วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

PA609: ข้อสอบ องค์การ และนวัตกรรมองค์การ

ข้อสอบ PA609: องค์การ และนวัตกรรมองค์การ
---------------------------------------------------------
กล่าวโดยสรุป ข้อสอบ มีดังนี้
1. รศ.ดำรง วัฒนา
จงอธิบายอย่างละเอียดพร้อมยกตัวอย่างนวัตกรรมที่เหมาะสมกับระบบราชการไทย และองค์การของประเทศไทย
(แนวตอบ: แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และ Blue Ocean Strategy)
2. ดร.พีระพงษ์ ภักคีรี
จงอธิบายความสัมพันธ์ระหวางนวัตกรรมกระบวนการกับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ โดยใช้วิธีการการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม และพิจารณาว่าจะใช้รูปแบบใดที่เหมาะสมกับองค์การของท่าน
(แนวตอบ: อธิบายความหมายของนวัตกรรม รูปแบบ ประเภท นวัตกรรมกระบวนการ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ แล้วแสดงความสัมพันธ์ของนวัตกรรมทั้ง 2 รูปแบบ)
3.อ.สุชาติฯ
ในยุคที่กระแสโลกาภิวัตน์หลั่งไหลเข้ามา องค์กรจะต้องปรับตัวให้ทันต่อสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปโดยมีแรงกดดันด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จงอธิบายว่าองค์กรจะมีทางออกที่จะอยู่รอดได้อย่างไรต่อกระแสดังกล่าว
(แนวตอบ: อธิบายเรื่องแรงกดดัน 3 ด้าน และแนวทางในการนำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้แก้ไขปัญหา)

แนวคำตอบ มีอยู่แล้วในเมนู "วิชาการ"
---------------------------------------------------------
Tai

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

PA609,709: แนวข้อสอบ องค์การและนวัตกรรมในองค์การ รวบรวโดย ประธานโต

PA609,709: แนวข้อสอบ องค์การและนวัตกรรมในองค์การ
สรุปโดย ฝ่ายวิชาการ รป.ม. 3/1 (คุณตาล คุณวาส คุณแม๊กซ์ และทีมงาน)
รวบรวมโดย ประธานโต
---------------------------
ข้อ 1 แนวข้อสอบอาจารย์สุชาติ
...
โจทย์ : วันนี้องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งองค์กรจะต้องคอยปะทะกับแรงผลักดันและผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรอยู่ตลอดเวลา ท่านคิดว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (INFORMATION TECHNOLOGY) มีบทบาทอย่างไรต่อองค์กร (อธิบาย “The Three Types of Business Pressure”) จงอธิบาย
...
ตอบ : ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน เศรษฐกิจ การเงินและบริการ ข้อมูลข่าวสารไปทั่วโลก เกิดสภาวะไร้พรมแดน รวมทั้งหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชน ต่างนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา การแข่งขัน และขับเคลื่อนองค์กร เพื่อให้อยู่รอดภายใต้สภาพแวดล้อมและแรงผลักดันที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความเหมาะสม สำหรับการแข่งขัน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การผลิตสินค้าและบริการ ทุกวันนี้โลกสื่อสารเร็วขึ้นทุกขณะ โลกมันแบนราบ ด้วยระบบโทรคมนาคม ปัจเจกชน สามารถเข้าถึงทรัพยากรต่างๆได้ง่ายขึ้น และข้อมูลข่าวสารก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น องค์กรจะต้องพร้อมรับกับแรงผลักดันที่มันจะเกิดขึ้นกับองค์กรอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์สภาพของแรงผลักดันที่มีต่อองค์กร ได้ดังนี้คือ
.
1. Economic (Market) เศรษฐกิจและการตลาด
ซึ่งถือว่าเป็นตัวที่กระทบกับทุกภาคส่วนและเป็นแรงผลักดันให้ทุกองค์กรต้องเปลี่ยนแปลง เพราะเศรษฐกิจในทุกวันนี้เป็นเศรษฐกิจในระดับโลก ซึ่งมีระดับการแข่งขันสูง และทุกประเทศต่างมีการเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน เกิดสภาวะไร้พรมแดน ตลาดหรือขอบเขตของอุตสาหกรรม - ธุรกิจและความสัมพันธ์ระดับองค์กรต่างๆมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้นโดยเฉพาะกลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ของประเทศอื่นด้วย เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ, เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ทำให้สามารถสื่อสารข้อมูล-ข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็วขึ้น ระบบการค้าเป็นระบบทุนนิยม มีการเปิดเสรีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น FTA (เขตการค้าเสรี) รวมทั้งมีตลาดใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย มีการเคลื่อนย้ายแรงงานที่ทำได้สะดวกขึ้น มีการแข่งขันที่รุนแรงตาม รวมทั้งความคาดหวังหรือความต้องการของลูกค้าหรือประชาชนในด้านคุณภาพของสินค้าและบริการในระดับโลกก็เพิ่มสูงขึ้นด้วย เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
.
2. Societal /Political /Legal : ภาคสังคม
1) การโจมตีโดยอาวุธของขบวนการผู้ก่อการร้ายจะลดลง โดยการที่ผู้ร้ายนำ IT เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ ไปใช้ทำให้เกิด Website ในการก่อการร้ายขึ้นมามากมาย ซึ่งบทบาทของ Internet หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็สามารถเข้ามาช่วยในการบล็อค (Block) หรือลบข้อมูลเหล่านั้นออกไปได้
2) จริยธรรม คือ ในปัจจุบันนี้ คนเริ่มมองในแง่ของผลประโยชน์มากขึ้นและมักจะใช้โครงข่าย Internet และ IT (Information Technology) เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ในการลักลอบทำผิด เพื่อกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตน แม้แต่มาตรฐานทางวิชาชีพ ปัจจุบันนี้ก็นำไปสู่ผลงานที่ด้อยคุณภาพ เปิดช่องทางทุจริตโดยใช้ IT (Information Technology) ดังนั้น จึงต้องมีการปลูกฝังจริยธรรมในทุกระดับ
3) กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่ออกมาไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ยังมีการบังคับใช้กฎหมาย มาตราเดิมๆ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสังคมและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น เมื่อ มีโทรศัพท์มือถือที่ออกมารุ่นใหม่ๆ แต่กฎหมายออกมาไม่ทันบังคับใช้ ยังคงใช้มาตราเดิมๆ ซึ่งไม่สามารถที่จะใช้บังคับได้ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนกฎหมายให้ทัน
4) การตอบสนองภาคสังคม คือ สังคมต้องการให้องค์กรทั้งหลาย ดูแลเอาใจใส่สังคมมากขึ้น หรือที่เรียกว่า CSR (Corporate Social Responsibility) คือ การดูแลในเรื่องของสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม การไม่คดโกง หรือไม่เข้าไปทำทุจริต เพื่อให้องค์กร (วิสาหกิจ) ได้รับความเชื่อถือ เป็นทุนด้านชื่อเสียงกิจการและเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการที่ไม่ปนอาชญากรรมใดๆ แต่ในขณะนี้ได้เปลี่ยนมาใช้มาตรฐาน ISO แล้ว หรือมาตรฐานเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม

3. Technology : ด้านเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร
ทุกวันนี้ ช่องทางในการติดต่อสื่อสารง่ายและสะดวกขึ้น มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารมากมาย และรวดเร็ว ซึ่งเราต้องวิเคราะห์ให้ได้ข้อเท็จจริงและนวัตกรรม เนื่องจากเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้จึงมีอายุสั้น เช่น วันนี้เราซื้อ Laptop ไป 10,000 บาท อีก 2-3 เดือนต่อมา ราคาลดลงเหลือ 7,000 บาท แถมยังมีลูกเล่นใหม่ๆที่ความล้ำหน้าของนวัตกรรมใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เพราะความทันสมัยของเทคโนโลยีเปลี่ยนไปแบบก้าวกระโดดนั่นเอง
.
ดังนั้น สิ่งที่เราจำเป็นต้องทำคือ ต้องทำให้องค์กรของเราเกิดสมรรถนะในองค์กร เนื่องจากเกิดแรงผลักดัน หรือแรงตอบสนอง โดยการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย เพราะจะทำให้เราทำงาน ได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านหลังขององค์กร (Black Office) ที่เรียกว่า (ERP) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการสำนักงาน หรือ เรียกย่อๆว่าระบบสำนักงาน อันประกอบไปด้วย ระบบบริหารงานบุคคล ระบบการเงิน ระบบการตลาด ฐานข้อมูลลูกค้า ฯลฯ เป็นการบริหารจัดการสารสนเทศในองค์กร ซึ่งเราจะต้องมีการจัดการความรู้ (KM)นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคน พัฒนางานขององค์กร เพื่อก่อให้เกิดความ มีประสิทธิภาพ คุณภาพ และเพิ่มสมรรถนะของคนในองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำพาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ หรือสู่ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูง โดยเน้นที่กระบวนการจัดการข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และความรู้ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยผ่านช่องทางความรู้ต่างๆ จะทำให้ทุกคนในองค์กรมีแหล่งความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และแบ่งปันความรู้กันได้อย่างเหมาะสม และนอกจากนั้นต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คือ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพราะเมื่อใดมีการเรียนรู้ เมื่อนั้นย่อมนำไปสู่การเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ (CRM) โดยระบบลูกค้าสัมพันธ์ เพื่อดูแลและให้บริการแก่ลูกค้า สร้างความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งทุกวันนี้ระบบ (CRM) จะเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ IT ที่เป็นฐานข้อมูลขององค์กร หรือเวลาต้องมีพันธมิตรในด้านของธุรกิจ ซึ่งระบบการสื่อสารจะต้องดี และมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่ดีด้วย ดังนั้นทุกองค์กรจะต้องให้ความสำคัญและนำเอาเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรอยู่ตลอดเวลา
………………………………………………

**ข้อมูลเพิ่มเติม
เนื้อหาแรงกดดันทางธุรกิจ 3ด้าน (ข้อมูลจากทางอินเตอร์เนต)
เนื้อหาจากอินเตอร์เนต http://itm22.blogspot.com/2008/06/mit-chapter1.html
.
แรงกดดันของหน่วยงาน รวมทั้งของรัฐบางส่วนด้วย ก็มี 3 ด้านใหญ่ๆ ด้วยกัน ก็คือทางด้านการตลาด(Market Pressures) ทางด้านเทคโนโลยี(Technology Pressures) และ ทางด้านสังคมการเมือง(Societal Pressures)
> วิธีการแก้ไข แก้ปัญหาโดยมี IT เป็นเครื่องมีอหลักในการจะช่วยสร้างเครื่องมือในการช่วยแก้ปัญหา
.
Three Types of Business Pressures
1. Market Pressures
- Global Economy and Strong competition เศรษฐกิจไม่ได้เป็นกรอบของประเทศใดประเทศหนึ่ง มันมีผลกระทบต่อทั่วโลก ถ้าทั่วโลกดีก็ดีไปด้วย แต่ถ้าแย่ก็แย่ไปด้วย และก็มีการแข่งขันกันสูง ทุกชาติสามารถมาแข่งขันกันได้
- Workforce ค่าจ้างแรงงานที่แตกต่างกัน มีการขาดแคลนแรงงานบ้า
- Powerful Customer ลูกค้าที่ซื้อของเรามีอำนาจต่อรองมากขึ้นกว่าเดิมมาก เนื่องจากข้อมูลข่าวสารนั่นเอง คือ เราสามารถรู้ราคาของในแต่ละที่ แต่ละห้าง แต่ละประเทศขายเท่าไหร่ ทำให้มาต่อรองราคาได้มากขึ้น เราในฐานะผู้ขายก็จะลำบากขึ้นในการบริหาร
.
2. Technology Pressures
- Innovation and Obsolescence เทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ทุกอย่าง เช่น เทคโนโลยียานยนต์ การเกษตร สิ่งทอ เทคโนโลยีทำให้เกิด product ใหม่มากขึ้น ทำให้เกิดProduct mass cycle วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์สั้นลงในหลายๆตัว อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีที่เราคิดค้นขึ้นมา
- Information Overload ข่าวสารมากเกินไปทำให้ตัดสินใจยาก เลยไม่รู้ว่ามันจริงรึเปล่า อันนี้ก็เป็นอุสรรคอันนึง
.
3.Societal Pressures ด้านสังคม มีอะไรที่กระทบบ้าง
- กฎหมายที่ออกมาใหม่บังคับไม่ให้ขายอะไร ให้ขายอะไร หรือกฎหมายที่ยกเลิกไป ก็มีผลทำให้ ของบางอย่างที่เคยขายไม่ได้ก็มาขายได้ ทำให้มีคู่แข่งมากขึ้น
- งบประมาณต่างๆที่ค่อนข้างจะตัดออกไปเยอะ
- การก่อการร้าย อาชญากรรม
- จริยธรรม (สำคัญ)
.
Organizational Responses
1.Strategic System
ระบบที่เป็นเชิงกลยุทธ์
ช่วยหาของแปลกๆใหม่ๆ หรือว่าทำให้ขายของได้ดีขึ้น มีผลกระทบต่อรายได้โดยตรง อันนี้เราเรียกว่า ระบบงานที่เป็นเชิงกลยุทธ์
2.Customer Focus คือ ใช้เทคนิคอะไรก็ได้ดึงลูกค้า สนใจที่ตัวลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าซื้อของกับเราอยู่ต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่สูญเสียให้กับคู่แข่งของเราไป
3. Make to Order สมัยนี้นิยมผลิตสิ่งที่ปรับเปลี่ยนสเปกได้ตามที่ลูกค้าต้องการมากขึ้น โดยเราใช้เทคโนโลยีด้านไอที บวกกับsupply chain เข้ามา ทำให้เราผลิตของตามที่ลูกค้าสั่งได้หลายรุ่น โดยที่ต้นทุนไม่สูงขึ้น นี่ก็เป็นข้อดีของไอทีตัวหนึ่งที่ทำระบบ Make to Order ได้
4. Mass Customization ทำจำนวนมากโดยที่ไม่แพง
5. E-business and E- commerce ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากในการแก้ปัญหาต่างๆ
.................................................................................
.
.
2. แนวข้อสอบ ดร.ดำรงค์ วัฒนา
.
คำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการบริหารที่เหมาะสมกับระบบราชการไทย
พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

