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน

โดย กลุ่ม 1
----------------------------------
สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย
ผู้เขียนมุ่งนำเสนอว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประชาชนได้ดูแลบ้านเมืองมากขึ้นจะเป็นรากฐานใหม่สำหรับการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยได้ โดยประชาธิปไตยนั้น ควรแยกเป็น 2 ระดับ คือ
1. ประชาธิปไตยที่ระดับชาติ – ควรให้ประชาชนใช้อำนาจทางอ้อมผ่านผู้แทน (Representative Democracy)
2. ประชาธิปไตยที่ระดับท้องถิ่น – ควรปรับปรุงให้ประชาชนเข้ามามีบทบาในการดูแลบริหารบ้านเมืองด้วยตนเองให้มากขึ้น (Self-Government Democracy)
ประชาธิปไตยควรเริ่มที่ท้องถิ่น
ควรสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตยระดับชาติ มีนักวิชาการที่เคยเสนอความคิดนี้ เช่น ดาห์ล (Robert Dahl) นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันชี้ว่า เมืองซึ่งเป็นท้องถิ่นชนิดหนึ่งนั้นคือ หน่วยการปกครองขนาดพอเหมาะพอดีที่จะอำนวยให้ประชาชนมีส่วนในกิจการของบ้านเมืองได้มากที่สุดโดยไม่จำเป็นต้องผ่านผู้แทนหรือผู้นำเพียงเท่านั้น จอห์น สจ๊วต มิล (John Stuart Mill) ปราชญ์ชาวอังกฤษเสนอความคิดว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นจะฝึกฝนประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจในกิจการของบ้านเมืองได้ดีเป็นพิเศษ
ประเทศไทยเราพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาญาณว่า หากจำเป็นต้องเร่งให้รัฐธรรมนูญแก่ประชาชนตามที่ชนชั้นกลางและผู้มีการศึกษาทั้งหลาย ในช่วงปลายยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ร้องขอ ก็ควรจะเร่งสร้างการปกครองท้องถิ่นเพื่อให้เป็นบ่อเกิดของประชาธิปไตยที่ระดับชาติภายหลัง
กล่าวได้ว่าควรจะสร้างประชาธิปไตยที่ท้องถิ่นขึ้นก่อนแล้วพัฒนาให้การปกครองที่ระดับนั้นเป็นที่ฝึกปรือให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองในระดับที่สูงขึ้นซึ่งตรงกับ จอห์น สจ๊วต มิล ที่ได้แสดงความคิดไว้
นับแต่ 24 มิถุนายน 2475 ถึงก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในช่วงปี 2540 นั้นการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยมันคล้ายกับการปกครองระดับชาติ เช่น ผลักดันสมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหลายให้มาจากการเลือกตั้งเท่านั้นหรือเปลี่ยนแก้ให้ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นเท่านั้น ประชาธิปไตยเพียงแค่ถูกให้อยู่ในกรอบที่เห็นว่าประชาธิปไตยนั้นมีได้แบบเดียวคือ แบบที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านผู้แทนเพียงเท่านั้น

ประชาธิปไตย “ของ” ประชาชน “โดย” ประชาชน
ลินคอล์น กล่าวถึงประชาธิปไตยว่าเป็นการปกครอง “ของ” ประชาชน “โดย” ประชาชน “เพื่อ” ประชาชน
โดยทั่วไปเมื่อให้เลือกระหว่าง “การปกครองโดยประชาชน” กับ “การปกครองเพื่อประชาชน” เราจะเลือก “ประชาธิปไตยเพื่อประชาชน” ก่อนซึ่งเป็นสิ่งที่อ้างว่าการปกครองแทบทุกระบอบทำเพื่อประชาชนทั้งสิ้น แต่ประชาธิปไตยจริงๆคือ ความเชื่อที่ว่าการปกครองที่ดีนั้นคือ การเอื้อให้ประชาชนเป็นผู้ปกครองเอง มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนในการคิดและทำเพื่อบ้านเมืองด้วยตนเองมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ท่านผู้เขียนจึงของสรุปว่า ในระบอบประชาธิปไตยนั้น “ของประชาชน” และ “โดยประชาชน” สำคัญกว่า “เพื่อประชาชน”
เดอ จูเวเนล (de Jouvenel) กล่าวไว้ว่า หากปล่อยให้ประชาชนอ่อนเขลาและเซื่องซึมจนกลายเป็น “ลูกแกะ” ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะได้รัฐบาลแบบ “หมาป่า” ที่จะจัดการกับ “ลูกแกะ” นั้นได้โดยง่าย ซึ่งข้อสังเกตก็คือ ประชาชนแบบลูกแกะนั้นย่อมไม่มีทางที่จะเลือกได้รัฐบาลแบบลูกแกะด้วยกัน มีแต่จะเลือกได้รัฐบาลแบบหมาป่า คือได้ผู้ปกครองที่สันทัดในการใช้อำนาจ หรือหลอกลวง หรือข่มขู่ประชาชนได้ตลอด หากประชาชนไทยยังเป็นผู้น้อย ผู้พึ่งพิงแล้ว เสียงข้างมากก็จะนำมาซึ่งรัฐบาลหมาป่าไปอีกนาน
การสร้างท้องถิ่นให้เป็นประชาธิปไตย ให้ประชาชนกลายเป็นพลเมือง หรือใช้สำนวนแบบ เดอ จูเวเนล คือ “ให้พ้นจากการเป็นลูกแกะ” ต้องเปลี่ยนท้องถิ่นให้ทุกคนเป็นเจ้าของ ทุกคนมีสิทธิมีส่วนที่จะจัดการกับบ้านเมืองได้มากขึ้น เสมือนว่าท้องถิ่นนั้นเป็นของตนเองแล้วประชาชนย่อมจะเห็นดีด้วย และย่อมจะแปรตนเองให้เป็นเจ้าของประเทศ เจ้าของการเมือง และเจ้าของประชาธิปไตยได้
ประชาชนจึงไม่ใช่ปัญหาและจุดอ่อนของประชาธิปไตย หากประชาชนคือความหวังและทางออกของการพัฒนาประชาธิปไตยต่างหาก

วิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยในยุคแรกเริ่ม (2,500 ปีมาแล้ว)
ในนครอิสระต่าง ๆ ของกรีกโบราณโดยเฉพาะในนครเอเธนส์ ซึ่งนครหรือเมืองเหล่านี้มีการปกครองที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับเมืองอื่นๆ หรือศูนย์กลางอำนาจใดๆ เรียกเมืองหรือนครเหล่านี้ว่า “โพลิส” (Polis) อันหมายถึง นครที่ปกครองตนเอง
ในโพลิสที่ประชาชนปกครองตนเองนั้น หมายความว่า สามัญชนคนธรรมดาล้วนมีบทบาท มีสิทธิและมีอำนาจที่จะร่วมกันดูแล หรือบริการ หรือพัฒนาบ้านเมืองได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องอาศัยชนชั้นปกครองหรือกษัตริย์ จักรพรรดิหรือขุนนางมาเป็นผู้ปกครองชาวกรีกในโพลิสที่เป็นประชาธิปไตยนั้นเห็นว่าการปกครองที่ดีก็คือ การปกครองตนเอง ก็คือการที่พลเมืองทั้งหลายได้ร่วมกันปกครองบ้านเมืองของตนเอง

