วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุป PA601: การคลังสาธารณะ (Part II)

--------------------------------------------------
บทที่ ๘ ภาษีอากร
--------------------------------------------------
ภาษีอากร เป็นวิธีหารายได้เพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนา ภาษีอากรแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ
1. การบังคับจัดเก็บ หมายถึง สิ่งที่รัฐบังคับเก็บจากคนและนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมโดยมิได้สิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษี
2. การเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากเอกชนสู่รัฐ ยกเว้นการกู้ยืม การขายสินค้าหรือบริการ เมื่อรัฐเก็บภาษีทรัพยากรที่มีไว้ใช้ในเอกชนก็มีลดลงซึ่งส่งผลต่อการบริโภค การออม การลงทุน

ที่นิยม ได้แก่
1) ภาษีอากร บังคับเก็บในรูปทางตรงและอ้อม
2) มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรเพื่อนำไปพัฒนา
3) เป็นเครื่องมือทางการคลังในการรักษาเสถียรภาพและกระตุ้นทาง ศ.
4) ไม่มีผลโดยตรงต่อผู้เสียถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย
5) ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินสดเสมอไป

ความสำคัญ
1. เป็นรายได้หลักของรัฐ.เพื่อนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาทาง ศ. สังคม การเมือง
2. ช่วยชำระหนี้สินในประเทศด้วย ที่กู้มาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทาง ศ.
3. เป็นเครื่องมือทางนโยบายธุรกิจใช้สนับสนุนหรือจำกัดการลงทุน เช่น ยกเว้นภาษีบางประเภทช่วงเวลาหนึ่งเพื่อส่งเสริมการลงทุนกำหนดภาษีนำเข้าสูงเพื่อช่วยอุตสาหกรรมในประเทศ
4. เป็นเครื่องมือนโยบายการคลังในภาวะ ศ. ปัจจุบัน รัฐใช้กระตุ้น ศ.
5. ช่วยลดการควบคุมการบริโภค อุปโภค เพราะรายได้ถูกกันไว้เป็นภาษี
6. ช่วยกระจายรายได้เพื่อลดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ มีน้อยเสียน้อย สร้างความเป็นธรรม ลดช่องว่างของคนรวย-จนโดยการ จากรวยจนเก็บภาษีคนรวยสูง จากคนมีสุขภาพวัยทำงานไปสู่คนป่วย ชราและเด็ก เก็บจากคนดีไปช่วยสาธารณสุข จากท้องถิ่นเจริญไปสู่ชนบท เก็บจากที่มีคนรวยมากจัดสรรไปพัฒนาท้องถิ่น นอกจากนี้ภาษียังช่วยควบคุมคุณภาพสังคม เช่นเก็บภาษีเบียร์ บุหรี่ สิ่งที่เป็นอันตรายเก็บสูงเพื่อลดดำลังซื้อ ช่วยควบคุมสิ่งแวดล้อม ถ้ามีมลพิษก็เก็บมาก

หลักที่ดีของการเก็บภาษี
1. ยุติธรรมทั่วถึง ไม่เลือกปฏิบัติ เก็บตามกำลังความสามารถ
2. แน่นอนว่าใครเสียเท่าไร อย่างไร อาศัยฐานอะไร รัฐก็ต้องมีนโยบาย
3. ความสะดวก ง่ายไม่ซับซ้อน
4. ประหยัด เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยแต่ภาษีได้มาก ค่าใช้จ่ายของผู้เสียด้วย
5. เป็นกลางทาง ศ. ต้องไม่ลำเอียง ไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานของกลไกการตลาดและก่อให้เกิดรายได้ แต่การตัดสินใจทาง ศ. ทางธุรกิจเป็นไปตามกลไกตลาด
6. ใช้นโยบายทาง ศ.ได้ ต้องเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพทางศ. รัฐสามารถใช้ภาษีส่งเสริมการกำหนดนโยบายได้ การส่งเสริมความเจริญทาง ศ. เช่น ยกเว้นภาษีอุตสาหกรรมเพื่อการลงทุน ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร
7. ยอมรับได้ของสังคม คนต้องร่วมมือในการเสีย การจัดเก็บง่าย ให้สังคมเห็นว่าเหมาะสมและยอมรับ
8. บังคับใช้ บังคับจัดเก็บได้
9. ยืดหยุ่นได้ ปรับตาม ศ. เช่น เงินเฟ้อรัฐต้องลดการหมุนเวียนเงินในตลาด ภาษีก็ต้องเก็บได้มาก
10. อำนวยรายได้ ต้องก่อให้เกิดรายได้แก่รัฐมากพอ ต้องมีฐานกว้าง และขยายตัวตามสภาวะ ศ.

