วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

RU603,703: บัณฑิตศึกษา การสอบ และการส่งรายงาน

ถึงเพื่อน รป.ม. 3 รามฯ หัวหมาก และเหล่าผองเพื่อนจากโครงการอื่นๆ ทุกท่าน
วันนี้ (อังคารที่ 23 พ.ย. 2553 ถ้าใครตื่นเช้าๆ ออกไปนอกบ้าน จะเห็นว่ามีหมอกลงหนาพอสมควร หรือว่าเป็นควันก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่รู้สึกว่าอากาศมันเย็นลงนะ)
----------------
เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว (20-21 พ.ย. 2553) มีเรียน วิชา RU603/703: บัณฑิตศึกษา ที่อาคารสุโขทัย ห้อง 322 โดยคณาจารย์หลายๆ ท่าน มาช่วยกันป้อนองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ให้อย่างมากมาย (มีทำรายงาน 2 เรื่อง และมีข้อสอบ 2 ข้อ พร้อมกับ Quiz ท้ายชั่วโมง 1 ครั้ง โดยแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น เข้าเรียน 10 คะแนน ส่งรายงาน 2 ฉบับ 20 คะแนน Quiz 30 คะแนน และสอบ 40 คะแนน) พอสรุปได้ ดังนี้.-
----------------
1. วันแรก:
ช่วงเช้า: วิชา ปรัชญา วัตถุประสงค์และกระบวนการศึกษา
----------------
มีคณาจารย์ 4 ท่าน ได้แก่ 1) รศ.รังสรรค์ แสงสุข (อดีตอธิการบดี ม.รามฯ) 2) พระมหาศิลปะ จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ (จุฬาฯ) 3) อ. ศิวรัตน์ สุวรรณกาศ ผอ.เขตบางแค กทม. และ 4) ผศ. พิมล พูพิพิธ (ผู้จัดการโครงการ)
----------------
ท่านอาจารย์รังสรรค์ฯ ได้ให้แนวทางในการเรียนรู้แบบ Key Concept ไว้ ประกอบด้วย
1) Want to know คือ เรียนเพื่อรู้ ซึ่งแบ่งความรู้ไว้ 3 ระดับ คือ ความรู้พื้นถิ่น ความรู้ระดับประเทศ และความรู้ระดับโลก
2) Want to be คือ นำความรู้ไปใช้ เพื่อรับผิดชอบบ้านเมือง ช่วยชาติ ช่วยชน และให้เกิดผลกำไรต่อสาธารณะ (Public profit)
3) Want to live peacefully คือ เรียนเพื่อให้อยู่อย่างมีสันติสุข มีความสุขในสังคมโลก รวมไปถึงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมของชาติไว้
4) Want to learn คือ การเรียนให้ถูกวิธี คือ สามารถนำข้อมูล (Data) มาทำการสังเคราะห์ให้เป็นข้อมูลข่าวสาร (Information) โดยใช้กระบวนการต่างๆ (Procedure/Process) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดเป้นความสามารถ (Skill)
----------------
จากการ Want ทั้ง 4 ข้อข้างต้นก็เพื่อนำไปสู่ Long learning คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยอาจารย์ได้ฝากข้อคิดในการเรียนไว้ว่า
"จงมีความเพียรอันบริสุทธิ์ จึงสำเร็จได้ทุกประการ"
"เรียนให้เกิดปัญญา"
"การศึกษาคือกระบวนการสร้างปัญญา"
นอกจากนั้น ท่านอาจารย์ยังได้ให้ข้อคิดอื่นๆ ได้แก่
1) บัณฑิตเป็นผู้รุ้ ผู้ฝึกตน
2) บัณฑิตต้องรู้ค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็น
3) ทุกสิ่งที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกสูตรที่คิด เป็นจิตวิญญาณของมนุษย์ นั่นคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
4) พูดให้มีตรรก
5) พึงข่มผู้ที่ควรข่ม พึงชมผู้ที่ควรชม
6) ครู คือ ผู้ให้ ผู้เติมเต็ม และผู้มีเมตตา
7) พรสวรรค์ และพรแสวง
8) นกไร้ขน ก็เหมือนคนไร้เพื่อน
9) เราเป็นครูกันคนละอย่าง
-----------------
ท่านอาจารย์พระมหาศิลปะ ได้ให้แนวคิดไว้ ดังนี้
1) เรียนเพื่อให้คิดให้เป็น ทำให้เป็น สังเคราะห์เป็น และเป็นแสงสว่างให้สังคม
2) พัฒนาความเสื่อมโทรมทางศิลธรรม จริยธรรม และคุณธรรม โดยการ