ประชาธิปไตยในยุคที่สอง (500-1,000 ปี มาแล้ว)
การปกครองตนเองในยุคที่สองนี้ ยังต่างจากยุคแรกเริ่มตรงที่เมือง-นครเป็นประดุจการปกครองส่วนท้องถิ่นของแว่นแคว้น โดยเมือง-นครเหล่านี้มิได้เป็นหน่วยการปกครองอิสระดังเช่นนครโพลิสของกรีกโบราณ คำว่าปกครองตนเองในยุคที่สองนี้จึงมีสองนัยยะด้วยกันคือ เมือง-นครที่ปกครองตนเองโดยได้รับธรรมนูญ (Charter) จากรัฐที่ใหญ่กว่าแต่ในขณะเดียวกันก็ยังหมายความว่า พลเมืองที่อาศัยในเขตกำแพงเมืองมีส่วนในการปกครองตนเองพอสมควรที่เรียกว่าพอสมควร เพราะมีการประชุมชาวเมืองที่พอจะเรียกว่าสภาพลเมืองอยู่บ้าง แม้ว่าจะไม่บ่อยและประจำ เท่านครโพลิสแบบกรีกโบราณ แต่การจับฉลากผลัดกันทำหน้าที่ฝ่ายบริหารมีน้อย หรือแทบไม่มี และยุคนี้เองที่การเลือกตั้งมีความหมายและมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะการเลือกที่ให้คนชั้นสูงเข้าไปเป็นผู้บริหาร หรือปกครองเมือง
ในยุคที่สองนื้ การปกครองตนเองจึงเป็น “พหุนิยม” อย่างชัดเจน ไม่มีอำนาจใดอำนาจเดียวที่ครอบงำส่วนต่างๆของสังคมได้หมด เมือง-นคร มีการปกครองตนเองที่เป็นอิสระจากแว่นแคว้นหรืออาณาจักรพอสมควร ชาวเมือง-นคร มีส่วนในการดูแลบริหารบ้านเมืองหรือร่วมในกิจการของบ้านเมืองได้ในระดับหนึ่งเช่นเดียวกับที่กลุ่มสมาคมหรือสถาบันก็มีส่วน ในการบริหารและพัฒนากิจการของตนได้พอสมควร และนี่คือความสลับซับซ้อนของประชาธิปไตยในยุคที่สอง
ประชาธิปไตยยุคที่สาม (ยุคสมัยใหม่)
สิ่งที่นักคิดและผู้นำยุโรปนำเสนอเพื่อปรับประชาธิปไตยแบบโบราณหรือแบบสมัยกลางให้สอดคล้องกับชีวิตสมัยใหม่ก็คือ เปลี่ยนประชาธิปไตยที่ประชาชนร่วมกันดูแลรับผิดชอบบ้านเมืองขนาดเล็กของตนเองให้กลายเป็นระบอบที่ประชาชนทั้งประเทศลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทนเข้ามาทำงานทางด้านนิติบัญญัติหรือบริหารแทนประชาชน ทำให้ประชาธิปไตยกลายเป็นการปกครองระดับประเทศหรือระดับชาติแทนที่จะเป็นการปกครองระดับเมืองหรือนครที่มีประชากรเพียงจำนวนเล็กน้อย ยิ่งไปกว่านั้นประชาธิปไตยในยุคสมัยใหม่ยังได้เปลี่ยนการปกครองตนเองของประชาชนมาเป็นการให้ผู้แทนของประชาชนมาปกครองแทน ซึ่งเรียกประชาธิปไตยในยุคสมัยใหม่นี้กันว่า “ประชาธิปไตยที่ประชาชนใช้อำนาจผ่านผู้แทน” (Representative Government or Representative Democracy) นั่นเอง
การเป็นพลเมืองในประชาธิปไตยยุคใหม่จึงไม่ได้เรียกร้องให้เป็นผู้เสียสละ คิดหรือทำเพื่อบ้านเมืองมากมาย หน้าที่ของประชาชนเหลือเพียงทำเรื่องส่วนตนให้ดีที่สุดและเลือกผู้แทนให้ดีที่สุดเป็นพอแต่เรื่องของส่วนรวม เรื่องของบ้านเมืองกลับถือเป็นเรื่องของนักการเมือง และบรรดาข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ (ซึ่งนี่ก็คือสาระปรัชญาเสรีนิยมนั่นเอง)
ชุมปีเตอร์ (Schumpeter) ชี้ว่าความคิดเรื่อง “สาธารณประโยชน์” (Common good) หรือเจตจำนงประชาชน (The wills of the people) ที่นักคิดยุคก่อนๆ กล่าวถึงนั้นเป็น “ปรัมปรานิยาย” เสียมากกว่า เพราะเท่าที่พบเห็นกันมา ประชาชนนั้นไม่อาจคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลในทุกๆ เรื่องดังกล่าวได้ หน้าที่ของผู้แทนประชาชนคือการมาคิดและตัดสินใจแทนปวงชนอย่างเป็นระบบนั่นเอง
สำหรับชุมปีเตอร์นั้นประชาธิปไตยสมัยใหม่หาใช่การปกครองโดยตรงของประชาชน หากเป็นเพียงการปกครองที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนในการเลือกตั้งเป็นพอ ชุมปีเตอร์เห็นว่า “ประชาธิไตย คือการที่โอกาสที่จะรับหรือปฏิเสธคนที่จะเข้ามาปกครองตนเอง” เท่านั้น ซึ่งคิดตามตรรกะของชุมปีเตอร์แล้วประชาธิปไตยสมัยใหม่ก็คือการเลือก “หัวหน้า” หรือเลือก “นาย” และผู้ที่เลือกนั้นก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีหน้าที่หรือความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองมากนัก
ทว่าในความเห็นของผู้เขียนเองนั้น การที่ประชาชนยังอยู่ใต้อิทธิพลของระบบอุปถัมภ์และยอมรับสินจ้างรางวัลนั้น เป็นเพราะพวกเขายังไม่ได้เป็นเจ้าของประชาธิไตยอย่างแท้จริงหรือเท่าที่ควรต่างหากความรู้สึกที่ว่าประชาธิปไตยเป็นของเขานั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประชาชนได้มีส่วนรับผิดชอบในการบริหารและพัฒนาบ้านเมืองได้มากกว่าปัจจุบันนี้เราต้องทำให้ประชาธิปไตยไทยเป็นของประชาชนด้วยการทำให้งานบ้านงานเมืองนั้น ทำได้โดยประชาชนเองมากขึ้นนั่นเอง
นั่นจึงเป็นเหตุให้เราต้องกลับไปใช้ประชาธิปไตยยุคที่หนึ่งและยุคที่สอง ที่ประชาชนมีส่วนดูแลบ้านเมืองด้วยตนเองมาก ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนนั่นเอง แต่ประเทศไทยทุกวันนี้มีอาณาเขตและประชากรที่มากกว่าเมืองและนครมหาศาล ประชาธิปไตยที่ระดับชาติจึงยังคงต้องเป็นประชาธิปไตยทางอ้อมที่ผ่านผู้แทนแม้แต่ประชาธิปไตยที่ใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น กทม. อบจ. อบต. หรือเทศบาลก็ยังต้องใช้การเลือกตั้งผู้แทนอยู่ไม่น้อย แต่คงจะเป็นการดียิ่งขึ้นหากจะเสริมประชาธิปไตยแบบผ่านผู้แทนนั้นด้วยประชาธิปไตยที่ประชาชนร่วมกันปกครองที่ระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น