ฐานภาษี
1. ฐานรายได้ จัดเก็บจากการมีเงินได้เพราะรายได้เป็นเครื่องวัดความสามารถในการจ่าย เช่น ภาษีเงินได้
2. ฐานเกี่ยวกับการบริโภค เก็บจากการใช้สอย เป็นภาษีทางอ้อม เช่น ธุรกิจเฉพาะ มูลค่าเพิ่ม ศุลกากร สรรพสามิต
3. ฐานความมั่งคั่ง มีทรัพย์สินมากเสียมาก เช่น ที่ดิน โรงเรือน มรดก รถยนต์
4. ฐานอื่นๆ การกำหนดจัดเก็บภาษีจากการกระทำบางประการ มิใช่เป็นรายได้รัฐ เช่น อากรแสตมป์

อัตราภาษี
1. อัตราคงที่ กำหนดอัตราเดียวไม่ว่าฐานจะเท่าไรจะไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เงินได้นิติบุคคล ภาษีโรงเรือน ข้อดี ทำให้จำง่าย คิดง่าย กำหนดต้นทุนง่าย ข้อเสีย ไม่สอดคล้องกับ ศ. ไม่เป็นธรรมกับธุรกิจที่มีรายได้น้อย
2. อัตราก้าวหน้า เก็บตามฐาน ถ้าฐานภาษีกว้างอัตราก็สูง เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ข้อดี ลดช่องว่างระหว่างบุคคล ใช้ความสามารถในการจ่าย ยืดหยุ่นได้ตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้รัฐมีรายได้มาก ข้อเสีย มีหลายอัตราทำให้ยุ่งยากในการจำ เมื่ออัตราสูงขึ้นก็พยายามหลีกเลี่ยง ขาดแรงจูงใจในการทำงานเป็นผลเสียต่อประเทศ
3. ถอยหลัง คืออัตราภาษีที่เปลี่ยนแปลงในทางตรงข้ามกับฐาน ถ้าฐานยิ่งกว้างอัตรายิ่งต่ำ เช่น ภาษีที่ดิน ที่ดินแพงภาษีต่ำ ข้อเสีย ไม่เป็นธรรม ทำให้เกิดช่องว่าง ไม่สอดคล้องเศรษฐกิจ

ประเภทภาษี
1. ทางตรง ผู้เสียรับภาระทั้งหมด ผลักไม่ได้ เช่น เงินได้บุคคล/นิติบุคคล
2. ภาษีทางอ้อม เช่น มูลค่าเพิ่ม

ผลกระทบต่อการจัดเก็บ
เมื่อเก็บภาษีเพิ่มขึ้น อัตราภาษีเพิ่มคนก็ไม่อยากทำงานเพราะทำแล้วไมคุ้มค่า เมื่อไม่ทำงานก็มีรายได้น้อยการบริโภคก็ลด การลงทุนก็ไม่ขยายตัว ทำให้เกิดผลกระทบต่อ
1. การทำงาน การออม การลงทุน
2. การจัดสรรทรัพยากรให้ไหลจากภาคเอกชนมาสู่รัฐ ทำให้จำนวนทรัพย์มีเหลือในเอกชนน้อย จึงมีผลต่อการบริโภคการออมการลงทุน
3. การเก็บภาษีเป็นภาระและกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายของคน ทำให้คนได้รับความพอใจลดลง มีผลต่อผลผลิตประชาชาติ เมื่อกระทบต่อการออม ลงทุน การทำงาน ก็กระทบต่อผลผลิตของชาติโดยรวม
4. กระทบต่อการจ้างงาน เพราะลดรายได้ของคน การใช้จ่ายก็ลดส่งผลให้เกิดการจ้างงานลด
--------------------------------------------------
บทที่ ๙ หนี้สาธารณะ
--------------------------------------------------
หนี้สาธารณะ หมายถึง หนี้ที่รัฐมีภาระผูกพันต้องชำระและเป็นภาระของงบประมาณรายจ่ายของรัฐ ซึ่งส่งผลต่อการใช้จ่ายด้านอื่นๆของรัฐ และมีผลต่อประชาชนและต้องมีการชำระคืนภายหลัง หรือเป็นตราสารทางการเงินที่รัฐดำเนินการก่อหนี้หรือรัฐค้ำประกันการก่อหนี้ของรัฐวิสาหกิจ ในตราสารต้องระบุข้อผูกพันต่างๆระหว่างลูกหนี้-เจ้าหนี้