.
แนวการตอบ
สำหรับการเลือกใช้นวัตกรรมการบริหารให้มีความเหมาะสมกับระบบราชการไทยสิ่งสำคัญ ที่ควรคำนึงถึงคือ ลักษณะพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมไทยให้เห็นเป็นรูปธรรม นั่นคือ พฤติกรรมของคนไทย ลักษณะโดยภาพรวมของพฤติกรรมคนไทยส่วนใหญ่จะชอบวิถีชีวิตที่ไม่เร่งรีบ ไม่ชอบการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ทางสายกลาง
เมื่อพิจารณาจากบุคลิกลักษณะพื้นฐานของคนไทยที่เน้นทางสายกลาง ทำให้สามารถเลือกนวัตกรรมทางการบริหารที่เหมาะสมกับระบบราชการไทย นั่นคือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(Sufficiency Economy) กับ ยุทธศาสตร์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) ซึ่งทฤษฎีทั้งสองมีกรอบแนวคิดที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย โดยขอเริ่มอธิบายจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรชาวไทยโดยพระองค์ทรงคำนึงถึงสภาพสังคมไทยเป็นสำคัญ ดังนั้น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็นนวัตกรรมในการบริหารระบบราชการไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
.
กรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังนี้
3 ห่วง คือ
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจอย่างรอบคอบ
3. ความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง สร้างแนวทางป้องกันตนเองและเตรียมตัว
รับมือกับการเปลี่ยนแปลง
2 เงื่อนไข คือ
1. ความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
2. คุณธรรม หมายถึง ความซื่อสัตย์ ความขยันอดทน ความสามัคคี
.
หากพิจารณาจากกรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะพบว่าเสาเข็มหลัก คือ ความรู้ และ คุณธรรม นับว่าเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังให้มีในตัวบุคคล เพราะถ้าบุคคลไม่มีความรู้และคุณธรรมย่อมไม่สามารถปฏิบัติตนให้เป็นผู้รู้จักพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันได้อย่างแน่นอน
.
สำหรับการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กรภาครัฐของประเทศไทย มีแนวทางดังนี้
1. การตัดสินใจเชิงนโยบายควรมุ่งไปที่ผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ดังนั้น รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการนำเสนอนโยบายสาธารณะ โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่อประชาชนอย่างรอบคอบ
2. เน้นพัฒนาคน ในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ระดับดังนี้
2.1 ระดับประชาชนทั่วไป รัฐบาลต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งพัฒนาคุณธรรม ตามแนวทางทางที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
2.2 ระดับข้าราชการ องค์กรภาครัฐต้องพัฒนาศักยภาพของข้าราชการให้มีคุณภาพเพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสนองความต้องการประชาชนได้อย่างเต็มที่ โดยมุ่งเน้นเสริมสร้างคุณธรรม
3. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. ส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ตลอดจนเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
5. ให้ความสำคัญกับการจัดการองค์ความรู้ โดยการนำหลัก KM (Knowledge Management : การจัดการความรู้) และ LO (Learning Organization : องค์กรแห่งการเรียนรู้) มาประยุกต์ใช้ ในองค์กร
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารระบบราชการไทยได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนจะขอยกตัวอย่างการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในองค์กร ดังนี้ ………………………
.
(กรณีที่นำมายกตัวอย่าง ควรนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการภายในหน่วยงานของท่าน โดยชี้ให้เห็นความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ)
.......................................
.
กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงินหรือยุทธศาสตร์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy: BOS)
ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในระดับมหภาคและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ ผู้ประกอบการธุรกิจต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ประกอบการ ยุคใหม่ต้องมีการจัดการองค์ความรู้ เสริมสร้างความสามารถหลัก (core competency) และความชำนาญของธุรกิจ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งมีวิสัยทัศน์ในการมองภาพรวมของธุรกิจได้อย่างชัดเจนมีกระบวนทัศน์ในการทำงาน มุ่งเน้นการบริหารงานในเชิงรุก มีการกำหนดความต้องการและทิศทางของธุรกิจ เพื่อให้ทุกปัจจัยของธุรกิจดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น และมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยผ่านกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยกระบวนการตัดสินใจ วางแผนการกำหนดกลยุทธ์ การดำเนินกลยุทธ์ การควบคุม หรือการตรวจสอบกลยุทธ์ อีกทั้งต้องมีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างเป็นระบบที่เรียกว่า “การสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
.
กลยุทธ์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ คือ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน(Blue Ocean Strategy: BOS) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันแบบดั้งเดิมผู้ประกอบการต้องพยายามพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่าง หรือต้องสร้างความต้องการใหม่ ๆ (New Demand) ขึ้นมาเสมอ โดยใช้นวัตกรรม (Innovation) ใหม่ๆ หรือเป็นทะเลใหม่ๆ ซึ่งเป็นทะเลสีน้ำเงิน และ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงินได้รับการตอบรับที่ดีเนื่องมาจากมีเครื่องมือสนับสนุนที่มีความเป็นปัจจุบัน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทต่างๆ ที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้ ได้แก่ ธุรกิจกาแฟสตาร์บัค (Star Buck), สถานีข่าว ซีเอ็นเอ็น (CNN), ธุรกิจคอมพิวเตอร์เดล (Dell Computer), ธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ (South West Aieline), ธุรกิจหนังสือออนไลน์(Amazon.Com) หรือหากเป็นในประเทศไทย ได้แก่ ฮอต พอท (Hot Pot) ซึ่งเป็นสุกี้รวมกับอาหารญี่ปุ่น ถ้าตั้งชื่อเป็นสุกี้จะไม่สามารถเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าที่มีร้าน MK สุกี้ตั้งอยู่มาก่อน โดย ฮอตพอท (Hot Pot) ได้แต่เปลี่ยนชื่อใหม่จากสินค้าที่เพิ่มมูลค่าทำให้เข้าสู่พื้นที่ว่างของตลาดใหม่ได้และกำลังได้รับความนิยมตลาดในขณะนี้
ดังนั้น หากผู้ประกอบการจะสร้างกลยุทธ์ขององค์กรให้เป็นกลยุทธ์แบบ “ทะเลสีน้ำเงิน” เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาก่อนว่าลูกค้าในอุตสาหกรรมของตนเองในเวลานี้ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเหตุผลด้วยราคาที่ต่ำ หรือซื้อที่ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นจึงเริ่มมาวิเคราะห์ว่า ใครคือผู้ที่ไม่ใช่ลูกค้าของธุรกิจเรา? (Non-Custommer)
.
อดีตที่ผ่านมา ธุรกิจส่วนใหญ่ได้ใช้กลยุทธ์หนึ่งที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต คือ กลยุทธ์ทะเล สีแดง (Red Ocean Strategy:ROS) เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นเพื่อเอาชนะคู่แข่ง และการแย่งส่วนแบ่งตลาดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หรือหาทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด ส่วนใหญ่แล้วจะนำไปสู่การแข่งขันและการตอบโต้อย่างรุนแรงจนทำให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้น จนกระทั่งสินค้าที่แข่งขันกันในตลาดมีมากจนไม่มีความแตกต่างกัน ทำให้องค์กรต้องแข่งขันด้านราคา ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บทางธุรกิจทั้งสองฝ่าย ด้วยกลวิธีนี้ทำให้เป็นที่มาของการแข่งขันแบบทะเลสีแดง ซึ่งกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นนั้นมีแนวคิดจากกลยุทธ์ทางการทหาร
.
ดังนั้น ผู้เรียบเรียงขอนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกลยุทธ์แบบเก่า กลยุทธ์ทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS) และกลยุทธ์ใหม่ กลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy: BOS)รวมถึงวิธีการสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ นั้น ผู้ประกอบการทำอย่างไรได้บ้าง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลสีแดง (Red Ocean Strategy:ROS)
1.1 อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันและมีขอบเขตชัดเจน และคำนึงถึงลูกค้าเก่า ๆ
1.2 บริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมพยายามเอาชนะคู่แข่งโดยใช้กลยุทธ์ด้านราคา มองการได้ส่วน
แบ่งตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญ
1.3 มีการแข่งขันรุนแรงสินค้าไม่มีความแตกต่างกัน โอกาสในการเติบโตน้อย และสัดส่วนกำไร
ก็น้อย
1.4 ต้องเลือกใช้กลยุทธ์อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างกลยุทธ์ด้านราคา หรือกลยุทธ์สร้างความแตก
ต่างเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.5 วิเคราะห์ตัวเลขต่างๆ และใช้เวลากับการออกแบบฟอร์มส่วนใหญ่
1.6 นำแผนงานและแผนการปฏิบัติหลาย ๆ อย่างมารวมไว้ด้วยกันโดยไม่ได้กำหนดกลยุทธ์
.
2. ลักษณะของตลาดที่ใช้กลยุทธ์แบบทะเลสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy: BOS)
2.1 เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีในปัจจุบันและไม่ทราบมาก่อนว่ามีอุตสาหกรรมประเภทนี้
รวมอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม
2.2 สร้างอุปสงค์ใหม่ขึ้นมา (New Demand) ทำให้มีโอกาสเติบโต และมีสัดส่วนกำไรที่มากขึ้น
2.3 ไม่มุ่งเน้นแข่งขันกับคู่แข่ง ไม่เปรียบเทียบกัน
2.4 สามารถใช้ได้ทั้งกลยุทธ์ด้านราคาและสร้างความแตกต่างไปพร้อมกัน ซึ่งจะทำให้เกิด
นวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation)
2.5 มองภาพใหญ่ โดยไม่มุ่งเน้นเรื่องจำนวน และไม่ยึดติดกับผลการวิเคราะห์
2.6 ใช้แรงจูงใจในการทำงานไม่ใช่แรงผลักดันจากสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน
.
ฉะนั้น หัวใจสำคัญของ “Blue Ocean Strategy” คือ สิ่งที่เรียกได้ว่า “Value Innovation” ในส่วนนี้
เป็นการผสมผสานระหว่างคำว่าคุณค่าอย่างสร้างสรรค์ (Value) และคำว่านวัตกรรม (Innovation) หลักการสำคัญของ BOS คือจะต้องมีทั้ง Value และ Innovation บูรณาการร่วมกันทั้งสองอย่างควบคู่กันไปไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถก่อให้เกิดกลยุทธ์ Blue Ocean Strategy ได้เช่นกัน
.

อย่างไรก็ตาม อาจมีบางธุรกิจที่มีแต่เรื่องของนวัตกรรมเพียงอย่างเดียวโดยขาดการนำเสนอคุณค่า(Value) ก็มักจะเป็นเรื่องของนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ไม่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าใด ๆ แก่ลูกค้า หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การนำเสนอสิ่งที่อยู่เกินขอบเขตหรือ นอกเหนือสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้น เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กรอย่างแท้จริง ธุรกิจคงจะต้องมีทั้ง
เรื่องของ “คุณค่า” และ “นวัตกรรม” ควบกันไปอย่างคู่ขนานนอกจากนี้ นวัตกรรมที่มีคุณค่า (Value Innovation) สามารถสร้างขึ้นได้ดังนี้
1. จับตาดูคู่แข่งได้ แต่อย่าเอามาเป็นมาตรวัด และไม่ใส่ใจกับการแข่งขันมากเท่าใดนัก
2. ต้องไม่เสนอลูกเล่นพิเศษต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าที่เกิดจากแรงกดดันของการแข่งขัน
3. ลองคิดอะไรใหม่ ๆ นอกกรอบ และไม่ควรให้ข้อจำกัดมาขัดขวางการสร้างความแตกต่าง
4. ต้องมองในภาพรวม (Holistic) และคำนึงถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง แทนที่จะเสนอแต่สิ่งเดิม ๆ ที่อุตสาหกรรมได้เคยทำมาก่อน
.
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างอีกประการที่สำคัญระหว่าง “Blue Ocean Strategy” กับแนวคิดการบริหารกลยุทธ์แบบเดิม ๆ “Red Ocean Strategy” คือ ภายใต้แนวคิดแบบเดิม ๆ นั้น การที่จะประสบความสำเร็จได้ องค์กรจะต้องเลือกแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่งว่าจะมุ่งเน้นการนำเสนอความแตกต่างให้กับลูกค้า (Differentiation) หรือ เน้นการเป็นผู้นำที่มีต้นทุนต่ำ (Cost Leadership) โดยไม่สามารถเป็นทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กัน (เพราะการนำเสนอความแตกต่าง จะไม่ทำให้เกิดต้นทุนที่ต่ำที่สุด)แต่ภายใต้แนวคิดของ “Blue Ocean” นั้น องค์กรที่ใช้ “Blue Ocean Strategy” สามารถจะเป็นผู้ที่นำที่เสนอได้ทั้งความแตกต่าง และมุ่งเน้นการลดต้นทุนไปพร้อม ๆ กัน โดยการลดต้นทุนนั้นจะเกิดขึ้นจากการลดหรือกำจัดปัจจัยบางประการที่เคยมีอยู่ให้หมดไป (Reduce หรือ Eliminate) ส่วนการนำเสนอคุณค่าและความแตกต่างแก่ลูกค้านั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มหรือสร้างสรรค์ปัจจัยบางประการที่คนอื่นไม่มี หรือ มีน้อยให้กับลูกค้า (Create หรือ Raise) ดังแนวคิด “Blue Ocean Strategy” ที่มีองค์ประกอบ 6 มิติ ด้านหลักการที่เป็นกฎเกณฑ์ และการลดปัจจัยที่เป็นความเสี่ยง ดังตารางต่อไปนี้
.
.
เครื่องมือในการวิเคราะห์ที่สำคัญประการหนึ่งของกลยุทธ์ทะเลสีน้ำเงิน คือ สิ่งที่เรียกว่า “Five Actions Framework” ซึ่งเป็นคำถามห้าประการที่ทุกองค์กรควรจะทบทวนตนเอง เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ที่นำเสนอทั้งความแตกต่างและการมีต้นทุนต่ำ ดังต่อไปนี้
1. อะไรคือปัจจัยที่เคยคิดว่าสำคัญ หรือจำเป็น และในปัจจุบันไม่สำคัญและจำเป็นอีกต่อไป
อีกทั้งควรที่จะตัดออกไป เช่น การยกเลิก (Eliminated) ของบางอย่างที่เคยคิดว่า ลูกค้าต้องการ แต่จริง ๆ แล้วในปัจจุบันลูกค้า อาจจะไม่มีความต้องการเลยก็ได้
2. อะไรคือปัจจัยที่สามารถลดลงให้เหลือต่ำกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม โดยการลด (Reduced)การนำเสนอคุณค่าบางอย่างให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมาอาจจะเคยคิดว่าคุณค่านั้น ๆ ลูกค้ามีความต้องการมาก แต่จริง ๆ แล้วอาจจะไม่มากอย่างที่ตนเองคิดก็ได้
3. อะไรคือปัจจัยที่ควรที่จะยกให้สูงกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม โดยการการเพิ่ม (Raised) ปัจจัยบางอย่างให้สูงกว่าระดับอุตสาหกรรม
4. อะไรคือปัจจัยใหม่ที่องค์กรควรจะพัฒนาขึ้นมา อีกทั้งยังไม่มีการนำเสนอในอุตสาหกรรมใด ๆ มาก่อน โดยการสร้าง (Created) คุณค่าบางประการที่ไม่เคยมีการนำเสนอในอุตสาหกรรมนั้น ๆ
5. อะไรที่ดี มีประโยชน์และมีความเป็นปัจจุบัน องค์กรควรต้องรักษาไว้ (Maintain)
....
บทสรุป
อย่างไรก็ตามการนำกลยุทธ์อะไรมาประยุกต์ใช้นั้น ย่อมจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากไม่ทำการศึกษา วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้องก่อนแล้ว ย่อมทำให้มีผลกระทบ อีกทั้งการดำเนินธุรกิจนั้นไม่มีกฏเกณฑ์ สูตรสำเร็จตายตัว และไม่มีกลยุทธ์ไหนที่จะสามารถช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เหมือนกันหมดทุกปัจจัย แต่ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละองค์กร ความเหมาะสมและความพร้อมในการนำกลยุทธ์ต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ อีกส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับผู้วิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการ หรือผู้จัดการที่มีเทคนิค รูปแบบการบริหารองค์กรที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ
(หมายเหตุ ควรมีการยกตัวอย่างรูปแบบการบริหารจัดการภายในหน่วยงานที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมการบริหารข้างต้นด้วย)
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในข้อสอบของ จารย์ ดำรง วัฒนาได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ..รักนะด๊วฟๆ
………………………………………………….
ประธานโต
...............................................................
.
3. แนวข้อสอบ ดร.พีระพงศ์ ภักคีรี
แนวคำถาม ให้นักศึกษาไปทำความเข้าใจในเนื้อหา 7 ข้อ เพื่อนำมาใช้หรือวิเคราะห์ ในเนื้อหา
คำถามของอาจารย์ (น่าจะเป็นแนววิเคราะห์องค์กรเหมือนกัน)

