วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

PA604,704: จริยธรรม

สรุปข้อมูลจากเพื่อน รป.ม. 3 ห้อง 2 รามฯ หัวหมาก
----------------------------------
เรียบเรียงบรรยาย อ.ไชยันต์ 15 ต.ค. 2553
----------------------------------
ทบทวนความรู้
รัฐประศานศาสตร์ คือการบริหารงานราชการ หรือการบริหารรัฐกิจ การบริหารคือการหาวิธีการใช้ทัพยากรทุกประเภทให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด เป้าหมายของราชการคือเรื่องการบริการประชาชนเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ การสร้างความพึงพอใจของประชาชนสร้างความอยู่ดีกินดีซึ่งต่างจากธุรกิจเอกชนที่มุ่งกำไรสูงสุด
นโยบายสาธารณะอยู่ตรงเป้าหมาย เป็นการกำหนดผลประโยชน์สาธารณะคือการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของสาธารณะที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ผู้กำหนดนโยบายสาธารณะมีทั้งภาคการเมือง(พรรคการเมือง) ภาคเอกชนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ภาคประชาชน และภาคราชการ

คำว่า จริยธรรม (Ethics) เป็นคำสมาธิ เกิดจากคำ 2 คำรวมกันคือ “จริย” รวมกับ “ธรรม”
จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ (ราชบัณฑิตยสถาน. 2539 : 216)
ธรรม หมายถึง คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎ กฎเกณฑ์ สิ่งทั้งหลาย หรือสิ่งของ
จริยธรรม หมายถึง การกระทำใดๆหรือพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ควรปฏิบัติที่ดีงามถูกต้องเหมาะสม และเป็นที่นิยมชมชอบหรือยอมรับของสังคมเพื่อความสันติสุขแห่งตนเอง และความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวม

แหล่งที่มาของจริยธรรม
1.เกิดจากการเลียนแบบ ขัดเกลา เลี้ยงดูอบรม หล่อหลอม
2.สร้างได้ด้วยตนเอง
3.เกิดจากการศึกษาเรียนรู้จากสังคม
4.เกิดจากค่านิยม
5.เกิดจากการปฏิบัติตามหลักสากลธรรม

จริยธรรม คือสิ่งที่บอกเราว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ แบ่งออกเป็นจริยธรรมแบบหน้าที่ กับจริยธรรมแบบคุณธรรม

การที่ข้าราชการยึดมั่นในจริยธรรมในแบบการเมืองทำให้เราสูญเสียจริยธรรมส่วนตัวไป

เช่น การที่ตำรวจคนหนึ่งไม่จับลุงแก่ๆที่ขับสามล้อฝ่าไฟแดง ซึ่งขับรถสามล้อหาเงินเลี้ยงชีพดูแลภรรยาที่พิการ เพราะเห็นใจลุงคนนั้น ลุงบอกตำรวจว่าที่ฝ่าไฟแดงเพราะมองไม่เห็นว่าเป็นไฟแดง ซึ่งผู้คนที่ยืนอยู่แถวนั้นตบมือแซ่ซ้องสรรเสริญว่า ตำรวจที่ดีก็ยังมีอยู่ในสังคมที่ช่วยโดยการไม่ออกใบสั่งหรือยึดใบขับขี่ของลุงคนนั้นซึ่งเป็นการตัดทางทำมาหากิน ซึ่งลุงก็ซาบซึ้งใจ ตำรวจก็ภูมิใจในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนั้นของตน ต่อมาไม่นานมีเหตุการณ์สามล้อฝ่าไฟแดงไปชนกับรถตู้และจักรยานยนต์ที่มีพ่อแม่และลูกตัวน้อยๆที่ขับตามมาก็ชนท้ายรถตู้ คนขับรถสามล้อตายคาที่ คนขับรถตู้ได้รับบาดเจ็บ พ่อแม่ที่ขับรถจักรยานยนต์ตายคาที่ ลูกตัวน้อยๆบาดเจ็บสาหัส ซึ่งพ่อแม่และลูกก็คือคนที่ตบมือให้ตำรวจในวันนั้น เป็นเหตุการณ์ที่อนาจใจมาก หากพิจารณาจากกรณีนี้สาเหตุเกิดจากที่ตำรวจไม่จับหรือยึดใบขับขี่ของลุงเพื่อให้ลุงไปตรวจตาก่อน เป็นการป้องปรามไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ในกรณีนี้มองได้ว่าตำรวจคนนี้เป็นคนดี แต่ตำรวจคนนี้เป็นตำรวจที่ไม่ดี ซึ่งข้าราชการที่อลุ่มอล่วยช่วยคนจะเห็นคนที่เป็นหนี้บุญคุณเราชัดมาก แต่ถ้าทำดีเป็นข้าราชการที่ตรงไปตรงมา ประชาชนก็ไม่เคยขอบคุณหรือเคยเห็นหัวเลย เพราะมหาชนไม่มีตัวตนใครก็ไม่รู้ เพราะทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน ข้าราชการที่ดีต้องเน้นที่ประโยชน์มหาชน