- ให้คุณค่าของชีวิต
- มีความซื่อสัตย์
- มีความอดทนต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหมายทั้งปวง (Motivation)
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (Responsibility)
- มีการตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
- มีการยับยั้งชั่งใจ
- รู้ว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง
- รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
3) คน 2 ลักษณะ ได้แก่ ฉลาดในประโยชน์ตนเอง และฉลาดในประโยชน์สังคม
4) สิ่งที่สังคมคาดหวัง คือ เป็นคนฉลาดด้วย (คือมีความรู) และเป็นคนดีด้วย (คือประพฤติดี) นั่นคือ เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ และขยันหมั่นเพียร
5) คุณสมบัติของบัณฑิต ได้แก่
- มีความกตัญญู รู้คุณคน ให้ความเคารพบุพการี และผู้มีพระคุณ
- ทำตนให้บริสุทธิ์ คือ มีศีล 5 ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันตน
- ทำตัวเองให้ปราศจากผู้อื่น คือ เพียรพยายามให้คนอื่นเป็นคนดี โดยเราทำให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น
- มีสังคหะ คือ การสงเคราะห์ เอ็นดู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น
6) อาวุธ 4 ประการ ได้แก่
- ปัญญาวุธ คือ มีความรู้เป็นอาวุธ
- ความสงบ ความสงัด เพื่อให้เกิดปัญญา (ปลีกวิเวก)
- เรียนรู้เพิ่มเติมในศาสตร์ต่างๆ อยู่เสมอ
- มีความเพียร และความขยัยอยู่เป็นนิจ
----------------
ท่านอาจารย์ศิวรัตน์ฯ ได้ให้แนวคิดในการเรียนที่ ม.รามฯ และการบริหารงานไว้ ดังนี้
(ท่านอาจารย์ เป็นศิษย์เก่า ม.รามฯ รุ่นแรก)
1) มีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง
2) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3) มีความภาคภูมิใจ
4) มีโอกาสได้สมาคมกับเพื่อนต่างอาชีพและต่างวัย
5) มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
-------------------
6) การยอมรับต่อการทำงานในภาครัฐ เป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้ มีดังนี้
- เจ้านาย
- ลูกน้อง
- เพื่อนร่วมงาน
- ที่ทำงาน
7) การทำงาน จะต้อง
- มีความรู้จริงในวิชาการที่ปฏิบัติงาน
- มีทั้งการบริหารงานและการทำงาน
- ต้องรู้เขา รู้เรา
8) หลักการทำงาน
- รู้เขารู้เรา
- เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- รู้ว่าอะะไรควร อะไรไม่ควร
- มีการจัดลำดับความสำคัญของงานตามลำดับ ได้แก่ อะไรต้องทำ อะไรควรทำ และอะไรทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
9) สิ่งที่หัวหน้างาน ควรทำ
- ความรอบรู้
- ทำในสิ่งใหม่ๆ
- เลือกตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำ
- กล้าที่จะรับฟัง
- กล้าเสี่ยง
- กล้ายอมรับในความเปลี่ยนแปลง
- กล้าเผชิญหน้า
10) การบริหารเวลา ได้แก่ เวลาในการทำงาน การเรียน และครอบครัว ควรแบ่งเป็น 3 ช่วงๆ ละ 8 ชั่วโมง ดังนี้
- 8 ชั่วโมง สำหรับการพักผ่อน
- 8 ชั่วโมง สำหรับเรื่องส่วนตัว และครอบครัว
- 8 ชั่วโมง สำหรับการทำงาน
11) การบริหารคน ให้ได้งาน และได้ใจคน
- การครองตน อยู่ในกรอบของศีลธรรม
- การครองคน ด้วยการถ่ายทอดความรู้ (ให้เกิดความคิด -->ตัดสินใจ--->ถ่ายทอด-->ติดตามงาน)
- การครองงาน
----------------
ส่วนช่วงบ่ายมี 2 วิชา มีเอกสารแจก โดยมีเนื้อหารวมไปถึงวันที่ 2 ด้วย ได้แก่ (คร่าวๆ นะ หาอ่านในเอกสารเพิ่มเติมกันเอง)