ข้อเสนอเชิงปฏิบัติให้ท้องถิ่นเป็นการปกครองตนเอง
1. ควรมีการประชุมขอความเห็นและหารือไตร่ตรองกันในหมู่ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัด เช่น การประชุมชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน การประชุมชาวเมืองที่มีภูมิลำเนาบนถนนสายเดียวกันหรือในซอยเดียวกัน ทั้งนี้ถือหลักที่ให้ผู้มาประชุมต้องรู้จักคุ้นเคยกันพอสมควรทำให้การประชุมเหล่านั้นเป็นไปอย่างมีมิตรไมตรีและมีการสนับสนุนซึ่งกันและกันโดยไม่คำนึงว่าความคิดเหล่านั้นจะเป็นความคิดของใครมาจากไหน ควรหลีกเลี่ยงการลงมติตัดสินข้อขัดแย้งด้วยเสียงข้างมาก ควรใช้การโน้มน้าวจูงใจด้วยเหตุผล หลักคุณธรรมและจริยธรรมมากกว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะต้องจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองผ่านโรงเรียนของท้องถิ่นหรืออาศัยบุคลากรของหน่วยราชการและเอกชนหรือองค์กรพัฒนาต่างๆ เป็นกำลังสำคัญ ปลูกฝังให้ประชาชนมีสำนึกของความเป็นพลเมืองตระหนักในสาธารณะประโยชน์
หลักในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงไม่ควรใช้หลักเดียวกันกับราชการส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีลักษณะคล้ายชาวบ้านหรือชาวเมือง หรือเป็นคนกันเองกับชาวบ้านชาวเมืองให้มาก
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีงบประมาณพิเศษให้กับประชาชนรวมตัวกันเป็นกลุ่มสมาคม ให้ร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ของกลุ่มเองไม่ใช่คอยรับแต่ความช่วยเหลือจากรัฐเท่านั้น ควรจะมีงบประมาณที่ให้กับการศึกษาที่เน้นให้ประชาชนทุกวัยทุกระดับมีความรู้ในประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม จุดแข็ง จุดอ่อนต่างๆ ของท้องถิ่นในการพัฒนาของท้องถิ่น
3. หากท้องถิ่นใดมีขนาดใหญ่ เช่น กทม. หรือ อบจ. ควรจัดให้มีการกระจายอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองให้อำนาจและทรัพยากรไปอยู่ที่ระดับพื้นฐานให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดหลักที่ว่าหน่วยทางการเมืองต้องมีขนาดเล็กพอสมควรจึงจะทำให้เกิดการปกครองตนเองของประชาชนได้มากขึ้น
4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรสนับสนุนให้เกิดอาสาสมัครในหมู่ประชาชนในเรื่องต่างๆ ให้มากที่สุด อาจถือหลักว่าส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนั้นขับเคลื่อนด้วยข้าราชการหรือลูกจ้าง แต่ส่วนท้องถิ่นนั้นควรขับเคลื่อนด้วยอาสาสมัคร คือประชาชนที่มีสำนึกว่าต้องเข้าร่วมแบกภาระของท้องถิ่นร่วมกัน เช่น อาสาสมัครดูแลสวนหย่อม อาสาสมัครดูแลเด็กและคนชรา อาสาสมัครดูแลห้องสมุด อาสาสมัครดูแลห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ
ยิ่งไปกว่านั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำให้ประชาชนเห็นว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะอาสาทำงานให้กับบ้านเมือง สามารถที่จะร่วมคิดร่วมหารือให้งานที่ตนอาสาช่วยนั้นเดินไปสู่ทิศใดได้อย่างอิสรเสรีพอควร ต้องตระหนักว่าอาสาสมัครนั้นมิใช่ลูกน้องหรือผู้ช่วยของช้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่น ทั้งไม่ใช่ผู้ปรารถนาจะทำงานแลกกับเงินเดือน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดหาให้เฉพาะค่าอาหารและค่าเดินทางเท่านั้น) หากเป็นผู้ที่มองเห็นว่าการเมืองของท้องถิ่นนั้นที่สำคัญที่สุดคือ การร่วมกันทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่นนั่นเอง
5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเสริมงานปลุกประชาคมให้เป็นอาสาสมัครด้วยการตั้งคณะกรรมการ คณะทำงาน คณะที่ปรึกษาให้มากที่สุด แล้วให้บุคคลที่ดีเด่นและมีจิตใจอาสาสมัครเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกในคณะต่างๆ ที่กล่าวมาให้มากที่สุด เพื่อให้การทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะได้เป็นที่รองรับบุคคลที่มิใช่นักการเมืองหรือข้าราชการ-พนักงานประจำให้ได้มากที่สุด
6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรลดการขยายตัวของข้าราชการ-พนักงานประจำควรใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้เป็นงบพัฒนาให้มากที่สุด ไม่ควรเริ่มต้นด้วยความคิดที่ว่าตนมีงบประมาณไม่พอหรือตนมีข้าราชการ-พนักงานประจำไม่พอ เพราะการปกครองที่เป็นการดูแลบ้านเมืองด้วยประชาชนเอง ย่อมอาศัยอาสาสมัครและประชาชนผู้มีความรัก มีความห่วงใยและมีความผูกพันต่อท้องถิ่นเป็นกำลังในการทำงาน ต้องย้ำว่าราชการส่วนท้องถิ่นไม่ควรจะเลียนแบบราชการส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค หากต้องมีความเป็นตัวของตัวเองในลักษณะที่แยกข้าราชการ-พนักงานออกจากประชาชนแทบไม่ได้ ต้องระลึกไว้เสมอว่า จุดแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ ความสามารถในการใช้ประชาชนเป็นกำลังในการแก้ปัญหา
ประชาชนสำหรับราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอาจหมายถึง ผู้ที่รอรับความช่วยเหลือ คอยรับการพัฒนา คอยรับการแก้ไขปัญหา แต่ประชาชนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว กลับเป็นผู้เล็งเห็นปัญหา ผู้อยากแก้ไขปัญหาและผู้ที่มีส่วนในการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้มากที่สุด
7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ควรมองชาวบ้านหรือชาวเมืองที่อยู่ในการปกครองของตนเป็นเพียงคนจน คนด้อยโอกาสหรือผู้ลงคะแนนเสียง หากต้องฝึกให้ชาวบ้านหรือชาวเมืองเหล่านั้นมีความภูมิใจในตนเอง ตระหนักว่าตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือบ้านเมือง ท้องถิ่นนั้นต้องช่วยเปลี่ยนชาวบ้านที่อยู่ในวัฒนธรรมอุปถัมภ์ให้กลายไปเป็นพลเมืองที่มีวัฒนธรรมในการช่วยกันดูแลและพัฒนาบ้านเมือง
ท้องถิ่นที่เป็นองค์กรภาคสังคมด้วย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างหากที่ควรจะเปลี่ยนไปเป็นองค์กรภาคสังคมได้มากขึ้น และนี่ก็คือข้อเสนอเชิงทฤษฎีที่เพิ่มเติม การทำให้ท้องถิ่นมีประชาชนมาดูแลบ้านเมืองด้วยตนเองมากขึ้น เราต้องทำให้ท้องถิ่นลคความเป็นรัฐลงด้วย ท้องถิ่นต้องภูมิใจที่กลายเป็นองค์กรทางสังคมมากขึ้น และพร้อมที่จะลดความเป็นรัฐของตนลงเป็นลำดับ
นั่นหมายความว่า องค์กรปกครองท้องถิ่นไม่ควรคิดว่าการบริหารจัดการพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐธรรมนูญ หรือจากกฎหมายอื่นๆ นั้นเป็นของตนแต่ผู้เดียว (ลดลักษณะเอกนิยมทางอำนาจลง) ควรให้เห็นว่าบ้านเมืองที่ดีนั้นต้องให้หลายๆ ภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นจากรัฐหรือสังคมเข้ามาแบกรับ (เป็นพหุนิยมทางอำนาจ) ท้องถิ่นควรเป็น “เพื่อน” ควรเป็น “มิตร” กับองค์กรภาคสังคมมากกว่า ท้องถิ่นควรเป็นเพียงองค์กรภาคสังคมองค์กรหนึ่ง และอย่าอยู่เหนือองค์กรภาคสังคมองค์กรอื่นๆ โดยไม่จำเป็น (First Among Equals)