ซึ่งจริยธรรมส่วนตัวมักจะขัดแย้งกับจริยธรรมสาธารณะเสมอ เช่น

เป็นตำรวจที่ดี แต่เป็นพ่อที่เลว คือจับลูกตัวเองเมื่อลูกทำผิด สามีเลวแต่เป็นพลเมืองดี คือแจ้งจับภรรยาที่ค้ายาบ้า
คนๆหนึ่งเป็นพลเมืองดีแต่เป็นคนเลว เช่นพลเมืองดีที่ช่วยปกป้องชาติ ในเหตุการณ์เดือนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันมีนโยบายฆ่าคนยิว ถ้าประชาชนคนใดชี้เบาะแสหรือจับคนยิวได้ถือว่าเป็นพลเมืองดีแต่เป็นคนเลวที่ช่วนส่งเสริมการฆ่าคน
กรณีศึกษา มีชายคนหนึ่งมีความขัดสนต้องใช้เงิน จะไปหยิบยืมใครก็ไม่มีใครให้ยืม จึงไปค้นของในบ้านปรากฏว่าเจอเหรียญเก่าแก่ที่พ่อกับแม่ของเขาทิ้งไว้ให้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีค่าอะไร รู้เพียงว่าต้องการใช้เงินแค่ 15,000.00 บาท โดยคาดหวังว่าจะขายได้ประมาณ 20,000.00 บาท และเมื่อนำไปขายยังร้านรับซื้อของเก่า แต่พอเถ้าแก่เห็นเหรียญก็ทราบได้ทันทีว่า ถ้านำไปขายต่อน่าจะขายได้ถึง 200,000.00 บาท เถ้าแก่จึงถามชายหนุ่มคนนั้นถึง 3-4 ครั้งว่าจะขายแค่ 20,000.00 บาทหรือ ชายหนุ่มนั้นดีใจ ที่ว่าเขาต้องการเงินแค่ 15,000.00 บาท แต่ขายได้ถึง 20,000 บาท เถ้าแก่จึงตกลงรับซื้อเหรียญในราคา 20,000.00 บาท โดยทำสัญญาซื้อขายกันอย่างสมบูรณ์
1.ในการขายเหรียญนี้ผิดกฎหมายหรือไม่
2.ในการขายเหรียญนี้ผิดจริยธรรมหรือไม่
3.ควรมีการแก้กฎหมายหรือเพิ่มกฎหมายในกรณีนี้หรือไม่