1. การวิจัยในสังคมปัจจุบัน โดย รศ. ดร. มณี อัชวรานนท์ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนา ม.รามฯ
ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยไว้ ดังนี้
1) นิยาม การวิจัย คือ กระบวนการศึกษาและพัฒนาความรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่ง ในการพัฒนาความรู้อย่างเป็นระบบ นั้น เกิดจาก การอ่าน การลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกตุ การถกเถึยง และการทดลอง
2) นักวิจัย
3) ผลการการวิจัย เพื่อนำไปใช้พัฒนาคน เศรษฐกิจ สังคม วิทยาการ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
4) ตัวอย่างของการทำวิจัย มีทั้ง ทำไปโดยไม่รู้ตัว เช่น การจัดวางสินค้าในห้างสรรสินค้า หรือการทำหีบห่อ (packaging)
5) ผลของการวิจัย จะต้องเที่ยงตรง และนำไปใช้ประโยชน์ได้
6) ประโยชน์ของการวิจัย ก็คือ รู้ความต้องการของตลาด หรือผู้ใช้งาน
7) ทิศทางการวิจัย ได้แก่
- พัฒนาคุณภาพสังคม คุณภาพชีวิต
- พัฒนาให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
- สร้างความเข้มแข็งให้ชมชนและสังคม
- ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เช่น การส่งสินค้าออกต่างประเทศ
- การต่างประเทศ
- ความั่นคงของรัฐ เช่น ปัญหาชายแดน
- พัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ
- ทางการแพทย์ ฯลฯ
8) ประเภทของการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ
9) เชิงปริมาณ ทำได้โดย การพรรณาโวหาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และรวมรวมจากเอกสาร แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยการตีความ
10) จรรยาบรรณของนักวิจัย
- ซื่อสัตย์ ซื่อตรง
- ให้เกียรติ
- มีศักดิ์ศรี
- ไม่อคติ มีอิสรภาพทางความคิด
- ปฏิบัติตามเงื่อนไข
- อุทิศเวลา
- มีความรับผิดชอบ
11) ขั้นตอนการวิจัย
- เลือกหัวข้อ (ที่อยากรู้คำตอบ หรือ จากปัญหาที่เกิดขึ้น)
- สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย
- สมมติฐานการวิจัย
- ออกแบบการวิจัย
- เก็บข้อมูล
- วิเคราะห์ข้อมูล
- รายงานผล
----------------
2. หลักการทั่วไปของการเขียนอ้างอิง โดย ผศ. ดร. ประภาส พาวินันท์
1) ได้นำเสนอวิธีการอ้างอิงในงานวิชาการ โดยประเทศไทยใช้ตามรูปแบบ APA ซึ่งการเขียนอ้างอิงนั้น ก็เพื่อ บอกกล่าวหรือชี้แจงแหล่งที่มาของข้อมูล
2) ประเภทของแหล่งอ้างอิง ได้แก่
- การบรรยาย
- เอกสารปฐมภูมิ (คือเอกสารที่เจ้าของข้อมูลถ่ายทอดลงไปโดยตรงที่สื่อ โดยไม่ต้องจัดพิมพ์)
- จารึก
- เอกสารสิ่งพิมพ์
- เว็บไซต์
* ระวังจะเกิดเหตุการ Plagiarism คือ คัดลองงานผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจถูกฟ้องร้องได้
4) ทำไม่ต้องอ้างอิง ก็เพื่อ
- จริยธรรมทางวิชาการ : เคารพและให้เกียรติ
- ลดปัญหาการละเมิดกฏหมายลิขสิทธิ์
- ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
- เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
- ประเมินคุณภาพและความตั้งใจของผู้เขียน
5) วิธีการอ้างอิงตาม APA มี 2 รูปแบบ คือ
- อ้างอิงในเนื้อหา ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียน, ปีที่เขียน, เลขหน้า เช่น Mattia, 1987, pp. 83-84
- อ้างอิงท้ายงานวิชาการ (บรรณานุกรม)
6) ทำไมต้องใช้แบบ APA
- เป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน
- เป็นมาตรฐานทางวิชาการ