ท้องถิ่นที่ยอมรับการเป็น “พหุนิยมแบบอังกฤษ”
ในปลายทศวรรษที่ 19 ต้นศตวรรษที่20 มีนักคิดชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งเช่น ฟิกกิส (Figgis) ลัสกี้ (Laski) และเมทแลนด์ (Maitland) (เห็นว่า รัฐในอุดมคติหรือรัฐในอนาคตควรจะลดการผูกขาดอำนาจในการบริหารและการจัดการสังคมลง และรัฐเช่นว่านี้ไม่ควรเห็นว่าประกอบไปด้วยบุคคลเท่านั้น หากสังคมอุดมคติควรจะประกอบด้วยสังคมย่อยต่างๆ มากมายซึ่งเป็นองค์กรคั่นกลาง หรือองค์กรเชื่อมระหว่างรัฐกับบุคคล พวกนักคิดพหุนิยมแบบอังกฤษ เชื่อว่าเราต้องไม่อาศัยเพียงบุคคลที่เป็นพลเมืองมาเชื่อมต่อกับรัฐโดยตรงเท่านั้น ไม่ว่าในฐานะผู้รับบริการของรัฐหรือผู้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาสังคม
นักคิดพหุนิยมเหล่านี้เห็นว่าอำนาจในการบริหารหรือจัดการกับบ้านเมือง ควรเป็นอำนาจที่ช่วยกันรับหรือถือเอาไว้โดยกลุ่มต่างๆ ที่มากมายหลากหลายในสังคม รัฐควรให้บทบาทหรือให้อำนาจหน้าที่แก่องค์กรต่างๆ ในสังคมในการแก้ไขปัญหาในเรื่องเฉพาะของแต่ละองค์กรให้มากขึ้น และนั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “พหุนิยม”

เล็ก คือ งาม
กว่า 30 ปีที่แล้ว ชูมาเกอร์ (E.F. Schumacher) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ-เยอรมัน ได้เขียนหนังสือเรื่อง Small is beautiful (เล็กคืองาม) กล่าวถึงประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องย้ำที่ประชาชนเองต้องเป็นตัวของตัวเองได้ก่อนที่จะปกครองตนเอง แต่ประชาชนจะเป็นตัวของตัวเองได้แต่ในเขตการปกครองขนาดเล็กที่ประชาชนเข้าถึงและเข้าใจกันเท่านั้น ดังนั้นเขตการปกครองขนาดเล็กจึงมีประโยชน์ในการปกครองแบบประชาธิปไตย

แก้ปัญหาประชาธิปไตยต้องเริ่มที่ท้องถิ่น
การอภิวัฒน์ที่ท้องถิ่นก่อนก็ด้วยความมุ่งหมายว่ามันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยที่ระดับประเทศ ทำให้มันกลายเป็นที่ยอมรับของประชาชนทุกชนชั้น ทุกระดับ และทุกภาคส่วนของประเทศได้อย่างแท้จริง และเมื่อผู้น้อย ผู้ยากจน ผู้พึ่งพิงตนเองไม่ได้ทั้งหลาย ได้สลัดตนเองออกจากระบบอุปถัมภ์กลายไปเป็นพลเมืองผู้ซึ่งร่วมกันแก้ปัญหาของตนเอง และปัญหาของชุมชนได้ พวกเขาก็จะกลายเป็นผู้ที่มีฐานะทางการเมืองไม่ด้อยไปกว่าคนชั้นกลางและคนในเมือง และหลักที่ว่าประชาธิปไตยคือเสียงข้างมากก็จะเป็นที่ยอมรับจากคนชั้นกลางและคนในเมืองด้วย ส่วนทหารหรืออภิชนหรือพลังนอกรัฐธรรมนูญอื่นใดก็ย่อมจะต้องอนุวัตรตามความเห็นและความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่มากขึ้นเป็นลำดับอย่างแน่นอน
เมื่อประชาธิปไตยเปลี่ยนจากการเป็นเวทีของระบบอุปถัมภ์และการใช้เงินทองของนักการเมืองกลับกลายเป็นสนามฝึกซ้อมให้ประชาชนทุกระดับโดยเฉพาะที่ระดับท้องถิ่นได้มีความรับผิดชอบและผูกพันต่อบ้านเมือง เข้าร่วมแก้ปัญหาและพัฒนาบ้านเมืองเสมือนหนึ่งบ้านเมืองนั้นเป็นครอบครัวหรือบ้านใหญ่ของตนเองเช่นกัน
กรณีศึกษา อบต.ควนรู จ.สงขลา
พบว่าทำให้เกิดความสมัครสมานร่วมกันทำประโยชน์ให้แก่พื้นที่นั้นๆ เป็นอย่างดี มีการปรึกษาหารือไตร่ตรองกันเรื่องใครควรจะลงสมัครรับเลือกตั้งในสภา อบต. หรือเป็นประธานกรรมการบริหาร อบต. ซึ่งสภาผู้นำของตำบลควนรูนั้นเป็นองค์กรที่ไม่เป็นทางการซึ่งคัดสรรผู้เหมาะสมมาเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านหรือนายก อบต. แทนที่จะอาศัยแต่เพียงการลงสมัครรับเลือกตั้งตามอำเภอใจของแต่ละบุคคลดังที่เป็นมาช้านาน การคัดสรรผู้รับสมัครเลือกตั้งเช่นนี้จึงเป็นเสมือนฉันทามติของประชาชนใน อบต. ว่าจะลงคะแนนให้เฉพาะผู้ที่สภาผู้นำคัดสรรรมาก่อนแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ การเลือกตั้งต่างๆ ของ อบตต. ควนรูจึงเป็นการเลือกตั้งคนดีด้วยกัน ไม่ใช่อามิสสินจ้างเป็นเครื่องล่อใจแต่ประการใด ผู้ลงคะแนนเสียงล้วนมีความเข้าใจและมุ่งมั่นที่จะเลือกผู้แทน-ผู้นำ ที่จะมาพัฒนา อบต. ร่วมกับประชาชนทั้งมวล
อภิวัฒน์ท้องถิ่นเพื่อสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองใหม่
หนังสือเล่มนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการรณรงค์สร้างสำนึกและวัฒนธรรมให้คนในชาติเห็นความสำคัญที่จะ “แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน” คือ สร้าง “ท้องถิ่น” ให้เป็นการปกครองที่ดูแลโดยประชาชนเองเพื่อให้เป็น “รากฐาน” ใหม่ของประชาธิปไตย ที่จะมีความชอบธรรมยิ่งขึ้น


บรรณานุกรม

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2552). แปรถิ่นเปลี่ยนฐาน สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็น
รากฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
----------------------------------
Tai

PA612: แนวสอบ รศ.ชลิดา :คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติกับการพัฒนาชาติ

โดย น้องยุ้ย (กลุ่ม 3 - ผิดตกขออภัย)
---------------------------
การที่ชาติจะพัฒนาได้นั้น ต้องเริ่มจากการพัฒนาคนในชาติซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเมื่อไหร่ก็ตาม เราเห็นชาติเจริญ คุณภาพชีวิตของคนในชาติก็จะเจริญตามไปด้วย การที่จะพัฒนาให้ประชาชนในชาติมีคุณภาพชีวิต ที่ดีย่อมขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม สภาวะทางเศรษฐกิจ ศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ โดยการพัฒนาทางด้านการศึกษา การสาธารณสุข สภาพแวดล้อม และอื่น ๆ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรให้ดีขึ้น ถ้าหากว่ามีการพัฒนาคนในชาติได้ผลก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชาติดีขึ้นและพัฒนาแล้วนั่นเอง
คุณภาพชีวิต หมายถึง สภาวะความพร้อมของบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ ด้านอื่น ๆ เช่น อาหาร ที่อยู่อาศัย รายได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตในระดับที่เหมาะสมของมนุษย์ตามสภาพความจำเป็นพื้นฐานในสังคมและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
องค์ประกอบของคุณภาพชีวิต มีดังนี้
1. มาตรฐานการครองชีพ โดยดูจาก
1.1 รายได้ต่อบุคคล นั่นคือ รายได้เฉลี่ยของประชากรต่อคนต่อปี โดยคิดจากผลรวมของผลผลิตประชาชาติทั้งหมดภายใน 1 ปีต่อจำนวนประชากร ถ้ามีค่าสูงแสดงว่าประเทศนั้นมีการกินดีอยู่ดี เศรษฐกิจของประเทศดี
1.2 สุขภาพ นั่นคือ ถ้าบุคคลมีสุขภาพดี มีโอกาสทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
1.3 ที่อยู่อาศัย นั่นคือ มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ที่อยู่อาศัยมีวัสดุที่มีคุณภาพ ถาวร
1.4 การศึกษา เพราะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับ
1.5 การสังคมสงเคราะห์ นั่นคือ ต้องให้บริการแก่คนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เช่น คนชรา คนพิการ คนว่างงาน
2. การเปลี่ยนแปลงประชากร โดยดูจาก
2.1 ขนาดของประชากร ซึ่งจะต้องมีความสมดุลกับทรัพยากรของชาติ
2.2 อัตราการเติบโตของประชากร ถ้าสูงจะเกิดผลกระทบต่อครอบครัว สังคมในด้านเศรษฐกิจและสังคม
2.3 โครงสร้างอายุประชากร นั่นคือ ในช่วงแต่ละอายุจะต้องมีความสมดุล
3. ระบบสังคมและวัฒนธรรม เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ รูปแบบการปกครอง วัฒนธรรมที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นสังคมประชาธิปไตยหรือสังคมนิยม ความเชื่อทางด้านศาสนาที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ค่านิยมทางวัฒนธรรมซึ่งจะเป็นตัวกำหนดลักษณะของการดำรงชีวิต ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
4. กระบวนการพัฒนา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อันประกอบด้วย
4.1 ลำดับความสำคัญของการพัฒนา 4.4 การพัฒนาสังคม
4.2 ประสิทธิภาพและความสำคัญของบุคคล 4.5 การพัฒนาการค้า
4.3 การพัฒนาเศรษฐกิจ
- 2 -