1.ตอบ ในกรณีนี้ไม่ผิดกฎหมายข้อใดทั้งสิ้น ถ้าเป็นในแง่โมฆียะ สำคัญผิดก็ไม่ใช่ ถ้าผิดในแง่สำคัญผิดต้องเป็นลักษณะนี้คือ เถ้าแก่เป็นคนชี้นำ บอกชายหนุ่มว่า “เหรียญนี้ของลื้อเหรอ อั้วว่าได้แค่15,000 บาท ก็บุญแล้ว เอาน่า20,000 บาทอั้วก็ให้ละกัน ถ้าอย่างนี้เถ้าแก่ผิดคือทำให้สำคัญผิดทันที แต่ในกรณีนี้ชายหนุ่มเป็นคนตั้งราคามาเอง จึงไม่ผิดข้อกฎหมายใดๆทั้งสิ้น เรื่องกฎหมายมันชัดเจนตายตัว คือผิดก็ว่าผิดไม่ผิดก็ว่าไม่ผิด
2.ตอบ ในกรณีที่ไม่ผิดจริยธรรมมองว่า เหรียญนี้เป็นสมบัติของชายคนนี้โดยชอบธรรม และเค้าก็ไม่ได้เอาไปทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย เค้าเอาไปขายก็เป็นสิทธิของเขา เค้าเอาไปขายเถ้าแก่โดยไม่ได้ไปบังคับขู่เข็ญให้เถ้าแก่รับซื้อ และเถ้าแก่ก็ไม่ได้ไปบังคับให้ชายคนนี้ขายให้ และชายหนุ่มก็เป็นคนเสนอราคาเอง และดีด้วยซ้ำที่ชายหนุ่มขายได้ในราคา 20,000 บาท ซึ่งได้สูงกว่าราคาที่เขาคาดการณ์ไว้คือ 15,000 บาท เถ้าแก่ก็ไม่ได้ไปกดราคาลงอีกจาก 20,000 บาท และเถ้าแก่ถามย้ำอีก ว่าจะเอาแค่20,000 บาท จริงเหรอ ชายหนุ่มก็ตอบรับว่าใช่ การขายก็เสร็จสิ้นสมบูรณ์คือผู้ซื้อผู้ขายพอใจได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ส่วนหลังการขายทั้งสองฝ่ายจะเอาเงินไปทำอะไรก็เป็นเรื่องของเขา หรือเป็นไปตามกลไกการตลาด การทำธุรกรรมครั้งนี้ก็ไม่ได้เบียดเบียนใคร ซึ่งเถ้าแก่ต้องแบกรับความเลี่ยงในการเก็บเหรียญนี้ไว้ เพราะตลาดในการขายได้มีจำกัดเฉพาะกลุ่มที่เล่นของเก่า และหากบอกราคาที่คาดว่าจะขายได้กับชายหนุ่มคือ 200,000บาท และให้ชายหนุ่มนำไปขายเองในกลุ่มนักเลงของเก่า ก็จะขายได้ไม่ถึง สองแสนบาท คือความเชื่อถือหรือชื่อเสียงของชายหนุ่มไม่เป็นที่ยอมรับในวงการค้าของเก่าเท่ากับเถ้าแก่ เพราะกว่าเถ้าแก่จะผ่านมาถึงจุดนี้ได้ก็เจ็บ มาเยอะโดนหลอกมาเยอะ คือเถ้าแก่ต้องได้ค่าต้นทุนวิชาชีพ จึงไม่ผิดจริยธรรม

ส่วนฝ่ายที่มองว่าผิดจริยธรรมมองว่าเถ้าแก่ค้ากำไรเกินควร ซื้อมา แค่ 20,000บาทแต่ขายไปถึง 200,000 บาท ได้กำไรถึง 10 เท่า และไม่บอกข้อมูลที่แท้จริงให้กับชายหนุ่มได้รู้ว่าราคาที่แท้จริงของเหรียญนี้ประมาณเท่าไร น่าจะให้ราคาเพิ่มกว่านี้อีกหรือมีราคากลางที่เป็นธรรมกับชายหนุ่ม เป็นการผิดจรรยาบรรณในการค้า คือไม่ซื่อสัตย์กับลูกค้า และเป็นการที่คนรู้มากเอาเปรียบคนไม่รู้ ถ้ามีคนอย่างเถ้าแก่เยอะๆ สินค้าที่ไม่มีกฎหมายควบคุมก็จะมีราคาแพงหมด
ในกรณีนี้ เป็นข้อถกเถียงกันทั้งสองฝ่าย เป็นเหตุให้โยงไปสู่ว่าสมควรที่จะออกกฎหมายมาควบคุมหรือไม่
3.ตอบ ฝ่ายที่เห็นด้วยในการออกกฎหมายบอกว่าเพราะให้เป็นกลางกับทั้งสองฝ่ายและคุ้มครองให้ทั้งสองฝ่ายควบคุมกัน เมื่อมีปัญหาอะไรก็ให้เจ้าหน้าที่เป็นคนมาจัดการ อุดช่องโหว่ของกรณีนี้ เพื่อความชัดเจนทั้งสองฝ่ายและป้องกันการฟอกเงิน ในการที่จะเอาสิ่งของที่ไม่มีค่ามาแปลงให้มีมูลค่ามหาศาล และนำเงินผิดกฎหมายมาฟอก

ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เพราะว่าไม่ต้องมีกฎหมายมาควบคุมให้ใช้ระบบสังคมกดดัน เถ้าแก่ให้ไม่เป็นที่ยอมรับ กลุ่มก้อนวิชาชีพนี้จะเป็นคนกดดันกันเอง ให้สมาคมวิชาชีพสร้างมาตรฐานราคากลางเอง ถ้าดึงจรรณยาบรรณมารวมกับกฎหมายมันจะยุ่งยากมาก ถ้ากรณีออกกฎหมายเพื่อชายหนุ่มในสภาในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค และเถ้าแก่เป็นคนทำผิดกฎหมาย แล้วกรณีอื่นๆที่ตามมาในลักษณะคล้ายกัน ก็จะมีคนทำผิดในกรณีแบบนี้เยอะมาก เป็นการออกกฎหมายที่หยุมหยิม การค้าขายก็จะไม่คล่องตัว เราไม่ควรออกกฎหมายควรปล่อยให้กลไกการตลาดหรือกลไกของสังคมจักการกันเอง เพราะถ้าออกกฎหมายในกรณีนี้ได้ก็จะมีการออกกฎหมายที่จุ๊บจิ๊บ และมันจะมีคนที่อยากจะออกกฎหมายเรื่องนี้เรื่องนั้นเยอะเพื่อประโยชน์ของตนเองไม่ได้มองที่ประโยชน์ของสาธารณะ ในเรื่องกฎหมายที่ใหญ่กว่านี้ คือยังมีสติอยู่ที่ไม่เผลอออกกฎหมายบังคับตายตัวไปเสียทุกเรื่อง จึงไม่สมควรออกกฎหมายในกรณีนี้