เหตุผลการก่อหนี้
1. ประสบภาวการณ์ขาดดุลระหว่างรายได้-จ่าย รัฐมีค่าใช้จ่ายสู.แต่มีแหล่งรายได้จำกัด
2. ประสบปัญหาการบริหารจัดเก็บรายได้ตามที่ประมาณการทำให้เงินรายรับไม่ทันไม่เพียงพอกับรายจ่าย
3. เพื่อการลงทุนพัฒนาประเทศทางด้าน ศ. สังคม
4. เพื่อแก้ไขปัญหาในภาวการณ์ที่จำเป็น มีความจำเป็นอื่นที่รัฐต้องใช้จ่ายมาก เช่น เกิดสงคราม
5. เพื่อสนองนโยบายทาง ศ. เพื่อรักษาเสถียรภาพทาง ศ.

การก่อหนี้จากต่างประเทศ วัตถุประสงค์ เงินออมไม่พอ มักก่อหนี้สินค้าทุน-เทคโนโลยี

แนวคิดเกี่ยวกับการก่อหนี้
1.ช่องว่างการออม(Saving-Gap) ถ้ามีเงินมากกว่าหรือ=ก็ไม่ต้องก่อ แต่ถ้ามีน้อยกว่าการลงทุนส่วนที่น้อยกว่าเรียกว่าช่องว่างการออม
2. ช่องว่างการค้า(Trading-Gap) ถ้าได้กำไรก็ไม่ต้องก่อหนี้ ถ้าขาดทุนต้องก่อ เกิดช่องว่างการค้า

ผลกระทบของการก่อหนี้จากต่างประเทศ
1. มีผลกระทบต่อทรัพยากร 2 ช่วง คือ ช่วงที่ได้เงินเข้ามา(ทำให้ทรัพยากรเพิ่ม มีผลต่อราคาสินค้าและเงินเฟ้อ) ช่วงที่ต้องจ่ายเงิน (ทำให้ทรัพยากรลด มีผลต่อราคาสินค้า เกิดเงินฝืดเงินตึง)
2. มีผลต่อเงินเฟ้อและการกระจายรายได้ เพราะเมื่อถึงเวลาชำระหนี้ก็ต้องมีการจัดเก็บภาษีเพราะโครงสร้างภาษีเป็นทางอ้อม

ผลดี
1. ถ้ากู้เพื่อการลงทุนทำให้เกิดดอกออกผล เกิดผลต่อภาคการผลิต
2. เศรษฐกิจมีการขยายตัว มีการพัฒนา มักจะนำไปใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน
3. รัฐเข้าไปกู้ ค้ำประกันทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ผลเสีย
1. กู้แล้วมักจะกู้เพิ่ม ทำให้เป็นดินพอกหางหมู เงินต้นสะสมเมื่อถึงเวลาก็พักการชำระ
2. ขาดความเชื่อถือจากคนในประเทศ
3. มีข้อผูกพันต่างๆ เช่นต้องซื้อสินค้าจากผู้ให้กู้ ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญ

แนวคิดเกี่ยวกับการกู้ในประเทศ
1. ต้านวงจร เศรษฐกิจพยายามให้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ข้อดี สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ข้อเสีย ขัดกับหลักเรื่องการประหยัด
2. ตามวงจร เศรษฐกิจเน้นเรื่องการประหยัด ต้องเลือกก่อหนี้ในช่วงดอกเบี้ยต่ำโดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจตก ข้อดี ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะอัตรามักต่ำหาที่ก่อหนี้ได้ยาก
3. แนวคิดเป็นกลาง คือใช้ทั้งสองทาง คือใช้ก่อหนี้ในช่วงประหยัดและรักษาเสถียรภาพด้วย

