วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

PA604: นโยบายสาธารณะ รศ.พิพัฒน์ฯ

เรียน เพื่อนๆ รป.ม.3
--------------------------
ขอสรุปบทเรียน PA604 นโยบายสาธารณะ โดย รศ.พิพัฒน์ ไทยอารี
(โทร. 089-795-5040 PHIPHAT_THAIARRY@YAHOO.COM)
--------------------------
QUIZ
ก่อนเรียน อาจารย์ฝากให้อ่าน รธน.ปี 2550 เพื่อดูว่ามีกระบวนท่าในการกำหนดนโยบายสาธารณะอย่างไรบ้าง และดูวิธีการได้มาซึ่งนโยบาย เพื่อมาเป็น QUIZ ในห้องในวันเสาร์ โดยแบ่งกลุ่มหารือแล้วนำเสนอ - ให้ดุความเกี่ยวข้องตามความหมายของ PA คือ Attempt (ความตั้งใจ), Government (รัฐบาลกลาง), Address (การบอกกล่าว), Public issue (ประเด็นสาธารณะ)และดูว่ามีกลุ่มองค์กร กลุ่มบุคคลใดบ้างเกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบาย (อย่าดูเฉพาะบทใดบทหนึ่ง) เช่น

Attempt: เป็นความตั้งใจของรัฐ ของรัฐบาล หรือของรัฐที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการหรือเลือกที่จะทำ
Address: เช่น แถลงต่อรัฐสภา
Public Issue: หน่วยงานใดบ้างที่มีบทบาทด้าน Public policy
Player: มีใครได้บ้าง
กลไก การพัฒนานโยบาย: มีแนวทางอย่างไรบ้าง
--------------------------
แนวสอบวัดผล :
อ่านบทความเรื่อง "สึนามิ" ของ ดร.สมิธ ธรรมสโรจ กับ ดร.โสรัฐฯ ว่ามีนัยยในเชิง PA อย่างไรบ้าง มีแง่มุมใดที่ต้องดูโดยใช้บริบทของ PA


หมายเหตุ:
บริบท หมายถึง ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
องค์รวม หมายถึง แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการปฏิบัติในเรื่องที่สนใจ
--------------------------
ข้อคำถามเพื่อร่วมกันคิดในห้อง คือ การปรองดอง ของ 2 แนวทาง ได้แก่
1) แนวทางของนายกอภิสิทธิ์ฯ โดยมีคุณอานันท์ฯ คุณหมอประเวสฯ และคุณสมบัติ เป็นตัวแทน (สรุปแล้วเป็นวิธีการแบบระบบราชการของ Max Weber และแบบรัฐประศาสนศาสตร์ ทำงานได้ช้า ไม่คล่องตัว ขาดอิสระในการทำงาน)
2) แนวทางของท่านสนั่นฯ (แบบเร่ง-ผ่อน เชิงยุทธศาสตร์ รวดเร็ว ฉับไว คล่องตัว เบ็ดเสร็จในตัวเอง มีอิสระในการทำงาน ใช้ตัวเองเป็นตัวเดินเรื่อง ทำงานได้เร็วเพราะทำเรื่องเดียวโดยเฉพาะไม่เหมือนนายกต้องดูแลอีกหลายเรื่อง มีความคล่องตัวสูง)
*** สรุป ท่านสนั่นน่าจะประสบผลได้เร็วกว่าแบบนายกฯ
--------------------------
1. คำสำคัญในเรื่องนโยบายสาธารณะ
1.1 ค่านิยม
1.2 สาธารณชนสนใจ
1.3 ประชาชน
- สนใจ
- มีปัญหา
- มีความขัดแย้ง
- สามารถให้ความร่วมมือ
1.4 การเลือก
- ทำ
- ไม่ทำ
1.5 การจัดทำ
- เป้าหมาย
- แผน/โครงการ
- การปฏิบัติ
1.6 หน่วยงานดำเนินการ
- องค์การภาครัฐ
- รัฐบาล
- ผู้บริหาร
--------------------------
2. Public Administration ประกอบด้วย (เกี่ยวข้องกับเรื่องหลักๆ 3 เรื่อง ดังนี้)
2.1 Public Policy (นโยบายสาธารณะ)
2.2 Public Personnel (ทรัพยากรมนุษย์)
2.3 Public Finance (การคลังสาธารณะ)