------------------------------
(มี QUIZ ท้ายชั่วโมง 4 ข้อ ตัวการเขียนอ้างอิงหลายๆ แบบ มีที่ผิด ให้แก้ไขให้ถูกต้อง)
------------------------------
วันที่ 2
------------------------------
ช่วงเช้า วิชา สังคมและชุมชนวิชาการ โดย รศ. คิม ไชยแสนสุข (อธิการบดี ม.รามฯ)
ได้ถ่ายทอดแนวคิดต่างๆ ไว้ ดังนี้
ประการที่ 1 มโนทัศน์แห่งการเปลี่ยนแปลง (Change) ประกอบด้วย
- วิวัฒนาการ (Evolution) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมี Charles Darwin ชาวอังกฤษ (ค.ศ. 1809-1882) เขียนทฤษฎี วิวัฒนาการ ขึ้นเป็นแม่แบบของการศึกษาวิวัฒนาการ
- ปฏิรูป (Reform) เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยพฤติกรรมของมนุษย์เข้าไปชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
- ปฏิวัติ (Revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ การปฏิวัติยึดอำนาจการปกครอง การปฏิวัติอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และวัฒนธรรม
- การเปลี่ยนแปลงกับการพัฒนา (Change and Development)
- Economic Development
----------------------
*** สิ่งที่บ่งชี้ว่ามีการพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลง (Change) ในทางบวก ในทางที่เป็นประโยชน์
---------------------------------
ท่านอาจารย์เล่าให้ฟังว่า ประเทศไทยเรามีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาแล้ว 10 ฉบับ โดยฉบับแรกในปี พ.ศ. 2504 (รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ) ซึ่งสมัยนั้น มีเพลงที่ฮิตมากๆ คือ เพลงผู้ใหญ่ลี ออกมาตรงกันกับปีที่ทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 พอดี เนื้อเพลงก็ประมาณนี้
-----------
"พ.ศ. 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านก็มาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร
ฝ่ายตาสีหัวคอน ถามว่า สุกร นั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอนทันใด สุกรนั้นไซร้ คือ หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา"
-----------
ผลจากการสื่อสารที่ผิดพลาด (misconcept) ทำให้มีหมาบ้าเต็มบ้านเต็มเมือง ... เหอๆ... เกี่ยวกันมั้ยนี่
ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับปี 2504 ดังกล่าว ถือว่า ประเทศไทยทำขึ้นก่อนประเทศอื่นๆ อาทิ เกาหลี ใต้หวัน สิงคโปร และมาเลเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ถือว่ายังเป็นวุ้นและยังสู้กันเองในประเทศอยู่เลย แต่ไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ แล้ว ... แต่สุดท้าย...ปัจจุบัน...เรากลับตามหลังประเทศเหล่านั้น...แทบไม่เห็นฝุ่น... เพราะ 49 ปีที่ผ่านมา เราเลี้ยวผิดไปหลายแยก ทั้งๆ ที่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ เพราะถ้าเราไม่เลี้ยวผิด ป่านนี้ เราคงไปไกลลิบ นำหน้าประเทศคู่แข่งดังกล่าวแล้ว
-----------
แต่ก็ยังโชคดีอยู่ตรงที่ เราไม่ได้เลี้ยวผิดไปทุกแยก บางแยกก็เลี่้ยวถูก
-----------
ดังนั้น ก่อนถึงปี 2554 เราควรสำรวจดูว่า 49 ปีที่ผ่านมา เราเลี้ยวผิดไปกี่แยกแล้ว เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไว้สอนลูกหลานในอีก 50 ปี โดยทำลายแทงเส้นทางการเดนิทางพัฒนาทางเศรษฐกิจไว้
-----------
ท่านอาจารย์คิมฯ บอกว่า "ผิดก็เป็นครู ถูกก็เป็นครู"
--------------------------------------
มาว่ากันต่อ...