.
เนื้อหา 7 ข้อ ได้แก่
1. นวัตกรรม
2. รูปแบบของนวัตกรรม
3. ประเภทของนวัตกรรม
4. วงจรชีวิตเศรษฐกิจ
5. นวัตกรรมกระบวนการ
6. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์
7. การจัดการความรู้และกระบวนการ

..........................................................
1. นวัตกรรม (innovation)
คำว่า “นวัตกรรม (innovation)” มาจากรากศัพท์ในภาษาลาติน คือคำว่า “Nova” ซึ่งแปลว่า ใหม่ เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคมจากความคิดใหม่ นวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ หรือ "การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ ต่อตนเอง และสังคม”
.
นวัตกรรมเป็นตัวแปรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์การ ด้านต่างๆ ได้แก่ ความอยู่รอด การเจริญเติบโต การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ และ สมรรถนะหลัก ซึ่งนวัตกรรมไม่ใช่แค่การพัฒนาสินค้าใหม่ เท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน การแสวงหาแนวทางการตอบสนองความต้องการของตลาด การยกระดับคุณภาพชีวิต และการสร้างคุณค่าเพิ่ม
.
2. รูปแบบของนวัตกรรม( Forms of Innovation)
2.1 นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product or Service Innovation)

เกิดคุณสมบัติใหม่หรือพัฒนาคุณสมบัติ คุณลักษณะของสินค้าให้ดีมากขึ้น หรือแตกต่างจากสินค้าเดิม เช่น เพิ่มคุณสมบัติของผ้าให้หายใจได้ หรือกันน้ำ
กระบวนการผลิตใหม่/พัฒนาขึ้นมาก รวมทั้งการเปลี่ยนเทคนิค เครื่องมืออุปกรณ์ และ/หรือซอร์ฟแวร์ เช่น ลดต้นทุนในกระบวนการทอผ้า, ตลาดประมูลสินค้าออนไลน์อย่าง Amazon.com และ E-bay.com, บริษัท Dell Computer เป็นต้น
2.2 นวัตกรรมของกระบวนการ (Process Innovation)
มักจะใช้เพื่อลดต้นทุนหรือตัดกระบวนการที่ไม่สำคัญออกไปหรือเพิ่มคุณภาพของสินค้า/บริการ เช่น การใช้นวัตกรรม RFID ใน Wal-Mart เพื่อให้บริการคิดราคาสินค้าอย่างสะดวกรวดเร็ว
2.3 นวัตกรรมของการตลาด (Marketing innovation)
การออกแบบ, ช่องทางการจัดจำหน่าย, การบรรจุหีบห่อ, การกำหนดราคา, การส่งเสริมการขาย เช่น การออกแบบลายผ้าใหม่ โดยไม่เปลี่ยนคุณสมบัติเดิมของผ้า
2.4 นวัตกรรมขององค์การ (Organizational innovation)
การปรับเปลี่ยนรูปแบบ การบริหาร วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ของการดำเนินงานในองค์การจากรูปแบบเดิมๆ ไปสู่รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานสูงสุด ซึ่งเป็นการนำเครื่องมือทางการจัดการที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น TQM (Total Quality Management), Six Sigma, Balance Scorecard, Benchmarking เป็นต้น
....
ตัวอย่างขององค์กรในประเทศไทยที่นำแนวคิดทางการจัดการมาสร้างเป็นนวัตกรรม ในลักษณะ Organization Innovation โรงพยาบาลพญาไท ที่ได้นำหลักของ Six Sigma (ซิค ซิคม่า) มาใช้ลดข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เช่นในเรื่องของปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนของเจ้าหน้าที่ การวางระบบการเก็บยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งผลของการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ก็ถืออยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ เพิ่มเติมอีกหนึ่งตัวอย่าง คือ ธนาคารกรุงไทย ที่มีการทำธุรกิจบัตรเครดิต KTC ซึ่งเป็นนวัตกรรมในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
.
ส่วนระบบราชการในเมืองไทย ก็มีการสร้างนวัตกรรมในการบริหารเช่นเดียวกัน ตัวอย่างที่ได้มีการปฏิบัติแล้วก็คือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยการสร้างระบบ Public Service Management Standard and Outcome (PSO) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลแห่งประเทศไทยด้านการจัดการ และผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งหมด 11 ระบบ เช่น ระบบข้อมูล ระบบการบริการประชาชน ระบบการ วัดผลสัมฤทธิ์ของงาน เป็นต้น
.
3. ประเภทของนวัตกรรม (Types of innovation)

(1) Incremental หรือนวัตกรรมค่อยเป็นค่อยไปหรือส่วนเพิ่ม มีลักษณะ คือ ส่วนประกอบ (Component) เป็นแบบ Improved คือ พัฒนาให้ดีขึ้น แต่ System หรือระบบจะไม่เปลี่ยนแปลง (No change)
(2) Modular หรือ นวัตกรรมลำดับขั้น มีลักษณะ คือ Component เป็นแบบ New คือทำขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนส่วนประกอบใหม่ แต่ System ไม่เปลี่ยนแปลง (No change)
(3) Architectural หรือ นวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ มีลักษณะ คือ ส่วนประกอบเป็นแบบ Improved หรือพัฒนาให้ดีขึ้น ส่วน System เป็นแบบ New configuration/architecture คือเปลี่ยนระบบใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์รูปทรง
(4) Radical หรือ นวัตกรรมปฏิรูป มีลักษณะ คือ ส่วน Component เป็นแบบ New คือทำขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนส่วนประกอบใหม่ และ System ก็เป็นแบบ New configuration/architecture คือ เปลี่ยนแปลงส่วนประกอบหรือรูปลักษณ์รูปทรงใหม่
.................
มีรายละเอียด ดังนี้
.........
1. นวัตกรรมค่อยเป็นค่อยไปหรือส่วนเพิ่ม (Incremental Innovation)
Keyword = พัฒนาวัสดุชิ้นส่วนในระบบ แต่ ระบบไม่เปลี่ยนแปลง
เป็นนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหรือสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งอาจปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือปรับปรุงเทคโนโลยีหรือสิ่งที่มีอยู่เพื่อจุดมุ่งหมายหรือการใช้งานในรูปแบบอื่น เช่น ชิปประมวลผลคอมพิวเตอร์ของ Intel
.
กับดักของนวัตกรรมส่วนเพิ่ม
1) หลีกเลี่ยงการเพิ่มเติมสิ่งที่ไม่จำเป็น อาจทำให้ลูกค้าหงุดหงิดกับสิ่งที่ไม่จำเป็น แพงขึ้น ใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น ใช้งานยากขึ้น เช่น PlayStation 3 ของ Sony กับ Wii ของ Nintendo
2) อย่าลงทุนกับนวัตกรรมส่วนเพิ่มทั้งหมด ไม่ทำให้ก้าวไปสู่เทคโนโลยีใหม่ได้ จึงทำให้เสียเปรียบการแข่งขัน
**เป็นการพัฒนาสินค้าให้มีความแตกต่างและแปลกใหม่ ที่ยังอาศัยเทคโนโลยีหลักในการผลิตแบบเดิมแต่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ ของสินค้า หรือ ระบบการทำงานที่แตกต่างออกไป เพื่อตอบสนองความต้องการในเรื่องของความสะดวกในการใช้งานของสินค้า พัฒนาให้สินค้าใช้งานได้ง่ายขึ้น มีฟังก์ชัน หรือความสามารถในการทำงานได้มากขึ้น หรือ เพิ่มลูกเล่นต่างๆ ให้กับตัวสินค้า ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาโทรศัพท์มือถือ จากจอภาพสีเดียว มาเป็นจอภาพสี มาเป็นจอภาพระบบสัมผัส (การเปลี่ยนองค์ประกอบ) หรือการเปลี่ยนโปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ควบคุมการทำงาน การเปลี่ยนระบบคลื่นความถี่ในการรับส่ง (การเปลี่ยนระบบการทำงาน) แต่โทรศัพท์มือถือก็ยังคงถูกใช้ในฟังก์ชันการทำงานหลัก คือ เป็นเครื่องมือสื่อสารทางด้านเสียงและข้อมูล**
.
2. นวัตกรรมลำดับขั้น (Modular Innovation)
Keyword = เปลี่ยนวัสดุชิ้นส่วนในระบบใหม่ แต่ ระบบไม่เปลี่ยนแปลง
นวัตกรรมลำดับขั้นมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรูปลักษณ์ของสินค้า/บริการกับการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของสินค้า/บริการเดิมที่มีอยู่ เพื่อจะได้วัสดุชิ้นส่วนใหม่กับรูปลักษณ์ของสินค้า/บริการใหม่ จากกรอบแนวความคิดของ Henderson and Clark แสดงตำแหน่งของนวัตกรรมลำดับขั้นอยู่ตรงมุมบนด้านขวา ที่ซึ่งมีความแตกต่างจากนวัตกรรมค่อยเป็นค่อยไปตรงที่ นวัตกรรมค่อยเป็นค่อยไป (Incremental Innovation) ไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ทั้งหมด แต่การเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ทั้งหมดจะเกิดขึ้นกับนวัตกรรมลำดับขั้น (Modular Innovation) ตลอดจนการนำวัสดุชิ้นส่วนใหม่ๆ ดังเช่นในกรณีศึกษาเรื่องนาฬิกาในวิทยุ
**เป็นการพัฒนาสินค้าโดยเปลี่ยนวัสดุชิ้นส่วนใหม่ แต่ระบบการทำงานยังคงเดิม คือ ได้อรรถประโยชน์คงเดิม ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนานาฬิกาในวิทยุ ที่เปลี่ยนส่วนประกอบโดยใช้แหล่งพลังงานใหม่ จากเดิม ไฟฟ้าหรือถ่านไฟฉาย เป็นการหมุนของนาฬิกา แต่ระบบการทำงานหรือโครงสร้างเดิมนั้นไม่เปลี่ยน คือ วิทยุยังคงทำงานระบบเดิม **
.
3. นวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ (Architectural Innovation)
Keyword = พัฒนาวัสดุชิ้นส่วนในระบบ แต่ ระบบเปลี่ยนแปลง (เปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์รูปทรง)
เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของระบบ ที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงในรูปแบบใหม่ๆ ในขณะที่วัสดุชิ้นส่วนและการออกแบบผลิตภัณฑ์อาจจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรืออาจ มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะกระทำในแนวทางนี้ที่จะช่วยก่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า “Minor Change” หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพียงบางส่วนหรือเพียงเล็กน้อย
**เป็นการพัฒนาสินค้าโดยส่วนประกอบไม่เปลี่ยน แต่ระบบการทำงานเปลี่ยน เช่น อาจมีการเปลี่ยนการนำเอาส่วนประกอบมาเชื่อมโยงกันใหม่ ยกตัวอย่างเช่น พัฒนาโทรศัพท์มือถือ I PHONE คือเป็นโทรศัพท์มือถือแบบทัชสกรีน มาเป็น IPAD ซึ่งเป็นเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์รูปทรง**
.
4. นวัตกรรมปฏิรูป (Radical Innovation)
Keyword = เปลี่ยนวัสดุชิ้นส่วนในระบบใหม่ และ ระบบเปลี่ยนแปลง (เปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์รูปทรง)
จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด สภาพทางเศรษฐกิจของบริษัทในตลาดนั้น และรูปแบบการดำรงชีวิตของประชากร
ผลกระทบของนวัตกรรมประเภทนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาด สร้างตลาดใหม่ หรือทำให้สินค้า/บริการเดิมต้องหมดความนิยมไป บางครั้งอาจต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร หลังจากได้นำสินค้า/บริการออกสู่ตลาดแล้วต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หนึ่งข้อหรือมากกว่า
- ต้องเป็นคุณสมบัติการใช้งานแบบใหม่ทั้งหมด
- การปรับปรุงคุณสมบัติการใช้งานที่มีอยู่ ต้องทำให้ดีกว่าเดิม 5 เท่า หรือมากกว่านั้น
- สามารถลดต้นทุนได้ 30% หรือมากกว่า
- ต้องเปลี่ยนสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการแข่งขัน หรือมีผลกระทบในวงกว้าง เช่น ทีวี โทรศัพท์ กล้องดิจิตอล เครื่องยนต์แบบเผาไหม้
**เป็นการพัฒนาสินค้าโดยเปลี่ยนแปลงทั้งวัสดุชิ้นส่วนในระบบ และเปลี่ยนแปลงระบบ รูปลักษณ์รูปทรงใหม่ คือ เป็นการปฏิรูปใหม่ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น VDO เปลี่ยนเป็น VCD, กล้องฟิล์ม เปลี่ยนเป็น กล้องดิจิตอล **
.
สรุปรูปแบบแต่ละประเภทของนวัตกรรม
รูปแบบของนวัตกรรม ในแต่ละรูปแบบแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. Product/Service 1. Incremental
2. Process 2. Modular
3. Marketing 3. Architectural
4. Organization 4. Radical
Natsu~~
...................................
4. วงจรชีวิตเศรษฐกิจ
แบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ
4.1 การฟื้นตัว (Recovery) เป็นช่วงที่มีการผลิตไม่มาก คู่แข่งขันน้อย มีนวัตกรรมใหม่ ๆ มานำเสนอ ตลาดเป็นแบบเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) สินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก จะใช้แรงงานฝีมือในการผลิต และเน้นสินค้าเป็นหลัก
4.2 ความรุ่งเรือง (Prosperity) เป็นช่วงที่ความต้องการสินค้ามีมาก มีผู้แข่งขันรายใหม่เริ่มเข้ามาแข่งขัน การผลิตเน้นปริมากมากกว่าคุณภาพ เน้นอัตราการตอบสนองของตลาด ใช้เครื่องจักรในการผลิตแบบ Lot Size และเน้นกระบวนการ
4.3 หดตัว (Recession) เป็นช่วงที่เกิดการแพร่กระจายของนวัตกรรม (Diffusion) ขึ้น คนเริ่มไม่ซื้อ แข่งขันกันที่ราคา และสินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาด และเป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง (Countinuous)
4.4 ถดถอย (Depression) เป็นช่วงที่ต้องเร่งสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งได้