Public policy เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ โดย William C. Johnson (1996)
1) Public source
2) Policy cycles (เช่น ตามอายุรัฐบาล หรือตามเหตุการณ์)
3) Internaitonal on policy making
4) Who has the power in policy making
--------------------------
3. Public Administration จะเกี่ยวข้องกับ 2 ระดับ ได้แก่
3.1 ระดับนโยบาย
3.2 ระดับภารกิจของรัฐ
--------------------------
รัฐศาสตร์ ---> นโยบายสาธารณะ คือ
- สนใจเนื้อหาสาระของนโยบาย
- เน้นลักษณะผู้นำ และกลุ่มอิทธิพล หรือสถาบันการเมือง ตลอดจนกลุ่มที่สนับสนุน
- ดูปัจจัยต่างๆ ว่ามีปฏิสัมพันธ์เชื่องโยงกันอย่างไร
รัฐประศาสนศาสตร์ ---> นโยบายสาธารณะ การบริหารภารกิจรัฐ และการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะ
- สนใจแนวในการกำหนดนโยบาย
- การนำนโยบายไปฏิบัติ มีข้อกำหนดอย่างไร
- การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ และดูว่าจะก่อให้เกิดผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้อย่างไร
- วิเคราะห์ผลของนโยบาย เพื่อนำไปปรับปรุงหรือกำหนดนโยบาย

* สิ่งที่จะตกทอดจากนโยบายสาธารณะมาสู่ PA ได้แก่ (หน้าที่ของรัฐ)
1) สร้างความเป็นระเบียบ
2) การให้สวัสดิการหลักประกัน
3) การสร้างและเพิ่มพูนศิลธรรม
4) การสร้างความเจริญและความมั่นคง
* กิจกรรมที่ PA ต้องทำ ได้แก่
1) การป้องกัน
2) การช่วยเหลือ
3) การออกข้อกำหนดกฎเกณฑ์
4) การให้บริการโดยตรง
--------------------------
คำว่า "รัฐ" ในโลกนี้ มี 2 รูปแบบ คือ รัฐเดี่ยว (ไทย) และสหพันธรัฐ (อเมริกา ประกอบด้วยหลายๆ state)
--------------------------
4. ความหมาย และคำสำคัญใน Public Administration
4.1 Public policy is an attempt by the government to address a public issue. (ตัวเข้มๆ คือ คำสำคัญ ที่ PA ต้องมีครบตามนั้น)
4.2 The government, whether it is city, state, or federal, develops public policy in terms of laws, regulations, decisions, and actions. (คำว่า government ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลกลางอย่างเดียว แต่เป็นคณะบุคคลระดับเมือง หรือรัฐต่างๆ หรือมลรัฐ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง)
4.3 There are three parts to public policy-making: problems, players, and the policies.
4.4 The problems is the issue that needs to be addressed. The player is the individual or group that is influential in forming a plan to address the problem in question. Policy is the finalized course of action decided upon by government.
In most cases, policies are widely open to interpretation by non-governmental players, including those in the private sector.
Public policy is also made by leaders of religious and cultural institutions.
--------------------------
ต้องขออภัยนะ เพราะแปลไม่ออก
--------------------------
5.การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
5.1 Public policy analysis is the monitoring of difference government agendas the directly affect a specific community. (Monitor ในความหมายนี้ คือ การปรับแต่งหรือตรวจติดตาม และ Agenda คือวาระหรือแนวทาง)
5.2 The kinds of topics examined can vary from the impact to infrastructure on a city to making laws.
5.3 The idea behind public policy analysis is to provide the government with facts and statistics about the extent to which such initiatives are working.
--------------------------
6. มุมมองในความหมายนโบายสาธารณะ จากนักวิชาการต่างๆ
6.1 สิ่งที่รัฐบาลเลือกทำหรือไม่ทำ โดย Thomas Dye (1984)
6.2 แบบแผนเพื่อแก้ไขความขัดแย้งหรือตอบแทนความร่วมมือของประชาชน โดย Frohock (1979)
6.3 แนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาที่สาธารณสนใจ โดย Jame Anderson (1994)
6.4 การจัดสรรค่านิยมของสังคมเพื่อกำหนดว่าจะทำหรือไม่ทำ โดย David Easton (1953)
6.5 แผน/โครงการที่มีเป้าหมายหลายทาง ค่านิยม และการปฏิบัติต่างๆ โดย Lasswell & Kaplan (1970)
6.6 ข้อเสนอที่มีเป้าประสงค์เพื่อใช้แก้ปัญหาของประชาชน โดย Carl J. Frederic (....)
--------------------------
7.นโยบายสาธารณะเกิดจาก...
7.1 ทรัพยากรมีจำกัด ซึ่ง
7.1.1 มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ
7.1.2 สัมพันธ์ต่อความต้องการใช้
7.2 ภารกิจของรัฐมีผลต่อ...
7.2.1 การใช้ทรัพยากรแข่งกับเอกชน
7.2.2 การมีอำนาจการเมืองบังคับใช้ทรัพยากร
7.3 มิติในการพิจารณษ...
7.3.1 รัฐมีส่วนทำให้ทรัพยากรลดลง
7.3.2 รัฐเข้าตัดโอกาาสภาคเอกชน
7.3.3 การดำเนินการด้านต่างๆ ของรัฐ (สินค้าสาธารณะ และการรัฐพาณิชย์)
7.3.4 การออกกฎเกณฑ์ (การภาษีอากร การงบประมาณ และการก่อหนี้)
----------------------------
8. รัฐต้องเข้ามาแก้ไข การคลังสาธารณะ โดย...
8.1 การวางเกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ
8.2 รักษาการเคารพสิทธิ/สัญญาการค้า
8.3 จัดสรรสินค้า บริการ กลไกตลาด ที่ไม่สามารถกำหนดเพิ่มได้
8.4 การตัดสินใจในการบริโภค การสะสมทุน และการลงทุนเพื่อสังคม
8.5 การป้องกันภาวะเศรษฐกิจ
8.6 ความเป็นธรรมทางสังคม
รัฐมีหน้าที่ด้านการคลังสาธารณะ ดังนี้
8.7 การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคม
8.8 การกระจายรายได้และความมั่นคงของสังคม
8.9 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
8.10 การส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
----------------------------
9. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อนโยบายสาธารณะ
9.1 การให้ข้อมูลข่าวสาร
9.2 การรับฟังความคิดเห็น
9.3 การร่วมปฏิบัติงานและร่วมเสนอแนะ
9.4 การ่วมตัดสินใจ
9.5 การเสริมอำนาจแก่ประชาชน
ซึ่งจากผลข้างต้น จะส่งให้เกิด...
9.6 สนับสนุนระบบราชการให้ตอบสนองความต้องการของประชาชน
9.7 เกิดความใกล้ชิดระหว่างภาคส่วน
9.8 ภาพสะท้อนให้เห็นว่า หน่วยงานสนับสนุนการมีส่วนรวมเพียงใด
9.9 มีผลในเชิงทวีคูณ
ขั้นตอนถัดจากนั้น...
9.10 ระดับความคิด
9.11 การวางแผน
9.12 การลงมือปฏิบัติ
9.13 การติดตามประเมินผล
9.14 การรับประโยชน์ร่วมกัน
หลังจากนั้น จะนำมาซึ่ง...
9.15 การเรียนรู้ร่วมกัน
9.16 เกิดศักยภาพร่วมกัน
9.17 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนร่วม
------------------------------
10. สรุปวิธีการสอนของ รศ.พิพัฒน์ฯ
10.1 บทเรียนที่ได้รับจากการเรียนการสอบมีอะไรบ้าง
10.2 ความหลากหลายในการนิยามศัพท์
10.3 การสร้าง/เกิดการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทำให้เห็น...
- ความยาก ที่จะเกิดการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- การแสดงออก ของผู้ส่วนส่วนร่วม
- พัฒนาการ ของระดับการมีส่วนร่วม
- การสงวนท่าที ของผู้อยากมีส่วนร่วม
10.4 การสังเคราะห์การมีส่วนร่วมให้เกิดเป็นนโยบาย