5. ทรัพยากร นั่นคือ ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ บุคคล อาหาร และทรัพยากร ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
6. สิ่งแวดล้อม ได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน ป่าไม้ ความสวยงานทางธรรมชาติ
ซึ่งจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 แห่งราชอาณาจักรไทย พอสรุปได้ว่า ตัวชี้วัดที่จะใช้วัดคุณภาพชีวิตของคนไทยนั้น ประกอบด้วย
1. ตัวชี้วัดทางวัตถุวิสัย อันได้มาจากการสำรวจและสังเคราะห์จากข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งรวบรวมจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ข้อมูลทางด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้านแรงงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณูปโภค และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นตัววัดคุณภาพชีวิตของคนไทย
2. ตัวชี้วัดทางอัตวิสัย ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ
2.1 คุณภาพชีวิตด้านการทำงาน หมายถึง ความพึงพอใจในงาน / อาชีพ ความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ความก้าวหน้าของงานที่ทำอยู่ ความพึงพอใจในรายได้
2.2 คุณภาพชีวิตด้านครอบครัว หมายถึง ความพึงพอใจเกี่ยวกับความผูกพัน การช่วยเหลือ และความรับผิดชอบต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว
2.3 คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและความเครียด หมายถึง อาการทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่แสดงออกมา อันจะบ่งบอกถึงภาวะของสุขภาพและระดับความเครียดของจิตใจ
2.4 คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความรู้สึกทางกายที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณใกล้บ้าน
2.5 คุณภาพชีวิตด้านความเป็นอยู่ประจำวัน หมายถึง ความพอใจต่อการได้รับการให้บริการที่ดีของรัฐในด้านการศึกษา คมนาคม สาธารณสุข สาธารณูปโภคต่าง ๆ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การพัฒนาคน คือ การพัฒนาชาติ ความสำคัญของการพัฒนาคนถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและยั่งยืนที่สุดเมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น ๆ เพราะความสำเร็จทั้งในระดับเล็กหรือองค์กรและในระดับชาติขึ้นอยู่กับศักยภาพของบุคคลเป็นสำคัญ องค์กรใดหากมีทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถสูง มีคุณธรรม จริยธรรม ย่อมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน นำพาองค์กรหรือชาตินั้นไปสู่ความสำเร็จและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยนั้นถือว่า เริ่มมีมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 8 เรื่อยมาจนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 10 ในปัจจุบัน เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนและสังคมให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อมุ่งสู่สังคมที่เป็นสุขร่วมกัน
ดังนั้น การพัฒนาคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ การบริหารงานของรัฐบาลจะพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ มากน้อยเพียงใด ประเทศจะพัฒนาหรือไม่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศนั่นเอง เพราะเมื่อมีการพัฒนาคนในชาติได้ผลก็จะทำให้ชีวิตคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประเทศก็จะพัฒนาไปอย่างยั่งยืนและถาวรได้นั่นเอง
-------------------------
Tai

PA612 : แนวสอบ/คำถามจาก ผศ.ดร.บุญยง

โดย mooblock@hotmail.com
-------------------------
Q: จากการพัฒนาของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่น รวยหรือจนความคิดของนักศึกษา? โดยให้หาทฤษฎีและเหตุผลสนับสนุน
แม้ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นจะมีGNPสูงเป็นอันดับ2ในโลกซึ่งให้ให้ประเทศต่างๆมองเห็นถึงความร่ำรวยมั่งคั่งของญี่ปุ่นแต่ในความเป็นจริงแล้วข้าพเจ้าคิดว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความยากจนแอบแฝงอยู่ โดยใช้ทฤษฎี ศักยภาพการพัฒนาและการแพร่กระจาย ช่วยวิเคราะห์
ทฤษฎี ศักยภาพการพัฒนาและการแพร่กระจาย มีปัจจัย 6 ประการ
1. ทรัพยากรธรรมชาติ ถ้ามีมากการพัฒนาก็จะสูง ลดการพึ่งพา แต่ ญี่ปุ่นไม่มี ต้องพึ่งพาจากต่างประเทศ เช่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยในข้อนี้มีวามสำคัญที่สุดในการพัฒนา
2. ทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะวัยแรงงานถ้ามีมากศักยภาพสูง แต่ญี่ปุ่นประชากรวัยชรามีสูง แก่แต่ไม่ตาย
3. องค์กรสังคม มีพรรคการเมืองดีมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายค้านมาบริหารประเทศขาดทักษะประสบการณ์
4. ผู้นำ ผู้นำคนเยอะ กลุ่มคนทำงานใหญ่ ญี่ปุ่นคนทำงานเป็นทีม
5. การติดต่อ ญี่ปุ่นมีการติดต่อสื่อสารที่ดีมีศักยภาพ
6. การศึกษาฝึกอบรม ญี่ปุ่นมีการศึกษาฝึกอบรมที่ดี
ญี่ปุ่นขาดทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา
ปัจจัยที่แสดงถึงความยากจนของญี่ปุ่น
• ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 120 ล้านคน แต่มีพื้นที่น้อยเป็นหมู่เกาะ ทำให้แสดงถึงความแออัดของประชากร
• ประชากรของประเทศญี่ปุ่น มีสัดส่วนวัยชราค่อนข้างเยอะ เมื่อเทียบกับประชากร และด้วยญี่ปุ่นเป็นรัฐสวัสดิการ ทำให้วัยแรงงานมีภาระมากขึ้นต้องทำงานมากขึ้น
• สภาวะแวดล้อมมีปัญหาจากอดีตถึงปัจจุบัน เช่นโรค อิไตอิไต ที่เกิดจากการบริโภคน้ำเหมืองแร่ โรคมินามาตะ เกิดจากสารปรอท และมนุษย์ปรมาณูจาการรั่วไหลของกัมมัตรังสีทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
• ประเทศญี่ปุ่นไม่มีทรัพยากรเป็นของตนเอง เปรียบเหมือนซูโม่ตัวใหญ่บนรองเท้าบัลเล่ย์คู่เล็ก มีการพึ่งพาการค้า ต่างประเทศ เช่น USA ถึง25%
• การดำรงชีวิตไม่สมดุลกับการผลิต สิ่งที่เป็นวัตถุเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เมืองเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าชนบท
• อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นมีลักษณะ โครงสร้าง 2 ชั้น คือ บ.ยักษ์ กับ บ.SMEs แสดงถึงความด้อยพัฒนา และรัฐบาลส่งเสริมแต่บ.ยักษ์ ละเลย บ.SMEs
• ค่าแรงสูง ส่งผลต่อค่าครองชีพสูง
• การระบายน้ำและส้วมเทียบเท่าประเทศกำลังพัฒนา
• ปัญหาที่อยู่อาศัยยิ่งเมืองใหญ่ห้องยิ่งเล็กมากๆ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้บ้านมีราคาแพงมากแม้คนญี่ปุ่นจะทำงานอย่างบ้านคลั่ง ทุ่มเทเท่าไหร่แต่งานที่ทำก็ไม่สามารถให้คนทั่วไปมีบ้านได้ ไม่สามารถผ่อนให้หมดได้ในรุ่นเดียว บ้านมีเพียง 2 ห้องนอนเท่านั้น คือ ห้องครัว และห้องนอนทำให้เมื่อชรา ไม่สามารถอยู่กับลูกได้
จากปัจจัยที่กล่าวมาแสดงให้เห็นถึง ความยากจนของคนญี่ปุ่น ซึ่งแม้ ญี่ปุ่นจะมีGNP ที่สูงติดอันดับ 2 ของโลก แต่คนญี่ปุ่นไม่ได้มีความสุข หรือมีปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ที่พร้อมสมบรูณ์
---------------------
Tai