5.กับ 6. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับคำ/ข้อมูลที่ควรรู้ก่อน
- นวัตกรรมและวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม (Innovation and Industrial Evolution)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของพลวัตร ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) และโครงสร้างองค์การ (Organization Structure)
2. ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
........
หมายเหตุ Breakthrough คือ การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนระดับสูง ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล (ะบบนี้คือ Innovation)
.
นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
1. นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)
เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือ วิธีการผลิตสินค้า หรือบริการ ให้การให้บริการรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เช่น การผลิตแบบทันเวลาพอดี หรือ‘Just In Time (JIT)’ , การบริหารงานคุณภาพองค์กรรวมหรือ‘Total Quality Management (TQM)’, และ การผลิตแบบกระทัดรัดหรือ ‘ Lean Production ’
2. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) คือผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือ เป็นสิ่งใหม่ ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ ต่อโลก ต่อประเทศ องค์กร หรือแม้แต่ตัวเราเอง นวัตกรรมผลิตภัณฑ์นั้น เป็นนวัตกรรมอีกประเภทหนึ่งในเชิงเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้แล้ว นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ยังสามารถถูกแบ่งออกเป็น
1) ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible product) หรือ สินค้าทั่วไป (goods) เช่น รถยนต์รุ่นใหม่, สตรอเบอรีไร้เมล็ด, High DefinitionTV (HDTV), Digital Video Disc (DVD), etc.
2) ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible product) หรือ การบริการ (services) เช่น package ทัวร์อนุรักษ์ธรรมชาติ, Telephone Banking, การใช้ internet, การให้บริการที่ปรึกษาเฉพาะด้าน, กฎหมายทาง IT, etc.
เกร็ดความรู้เล็กน้อย ความหมายของคำว่า Innovation (นวัตกรรม) และ Invention (ประดิษฐกรรม) ข้อแตกต่างของทั้งสอง คือ นวัตกรรมนั้นเป็นมากกว่าการประดิษฐ์คิดค้นทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อให้ได้มาซึ่งประดิษฐกรรมใหม่ขึ้นสักชิ้นหนึ่ง และไม่จำเป็นว่าสิ่งนั้นจะนำไปใช้ได้จริงหรือไม่ในทางปฏิบัติ นวัตกรรมเป็นขบวนการนำประดิษฐกรรม เหล่านั้นมาทำให้ใช้ประโยชน์ได้ในความเป็นจริงทั้งทางสังคมและการค้า
..........
INVENTION: - To Conceive the idea
INNOVATION: - To Exploit new ideas for economic and social benefits
คำว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นอีกคำนึงที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ มากมาย ที่มีประโยชน์ต่อมวลมนุษย์อย่างเราๆ สิ่งสำคัญที่ทำให้นวัตกรรมใหม่ๆเกิดขึ้น ล้วนเป็นเพราะมนุษย์เรามีสมอง มีความรู้ที่เป็นเลิศ และอีกอย่างก็คือเพื่อความ..สบาย...ที่ใครๆก็รู้กันถ้วนหน้า
.
ช่วงระยะเวลาของตัวแบบพลวัตรทางนวัตกรรม แบ่งช่วงเวลาออกเป็น 3 ช่วง คือ
1. ไม่แน่นอน (Fluid)
2. ถ่ายโอน (Transitional) แกน X
3. เฉพาะเจาะจง (Specific)
.
แต่ละช่วงเวลามีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ
1. อัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม (Rate of Innovation)
2. คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ แกน Y
3. คุณลักษณะของกระบวนการ
4. คุณลักษณะขององค์การ
.
Abernathy และ Utterback กูรูแห่งกูรูโลกบริหารธุรกิจ อธิบายรูปแบบการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมเป็น 3 ช่วง ดังนี้
1. ช่วงระยะเวลาไม่แน่นอน (The Fluid Phase) ความไม่แน่นอนเกิดขึ้น 2 รูปแบบ คือ
1.1 กลุ่มเป้าหมาย (Target Market)
1.2 เทคโนโลยีที่จะนำมาเสนอผู้ผลิต
เงื่อนไข
1. เป็นช่วงระยะเวลาที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
2. ก่อให้เกิดวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี
3. อัตราการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์มีอัตราที่รวดเร็ว
4. ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีใหม่ถูกนำเสนอแก่ตลาดในช่วงนี้ มักจะมีราคาแพง
5. หามาตรฐานที่แท้จริงยังไม่ได้ แต่ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี สามารถที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (Niches Market) หรือตลาดนิช
.
1.Fluid phase เป็นช่วงเริ่มต้นที่ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน เป็นช่วงที่มีการค้นคว้าและทดลองผลิตสินค้าใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่รู้ว่าทำไปแล้วลูกค้าจะต้องการหรือไม่ ตลาดจะยอมรับหรือเปล่า การวิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในช่วงนี้ การทดลองในช่วงนี้ ได้เริ่มต้นทีละเล็กทีละน้อยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนกระทั่งถึงจุดที่เรียกว่า “Dominant Design” ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปเป็นร่างแล้วเป็นต้นแบบพร้อมออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบการแข่งขัน เช่น การออกแบบหูฟังจากครอบศีรษะมาเป็นแบบใส่ในรูหู

2. ช่วงระยะเวลาถ่ายโอน (Transitional Phase)
เงื่อนไข
1. ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากตลาด
2. ผู้ประกอบการของธุรกิจมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น
3. เกิดแบบผลิตภัณฑ์มาตรฐาน (Dominant Design) ขึ้น
4. การแข่งขันมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะที่มีความเฉพาะที่ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
5. ลูกค้ามีความเข้าใจในสินค้าหรือบริการมากขึ้นด้วยเช่นกัน
6. ผู้ประกอบการก็ปรับตัวเองจากการเป็นผู้ประดิษฐ์ มาเป็นผู้ผลิตที่เน้นและให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าในปริมาณมาก (Lot Size)
7. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการ เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์ และมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น
*** เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ คนเริ่มละทิ้งอุดมการณ์การเป็นนักประดิษฐ์

3.Transitional phase เป็นช่วงที่เกิด Dominant design แล้ว และได้มีการผลิตจำหน่ายออกสู่ตลาดแล้ว อาจเกิดการลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนั้น ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น กิจกรรมต่างๆ จะเปลี่ยนจากการวิจัยและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ มาเป็นการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิม รวมถึงสร้างความแตกต่างของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น พยายามทำให้สินค้าราคาถูกลง แต่มีคุณภาพสูงขึ้นและมีการส่งมอบให้ถึงมือลูกค้าอย่างถูกต้อง แม่นยำ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า

4.ช่วงระยะเวลาเฉพาะเจาะจง (Specific Phase)
เงื่อนไข
1. กระบวนการผลิตให้ความสำคัญกับคำว่า “ประสิทธิภาพ (Efficiency)”
2. อัตราส่วนระหว่างคุณภาพกับต้นทุนเป็นเรื่องพื้นฐานของการแข่งขัน
สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในตลาด
3. ความแตกต่างของสินค้าและบริการระหว่างคู่แข่งขันนั้นมีความแตกต่างกันไม่มากนัก
4. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมกระบวนการ เป็นเรื่องเดียวกัน
5. การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ) เป็นเรื่องยาก มีต้นทุนสูงในการเปลี่ยนแปลง และต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายในการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากตลาด
***สินค้ากำลังจะสิ้นอายุขัย เทคโนโลยีไปต่อไม่ได้ด้วยตัวมันเอง ให้ความสำคัญกับคำว่า ประสิทธิภาพ มากเป็นพิเศษ
Specific phase เป็นช่วงที่นำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาและต่อยอดให้ดีขึ้นโดยเน้นที่ Incremental innovation เพื่อเพิ่มความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม รวมทั้งเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถลดต้นทุนได้มากที่สุด ในช่วงนี้จะแข่งขันกันในด้านราคาเป็นสำคัญ
.
เทคโนโลยีแพร่กระจาย (Diffusion) แล้ว
คนไม่อยากจะซื้ออีก เงินไม่แพร่กระจาย เศรษฐกิจหดตัว เข้าสู่ช่วงถดถอย
เมื่อสินค้าเริ่มไม่เป็นที่ต้องการแล้ว ตามแนววัฏจักรของคอนดราทีฟ เช่น
TV จอหน้าแบน หลังตุง TV จอแบนทั้งหน้าและหลัง (นิยม) แทนที่
...............
ตาราง 1.2 Stages in innovation life cycle
ปัจจัยที่ใช้ในการจำแนกความแตกต่างของนวัตกรรม Fluid phase Transition phase Specific phase
การแข่งขันเน้นที่.. ความสามารถของผลิตภัณฑ์ สินค้าที่หลากหลาย การลดต้นทุน
ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงข้อมูลด้านเทคโนโลยี การสร้างโอกาสโดยการขยายขีดความสามารถทางเทคโนโลยีภายใน เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพ
การเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางนวัตกรรมที่สำคัญซึ่งเป็นผลจากความต้องการผลิตมากขึ้น มีการปรับปรุงสินค้าและกระบวนการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
....
สายการผลิต มีความหลากหลายในรูปแบบต่างๆ เพื่อการออกแบบให้ตรงใจลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบบแผนหรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องมี dominant design เป็นสินค้าที่เป็นมาตรฐาน
กระบวนการผลิต ยืดหยุ่น และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ค่อนข้างตายตัวจะมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะ กระบวนการหลักๆ มีประสิทธิภาพ มุ่งมั่นในการลงทุนและมีความแน่นอน
ตารางที่ 1.2 แสดงถึงองค์ประกอบหลักของการพัฒนานวัตกรรมทั้ง 3 ช่วง ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ เช่น ในยุคเริ่มต้นของการบริการ Internet Banking นั้นเรียกได้ว่าอยู่ในช่วง Fluid phase ที่มีทางเลือกต่างๆ มากมายและต้องลองผิดลองถูกว่าจะใช้รูปแบบใดจึงจะเหมาะสม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ เข้าสู่ transition phase และมี dominant design ที่ชัดเจนเช่น แพคเกจการให้บริการ ระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้นซึ่ง สิ่งเหล่านี้ปัจจุบันได้มาถึงจุดคงตัวแล้ว ที่มีผู้ร่วมแข่งขันมากมาย
ดังนั้นจะเห็นว่าการพัฒนานวัตกรรมในช่วงต่างๆ นั้นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้แต่ละองค์กรพบความยากลำบากในการบริหารจัดการนวัตกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วง หลายองค์กรได้พยายามสร้างและขยายขีดความสามารถต่างๆ เพื่อทำให้บริษัทไปให้ถึงช่วง Specific Phase ให้ได้เพราะเป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์อยู่ตัวมีความเสถียรภาพ
....
นอกจากนี้ ในช่วง Fluid Phase ที่มีการรวมไว้ทั้งเทคโนโลยีเก่าและใหม่ที่มีการพัฒนาและทำให้ดีขึ้นควบคู่กันไป ในขณะที่เทคโนโลยีเก่าเริ่มถึงจุดอิ่มตัวจะยิ่งเป็นแรงผลักดันให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบสนองให้ทันต่อคู่แข่ง
.....
ผู้เล่นแต่ละคน ต่างก็มีความสามารถในการใช้ความรู้ที่สะสมมาให้เกิดประโยชน์ มีการใช้ความเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ทักษะ และสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ เพื่อขยายขีดความสามารถขององค์กรผ่านทางการสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ในขณะเดียวกัน ก็เป็นความจริงว่า ผู้แข่งขันรายใหม่ส่วนมากจะเป็นองค์กรเล็กๆ ที่จะมีการพัฒนาอยู่ในช่วง fluid phase และน้อยนักที่จะพบผู้ประสบความสำเร็จในช่วงนี้ เพราะต้องจำไว้ว่าในสภาพแวดล้อมในการแข่งขันนั้นเป็นแรงกดดันต่อผู้แข่งขันหน้าใหม่ที่ต้องการเข้ามาร่วมในตลาดนี้ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่แข็งแกร่งและโชคดีเท่านั้นจึงจะสามารถอยู่รอดปลอดภัย
....
กระบวนการจัดการที่ดีของนวัตกรรมที่อยู่ในสถานะคงตัวจะมีประโยชน์มากสำหรับนวัตกรรมที่อยู่ในช่วงอิ่มตัวแต่ก็ควรที่จะปรับตัวเพื่อต่อสู้กับผู้ที่จะเข้ามาใหม่ที่ประสบความสำเร็จในเทคโนโลยีใหม่และ ได้ขยับเข้าสู่ Mature phase ในเฟสอิ่มตัว (mature phases) ด้วย ซึ่งเป็นที่น่าพิจารณาว่า แล้วองค์กรจะรับรู้สัญญาณการเปลี่ยนแปลงของคู่แข่งขันอย่างไร และถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีอื่นที่องค์กรไม่ได้ทำการวิจัยมาก่อน พวกเขาจะเข้าใจความต้องการของตลาดที่กำลังจะเกิดได้อย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรจะต้องหาทางจัดการกับสิ่งเหล่านี้ให้ได้
...
ความท้าทายที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่เกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมที่อยู่ในสภาวะคงตัวแล้วเท่านั้น แต่ในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง ก็ต้องให้ความสำคัญด้วยที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เป็นผลมาจาก discontinuity องค์กรที่ต้องเผชิญกับภาวะเช่นนี้มักจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก ที่จำเป็นจะต้องมีการปรับตัวในการบริหารองค์กร คือจะต้องมีความว่องไว ความยืดหยุ่น และต้องเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลายครั้งพบว่าขัดกับการดำเนินการในสภาวะปกติขององค์กร
...
นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงพลังของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างของอุตสาหกรรมอย่างสิ้นเชิง เช่น เครื่องพิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์ และรถยนต์ ได้มีความกังวลกันว่าการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมใดๆ นั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากเทคโนโลยีที่ไม่ใช่เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมในอุตสาหกรรมนั้นๆ เป็นเทคโนโลยีจากภายนอกอุตสาหกรรม เช่น ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการให้บริการในการทำธุรกรรม ทางการเงินผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรือมีการให้บริการทางโทรศัพท์มากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น ซึ่งจะเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ใช่เทคโนโลยีดั้งเดิม ที่บางครั้งก็เป็นผลจากการที่ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดิมนั้นไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอในเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ทำให้มีการบริหารจัดการงานผิดพลาดไม่สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี เช่น การปฏิเสธกระบวนการผลิตรูปถ่ายโพลารอยด์ของโกดัก
....
การเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Organization Change) มี 3 ประการ
1. Structure เปลี่ยนโครงสร้าง
2. System ผลพวงจากการเปลี่ยนระบบ
3. Culture การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม เปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ (เป็นการเปลี่ยนที่ยากมาก)
........
คำแนะนำของอาจารย์ นักศึกษามักตอบข้อสอบไม่ได้ โจทย์ถามว่าอะไร
1. ต้องใช้ทฤษฎีได้ Theory
2. ประสบการณ์ใส่ลงไป Experience
3. วิเคราะห์ Analysis ว่าสอดคล้อง หรือ ขัดแย้งกัน
สิ่งที่อาจารย์ฝากไว้ สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม รักษาสิ่งแวดล้อม + ลดโลกร้อน
..............
7. การจัดการความรู้และกระบวนการ
การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด
...
การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์
....
รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น
การจัดการความรู้ เป็น
1.) กระบวนการที่ช่วยให้องค์การสามารถระบุ เลือก จัดการ แยกแยะ และถ่ายโอนความรู้ที่สำคัญและความเชี่ยวชาญที่เป็นส่วนหนึ่งของความจำขององค์การในรูปแบบที่องค์การดำเนินอยู่ หรือ
2.) เป็นความสามารถในการสร้างและรักษามูลค่าของความสามารถหลักของธุรกิจ หรือ
3.) เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมซึ่งจะส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ประสบการณ์ระหว่างพนักงานและหน่วยงานขององค์การ
...
ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการจัดการความรู้ได้เป็น 5 กระบวนการ ดังนี้
7.1 Define คือ การกำหนดองค์ความรู้ที่ต้องการ ความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่ม
7.2 Create คือ การเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการและการสร้างความรู้เพื่อการนำมาใช้งาน ซึ่งมีทั้งภายในและภายนอก
7.3 Capture คือ การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้ขึ้นเองบางส่วนเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ซึ่งอาจจะได้มาจากภายนอกองค์การ
7.4 Share คือ การแบ่งปัน การแลกเปลี่ยน การกระจาย และการถ่ายโอนความรู้
7.5 Use คือ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การจัดเก็บโดยคอมพิวเตอร์
...
โดยมีองค์ประกอบของการจัดการความรู้ 3 ประการ ดังนี้
1. คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด คือเป็นทั้งแหล่งความรู้ แสวงหาความรู้ คัดเลือกความรู้ สร้างความรู้ และใช้ประโยชน์จากความรู้
2. เทคโนโลยี (Technology) เป็นเครื่องมือสนับสนุนเพื่อการเสาะแสวงหาความรู้ที่ต้องการ การสร้างความรู้เพื่อการนำมาใช้งาน และเพื่อการจัดเก็บความรู้
3. กระบวนการหรือระบบ (Process) เป็นการบริหารจัดการกับความรู้เพื่อนำความรู้ไปใช้เพื่อการสร้าง "นวัตกรรม"