ประการที่ 2 โลกาภิวัตน์

--------------------------------------
โลกาภิวัตน์ เป็นคำใหม่มาแทน Delvelopment
โลกาภิวัตน์ = โลก + อภิวัตตน (Globalization) คือ อาการที่สรพพสิ่งที่มนุษย์ทำแล้ว การแพร่ถึงกันทั่วโลก อาทิ โลกาภิวัตน์ทางการเงินเสรี โลกาภิวัตน์ทางการค้าเสรี โลกาภิวัตน์ด้านการลงทุนเสรี โลกาภิวัตน์ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี และโลกาภิวัตน์ด้านข่าวเสารข้อมูล เป็นต้น
-----------
บางเรื่องอาจเกิดโลกาภิวัตน์แล้วก็จบไปก็มี
ข่าวสารข้อมูลปัจจุบันก็เป็นโลกาภิวัตน์ เช่น เหตุการณ์ 9/11 เกิดขึ้นที่อเมริกา แต่ทุกประเทศทั่วโลกได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้พร้อมๆ กันด้วยการออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)
-----------
มีหลายทฤษฎีที่อธิบาย Globalization และหนึ่งในนั้น คือ The World is Flat ซึ่งเขียนโดย Thomas L. Friedman ได้บอกไว้ว่าโลกได้ผ่านโลกาภิวัตน์มาแล้ว 3 ครั้ง มีสาระพอสรุปได้ ดังนี้
The First Globalization โดย
- ค.ศ. 1492 Christopher Columbas ได้ออกเดินเรือสำรวจโลก ได้พบดินแดนใหม่ คือ อเมริกา และหลังจากนั้น ก็เป็นยุคการล่าอาณานิคมระหว่างอังกฤษ สเปน และฝรั่งเศษ
---------------------------------------
ท่านอาจารย์ได้เล่าเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ให้ฟังเกี่ยวกับที่อังกฤษ สเปน และฝรั่งเศษ ได้รู้จักเอเชียและแอฟริกาดีกว่าอเมริการเสียอีก ดังนี้
* อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรุงโรม ได้ยกทัพยึดอินเดีย เมื่อก่อน 2000 ปี
* จูเลียตซีซาร์ ยกทัพไปยึดแอฟริกา เมื่อก่อน 2000 ปี
* เสปน เป็นชาติแรกที่เข้ายึดอเมริกา หลังจากที่ให้ทุนแก่ Christopher Columbus ออกสำรวจ
* อังกฤษก็เข้ายึดอเมริกาเหนือพร้อมกับฝรั่งเศษ ทำให้เกิดการต่อสู้กันจนทำให้ฝรั่งเศษเป็นฝ่ายชนะ
* โปรตุเกตเข้าไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยพระนารายมหาราช
* เดิมทีนั้น คนลาตินอเมริกาพูดภาษาสเปนเกือบทั้งทวีป ยกเว้นบลาซิลที่พูดโปรตุเกต
---------------------------------------
- ค.ศ. 1497 Vasco da Gama พร้อมคณะผ่าน Cape of Good Hope ถึง Malabar Coast of India เมื่อ May 21, 1498 อเล็กซานเดอร์มหาราช
- ค.ศ. 1499-1500 Amerigo Vespucci พบ Brazil
- ค.ศ. 1500 Portugal claimed Brazil
* ยุคนี้ ทำให้โลกเปลี่ยนจากขนาดใหญ่ เป็น ขนาดกลาง
---------------------------------------
The Secord Globalization เกิดเมื่อประมาณ ค.ศ. 1800
* 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 อเมริกาประกาศตัวเป็นอิสรภาพ ไม่ขึ้นต่อใคร และสิ่งสำคัญของอเมริกา คือ มีพื้นที่มหาศาล มีทองอยู่มาก แต่ขาดแคลนแรงงาน จึงเกิดความคิดอุบาทว์ขึ้น คือ เกิดการล่าทาส จากทวีปแอฟริกา ประมาณ 20 ล้านคนเพื่อไปทำงานที่อเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศษ
* อังกฤษมีกองเรือที่ใหญ่มาก น่านน้ำทั่วทั้งแอฟริกาและเอเซียถูกอังกฤษยึดครอง
* ฝรั่งเศษก็เช่นเดียวกัน ได้เข้ายึดเวียดนาม ลาว เขมร แล้วยังเข้ายึดเมืองจันทบุรี และตราดของไทย ทำให้ไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศษเพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และตราดคืนมา
* ยุคนี้เป็นยุคของการต่อเรือและกิจการเดินเรือขนาดใหญ่ ทำให้การติดต่อถึงกันได้ง่ายและเร็วขึ้น เปลี่ยนโลกจากขนาดกลางเป็นขนาดเล็ก
-----------------------------------
The Third Globalization เกิดเมือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20
* ยุคนี้ เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เป็นยุคอินเทอร์เน็ต