แจ้งเปลี่ยนเวลาและสถานที่สอบ ห้อง3/1 สอบ PA612 ห้อง 3/2 สอบ PA610

ข่าวฝากจากท่านประธานโต 3/1
------------------------
เรียน เพื่อน ๆ รป.ม.หัวหมาก 3/1และ3/2
ทางโครงการแจ้งเปลี่ยนเวลาและสถานที่สอบ ห้อง3/1 สอบ PA612 ห้อง 3/2 สอบ PA610 สอบวันอาทิตย์ที่ 29 พ.ค.54 เปลี่ยนเวลาเป็น 13.00-16.00 น. รายละเอียดตามลิงก์ที่แนบ หมายเหตุ ทางโครงการฯ เปลี่ยนสถานที่สอบ มาสอบที่อาคารนพมาศ ชั้น 5 ห้อง 501 การจารจรอาจติดขัด ให้นักศึกษาวางแผนการเดินทาง ทราบแล้วบอกต่อเพื่อน ๆ ด้วยคร๊าบบบ ^^

----------
Tai

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ANT: เรื่องของมด....สะเทือนองค์การ

เรื่องเล่าของฝรั่งต่อไปนี้ เป็นเรื่องของมด ได้รับจาก forward mail และเข้าดูในเว็บไซต์ต่างๆ มานำเสนอ ดังนี้ (มีลิงค์ด้านล่างให้เข้าดูฉบับเต็ม : ไทย-อังกฤษ)
----------------------------------
คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย











----------------------------------

อ่านแล้วก็นึกสงสารมด .... แต่... เข้าอ่านฉบับเต็มนี้ก่อน
แล้วค่อยตัดสินใจว่าควรจะสงสารดีมั้ย

----------------------------------


----------------------------------

Tai

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

PA610,710: แนวข้อสอบการบริหารเชิงกลยุทธ์

เรียน เพื่อนๆ รป.ม. ทุกท่าน
วันนี้ เพิ่งสอบ PA610 ของ 3 ท่านอาจารย์มาหมาดๆ มีแนวข้อสอบ ประมาณนี้ (จริงๆ คำถามยาวมาก)
---------------
1. อธิบายถึง "นายกรัฐมนตรี(ผู้นำ) ที่พึงประสงค์ และไม่พึงประสงค์ อย่างละ 10 ประการ" (แนวตอบ มีในหนังสือที่แจก และในอินเทอร์เน็ต รวมทั้งในเว็บนี้ ลองหาดูในหัวข้อ วิชาการนะ)
2. (รศ.สมชัยฯ) อธิบาย Stakeholders Analysis เพื่อหาทางแก้ไขสินค้าราคาแพง โดยวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกทั้งโอกาสและภัยคุกคาม และอธิบายให้ชัดเจนว่า Stakeholders ใดคือโอกาสหรือภัยคุกคาม และอธิบายกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนภัยคุกคามให้เป็นโอกาส (แนวตอบมีในตำราที่แจก คือเรื่อง 4M, 4P, Five Forces Model และ Organinzation Stakeholders เป็นต้น
3. (ผศ.วิชัยฯ) วิเคราะห์ SWOT ในองค์การของท่าน เพื่อกำหนดกลยุทธ์หรือทิศทางขององค์การประจำปีนี้ (แนวตอบ ให้เทคนิค SWOT analysis, TOWS Matrix)
----------------
Tai

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

เปลี่ยนแปลงห้องสอบ 24 เม.ย. 2554 ไปที่ อ.นพมาศ ห้อง 502

เรียน เพื่อน รป.ม. หัวหมาก 3/1 และ 3/2
.
ประกาศจากโครงการ เรื่อง ขอเปลี่ยนแปลงห้องสอบ รป.ม.หัวหมาก 3/1 และ 3/2 ในวันพรุ่งนี้(24 เม.ย.54 เวลา 9.00-12.00)โดยให้ไปสอบที่อาคารนพมาศ ชั้น 5 ห้อง 502...**ขออภัยในความไม่สะดวกค่ะ**
--------------
Tai

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

PA610,710: การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวสอบโดยประธานโต

ข้อมูลจากเมล์กลางของพวกเราเอง สรุปโดยประธานโตของพวกเรา
---------------------------
คำถาม (อ.สุชาติ สังข์เกษม) ให้อธิบายคุณลักษณะผู้นำ (นักกลยุทธ์)ที่พึงประสงค์ และที่ไม่พึงประสงค์

ตอบ คุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์
ผู้บริหาร คือ ผู้มีระเบียบกฎหมายแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ
ส่วน“ผู้นำ”ไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบกฎหมายเพียงแต่เป็นบุคคลที่สามารถชักจูง โน้มน้าวให้คนอื่น มีการเปลี่ยนแปลงตามความเชื่อหรือทัศนคติตามตนเองได้ ฉะนั้น ผู้บริหารที่ดีอันเป็นที่พึงประสงค์จะต้องเป็น “ผู้นำ” ด้วย

ผู้บริหารหรือผู้นำเป็นตำแหน่งที่ทุกคนอยากได้ เป็นไปตามความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งมาสโลว์ได้ระบุไว้คือ ความต้องการด้านร่างกาย ด้านความมั่นคงปลอดภัย ด้านสังคม ด้านมีชื่อเสียง และด้านความสำเร็จ ซึ่งเป็นความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด ผู้บริหารหรือผู้นำ ถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหน่วยงาน บุคคลที่จะก้าวเป็นผู้บริหารหรือผู้นำ ต้องมีศักยภาพ(Potential)เหนือคนอื่นในหน่วยงานหรือในกลุ่มสังคมของตนเอง