---------------------------
Tai

PA 609,709: องค์การและนวัตกรรมในองค์การ (โดยนก รป.ม.3/1 หัวหมาก)

PA 609 องค์การ และ นวัตกรรมในองค์การ (โดยนก รป.ม.3/1 หัวหมาก)
Orgarnization and the Innovation
สรุปโดย นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1
สุจิรา สรจิตต์ประเสริฐ
----------------------------------------
อาจารย์มีหัวข้อบรรยาย ในวิชานี้อยู่ 6 หัวข้อ
1. Orgarnization and the Innovation
2. Information Technology
3. Internet
4. Information System & Organization
5. Modern Orgarnization
6. IT Governance

1.Orgarnization and the Innovation
อาจารย์บอกว่า การพัฒนา และ บริหารจัดการ และมีแนวคิดบริหารจัดการองค์การอย่างไร ซึ่งองค์การจะอยู่
รอดได้ต้องมี
- องค์การต้องมีนวัตกรรมเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
- ระบบคุณภาพ เพราะทุกวันนี้มีการแข่งขันเรื่องมาตรฐานคุณภาพ เช่นหน่วยงานต้องการ ISO เพื่อยืนยันคุณภาพ และเมื่อมีคณุภาพแล้วมีทำให้ลูกค้าพอใจ และสามารถแข่งขันกับหน่วยงานอื่นได้
- พันธมิตรเครือข่าย เราทำกิจกรรมอะไรแล้วมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของเรา ทำธุรกิจอะไรก็ต้องมีพันธมิตร เช่น ม.ราม มีสถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแลระบบไอที ต้องควรมีพันธมิตรค่ายข่ายกับ ไมโครซอฟ จะทำให้ได้ราคาซื้อขายในราคาถูกลง
- ต้องมีสารสนเทศที่ดี และ จะต้องมีช่องการสื่อสารเข้าถึงคนที่เราต้องการที่จะสื่อสารสามารถเข้าถึงได้
2. Information Technology
- เป็นหัวข้อเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาสร้างสารสนเทศ
- เป็นหัวข้อเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่าประกอบด้วยอะไร
3. Internet
- ทุกวันนี้ Internet มีบทบาทต่อองค์การมากมาย การทำธุรกิจการติดต่อสื่อสาร
ทำให้ก้าวมาสู่เครือข่ายสังคมในการใช้ Internet ซึ่งในสังคมหรือคนจะมีหลายหลากทำให้มีทั้งข้อมูลชั้นดี และไม่ดี ที่อยู่ใน Internet จึงทำเกิดพรบ.คอมพิวเตอร์ออกมาเพื่อควบคุมการใช้เครือข่าย Internet
4. Information System & Organization
- สารสนเทศในองค์การ องค์การทุกองค์การต้องมีข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้ในการทำงานใช้ในการจัดการ องค์การต้องมีสารสนเทศโดยมีการแบ่งระดับ ของสารสนเทศ ระดับที่ 1 1TPS ระดับที่ 2 MIS
5. Modern Orgarnization
- วันนี้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยบริหารจัดการองค์การอย่างไร ทุกวันนี้ ธุรกิจต้องผูกติดกับไอที ไอที ต้องคู่กับธุรกิจ
6. IT Governance
ต้องมีการตรวจสอบ ทั้ง ด้าน Buisiness Process กับ IT Process เช่น หากตรวจสอบแค่บัญชี ผ(Buisiness Process ) ก็อาจจะไม่รู้ว่ามีการทุจริต เราต้องควรตรวจสอบโปรแกรมบัญชีด้วยว่า อาจจะมีการเขียนโปรแกรมไว้ว่า หาก มีเศษสตางค์ 35 สตางค์ ให้โอนเข้าบัญชีส่วนตัว ก็เกิดทุจริตหลายครั้งก็ได้หลายบาท แล้ว ควรจะต้องมีการตรวจสอบได้โปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1
หัวข้อแรก ที่อาจารย์บรรยายคือ
Orgarnization and the Innovation
โดยแยกบรรยาย ระหว่าง Orgarnization กับ Innovation
ความหมายของ Orgarnization ตามที่อาจารย์ได้สอน สรุปย่อๆ ดังนี้
อาจารย์ได้ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า เป็นการรวมตัวของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
เกิดจากปัจเจกชนที่มีความหลายหลาก
แต่มีขีดความสามารถในการทำงานของปัจเจกชนมีข้อจำกัด
แต่ละคนก็มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน
ดังนั้นเราต้องเอาคนที่มีความรู้ความสามารถมารวมตัวกัน
เพื่อให้งานของแต่ละคนดำเนินไป
แนวความคิดทางการจัดการ แบ่งเป็น 5 ยุค สรุปย่อๆ ได้คือ
ยุคที่1 ยุคก่อนวิทยาศาสตร์ ลักษณะ คือ ใช้บทลงโทษกับพนักงาน , ใช้การบังคับ , เป็นแบบทาส
ยุคที่ 2 ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ลักษณะคือ ต้องการเน้นการเพิ่มผลผลิตให้ได้มากๆ โดยเริ่ม
มาเน้นการฝึกทักษะของคน ต้องการให้คนเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด มีการนำระบบสายพานเข้ามาช่วย จ่ายค่าแรงงานตามชิ้นงานที่ผลิตได้ ใครทำมากก็ได้มากใครทำน้อยก็ได้น้อย
ยุคที่ 3 แนวความคิดมนุษย์สัมพันธ์ ลักษณะคือเน้นคน คนมีชีวิตจิตใจ คนมีความต้องการ 5 ระดับ (ทฤษฎีของมาสโลว์)
ยุคที่ 4 ยุคของการจัดการเชิงปริมาณ บอกว่าการตัดสินใจในการทำงานควรมีการตัดสินใจร่วมกัน
ยุคที่ 5 ยุคขอการจัดการสมัยใหม่ เกิดแนวคิดทฤษฎีระบบ , ทฤษฎี x y z และ มีการพัฒนามาจนถึง KM (Knowledge Management ) อาจารย์ได้บอกว่า เราต้องทำองค์กรของเราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก่อนเราถึงจะบริการจัดการองค์ความรู้ได้
คนที่มีความรู้ ต่อมาเขาไม่อยู่ในองค์กรแล้ว จะทำให้ความรู้ของคนนั้นหายได้ด้วย องค์กรควรนำความรู้นั้นมาเก็บไว้ในระบบ เพื่อให้คนอื่นมาต่อยอดได้ มาศึกษาได้
Knowledge จะมี 2 ประเภทคือ 1. Explicit คือ ความรู้ที่ได้มีการวิเคราะห์ ได้มีการวิจัย ได้มีการจดบันทึก ความรู้จากตำราต่างๆ สามารถเอามาปฎิบัติได้ 2.Tacit ความรู้ที่อยู่ในตัวคน สามารถที่เอาไปใช้ได้แต่ยังไม่มีใครนำบันทึก เป็นความรู้ที่เกิดจากความชำนาญจนทำงานได้เร็วขึ้น ตรงนี้ควรไปศึกษาเพิ่มเติม
ระดับการบริหาร ได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. ผู้บริหารระดับสูง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน
2. ผู้บริหารระดับกลาง ทำหน้าที่ควบคุมและติดตามการปฎิบัติงาน
3. ผู้บริหารระดับต้น ทำหน้าที่ ทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายไว้
Fayol ได้บอกว่าในการบริหารจัดการนั้นแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
1. planning : วางแผน กำหนดเป้าหมาย สร้างกลยุทธ์
2. organizing : จัดโครงสร้างที่ชัดเจน มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
3. controlling : การติดตามควบคุมว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่
4. leading : การสร้างแจงจูงใจ
อาจารย์บอกว่า การพัฒนาโครงสร้างขององค์กร เดิม เป็นแเบบ ปิระมิด มีโครงสร้างขององค์องค์กร ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ช้า
เมื่อมี ไอทีเข้ามาใช้ทำให้ โครงสร้างขององค์การเปลี่ยนไปคือแบนราบ ลดขั้นตอน รวดเร็วขึ้น ดังนั้นไอทีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กร
กระบวนการจัดการ MODEL OF MANAGEMENT
สิ่งที่เราต้องการคือผลผลิต ซึ่งผลผลิตอาจจะออกมาในรูปผลิตภัณฑ์ สินค้า การบริการ ซึ่งกระบวนการดังนี้
INPUT ได้แก่ 4 M เมื่อโลกเปลี่ยนก็พัฒนามาเป็น 6 M จนเป็น 8 M บวกกับ T&T คือ T ตัวแรกคือ เทคโนโลยีเฉพาะด้านขององค์กร กับ เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับตัวที่ 2 คือ Timing
Process คือขบวนการบริหารจัดการซึ่งต้องมีประสิทธิภาพเพิ่อให้ผลผลิตตามเป้าหมาย ขบวนการบริหารจัดการได้แก่ planning : วางแผน กำหนดเป้าหมาย สร้างกลยุทธ์ organizing : จัดโครงสร้างที่ชัดเจน มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน controlling : การติดตามควบคุมว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ leading : การสร้างแจงจูงใจ
OUTPUT คือ สินค้า หรือการบริการ สิ่งที่ตามมาคือกำไร ที่จะได้รับ แต่ทุกวันที่ธุรกิจจะไม่วังแค่ผลกำไรสูงสุดเท่านั้น แต่ต้องการดูแลภาคสังคมด้วย CSR ประกอบด้วย สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม แรงงาน การไม่ยอมการทุจริต วันนี้ธุรกิจเริ่มมีเปลี่ยนจะได้มีทั้งได้กำไรบวกความสุข Business Enterprice
ภารกิจของผู้บริหารหากแบ่งตามทักษะแล้ว จะมี 3 ระดับคือ
1. ทักษะด้านงานเทคนิค คือทักษะด้านการปฎิบัติงาน เช่นจบด้านบัญชีก็มีทักษะด้านบัญชี จบคอมฯ ก็มีทักษะด้านคอมฯ เป็นการทำงานเบื้องต้น
2. ทักษะด้านมนุษย์ เป็นทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร ในการทำงาน โดยมีการติดต่อ ทั้งผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และ เพื่อนที่อยู่ระดับเดียวกัน
3. ทักษะด้านมโนทัศน์ คือแนวคิดในการทำงาน เราควรมีแนวคิดในการทำงานมีการสร้างสรรค์งาน เพื่อการพัฒนา
สรุปได้ว่าหากเราเข้าทำงานใหม่ มีระดับทักษะด้านงานเทคนิค เมื่อเริ่มเป็นผู้จัดการ งานในหน้าที่ลดลง งานติดต่อสื่อสารมากขึ้น มีแนวคิดในการพัฒนางานมากขึ้น สามารถมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานได้ในระดับหนึ่ง หากเราก้าวไปดเป็นผู้บริหารต้องมีทักษะด้านความคิด มีนวัตกรรมอะไรใหม่ๆ ให้เราคิดพัฒนาองค์การ
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1