คำตอบในกรณีนี้ ไม่มีคำตอบตายตัวแต่ชี้ให้เห็นว่าเรื่องจริยธรรมเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาก ถ้าสังคมใดมีความเห็นต่างทางจริยธรรมสูงมันจะมีปัญหามาก (คือมีความเห็นกล้ำกึ่ง50/50) ถ้าเห็นพ้องต้องกันเป็นไปในทางเดียวกันสูงทุกคนในสังคมก็จะอยู่กันได้ปกติสุข

ผลการตัดสินกรณีนี้ ถ้าอาจารย์ไชยันต์เป็นคนรับฟังเหตุผลทั้งสองฝ่ายแล้วและถ้าเปรียบว่าอ.ไชยันต์เป็นศาล ก็จะตัดสินได้ทันทีว่าไม่ผิดจริยธรรม ซึ่งศาลก็ได้ฟังเหตุผลแล้วเพราะไม่มีเกณฑ์ในการประเมินค่าวิชาชีพ ว่าสมควรจะเป็นเท่าไหร่ และสมาคมวิชาชีพค้าของเก่าก็ไม่สามารถแซรกแซงได้ เนื่องจากเถ้าแก่มีความเลี่ยงในการรับซื้อ เพราะกว่าจะหาได้ และกว่าจะขายได้ ต้องแบกรับความเสี่ยง เพราะมีคนเล่นของเก่าเฉพาะกลุ่มและหากมองว่าเถ้าแก่ค้ากำไรเกินควร แล้วถ้ามองไปที่ชายหนุ่มซึ่งเค้าไม้รู้ว่าราคาเหรียญนี้มันเท่าไหร่ และเหรียญนี้ไม่มีค่าอะไรเลยกับชายหนุ่มเป็นเหรียญซึ่งบังเอิญไปค้นเจอ แล้วชายหนุ่มต้องการใช้เงินแค่ 15,000บาท และด้วยความงกก็บวกราคาเพิ่มไป 5,000บาทดื้อๆอะ ชายหนุ่มก็ค้ากำไรเกินควรเหมือนกัน เพราะฉะนั้นทั้งสองฝ่ายก็ได้ประโยชน์ร่วมกันเพราะต่างคนต่างเก็งกำไรสูง เพราะเส้น อุปสงค์และอุปทานมาตัดในจุดที่พอดีในทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการค้าเสรี ขึ้นอยู่กับความพอใจ และการซื้อขายระหว่างชายหนุ่มกับเถ้าแก่จึงเป็นการไม่ผิดจริยธรรมแบบเสรีนิยมคือ 1ไม่มีใครบังคับ2ของนี้เป็นกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของส่วนตัว3พอใจทั้งสองฝ่าย

ไม่มีใครเอาเปรียบใคร ธุรกรรมนี้ทั้งสองฝ่ายพอใจในจุดสูงสุด ไปเอาผิดกับทั้งสองฝ่ายไม่ได้ แต่ถ้ามองในแง่ของความรู้สึกถ้ามองในแง่การมีน้ำใจของเถ้าแก่ว่าทำไมไม่มีน้ำใจเพิ่มราคาให้หน่อย ไม่มีน้ำใจเลย ก็ได้แค่เรียกร้องน้ำใจ แต่ถ้าออกเป็นกฎหมายจะยุ่งยากมาก บ้านเมืองจะวุ่นวาย มันยังสรุปไม่ได้เพราะจริยธรรมมันมีหลายแบบ

เป็นการฝึกวิธีการคิดและวิธีในการใช้เหตุผลในเรื่องเกี่ยวกับจริยธรรม ถกเถียงกัน จริยธรรมเป็นเรื่องที่สังคมต้องตกลงกันว่าบรรทัดฐานมันอยู่ที่จุดไหน
-------------------
เรียบเรียงโดย
NONSOUND๒๐๐๙
-------------------
Tai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น