*** อ่านแล้วก็งงเองว่าอะไรคืออะไร แต่ทั้งหมดทั้งปวง ท่านอาจารย์ต้องการให้เกิดการเชื่อมโยงเนื้อหาการกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะเข้ากับวิธีการเรียนการสอนในห้องเรียน และในเอกสารที่อาจารย์ใช้นำเสนอ บางส่วน(ใหญ่)ไม่มีในเอกสารที่แจก
------------------------------
ของแถมจาก รศ.พิพัฒน์ฯ นำเสนอเป็นเหมือนวงล้อ (ภาษาอังกฤษ)
: วงจร(ข้อจำกัด)ของกลุ่มประเทศ ASIA ที่ Underdevelopment (ไทยน่าจะก้าวข้ามมาแล้วบางข้อ)
1. ระดับการพัฒนาต่ำ
2. มีการแข่งขันกันภายในประเทศน้อย ไม่อยู่ในจิตสำนึก
3. ภาครัฐมีความคาดหวังที่อยากสร้างความเจริญให้เกิดขึ้น
4. การลงทุนของภาครัฐมีน้อย
5. ภาคเอกชนไม่ค่อยไปในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาล เกิดการคอรัปชั่น (ตัวถ่วง)
6. บริการสาธารณะต้องปรับปรุง/ตรวจสอบกับนโยบายรัฐบาล
7. เพิ่มการใช้จ่ายของรัฐ เป็นความไม่มีประสิทธิภาพ
8. ก่อหนี้เพิ่มขึ้น
9. ไม่มีใครอยากมาลงทุน
10. ตลาดทุนน้อย
11. Underdevelop private Enterprise
------------------------------
เท่าที่จดทันนะ เพราะฟังท่านอาจารย์แปลจากภาษาอังกฤษ
------------------------------
ขอให้ทุกคนโชคดีและได้เกรดดีๆ (D) ในการสอบ
------------------------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น