นวัตกรรม Innovation
องค์การจะอยู่รอดต้องมีนวัตกรรมเกิดขึ้น
ความหมายของนวัตกรรม หมายถึงวิธีการ หลักปฎิบัติ แนวคิด และสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆ ของบุคคล ที่นำมาใช้ในการปฎิบัติงาน ด้านต่างๆ
ทำให้เกิดกระบวนการ
1. การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่า ให้เหมาะสมกับสภาพงาน
2. มีการพัฒนาปรับปรุง โดยผ่านการทดลองหรือวิจัยจนมีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือได้
3. มีการนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริงและปรับปรุงจนเกิดประสิทธิภาพ
วิธีคิดวิธีสร้างสรรค์นวัตกรรมมีอยู่ 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 เราต้องคิดสร้างสรรค์ คิดว่าต้องการทำนั้นทำนี่ Idea general ation
ขั้นตอนที่ 2 คิดว่าเราจะต้องมีการประเมินว่าทำออกมาแล้วผลจะเป็นอย่างไร จะกระทบอะไรหรือไม่ ดูความเป็นไปได้หรือไม่ เช่น จะทำให้การบริการดีขึ้นหรือไม่ ทำแล้วจะทำให้ผู้บริโภคจะรับได้หรือไม่ ระบบขนส่งจะเป็นอย่างไร ระบบการขายจะเป็นอย่างไร
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาขึ้นมาเป็นผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือการบริการ
ขั้นตอนที่ 4 นำไปใช้ทดลอง นำสินค้าไปขาย หรือ นำไปใช้งาน
สินค้าในที่นี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. สินค้าที่มีรูปร่าง จับต้องได้ ต้องมีการขนส่ง
2. สินค้าที่ไม่รูปร่าง จับต้องไม่ได้ ได้แก่ โปรแกรม ซอฟแวร์ สื่อเพลง ภาพยนต์ ซึ่งสามาถส่งผ่านการสื่อสารได้ ตกลงซื้อขายกันแล้ว ก็ส่งสินค้าผ่านมาให้ผู้ซื้อโดยส่งผ่านทางเครือข่ายการสื่อสาร
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสร้างนวัตกรรมให้มันเกิดในรูปสินค้า ที่ไม่มีรูปร่างได้ เราไม่จำเป็นต้องออกไปขายสินค้า เช่น การซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางเน็ต
ตัวขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดนวัตกรรม มีอยู่ 3ปัจจัยคือ
1. Buiness หน้าที่หลักคือ การเงิน การจัดการบัญชี บุคลากร ฯลฯ
2. Technology หน้าที่หลักคือ ออกแบบ สนับสนุนระบบอุตสาหกรรมการผลิต ฯลฯ
3. Human Values หน้าที่หลัก คือจิตวิทยา มนุษยวิทยา สังคมวิทยาฯลฯ
ซึ่งทั้ง 3 ส่วนเอื้อประโยชน์ต่อกัน ธุรกิจเมื่อนำไอทีมาใช้ ไอทีก็จะช่วยในด้านสนับสนุนด้านการผลิต Supply chain เมื่อคนนำไอทีมาใช้ ก็จะช่วยในการออกแบบสร้างสรรค์ พัฒนาสิ่งต่างๆ ปกติไอทีเป็นเครื่องมือให้คนเกิดแนวคิดมากมาย และ เมื่อธุรกิจนำคนมาใช้เกิดโครงสร้าง องค์การ ทีมงาน
ทั้ง 3 ส่วน เป็นแรงผลักดันทำให้เกิดนวัตกรรม
สรุปได้ว่า ตัวขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดนวัตกรรม คือ
การแข่งขันด้านราคา คิดนวัตกรรมก่อนก็สามารถกำหนดราคาได้ก่อนคนอื่น
เทคโนโลยี มันเกิดขึ้นแล้วมันเปลี่ยนแปลงเร็ว วันนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง 18 เดือน
จะมีการเปลี่ยนแปลงถึง 2 เท่า ราคาลดลงมาก
ความต้องการขอคน คนมีความต้องการหลากหลาย
สิ่งที่เราต้องการคือคนที่คิดสร้างนวัตกรรมใหม่ เราต้องจะต้องศึกษาตลอดเวลา เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับเราและองค์กร
และเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรแล้ว ก็จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน หรือเกิดแรงกดดันในองค์กรดัวนั้
1. บทบาทหน้าที่ของคนในองค์กร เนื่องจากเราต้องมีการฝึกทักษะในการใช้ ไอที จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน วิธีการทำงาน คนต้องไปศึกษาเพิ่มเติมให้มีทักษะเพิ่อรองรับกับไอที
2. โครงสร้างองค์กร ต้องเปลี่ยน เพราะคนที่มีหน้าที่ดูแล ไอที ต้องเข้ามาพัฒนาดูแลรับผิดชอบ ต้องมีการเพิ่มแผนก ไอที
3. กระบวนการจัดการต้องเปลี่ยน เมื่อมีไอทีมาช่วยก็จะทำให้เราทำงานได้รวดเร็วสะดวกขึ้น โดยมีระบบงานเข้ามาช่วย
4. กลยุทธ์ เมื่อมีการปรับเปลี่ยนทั้ง3ข้อ ดังนั้นกลยุทธ์ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้วย
กระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม
1. นวัตกรรมด้านกระบวนการ คือนวัตกรรมที่เกิดจากกระบวนการ ปรับกระบวนการให้มันดีขึ้น เช่น พัฒนานวัตกรรมแบบให้เกิดงานใหม่ เช่นการเข้าแถวรอคอย
2. นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ เช่นปรับโฉมเครื่องใช้ไฟฟ้า
3. นวัตกรรมด้าน รูปแบบธุรกิจ เช่น อยากกินเคเอฟซี ก็สั่งทางโทรศัพท์
Quality Assurance :เป็นแนวคิดของ Kano House Model
แนวคิดทางการบริหารอย่างมีคุณภาพ
ลูกค้าพึงพอใจในตัวสินค้า เพราะสินค้าที่มีคุณภาพ
สินค้ามีคุณภาพเพราะพนักงานมีความตั้งใจในการผลิต
การบริหารอย่างมีคุณภาพต้องมีเสาหลักอยู่ 3 เสาคือ
เสาแรก คือ เสาเทคนิค ทำหน้าที่ คิดวิเคราะห์ปัญหา ที่เกิดขึ้นในองค์กร รวบรวมวิเคราะห์ปัญหา โดยมีเครื่องมือ เช่น 7 QC
เสาที่สอง คือเสา Concepts เป็นเครื่องมือสำหรับพนักงาน โดยมีเครื่องมือ เช่น PDCA
เสาที่สาม คือเสาสำหรับผู้บริหาร เมื่อได้ข้อมูลจากเสาที่สองแล้ว ก็จะนำมาใช้ในการวางแผน เพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุงระบบในองค์การ เป็น policy
แต่เสาทั้ง 3 จะอยู่ได้ต้องมีฐาน ได้แก่
ฐานแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ฐานเทคโนโลยี เราจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีเฉพาะด้าน และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์กรควรมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าคู่แข่ง เพื่อที่จะเกิดการได้เปรียบคู่แข่งขัน
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1


บทที่ 2
Information Technology ( สารสนเทศ + เครื่องไม้เครื่องมือ )หรือ (สารสนเทศที่เกิดจากเทคโนโลยี)
ความหมายของ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการดำเนินการใดๆ ที่อาศัยเทคโนโลยี ทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การรวบรวมและการนำข้อมูลมาใช้อย่างทันการ
เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งทางด้านการผลิต การบริการ การบริหาร และการดำเนินการ รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้
ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบ ทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม
ระบบสารสนเทศ และองค์การ มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง
ซึ่งระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์การจะต้องมีลักษณะที่สอดคล้อง
เป็นไปในทิศทางเดียวกับลักษณะขององค์การ
เพื่อจัดเตรียมระบบสารสนเทศ ให้กับ บุคลากรในองค์การ
ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สารสนเทศที่เกิดจากเทคโนโลยีประกอบด้วย
-ฮาร์ดแวร์ คือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
-ซอฟแวร์ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คำสั่งที่ทำให้ระบบตัวเครื่องมันทำงาน
-ข้อมูล
-และมีการเชื่อมโยงกันโดยผ่านเครือข่ายการสื่อสาร ก็จะได้ Information (หรือ Information คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล) สารสนเทศเป็นทรัพยากรสำคัญขององค์การ
-มีขั้นตอนการทำงาน
-คนเพื่อสั่งการให้ทำงานได้
ความสัมพันธ์ขององค์การ และระบบสารสนเทศ
1.องค์การต้องมีโครงสร้าง (มีการกำหนดหน้าที่การรับผิดชอบที่ชัดเจน)นอกจากนั้น องค์การต้องมีวัฒนธรรมองค์การ มีคุณธรรม จริยธรรม
2.องค์การต้องมีการบริหารการจัดการ ซึ่ง 4 หน้าที่หลัก
3.มี บทบาทของคนในองค์การ ต้องรู้ว่าใครมีหน้าที่อะไร ต้องจัดสรรคนเข้าทำงาน และแต่ละคนต้องรู้ว่าตัวเองมีหน้าที่อะไร
สารสนเทศที่ใช้ในองค์การมีหลายระดับ ได้แก่
TPS สารสนเทศที่เชิงรายงาน
MIS สารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการ
DSS สารสนเทศที่ใช้ในการสนันสนุนการตัดสินใจ
ESS สารสนเทศที่ใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูง
-และเราจำเป็นต้องกำหนดระบบของเขตของสารสนเทศให้ชัดเจน ( system boundary )
-องค์การจะไปถึงเป้าหมายต้องมีสารสนเทศสนับสนุน โดยสารสนเทศต้องอยู่บนขอบเขตที่เรากำหนด
-บริษัทที่ผลิตสินค้าเองอยู่กี่แห่ง มีผู้ผลิตสินค้าเองกี่ราย สังคมต้องการมีมากน้อยแค่ไหน ระบบภาษีเป็นอย่างไร ระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างไร วัตถุดิบเป็นอย่างไร ซึ่งพวกนี้เราถือว่าเป็น External Information
ส่วนประกอบระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย
Input ผ่านกระบวนการ Process คือการ ประมวลผล โดยใช้โปรแกรม ซอฟแวร์เพื่อใช้ในการ ประมวลผล มีคนเพื่อใช้ในการประมวลผล มีที่เก็บข้อมูล มีเครื่องมือ และจะออกมาเป็น Output ผลลัพธ์ที่เป็น รายงาน กราฟ เสียง ฯลฯ และจะมี Feedblack กลับ เนื่องจากอาจเกิดปัญหา
ดูแล้วสิ่งที่ออกมามันไม่ถูก มันผิดเพราะเจ้าหน้าที่ใส่ข้อมูลผิด ใส่โปรแกรมผิด ฯลฯ ปัญหามันเกิดจากจากตรงไหน จึงนำกลับไปแก้ไข ปรับแก้ไขให้ถูกต้อง
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1

บทที่ 4 Information System & Organization ระบบสารสนเทศในองค์การ
-องค์การทุกองค์การต้องมีสารสนเทศ และ สารสนเทศที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องอาศัย ฮาร์แวร์ ซอฟแวร์ ข้อมูล ระบบเครือข่าย (communication)
ธุรกิจสมัยใหม่ ต้องดูสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องด้วย และเอาข้อมูลภายใน ข้อมูลภายนอกมาประกอบการพิจารณาเพื่อประกอบการวางแผน
ระบบสารสนเทศ มาใช้เพื่อการสนับสนุนในการทำงานของทุกหน่วย ทุกระดับ ในแต่ระดับมันมีปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน ดังนั้นต้องเอาสารสนเทศไปช่วยเขา เอาข้อมูลไปช่วยเขา เพื่อให้ปัญหามันลดลง
สารสนเทศที่นำมาใช้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1. สารสนเทศในเรื่องการสนับสนุนการทำงาน TPS เป็นสารสนเทศพื้นฐาน หรือ สารสนเทศเชิงรายการ เข้ามาที่ละรายการ เช่น ลูกค้าเขามาฝากเงิน ที่ธนาคารที่ละคน เราก็บันทึกทีละคน เราเรียกว่าสารสนเทศเชิงรายการ ใช้กับกลุ่มคนทำงาน เจ้าหน้าที่เคาท์เตอร์ เจ้าหน้าที่รับลงทะเบียน
2. สารสนเทศในการสนับสนุนการบริหารงาน ซึ่งเมื่อข้อมูลที่เขามาทุกวัน เราก็เอามารวมกันแล้ว ก็ไปผ่านระบบ ได้แก่
ระบบ MIS คือระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการ เช่น เมื่อได้ข้อมูลเข้ามาก็สามารถนำไปจัด สอบของมหาวิทยาลัยได้
ระบบ DSS คือระบบสารสนเทศใช้ในการสนับสนุนในการตัดใจ ในการทำงานขององค์กรทุกหน่วยงานก็มีปัญหา จึงต้องใช้ระบบ DSS เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยแต่ละฝ่าย
ระบบ EIS คือระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับสูง เมื่อผุ้บริหารได้ข้อมูลตรงนี้สามารถนำมาปรับย้ายฐาน เปลี่ยนผลผลิต เช่น ดูข้อมูลแล้วเห็นว่าไทยค่าแรงแพงก็ย้ายไปเวียดนาม
(ระบบสนันสนุนการบริการนี้ใช้ในการสนับสนุนผู้บริการตั้งแต่ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง
และไม่ว่าจะมีกี่ฝ่ายกี่แผนก ทุกแผนกต้องมี TPS )
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ ต้องการ สารสนเทศ TPS ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องจักร ว่าเครื่องจักรจะควบคุมอย่างไร วัตถุดิบจะต้องใส่อะไร จำนวนเท่าไร เมื่อหมดแล้วต้องไปเบิกตรงไหน
กลุ่มที่มีความรู้ในการใช้เครื่องไม้เครื่องมือในเรื่องการออกแบบ ออกแบบในเรื่องผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพราะเขาใช้เครื่องมือเป็น หากเป็นบัญชีก็ทำหน้าที่วิเคราะห์บัญชี วิเคราะห์การเงิน
ผู้จัดการฝ่ายผลิต จะวางแผนการผลิต ดูว่าวัตถุดิบเพียงพอหรือไม่ ขณะที่หน่วยงานให้ผลิต 1,000 ชิ้น ดูว่าวัตถุดิบ แต่ละประเภทเป็นอย่างไร วางแผนการผลิตให้ได้ตามเป้าตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ ติดตามและประเมิน
ผู้บริหารระดับสูง ดูแลอำนวยความสะดวก ดูว่าเครื่องจักรที่มีอยู่เพียงพอต่อการผลิตหรือไม่ พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการเก็บหรือไม่
สำหรับฝ่ายขาย เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย จัดทำคำสั่งซื้อ สำหรับผู้จัดการฝ่ายขาย ต้องการวิเคราะห์ว่าสินค้าขายที่ไหนดี
วิเคราะห์ราคาสินค้า
ชนิดการตั้งสินใจ
การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง คือการตัดสินใจเป็นไปตามระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา ข้อบังคับ ของหน่วยงาน เช่น รับสมัครนักศึกษา ปรากฎว่า ผู้สมัครเอาเอกสารมาไม่ครบ เจ้าหน้าที่รับสมัครไม่สามารถรับสมัครได้ ต้องเอามาครบตามระเบียบ เป็นการตัดสินใจของผู้ปฎิบัติงานโดยใช้สารสนเทศ TPS
การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจตามระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา ข้อบังคับ ของหน่วยงานส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งละไว้ เพราะมีอำนาจเป็นผู้จัดการ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก เจ้าหน้าที่เคาท์เตอร์รับไม่ได้ ไปหาผู้จัดการ อาจจะให้สมัครได้แต่ต้องเอามาวันพรุ่งนี้ ใช้สารสนเทศ MIS , DSS ( ผู้บริหารระดับกลาง ผู้จัดการ มีรูปแบบการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง )
ผู้บริหารระดับสูง เมื่อได้รับข้อมูล EIS ,DSS จะมีการตัดสินใจ แบบไม่มีโครงสร้าง เมื่อเห็นว่า สินค้าตัวเดิมหรือ ตลาดเดิมขายไม่ได้ ก็เปลี่ยนหาสินค้าตัวใหม่เข้ามา เนื่องจากเขาเป็นเจ้าของกิจการ
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1