ซึ่งคุณลักษณะผู้นำที่พึงประสงค์ มีดังต่อไปนี้
1. มีมนุษยสัมพันธ์ ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานทุกคนด้วยความนับถือ และให้เกียรติอย่างจริงใจ มีความสัมพันธ์อันดี ประนีประนอม สามารถดึงเอาศักยภาพของผู้ร่วมงานมาใช้ให้มากที่สุด ทำให้การประสานงาน การขอความร่วมมือปฏิบัติงานที่มอบหมาย ได้รับการตอบสนองด้วยความเต็มใจ และมีขวัญกำลังใจที่ดี อันจะทำให้งานบรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์และมีประสิทธิผล
2. มีอารมณ์ที่มั่นคง ไม่ฉุนเฉียวง่าย ละซึ่งความโลภ โกรธ หลง ขจัดความขัดแย้งในหน่วยงานของตนเองเป็นเด็ดขาดและอะลุ้มอล่วย พอยอมกันได้ก็ยอม ไม่มีทิฐิ มองส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวกับงาน ไม่แย่งเอาผลงาน รู้ว่างานสำเร็จเป็นผลงานของใครจึงจะให้คุณให้โทษได้อย่างยุติธรรม
3. มีบุคลิกภาพที่ดี หรือภาษาไทยที่ง่าย เข้าใจดี ใช้ว่า “มีมาดดี” คำว่ามาด หมายถึง ทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่าง ที่อยู่ในตัวผู้นำและทุกอย่างที่ผู้นำกระทำ ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า การยืน เดิน นั่ง นอน พูด ฟัง การแต่งกาย ฯลฯ บุคลิกหรือมาดเป็นสิ่งที่สามารถฝึกหัดกันได้ แก้ไขและปรับปรุงกันได้ หากหน่วยงานใดมีผู้นำไม่มีมาด บุคลากรก็ขาดความเชื่อมั่น ศรัทธา ไม่ร่วมทำงานหรือให้ความร่วมมือ ทำให้งานไม่บรรลุเป้าหมาย
4. เป็นแบบอย่าง ในการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน ที่ต้องการให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติตาม ผู้นำควรเป็นแบบอย่างที่ดี ในการครองตน ครองคน ครองงาน
5. ทำงานเป็นทีม เป็นประชาธิปไตย การวางกฎเกณฑ์ ระเบียบ และแนวปฏิบัติต่างๆ ที่ต้องการให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติตาม ต้องใช้วิธีแบบมีส่วนร่วม โดยจัดประชุมปรึกษาหารือกับผู้ร่วมงาน พยายามดึงศักยภาพที่ดีของผู้ร่วมงานออกมาใช้ให้เป็นแนวปฏิบัติในหน่วยงานหรือองค์การของตนเอง อย่าใช้คนๆเดียวเป็นตัวชี้ขาด เพราะการบริหารงานโดยคนเดียวจะมีโอกาสล้มเหลวได้ง่ายกว่าการบริหารโดยกลุ่มบุคคล
6. ทำตัวเป็นครูที่ดี ที่มีความกระตือรือร้น กระฉับกระเฉงตลอดเวลา ผู้นำอย่าขี้เกียจ อย่าลืมว่าผู้นำกระทำสิ่งใด ที่ไหน อย่างไร จะมีผู้ร่วมงานคอยจับจ้อง สังเกตอยู่ ถ้าปฏิบัติตนดี งานดี มีประสิทธิภาพ เข้าลักษณะ รวดเร็ว เรียบร้อย ราบรื่น ก็จะเป็นการสอนผู้ร่วมงานโดยทางอ้อม คือเป็นการสอนด้วยการกระทำให้ดู โดยไม่ต้องบอกหรือแนะนำเป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด
7. มีความความซื่อสัตย์ สุจริต ผู้นำหรือผู้บริหารจะถูกพิสูจน์โดยใช้ความซื่อสัตย์เป็นเกณฑ์ เป็นเครื่องวัดผู้นำที่ดีมาก เพราะมนุษย์ทุกคนมีความโลภเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ถ้าผู้นำมีความซื่อสัตย์จะเป็นผู้นำได้นาน อย่าหมกเม็ด อย่าเก็บความลับเรื่องเงินไว้คนเดียว โอกาสพลาดเรื่องเงินจะเป็นอันตรายมาก ผู้นำอย่าถือเงิน จับเงิน หรือซื้อของ วัสดุ อุปกรณ์ด้วยตนเอง ไม่ใช่หน้าที่ ควรให้ผู้ปฏิบัติหรือผู้ร่วมงานเป็นผู้ทำในรูปของคณะกรรมการ
8. กล้าตัดสินใจ และให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในการคิด รับรู้ รับทราบ ให้ข้อมูลข่าวสาร ร่วมกระบวนการตัดสินใจ กระบวนการคิด เวลามีคนถามต้องตอบได้ “ต้องเป็นหนึ่งเดียว” เท่านั้น ไม่มีสองในหน่วยงานหรือองค์การ
9. ไม่หวงอำนาจ ให้กระจายอำนาจและมอบหมายหน้าที่ให้พร้อมกับมอบอำนาจในการปฏิบัติงานเป็นฝ่าย/แผนก/หมวด/งาน เป็นการมอบหมายภารกิจหรืองานสำคัญให้ผู้ร่วมงานไปปฏิบัติ โดยผู้นำคอยหมั่นกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ดูแลอยู่ห่างๆ อย่าไปจุ้นจ้าน ชี้โน่นชี้นี่อยู่ตลอดเวลา อันจะเป็นผลให้ผู้ร่วมงานไม่มั่นใจ ซึ่งต่อไปจะไม่กล้าทำงาน ทำให้งานเสียทั้งระบบได้ “ผู้มอบอำนาจคือผู้มีอำนาจที่แท้จริง”
10. ให้ขวัญ กำลังใจ แก่ผู้ร่วมงานอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม รู้เห็นถึงความสามารถ และฝีมือของผู้ร่วมงาน เพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจ ให้ถูกคน ถูกงาน และถั่วถึง
11. เป็นนักแก้ปัญหา เมื่อมีปัญหา และเหตุการณ์เร่งด่วนเกิดขึ้น ผู้บริหารต้องแสดงความรู้สึกที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะเป็นผู้นำในการแก้ปัญหานั้น ไม่ใช่โยนปัญหาให้ผู้ร่วมงานไปจัดการกันเอง กล้ารับผิดชอบ กล้าหาญพอที่จะผจญปัญหาอย่าหนีปัญหา ดังคำที่ว่า “ปัญหาเขามีไว้ให้แก้ ไม่ใช่มีไว้ให้แบก” ปัญหามีไว้ทดสอบความสามารถของผู้นำ ต้องเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ร่วมงาน อย่าปล่อยให้ผู้ร่วมงานแก้ปัญหาเร่งด่วนนั้นแบบไม่มีที่ปรึกษา จะทำให้ได้ “ใจ” ของผู้ร่วมงาน ต่อไปผู้ร่วมงานก็จะทำงานแบบ “ถวายหัว” ให้ได้
12. พัฒนาตนเอง และนำตนเองไปสู่ความสำเร็จที่สูงสุด และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ผู้นำต้องแสวงหาความรู้ข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เพราะหน้าที่สำคัญของผู้นำคือ การตัดสินใจสั่งการ ซึ่งต้องใช้ข้อมูลข่าวสารถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ใช้ความรู้และประสบการณ์เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ และมีผลแห่งความสำเร็จหรือล้มเหลวรอคอยอยู่ ผู้นำไม่มีสิทธิตัดสินใจพลาด มีแต่คำว่า “ถูกต้องเท่านั้น” จึงจะทำให้องค์การพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลในที่สุด
13. ต้องยึดระบบระเบียบ รักษาระบบหรือวัฒนธรรมขององค์การให้ดี ทำงานให้ได้ดี ปราศจากปัญหาและเเสวงหาให้เกิดผลผลิตสูงสุด ด้วยการปฏิบัติภารกิจภายในขอบเขตที่กำหนดให้ และ/หรือนอกจากภาระหน้าที่ดังกล่าว ต้องกล้าที่จะคิดสร้างสรรค์และพัฒนางานในทุกโอกาสที่เอื้ออำนวย
14. ต้องช่วยเหลือผู้ร่วมงานทุกเรื่อง คอยเป็นห่วงเป็นใยตลอดเวลา ประสานหน่วยงานอื่นเพื่อขอความช่วยเหลือผู้ร่วมงาน และพัฒนาผู้ร่วมงานอย่างต่อเนื่อง มีการให้อภัยผู้ร่วมงานเมื่อทำผิดพลาด เป็นกัลยาณมิตรกับทุกคน เป็น “ผู้นำนักบุญ” มีความเกรงใจผู้ร่วมงาน จัดตั้งกองทุน มูลนิธิ และ สมาคม ไว้คอยสนับสนุนส่งเสริมเป็นสวัสดิการแก่ผู้ร่วมงานหรือหน่วยงานและพัฒนาคุณภาพผู้ร่วมงาน ให้มีความก้าวหน้า มีความสงบสุข
15. มีความสามารถทางด้านศาสตร์และศิลป์ในการบริหารงาน สามารถใช้คนอื่นให้ทำบางอย่างตามเป้าหมายและแนวทางที่ตนวาดฝันหรือคาดคะเนเองได้ มีอัจฉริยภาพของผู้นำที่ประกอบขึ้นด้วยคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ตั้ง สรุป จะเห็นว่า คุณลักษณะของผู้นำที่พึงประสงค์ในยุคปัจจุบัน เป็นสิ่งที่แสวงหาได้ สร้างสรรค์ให้บังเกิดขึ้นได้ “เป็นพรแสวง ไม่ใช่พรสวรรค์“ ให้สรรสร้างหาความสุขกับงานในหน้าที่ให้มากที่สุดและดีที่สุด ให้พัฒนาตนเองแล้วนำมาเป็นแนวทางแก้ปัญหา พัฒนาหน่วยงานของตนเอง ผู้นำควรหลีกเลี่ยงการมุ่งมั่นสร้างความสำเร็จในตำแหน่งให้กับตนเอง บนพื้นฐานของความคิดสะสม เบียดเบียน ที่มุ่งสร้างความร่ำรวยทางวัตถุนิยมแต่ “ มีจิตใจที่ยากจน ” เป็นการใช้ภาวะผู้นำที่ไม่ถูกทิศทาง ซึ่งเป็นหนทางเสื่อมสำหรับผู้นำในที่สุด