* เกิด FTA เป็นกระแสที่แรงมาก
* เกิดการต่อต้านจากท้องถิ่น เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ บางครั้งทำให้เกิดผลกระทบกับสินค้าและผลผลิตของท้องถิ่น
* ทำให้ Modern trade คือ บรรษัทข้ามชาติ เข้ามายึดกิจการค้า ทำให้โชว์ห่วยเจ้ง
* ไทยเปิดการเงินเสรีเมื่อปี 2533 และเปิดเต็มที่เมือปี 2536-2537 ทำให้ปี 2540 เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง คือ ค่าเงินบาทลอยตัว
* ปัจจุบันกระแสที่มาแรงมากคือการค้าเสรี โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2015 จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ ผลิตที่ไหนก็ได้
* ค.ศ. 2015 คือ ปี พ.ศ. 2558 คาดว่า (FTA) จะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี โครเตรียมคนของตัวเองได้ดีก่อน (ถือว่าเป็นคนสากล) ก็จะสามารถทำมาหากินได้ทุกประเทศ ถือว่าเป็นผู้ได้เปรียบ
--------------------------------------
ประการที่ 3 วิสัยทัศน์ (Vision)
--------------------------------------
- การมีเป้าหมายที่ชัดเจน
- การวาดภาพแห่งอนาคต
- การระบุคุณค่าที่ชัดเจน
--------------------------------------
* Vision หรือ วิสัยทัศน์ คือความสามารถจินตนาการเหตุการในอนาคตให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนและมีคุณค่าในปัจจุบัน
* ยกตัวอย่าง ประเทศมาเลเซีย เป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ประกาศ Vision ของประเทศว่า ในอีกกี่ปี จะเป็น High Economy Country
* หรืออีกตัวอย่าง บริษัทหนึ่ง ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มยอดขายในอีกกี่ปี จะทำได้มากขึ้น 10 เท่า โดยบอกพนักงานทราบและให้เตรียมพร้อม
* นายที่ดีต้องบอกให้ทุกคนเห็นคุณค่า เช่น เพิ่มเงินเดือน เพิ่มตำแหน่ง เป็นการระบุคุณค่าที่ชัดเจน
* บอกให้คนในองค์กรรู้ว่าจะได้อะไรจากวิสัยทัศน์นั้น เพื่อเกิดกำลังใจ และบอกได้ว่าใครได้ประโยชน์ ถ้าได้ประโยชน์กันทุกฝ่ายก็จะยิ่งดี คือ คิดถึงประโยชน์ของทุกฝ่าย
-------------------------------------------
ประการที่ 4 กระบวนทัศน์ (Paradigm)
-------------------------------------------
คนที่จะมีวิสัยทัศน์ได้ จะต้องมีกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm หรือ Paradaigm shift)
Paradigm เป็นทัศนแม่แบบที่สอบว่าความคิดความอ่านทำให้มนุษย์มีแบบแผนของความคิด การใช้ชีวิตในการปฏิบัติงาน (อ่านแล้วก็งง ใครช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมที mpa.ru3@gmail.com)
-------------------------------------------
- New paradigm เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จักจบสิ้น เช่น มนุษย์โบราณไม่มีเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย อยู่กันเป็นกลุ่ม แย่งของกินกัน ไม่มีประเทศ แต่รู้จักแย่งชิง และพิทักษ์รักษาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตน
- สู้กันด้วยสองมือ สองเท้า และร่างกาย
- เกิดการเรียนรู้ว่าสู้กันทุกครั้งก็บาดเจ็บล้มตาย เกิดการใช้สิ่งของมาช่วยในการต่อสู้ เช่น กิ่งไม้แล้วชนะ เจ็บน้อย (เริ่มรู้จักใช้เครื่องทุ่นแรง)
- กลุ่มอื่นๆ ก็เกิดการเรียนรู้เช่นเดียวกัน
- เกิดยุคหิน คือ นำหินมาทำประโยชน์ เช่น ใช้ทำหอก ทำมีด
* เปลี่ยนกระบวนทัศน์จากใช้กิ่งไม้เป็นใช้หิน
* เกิดการใช้เหล็กเป็นเครื่องมือ เกิดการเรียนรู้ต่อๆ กันไป แล้ยวเกิดการประดิษฐ์ธนู และอาวุธอื่นๆ ที่ทันสมัยขึ้น
* ในกระบวนการผลิตก็เช่นเดียวกัน เช่น การผลิตนาฬิกาของสวิสเซอร์แลนด์ ทำให้ทุกคนใช้นาฬิกาแบบไขลาน
* จากนั้นเกิดนาฬิกาแบบควอต โดย Seiko ของญี่ปุ่น และมีคนเริ่มนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา
* ในการสงครามก็เช่นกัน เกิด Paradigm shift ขึ้น ดังตัวอย่างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันแพ้อังกฤษกับฝรั่งเศษ และต้องชดใช้โดยเซ็นต์สนธิสัญญาแวร์ซายน์
* หลังจากนั้น ฮิตเลอร์ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รบชนะอังกฤษและฝรั่งเศษ แต่มีอเมริกาเข้ามาช่วย ในขณะที่รัสเซียเข้ามาสู้กับเยอรมันเช่นกัน แต่รัฐเซียแพ้เยอรมัน ทำให้เยอรมันเข้ายึดเมืองเซ้นต์ปีเตอร์เบิร์ก
* แต่เยอรมันต้องแพ้สงครามที่เมืองเซ้นต์ปีเตอร์เบิร์กเพราะเจอสภาพอากาศที่หนาวจัด (-40 องศาฯ)
* แต่สุดท้ายผู้ที่ชนะสงครามก็คือ อเมริกาและรัสเซีย
* จะเห็นได้ว่า อเมริกามี paradigm shift โดยให้การสนับสนุนเลี้ยงดูทั้งญี่ปุ่นและฝรั่งเศษจนเจริญร่ำรวยเป็นประเทศเศรษฐกิจของโลก คือ ไม่ต้องรบกันแต่ทำมาหากินแผนใหม่ให้ร่ำรวย เป็นกระบวนทัศน์ใหม่
* การศึกษาดูงาน ก็เป็นส่วนหนึ่งให้หูตาสว่างกว้างไกลขึ้น เพื่อทำให้เกิดวิสัยทัศน์ให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ๆ
-------------------------------------------
ประการที่ 5 ฉันทานุมัติกรุงวอชิงตัน (Washington Consensus)
-------------------------------------------
* Washington concensus ไม่ได้เกิดจากการประชุม หรือการลงมติใดๆ แต่เกิดจากความคิดของ John Williamson เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
* Washington concensus เป็น policy menu ด้านเศรษฐกิจ เป็นการประดิษฐ์เมนูในการดำเนินนโยบาย จากวิกฤตเศรษฐกิจในลาตินอเมริกา เมือปี ค.ศ. 1989
-------------------------------------------
Policy reform 1989 หรือ Policy menu 10 รายการ ได้แก่
1) วินัยการคลัง โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบไม่ขาดดุลงบประมาณมากจนเกินไป หากขาดดุลมากอยู่แล้ว ให้ลดการขาดดุลให้น้อยลงจากภาระ Debt crisis หรือวิกฤตหนี้สินล้นพ้นตัว
2) การคลังด้านการใช้จ่าย ต้องจัดลำดับความสำคัญรายจ่าย โดยตัดรายจ่ายการอุดหนุนการผลิตเพื่อให้ธุรกิจเข้มแข็ง โดยรัฐจะต้องควบคุมรายจ่ายในด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านสาธารณูปโภค
3) ปฏิรูประบบภาษี โดยขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น และใช้ภาษีเป็นเครื่องมือจูงใจในการผลิต
4) อัตราดอกเบี้ย ควรปล่อยให้เป้นไปตามกลไกของตลาด (Demand, Supply) โดยเสนอแนะให้ฝ่ายการเงินดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นบวก คือ สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ นั่นคือ ออมเงินแล้วไม่ขาดทุน
5) อัตราแลกเปลี่ยน ให้เป็นประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ ให้แข่งขันต่อโลก และให้เกื้อกูลต่อการส่งออก
* ไทยประสบปัญหาคือค่าเงินบาทแข็งตัวมาก ทำให้การส่งออกมีน้อยลง เพราะค่าเงินประเทศอื่นอ่อนตัวลง
6) การค้าระหว่างประเทศ ให้เปิดการค้าเสรี โดยให้เลิกกำแพงภาษี (Free trade) ไม่ควรเก็บภาษีวัตถุดิบนำเข้าเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำเข้าเยอะๆ และผลิตสินค้าได้มากขึ้น
7) ส่งเสริมรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพื่อให้นักลงทุนเข้ามาเยอะๆ และได้เรียนรู้เทคโนโลยีและ Know how ต่างๆ
8) การแปรรูปกิจการของรัฐ ด้วยการโอนให้เอกชนดำเนินการแทน (Privatization)
9) ลดกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ลง ให้เศรษฐกิจเดินไปตามกลไกตลาด (Dereguration)
10) การรับรองกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ให้เกิดความชัดเจน
* เมื่อย่อความจาก 10 เมนูแล้วจะได้ 4 เมนู คือ
1) Liberatization คือ เสรีนิยมด้านเศรษฐกิจ