7. Modern Orgarnization
เมื่อโลกเปลี่ยน องค์กรก็ต้องเปลี่ยน เราอาจเอาคอมพิวเตอร์ตัวเดิม ปรับหาวิธีคิดให้มันใช้งานได้สะดวกขึ้น
อดัม กรีนสแปน บอกว่า อินเทอร์เน็ต กำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบเศรษฐกิจของโลก
เรียกว่า เศรษฐศาสตร์เครือข่าย และเป็นระบบการค้าที่ไร้พรมแดน
Peter f Drucker Guru of Guru แห่งการจัดการสมัยใหม่ เชื่อว่า จะก่อเกิดการปฎิวัติครั้งสำคัญ โดยมีเทคโนโลยีและสารสนเทศ เป็นตัวขับเคลื่อนและส่งผลให้โฉมหน้าของอำนาจเปลี่ยนไป จากอำนาจทุน เป็น อำนาจความรู้
เราต้องมีความรู้ เป็นคนที่มีความคิด ทำให้เกิดปัญญา
โลกาภิวัตน์ คือผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็น ถึงการเจริญเติบโต ของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วโลก
เดิมเชื่อว่าโลกว่าโลกกลม ยุคที่โคลัมบัส ค้นพบอเมริกา ได้นั้น เชื่อว่ามีระบบคมนาคมที่ดี ระบบการเดินทางสะดวกขึ้น ทำให้วัฒนธรรมจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง จึงถือว่าเป็นการเกิดโลกาภิวัฒน์ ยุคแรก โดยยุคนี้เป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคม จึงมีแนวคิดว่า ประเทศของฉันจะแข่งกับประเทศอื่นได้อย่างไร ประเทศไหนแข็งแรงก็ได้เปรียบ ยูโรปก็จะมาล่าอาณานิคมจากประเทศที่เล็กกว่า
ในยุคที่ 2 อยู่ในยุดช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มีการปฏิวัติอุสาหกรรม เป็นยุคที่มีเครื่องมือเครื่องไม้สะดวกขึ้น มีรถไฟ มีเรือ สื่อสารคมนาคมที่ดี ทำให้การสื่อสารวัฒนธรรมจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้เร็วขึ้น โดยบอกว่าเราจะสร้างบริษัทในต่างประเทศได้อย่างไร
ในยุดปัจจุบัน ในโลกมีการสื่อสารเร็วขึ้น เมื่อโลกแบนราบ ปัจเจกชนเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้เร็ว โดยบอกว่าเราจะแข่งกับคนในโลกได้อย่างไร เป็นเรื่องคนกับคน
ในโลกของอินเทอร์เน็ตมันเร็วมาก ใครสามารถคิดค้นอะไรได้ก่อนก็จะทำให้สามารถสร้างคุณค่าให้กับตัวเองได้
โทมัส ฟรีดแมน บอกว่าโลกแบน ประการที่ 10 ที่ทำให้โลกแบนคือ The Steroids โดยมี 4 ตัวคือ
Digital สามารถส่งข้อมูลได้เร็ว และไม่ผิด
Mobil เราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เราไม่จำเป็นต้องทำงานที่ออฟฟิค
Personal มันมีความเป็นส่วนตัว ไม่มีใครมารบกวน
Virtual มันเป็นโลก ที่มีห้องเรียนโดยผ่านอินเทอร์เน็ต
ความรู้มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะข้อมูลมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
สารสนเทศมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สารสนเทศมันมีข้อมูลเต็มไปหมดไม่รู้ว่าอะไรมันผิดมันถูก ต้องวิเคราะห์
เมื่อโลกเจริญขึ้นการเคลื่อนย้ายคนสะดวกขึ้นแต่เราไม่ต้องเคลื่อนย้ายคน
การเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ คนทำงานจากอีกที่ก็สามารถสื่อสารผ่านศูนย์ไอทีที่ใหญ่ในโลก เช่นที่อินเดีย
The Three of Business Pressure
แรงกดดันที่ทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลง
Business Environment (Pressures)
แรงกดดัน หรือ แรงผลักดัน ที่ทำให้องค์กรเปลี่ยน มี 3 ประการคือ
1.Economic (market) เศรษฐกิจ และแรงงาน
Global economy and strong competition
วันนี้ตลาด(เศรษฐกิจ)โลก มันมีการแข่งขันที่สูง
Need for real-time operations
ผู้บริโภคมีความต้องการลักษณะ real time เช่น ถามอะไรต้องตอบทันที หรือส่งเครื่องไปต้องซ่อมทันที หรือ ส่งข้อมูลอะไรไปต้องตอบทันที
Changing workforce
แรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แรงงานมีการย้ายโอนไป แต่ไม่จำเป็นต้องย้ายตัวบุคคลไป
Powerful customers
ผู้บริโภคมีความสามารถซื้อสูงขึ้น ผู้บริโภคมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพราะเข้าถึงข้อมูล เช่นอยากซื้อตู้เย็นก็ ดูจาก อินเตอร์เน็ตได้ว่าอันไหนถูก
2.Societal ,Poitical , Legal สังคม การปกครอง กฏหมาย
Terroist attacks and homeland security
การโจมตีก่อการร้าย และการรักษาความปลอดภัย ความปลอดภัยในชุนชน เพราะผู้ก่อการร้ายก็นำไอทีไปใช้ในการก่อการร้าย
Ethical issues
ปลูกฝังจริยธรรม วันนี้จริยธรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ทุกวันนี้พยายามลักลอบขโมยข้อมูล
Compliance with government requlations and deregulations
การปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย กฎหมายออกไม่ทันกับเทคโนโลยี ที่มีการปรับเปลี่ยน วันนี้มือถือสามารถดูทีวีได้ กฎหมายก็ออกไม่ทัน พรบ.คอมฯ ทำให้สังคมเรียบร้อยขึ้น
Social responsibility
ความรับผิดชอบต่อสังคม ตอบสนองภาคสังคม ซึ่งทุกวันนี้สังคมต้องการภาคธุรกิจ หรือองค์กรทั้งหลายดูแลสังคมอย่าเอาเปรียบสังคมต้องมี CSR ( Corporate Social Responsibility ) ธุรกิจอย่าทำกำไรอย่างเดียว ธุรกิจต้องดูในเรื่องสิทธิมนุษย์ชน ดูในเรื่องแรงงาน ดูในเรื่องสิ่งแวดล้อม ดูในเรื่องการไม่ยอมรับการทุจริต
3.Technology
Information overload
ข้อมูลเกินพิกัด คือ วันนี้ข่าวสารดูง่ายนิดเดียว และรวดเร็วสามารถสื่อสารได้ทั่วโลก ข่าวสารมัน เยอะ สามารถทราบข่าวสารได้ทั่วโลก ช่องทางการในการรับส่งข้อมูลมีมากมาย แต่ไม่ทราบว่าข่าวสารนั้นมันถูกหรือผิด ผู้รับข้อมูลเองเมื่อได้รับข้อมูลต่างๆ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับด้วย
Technological innovation and obsolescence
เทคโนโลยี นวัตกรรม เนื่องจากเทคโนโลยี มีการพัฒนาเร็ว สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ หรือ นวตกรรมที่เกิดขึ้นหรือถูกสร้างวันนี้มันอายุสั้น อายุการใช้งานยังไม่หมด แต่อายุของ innovation มันหมด เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีมันเร็วมาก เช่น การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเทคโนโลยีทุกวันนี้มันพัฒนาเร็ว
ฉะนั้นสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ คือ Organization Performance Responses ทำช่องทางองค์กรของเราให้รองรับ หรือ มีสมรรถนะในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจาก 3 องค์ประกอบข้างต้น ดังนั้นเรา ต้องสร้างสมรรถนะองค์กรให้เกิดขึ้นเพื่อที่จะผลักดันหรือตอบสนองธุรกิจ สิ่งที่ต้องทำคือเอาไอทีเข้ามาช่วย เพราะไอทีจะทำให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพในการนำไอทีเข้ามาช่วยนั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือด้านล่าง คือการดำเนินงาน ระบบการเงิน ระบบบัญชี ระบบบุคลากร และเราต้องมีระบบ KM หรือ การจัดการความรู้ ซึ่งเป็นระบบด้านหลังของหน่วยงาน และ เวลาติดต่อภาคประชาชนต้องมีระบบดูแลลูกค้า CRM (Customer Relationship Management) คือระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบดูแลลูกค้า 2 ระบบทำให้องค์กรอยู่รอด
นอกจากนั้นถ้าต้องการให้งานดำเนินการสะดวกขึ้นต้องใช้ระบบ OAS ( Office Automation Systems ) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ มาช่วยทำให้องค์กรอยู่รอด
วันนี้องค์กรจะอยู่ได้ต้องมีนวัตกรรม ระบบคุณภาพ ระบบพันธมิตรและ ระบบสื่อสาร ต้องมีช่องทางสื่อสารที่แข็งแรง
Electronic commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์
Strategic systems ระบบเชิงกลยุทธ์
Customer focus and service(CRM) self-service ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ทำให้สะดวกขึ้น เน้นการบริการลูกค้าและบริการตนเอง
Continuous improvement efferts ( just-in-time, total quality management ),KM, ERP ความพยายามพัฒนาต่อเนื่อง
Business process restructuring and management (BPM) การปรับโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจและการจัดการ
Intelligent data management การจัดการข้อมูลอัจฉริยะ
On-demand made-to-order mass customization ตามความต้องการสั่งทำ ตามจำนวนมาก เพื่อการปรับแต่ง
Better data management การจัดการข้อมูลที่ดีกว่า
Business allances
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1
สรุป ในการเขียนสอบ วิชา PA 609 ส่วนของตัวเอง เห็นว่าควรจะเรียบเรียงในการตอบดังนี้
1. หัวข้อแรก ควรจะบอกถึงความหมายของสารสนเทศ สักหน่อย
2. หัวข้อที่สอง ควรจะบอกถึงว่าหน่วยทำไมต้องมีสารสนเทศ (แรงผลักดัน ที่ทำให้เกิดสารสนเทศ)
3. หัวข้อที่สาม ควรจะบอกถึง เมื่อเอาสารสนเทศมาใช้ มันมีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร
4. หัวข้อที่สี่ ควรจะบอกถึง การเอาสารสนเทศมาใช้ มันมีเครื่องมือการบริหารอะไรบ้าง และเมื่อเอามาใข้แล้วมันมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร (ผลกระทบ)
5. สรุป
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1 โชคดีจ๊ะ
------------------------------
Tai

PA609,709: แนวข้อสอบ นวัตกรรมและนวัตกรรมในองค์การ

PA609,709: แนวข้อสอบ นวัตกรรมและนวัตกรรมในองค์การ
สรุปโดย ครูตาล
--------------------------------
คำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการบริหารที่เหมาะสมกับระบบราชการไทย
พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

แนวการตอบ
สำหรับการเลือกใช้นวัตกรรมการบริหารให้มีความเหมาะสมกับระบบราชการไทยสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ ลักษณะพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมไทยให้เห็นเป็นรูปธรรม นั่นคือ พฤติกรรมของคนไทย ลักษณะโดยภาพรวมของพฤติกรรมคนไทยส่วนใหญ่จะชอบวิถีชีวิตที่ไม่เร่งรีบ ไม่ชอบการแข่งขัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ทางสายกลาง
เมื่อพิจารณาจากบุคลิกลักษณะพื้นฐานของคนไทยที่เน้นทางสายกลาง ทำให้สามารถเลือกนวัตกรรมทางการบริหารที่เหมาะสมกับระบบราชการไทย นั่นคือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(Sufficiency Economy) กับ ยุทธศาสตร์น่านน้ำสีคราม (Blue Ocean Strategy) ซึ่งทฤษฎีทั้งสองมีกรอบแนวคิดที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย โดยขอเริ่มอธิบายจาก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรชาวไทยโดยพระองค์ทรงคำนึงถึงสภาพสังคมไทยเป็นสำคัญ ดังนั้น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้เป็นนวัตกรรมในการบริหารระบบราชการไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
กรอบแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังนี้
3 ห่วง คือ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจอย่างรอบคอบ
3. ความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง สร้างแนวทางป้องกันตนเองและเตรียมตัว
รับมือกับการเปลี่ยนแปลง
2 เงื่อนไข คือ 1. ความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
2. คุณธรรม หมายถึง ความซื่อสัตย์ ความขยันอดทน ความสามัคคี
หากพิจารณาจากกรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะพบว่าเสาเข็มหลัก คือ ความรู้ และ คุณธรรม นับว่าเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังให้มีในตัวบุคคล เพราะถ้าบุคคลไม่มีความรู้และคุณธรรมย่อมไม่สามารถปฏิบัติตนให้เป็นผู้รู้จักพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันได้อย่างแน่นอน



สำหรับกรนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กรภาครัฐของประเทศไทย มีแนวทางดังนี้
1. การตัดสินใจเชิงนโยบายควรมุ่งไปที่ผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ดังนั้น รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการนำเสนอนโยบายสาธารณะ โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่อประชาชนอย่างรอบคอบ
2. เน้นพัฒนาคน ในที่นี้แบ่งออกเป็น 2 ระดับดังนี้
2.1 ระดับประชาชนทั่วไป รัฐบาลต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง พร้อมทั้งพัฒนาคุณธรรม ตามแนวทางทางที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
2.2 ระดับข้าราชการ องค์กรภาครัฐต้องพัฒนาศักยภาพของข้าราชการให้มีคุณภาพเพื่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสนองความต้องการประชาชนได้อย่างเต็มที่ โดยมุ่งเน้นเสริมสร้างคุณธรรม
3. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. ส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ตลอดจนเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาไทย
5. ให้ความสำคัญกับการจัดการองค์ความรู้ โดยการนำหลัก KM และ LO มาประยุกต์ใช้ในองค์กร
จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารระบบราชการไทยได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนจะขอยกตัวอย่างการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในองค์กร ดังนี้
(กรณีที่นำมายกตัวอย่าง ควรนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการภายในหน่วยงานของท่าน โดยชี้ให้เห็นความสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ)
--------------------------------
Tai

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

PA609,709: นวัตกรรมและนวัตกรรมในองค์กร ตอน เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง : ปรัชญาอันทรงค่าจากพ่อของปวงชนชาวไทย
ที่มา : วารสารเศรษฐกิจและสังคม ปีที่ 42 ฉบับที่ 6 เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2548 หน้า 41-47.