ผู้นำที่พึงประสงค์ของสังคมไทยในปัจจุบัน ควรมีลักษณะ ดังนี้
1. Creative Leader ผู้นำฉลาดคิด
2. Effective Leader ผู้นำฉลาดทำ
3. Leader as Coach ผู้นำเป็นผู้ฝึกสอน
4. Change Agent Leader ผู้นำเป็นผู้เร่งการเปลี่ยนแปลง
5. Leader as Spokesman ผู้นำเป็นนักประชาสัมพันธ์
6. Outcome Oriented Leader ผู้นำมุ่งผลลัพธ์
7. Ethical Leader ผู้นำมุ่งคุณธรรมและจริยธรรม

คุณลักษณะของผู้นำที่ไม่พึงประสงค์

หน้ายิ้ม
มือไหว้
ใจอันธพาล
งานไม่พัฒนา
ริษยาเป็นประจำ
คิดแต่ควำองค์การ
เริงสำราญอยู่แต่อามิส
แสวงหาความผิดผู้อื่น
ชมชื่นแต่คำสอพลอ นี่แหละหนอ...ผู้นำไทย(ที่ไม่พึงประสงค์ )

ผู้นำ 11 ประเภท ที่ไม่น่าพึงประสงค์
1. ผู้นำผู้เย่อหยิ่ง (Arrogance) หรือผู้นำที่ข้ามจาก “ความมั่นใจ” ไปสู่ “ความเย่อหยิ่ง” กล่าวคือ เป็นผู้นำที่ก้าวสู่ตำแหน่งระดับสูงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีความฉลาดทางสติปัญญาและได้พัฒนาความเชื่อมั่นในความคิดเห็นของตนเองมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหลงตนเอง เมื่อเวลาผ่านไป ความสำเร็จมากขึ้น ความเชื่อมั่นก็มากขึ้นด้วย และเมื่อยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้น มีคนเยินยอมากขึ้น ก็อาจจะเกิดความเชื่อมั่นมากเกินไป (Over-Confidence) เกิดอาการดื้อดึง และมองว่าตนเองเท่านั้นที่เป็นฝ่ายถูก แต่คนอื่นผิดหมด
2. ผู้นำที่มีอารมณ์อ่อนไหวเกินความเป็นจริง (Melodrama) คือ ผู้นำที่มีการพูด การกระทำ และอารมณ์ที่เกินความเป็นจริง ผู้บริหารที่แสดงออกทางอารมณ์หรือทางการกระทำที่มากกว่าปกติจนเป็นจุดสนใจเสมอเพื่อลดทอนบทบาทของ ผู้อื่นเช่น อวดใหญ่โต พูดถึงสิ่งที่เกินความเป็นจริง เป็นต้น
3. ผู้นำที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย (Volatility) คือ ผู้นำที่เปลี่ยนจากอารมณ์หนึ่งไปเป็นอีกอารมณ์หนึ่งโดยไม่มีต้นสายปลายเหตุอย่างรวดเร็ว และเอาแน่อะไรไม่ได้ ไม่สามารถคาดเดาการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้
4. ผู้นำที่รอบคอบจนเกินเหตุ (Excessive Caution) คือ ผู้นำที่ใช้ข้อมูลมากมายในการวิเคราะห์และติดอยู่ในความรอบคอบจนเกินไป จนกระทั่งตัดสินใจไม่ทันการณ์
5. ผู้นำผู้ไม่ไว้ใจใคร (Habitual Distrust) คือ ผู้นำที่สงสัยผู้อื่นอย่างไม่สมเหตุสมผลหรือมีอคติ หวาดระแวงขี้กลัว และไม่ไว้ใจผู้อื่น สุดท้ายคนรอบข้างก็พลอดหวาดระแวงไปตามๆกัน
6. ผู้นำที่ตัดขาดจากโลก (Aloofness) คือ ผู้นำที่พอเครียดปุ๊ป จะถอยหนีจากสังคมและไม่เอาใครหรืออะไรทั้งสิ้น
7. ผู้นำที่ชอบออกนอกกฎ (Mischievousness) ผู้ที่ไม่ชอบทำตามกฏ เพราะคิดว่ากฏทุกอย่างมีไว้แหก
8. ผู้นำที่ชอบทำตัวไม่เหมือนใคร (Eccentricity) คือ ผู้นำที่รู้สึกสนุกที่จะทำอะไรไม่เหมือนผู้อื่น เพียงเพราะต้องการที่จะไม่เหมือนผู้อื่น จนดูเหมือนจะมีความ creative แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถทำอะไรให้เกิดเป็นรูธรรม
9. ผู้นำที่ชอบต่อต้านด้วยความเงียบ (Passive Resistance) คือ ผู้นำที่ปากบอกว่าชอบ แต่พอลับหลังกลับไปโพนทนาบอกคนอื่นว่าไม่ดี เพราะไม่กล้าบอกตรงๆ
10. ผู้นำจอมสมบูรณ์แบบ (Perfectionism) คือ ผู้นำที่หมกมุ่นอยู่กับรายละเอียดเล็กๆ (Micromanager) จนมองไม่เห็นเรื่องใหญ่ๆที่เกิดขึ้นรอบตัว คอยจี้เช้า จี้เย็น คุมทุกขั้นตอนของการทำงานของลูกน้อง
11. ผู้นำปากหวาน (Eagerness to please) คือ ผู้นำที่ชมเป็นอย่างเดียวไม่เคยว่าผู้อืนๆ เพราะไม่ชอบการเผชิญหน้าโดยตรง ไม่กล้าไล่ใครออก ขอเรียนว่า พฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้นำหลายท่านประสบความล้มเหลวมาแล้ว โดยมักปรากฏขึ้นเมื่อ “ผู้นำอยู่ภายใต้ความกดดัน” ไม่มีใครสามารถกำจัดพฤติกรรมเหล่านี้ได้อย่างถาวร เนื่องจากมันอยู่คู่กับเรามาตั้งแต่กำเนิด (Wired that way) เพียงแต่ว่าอาจไม่ปรากฏผลกระทบในเชิงลบมาก่อนเท่านั้นเอง

ดังนั้น ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จหลายท่านต่างก็มีพฤติกรรมบ่อนทำลายเหมือนกัน เพียงแต่พวกเขาตระหนักและเรียนรู้จากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้น และใช้ “ความรู้เท่าทัน” เป็นเครื่องมือจัดการกับบุคลิกภาพเชิงลบของตนเองได้
………………………………………………………….
**** คุณลักษณะผู้นำ (นักกลยุทธ์)ที่พึงประสงค์ และที่ไม่พึงประสงค์ยังมีอีกมากมาย ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถตอบแตกต่างจากแนวคำตอบนี้ได้ แต่ขอให้อธิบายเพิ่มเติมในรายละเอียดแต่ละข้อให้ชัดเจน
------------------
Tai