ผลกระทบต่อการก่อหนี้
1. เกิดปัญหาทรัพยากรจากภาคเอกชนไหลมาสู่ภาครัฐมากเกินไป
2. อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้ราคาสินค้าสูง ทำให้เงินเฟ้อ
3. เมื่อถึงเวลาชำระรัฐต้องจัดสรรงบประมาณชำระส่งผลต่อการลงทุน
4. มีผลต่ออุปสงค์รวมในประเทศ การกู้จาธนาคาร ตลาด ก็เป็นการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มทำให้เงินในตลาดมาก คนมีอำนาจซื้อเพิ่ม ราคาสินค้าก็จะสูง ถ้าจากสถาบันการเงิน ธ.พาณิชย์ (ถ้าเป็นส่วนที่ ธ. เตรียมไว้ให้กู้ก็จะไม่มีผล แต่ถ้าเป็นส่วนที่ ธ. สำรองไว้มีผลต่ออุปสงค์รวม แต่ถ้าเป็นสถาบันอื่นไม่มีผล) ถ้าเป็นการกู้จากประชาชน ถ้ากู้จากส่วนที่ประชาชนไว้ใช้จ่ายไม่มีผลต่ออุปสงค์รวม กู้จากเงินฉุกเฉินก็ไม่มีผล ถ้ากู้จากเงินออมหรือเงินลงทุนมีผล
5. ต่อการกระจายรายได้ การให้รัฐกู้ส่วนใหญ่จะเป็นคนรวย เมื่อถึงเวลาชำระหนี้ก็จะได้ดอกเบี้ยด้วยทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจน-รวย

แนวคิดเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ
1. นักเศรษฐศาสตร์สำนักทุนนิยม(Capitalism)มองว่าไม่ควรก่อหนี้เพราะสะท้อนถึงการบริหาร
2. นักเศรษฐศาสตร์กลุ่ม Keynesian เห็นว่ารัฐอาจก่อหนี้โดยเฉพาะช่วง ศ. ตกต่ำเพื่อใช้ในการลงทุนในกิจการต่างๆ จึงมองว่าหนี้เป็นสิ่งจำเป็นหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. ยุคปัจจุบัน(Post-Kenesian)มีความเห็นเป็นกลาง ถ้ามีความจำเป็นในการลงทุนควรก่อ แต่ไม่ใช่ก่อเพื่อนำไปบริโภค

ข้อดีของหนี้
1. ถ้าประเทศอยู่ในระยะพัฒนาเก็บภาษีเพิ่มเป็นภาระต้องก่อ
2. กรณีประเทศเกิดภาวะ ศ. ตกต่ำ ก่อเพื่อเพิ่มอำนาจซื้อทำให้เป็นการช่วย ศ. ให้ฟื้นตัวเร็ว
3. กรณีประเทศอยู่ในภาวะสงคราม ต้องจ่ายเงินมากเก็บภาษีมากทำลายกำลังใจคนในประเทศ ต้องก่อหนี้เพื่อฟื้นฟูประเทศ

ผลเสียของหนี้
1. ปัญหาเงินเฟ้อ ถ้ามีการใช้จ่ายมาก แต่ปริมาณสินค้าบริการไม่ได้เพิ่ม ทำให้ไม่สมดุล
2. ทุนสำรองระหว่างประเทศ เมื่อมีการชำระหนี้กระทบถึงทุนสำรองระหว่างประเทศซึ่งประเทศกำลังพัฒนามีทุนสำรองน้อยอยู่แล้ว
3. การก่อหนี้มากทำให้เครดิตของประเทศตกต่ำ ประเทศที่มีหนี้มากมักประสบปัญหาในการหาแหล่งเงินกู้
4. สร้างปัญหาให้กับรัฐบาลในการเข้ามาบริหารในอนาคตเพราะเป็นภาระผูกพัน
5. ทำให้มีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
6. เป็นภาระต่อคนในอนาคต
7. ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนจน-รวย

หลักการก่อหนี้ที่ดี
1. ต้องให้ได้ครบถ้วน เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ แสดงถึงความน่าเชื่อถือ
2. ประหยัด ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกู้น้อย
3. การกระจาย ทั้งแหล่งภาระหนี้และแหล่งที่ให้กู้ เวลาชำระไม่ควรกระจุกช่วงใดช่วงหนึ่ง ถ้ามีเจ้าหนี้รายเดียวทำให้ไม่มั่นคง บีบเราได้
4. สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำต้องมีการก่อหนี้ แต่ถ้ารุ่งเรืองบางครั้งก็ต้องทำ
5. รักษาตลาด ต้องก่อหนี้เพื่อรักษาเพื่อน
--------------------------------------------------- (End of Part II)--------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น