ดูข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บ เศรษฐกิจพอเพียง : http://www.sufficiencyeconomy.org/
หรือ E-Learning เศรษฐกิจพอเพียง: http://longlivetheking.kpmax.com/
และข้อมูลจากเว็บนี้ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม: http://www.mtc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=69:3--2-&catid=35:2010-07-21-11-03-28&Itemid=113

“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการ ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้น พระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำว่าเป็นแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ประเทศรอดพ้นจาก ปัญหาต่างๆ สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ

ทั้งนี้ สศช. จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ มาร่วมกันระดมความคิดและยกร่างคำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงโดยประมวลและกลั่น กรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 อีกด้วย

โดยนิยามของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีสาระสำคัญ ดังนี้

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้แนวการดำรงอยู่และ ปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดย เฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผล กระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

“หากพิจารณาพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมายิ่งทำให้เห็นว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมากเพียงใด ทรงเชื่อมั่นว่า การจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ นั้น ประเทศไทยต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง และน่ายินดีที่ว่า หลังจากนั้นหลายหน่วยงานได้น้อมนำพระราชดำรัสข้างต้นไปยึดถือปฏิบัติ”

เศรษฐกิจพอเพียงสามารถรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ได้จริงหรือ

อย่างไรก็ตาม แม้หน่วยงานและประชาชนที่เริ่มตื่นตัว และต้องการจะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ แต่ส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้ได้จริง มากน้อยเพียงใดตามมา

ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการของเศรษฐกิจพอ เพียงมาใช้อย่างเกิดสัมฤทธิผลกับทุกๆ ฝ่าย โดยหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท

ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลต่อการ พัฒนานั้น ต้องเข้าใจ “กรอบแนวคิด” ว่าเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ตลอดเวลา

และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ขณะเดียวกัน ก็ต้องเข้าใจคุณลักษณะว่าเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการ ปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

3 ห่วง 2 เงื่อนไข : หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่สำคัญที่สุด ทุกคนควรเข้าใจ “คำนิยาม” ว่าความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ห่วง และ 2 เงื่อนไข โดย 3 ห่วง คือ

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ส่วน 2 เงื่อนไข คือการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย

- เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ

- เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

“เศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ คือหลักการดำเนินชีวิตที่จริงแท้ที่สุด กรอบแนวคิดของหลักปรัชญามุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ในทุกระดับ ตลอดจนให้ความสำคัญกับคำว่าความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความ รู้และเงื่อนไขคุณธรรม”

“หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี”


การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง

นับตั้งแต่มีพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวในปี 2517 เป็นต้นมา พบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตน เอง ความพอมี พอกิน พอใช้ การรู้จักความพอประมาณการคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

ทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาทตระหนักถึงการพัฒนา ตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน

“วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทุกคน สามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสมและปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรง ชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง”

ก้าวแรกจุดประกาย ก้าวสองตอกเสาเข็ม

หลายฝ่ายเชื่อว่าเศรษฐกิจพอเพียงควรเป็นปรัชญานำทางในการ พัฒนาประเทศ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่หลายคนไม่ทราบว่า จริงๆ แล้ว ได้มีการผลักดันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ปี 2542 โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นแกนหลัก และมีการตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อน

ได้มีการจัดทำแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 4 ปีในช่วงปี 2547 – 2550 โดยปีแรก เน้นการจุดประกายความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ให้คนมีความเข้าใจที่ถูกต้อง และเกิดความตื่นตัว ต่อมาในช่วงปีที่ 2 ถือว่าเป็นช่วงสำคัญคือ การตอกเสาเข็ม ที่จะเน้นการสร้าง Case study หรือทำให้ประชาชนเห็นว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำได้และประสบความสำเร็จได้ จริงๆ ที่สำคัญต้องสร้างความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียง มิได้จำกัดเฉพาะเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียงเท่านั้น แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคน ทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท

“ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและ บริษัทในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าจะต้องขยายกิจการก็จะขยายเพราะความเจริญเติบโตจากเนื้อของงาน โดยอาศัยการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือหากจะกู้ยืมก็กระทำตามความเหมาะสมไม่ใช่กู้มาลงทุนจนเกินตัวจนไม่เหลือ ที่มั่นให้ยืนอยู่ได้ เมื่อภาวะของเงินผันผวน ประชาชนจะต้องไม่ใช่จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว เกษตรกรก็ทำไร่ทำนา ปลูกพืชแบบผสมผสานในที่แห้งแล้งตามแนว “ทฤษฎีใหม่” หากไม่มีความพอประมาณในใจตน นึกแต่จะซื้อรถปิคอัพคันใหม่ หรือเครื่องอำนวยความสะดวกอื่นๆ อยู่ร่ำไปย่อมไม่ถือว่าประพฤติตนอยู่ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราช ดำริ”

เร่งสร้างเครือข่ายและนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม

ในช่วงปีที่ 3 เป็นช่วงของการสร้างเครือข่าย โดยการขับเคลื่อนจะเป็นลักษณะการระดมพลังจากทุกภาคส่วนแบ่งเป็น 2 เครือข่ายสนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่เครือข่ายภาครัฐทั้งหมด เครือข่ายด้านประชาสังคมและชุมชน เครือข่ายธุรกิจเกชน เครือข่ายภาคการเมือง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีเครือข่ายสนับสนุนด้านภารกิจต่างๆ ได้แก่ ด้านวิชาการจะมีเครือข่ายวิชาการที่มีนักคิด ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการในมหาวิทยาลัยเป็นกำลังสำคัญ ด้านการสร้างกระบวนการเรียนรู้ จะดึงเครือข่ายระดับโรงเรียนเข้ามาร่วม ส่วนด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จะสร้างเครือข่ายกับสื่อมวลชน ก่อนที่ในปีที่ 4 หรือปีสุดท้าย จะเน้นการขับเคลื่อนให้เกิดการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้ แกนกลางของกระบวนการขับเคลื่อนมี 3 ระดับได้แก่ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง สศช. ซึ่งจะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในการขับเคลื่อน และจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการดำเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 80 พรรษา ในเดือนธันวาคม 2550


บทบาทของภาคีการพัฒนาในการสร้างสมดุลและภูมิคุ้มกัน

ทุกๆ ภาคีการพัฒนาต้องเข้าใจก่อนว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ แต่ไม่ได้แปลว่าเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง 100% โดยไม่พึ่งเงิน ไม่พึ่งการค้า ไม่สมาคมกับใคร ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง การจะนำเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญามาใช้ ทุกฝ่ายต้องมองให้ออกและเข้าใจอย่างถ่องแท้

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน ปรัชญานี้กับคนทุกระดับ ไม่ใช่ให้กับชาวนาอย่างเดียว ในภาคประชาสังคม ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ไปจนถึงระดับชุมชน ต้องรู้จักความพอดี พอเพียง ความมีเหตุมีผล ระบบภูมิคุ้มกันทั้งปวงต้องโยงกับคุณธรรม และถือเป็นปรัชญาหลัก

ถ้าจะเอาปรัชญาไปปฏิบัติก็ต้องขบคิดให้เหมาะสมกับอาชีพของแต่ ละคน อย่างในภาครัฐหรือภาคราชการ ก็ใช้ชีวิตทำงานให้พอดี มีบ้านแต่พอดี ดำรงฐานะให้เหมาะสม ขยันทำ และทำให้มาก ท่านยังแปลลึกลงไปอีกว่า หมายถึง ถ้าขยัน ยิ่งทำยิ่งพึ่งตนเอง โดยไม่พึ่งคนอื่นมากจนเกินไป ขณะเดียวกัน ถ้าไม่ฟุ้งเฟ้อ ก็ลดปัญหาการคอร์รัปชั่นมาก”

ขณะที่ในภาคธุรกิจเอกชนนั้น ยังผลักดันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกันน้อย เนื่องจากมองว่าเป็นแนวคิดที่อยู่คนละด้านกับการทำธุรกิจที่มุ่งการสร้าง กำไร ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถปรับใช้เข้าหากันได้ และจะก่อให้เกิดความยั่งยืนมากกว่า

“สังคมไทยพึ่งตลาด ปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี สมองของคนต่างชาติมากเกินไป พึ่งเงินทุนจากต่างประเทศ สังคมไทยอยู่ได้เพราะยืมจมูกคนอื่นหายใจ ยืมเขาทั่วโลก ทั่วโลกเรียกสิ่งที่ทำกันวันนี้ว่า trade economy คือขายทุกอย่าง ซึ่งแตกตางจากเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้หมายความว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ค้าขาย แต่ให้ทำอย่างพออยู่พอกินก่อนที่จะขาย คือการสร้างพื้นฐานของตัวเองให้แน่นซึ่งจะช่วยให้ทำการค้าหรือแข่งกับใครใน โลกก็ได้ ค้าขายไม่ดีก็ไม่ต้องกลัว ธุรกิจไม่ดีก็ไม่ต้องปลดคนงาน การพึ่งพาตนเองแบบนี้มันเอื้อกันหมด”

สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ก็สามรถนำ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ได้ คือ เน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบ และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตสินค้า ต้องคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ในประเทศก่อน จึงจะทำให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบัน

ดังนั้น ต้องทำให้ประเทศมีความเข้มแข็ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ได้เป็นผู้จุดประกายระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่นำมาใช้ในการผลิตที่เป็นลักษณะพึ่งพา ซึ่งมีมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ทุกคนมองข้ามประเด็นนี้ไป ตลอดจนได้รับผลจากภายนอกประเทศทำให้ประชาชนหลงลืม และมึนเมาอยู่กับการเป็นนักบริโภคนิยม รับเอาของต่างชาติเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว และรวดเร็วจนทำให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ำ

ที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ทุกภาคีการพัฒนาสามารถร่วมกันผลักดันให้ประเทศก้าวเข้าสู่การ พัฒนาอย่างยั่งยืน คือการเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟังแต่ละฝ่ายโดยปราศจากอคติ หากมีตัวอย่างความสำเร็จใดๆ ที่นำมาเป็นกรณีตัวอย่างได้ ก็ควรนำมาใช้ในการระดมสมอง หรือดึงประเด็นสำคัญๆ ขึ้นมาเป็นแนวทางในการพัฒนา

นอกจากนี้ ความสำเร็จของทุกภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรจะต้องเกิดจากการ “ระเบิดออกมาจากภายใน” ของแต่ละภาคส่วน เพราะเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ความสำเร็จจะอยู่ที่ใจตนเป็นสำคัญ


เศรษฐกิจพอเพียงกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

การนำเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญาหลักในการจัดทำแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงให้ลึกซึ้ง ไม่ฉาบฉวย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนฯ ว่าเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง

“เศรษฐกิจพอเพียงไม่เคยชี้ว่า การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งไม่ดี ใครพูดแบบนั้น แสดงว่าเข้าใจหลักการไปคนละทาง เศรษฐกิจพอเพียง คือการสร้างความเชื่อมต่อระหว่างแนวทางการพัฒนาต่างๆ อย่างสอดคล้องและสมดุลกัน เศรษฐกิจพอเพียงจะเป็นเหมือนห่วงคล้อง ทั้งเรื่องของการแก้ไขปัญหาความยากจน หรือเรื่องอื่นๆ เข้าด้วยกัน การจัดทำแผนต่างๆ ที่มีเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นพื้นฐาน ต้องระลึกอยู่เสมอว่าในแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ไม่มีแผนที่เหมาะสมกับทุกที่ ภายใต้ความหวังดีของส่วนร่วม”

สรุป

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนิน ตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้ที่จริง คือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์

โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้ม แข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่างๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทยในที่สุด

ที่มา : วารสารเศรษฐกิจและสังคม ปีที่ 42 ฉบับที่ 6 เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2548 หน้า 41-47.

ดูข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บ เศรษฐกิจพอเพียง : http://www.sufficiencyeconomy.org/
หรือ E-Learning เศรษฐกิจพอเพียง: http://longlivetheking.kpmax.com/
และข้อมูลจากเว็บนี้ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม: http://www.mtc.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=69:3--2-&catid=35:2010-07-21-11-03-28&Itemid=113
-------------------------------------------------
Tai

PA609,709: นวัตกรรมและนวัตกรรมในองค์การ

๒๘-๒๙ มกราคา ๒๕๕๔
PA609,709: นวัตกรรมและนวัตกรรมในองค์การ
สรุปข้อมูล (บางส่วน)
-------------------------------------------------
ผู้สอน: ดร.วิโรจน์ ก่อสกุล
มาเริ่มด้วยนิยามกันก่อนละกัน...
๑. องค์การ (Organization) หมายถึง ศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือในตราสารที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งอาจเป็นหน่วยงานของรัฐ เช่น องค์การของรัฐบาลบาล หน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทจำกัด สมาคมหรือหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชน (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
๒. องค์กร หมายถึง บุคคล คณะบุคคล หรือสถานบันซึ่งเป็นส่วนประกอบของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะรัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ หรือสภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรของรัฐสภา และในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
๓. องค์ประกอบ
Richard Hall (๑๙๗๗) ได้แยกองค์ประกอบขององค์การ ดังนี้
๑) ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคน
๒) แยกสมาชิกออกจากคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิก
๓) มีระเบียบ กฎเกณฑ์
๔) จัดระเบียบความสัมพันธ์และโครงสร้างองค์กร
๕) ความสัมพันธ์เป็นแบบสมาคมมากกว่าแบบชุมชน
๖) มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
๔. นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์การ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด (Mckeown, 2008)

(วันนี้เข้าใจพื้นฐานแค่นี้ก่อนนะ ไว้จะเพิ่มเติมต่อไป)
-------------------------------------------------
Tai

กิจกรรมท่องเที่ยว ชาว รป.ม..๓/๑ ครั้งที่ ๑

ถึงเพื่อน รป.ม. ๓/๑ ทุกท่าน
คณะกรรมการรุ่น ฝากแจ้งข่าวกิจกรรมท่องเที่ยวชาว รป.ม. ๓/๑ ครั้งที่ ๑ คร่าวๆ ดังนี้
วัน-เวลา: เสาร์ที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๔
สถานที่: หัวหิน
ค่าใช้จ่าย: ประมาณคนละ ๖๐๐ - ๑,๐๐๐ บาท
อื่นๆ : จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ ต่อไป

อีกกิจกรรมหนึ่ง คือ กินข้าวร่วมกันกับห้อง ๓/๒ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ หลังสอบวิชา PA๖๐๙ แล้วเสร็จ โดยอาจมีกิจกรรมกีฬาสามัคคีร่วมกัน
----------------------------------------------------
วันนี้ (อาทิตย์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔) ตอนเช้าประมาณ ๐๙.๐๐ น. มีฝนตกลงมาเป็นระยะๆ ทำให้แปลกใจว่าอากาศช่วงนี้มันประหลาด เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน และอยู่ๆ ก็ฝนตก ก็หวังว่าปีหน้าหรือปีต่อๆ ไป จะมีหิมะตกในบ้านเราอย่างที่มีคนทายไว้มั่งก็คงจะดี แต่พอนึกๆ ไปแล้ว อาจเป็นการเริ่มต้นวันแห่งความรักที่ดีสำหรับหลายๆ คนก็ได้ เพราะพรุ่งนี้ คือวันวาเลนไทน์ที่หลายๆ คนรอคอยจะได้ดอกกุหลาบหรือชอคโกแลตจากบางคน... แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ อย่าลืมมอบความรักให้พ่อ แม่ พี่น้อง และ ลูกๆ หรือคนใกล้ตัวนะครับ

ขอให้เพื่อนๆ รป.ม. ๓ หัวหมาก โชคดีและสมหวังกับความรักทุกๆ คนนะครับ

เรื่องสรุปข้อมูล PA๖๐๙ ก็อย่าเพิ่งตกใจหรือน้อยใจไปนะว่าทำไมยังไม่มีการสรุปข้อมูลลงในบลอกนี้เลย คงอีกไม่นานจะมีข้อมูลทยอยมาลงให้จากน้องๆ ตัวแทนวิชาการผู้น่ารัก เก่ง สวย และรูปหล่อของพวกเราก่อนวันสอบประมาณ ๓ วัน อดใจรอสักนิดนะครับ

ที่สำคัญ อย่าลืมว่า เรายังมีเมล์กลาง (mpa_ru3@yahoo.com) อาวุธลับของพวกเราอยู่นะครับ มีข้อมูลสำคัญๆ จากเพื่อนๆ ผู้ทุ่มเทอีกหลายคนที่แบ่งเวลาสรุปและหาข้อมูลให้เรา หากใครที่ยังไม่รู้รหัส ให้เมล์มาที่ mpa.ru3@gmail.com แจ้งชื่อและเลขประจำตัวมาเพื่อขอรับรหัสเข้า yahoo นะครับ
---------------------------------------------------
Tai