2) Stabilization คือ รักษาเสถียรภาพ (การเงิน ดอกเบี้ย และดุลการชำระเงินคลัง)
3) Privatization คือ การแปรรูป
4) Dereguration คือ ลดกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ลง
*** 4 Action (LSPD)
-------------------------------------------
ประการที่ 6 เศรษฐศาสตร์อุปทาน
1) Supply-side Economics เชื่อว่า supply สำคัญกว่า demand ดังนั้น ในการจัดการดำเนินเศรษฐกิจ ต้องจัดการกับฝั่ง supply ก่อน เรียก classic economics (Reganonics = Regan + Economics) 1980
-------------------------------------------
ประการที่ 7 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : สามห่วง สองเงื่อนไข = ทางสายกลาง
สามห่วง คือ มีเหตุผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
สองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ (ระมัดระวัง รอบรู้ รอบคอบ) และ เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา และแบ่งปัน) ซึ่งใช้กับเรื่องชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน
-------------------------------------------
* เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบใหม่
* ทฤษฎีใหม่ เป็นกรอบเล็ก
-------------------------------------------
ประการที่ 8 กับดักหรือหลุมพลางสู่การหลงผิด
-------------------------------------------
1) ความหลงผิดในองค์ประกอบ (Fallacy of Composition) คือ หลงผิดในส่วนย่อย แล้วคิดว่าเป็นความผิดในส่วนใหญ่ เช่น มีเด็กจากสถาบันหนึ่งไปประท้วง จำนวน 7-8 คน แล้วสังคมบอกว่า สถาบันนั้นทั้งสถานบันมาประท้วง เป็นต้น
2) ความหลงผิดในการวิภาค (Fallacy of Division) คือ ความจริงเกิดขึ้นในส่วนใหญ่ แล้วคิดว่าส่วนเล็กๆ จะเป็นจริงไปด้วย เช่น ประเทศญี่ปุ่นรวยกว่าประเทศไทย นั่นเป็นความจริง แต่ไม่ได้หมายถึงนายทาเคชิจะรวยกว่านายโชค เป็นต้น
3) ความหลงผิดในสาเหตุแห่งเรื่องที่เกิดขึ้น (Fallacy of False Cause) คือ เห็นผลแล้ว แต่สืบสาวหาต้นเหตุผิด เช่น ในไทยจะบริโภคน้ำแข็งเยอะและเกิดโรคสุนัขบ้าในช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. แล้วมีคนสรุปว่า เพราะคนกินน้ำแข็งมาก จึงทำให้เกิดหมาบ้าเยอะ เป็นต้น
-------------------------------------------
ประการที่ 9 ทุนนิยม (Capitalism)
ประการที่ 10 สังคมนิยม (Socialism)
1) Karl Marx (1818*1883) : Das Kapital (1867)
2) ต่อมาปรับปรุงโดย Friedrich Engels (1820-1895) ในปี ค.ศ. 1885
ประการที่ 11 Demand-Side Economics : John Maynard Keynes
-------------------------------------------
... จริงๆ แล้ว ท่านอาจารย์ยังให้ข้อมูลอีกเยอะแยะเลย แต่ขอสรุปจบไว้แค่นี้ ...
-------------------------------------------
ช่วงบ่าย มี 3 วิชา ได้แก่
1) การเขียนผลงานทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพ โดย รศ. ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร
2) การพัฒนาบุคลิกภาพของบัณฑิตและการนำเสนอผลงาน โดย รศ. อรุณทวดี พัฒนิบูลย์
3) การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา โดย ดร. บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์
... หาอ่านกันเองนะ ...
---------------
จัดทำรายงานวิชา 2 ฉบับ วิชา "ปรัชญา วัตถุประสงค์และกระบวนการศึกษา" ของท่านอาจารย์รังสรรค์ฯ ส่งภายใน 29 พ.ย. 2553
---------------
การส่งรายงาน วิชา RU 603 นักศึกษาต้องลงข้อมูลการส่งรายงาน online ทาง website http://www.report.ru.ac.th/ (ลงบันทึกการส่งแบบออนไลน์ 2 ครั้ง)
เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้สั่งพิมพ์แบบปกนำส่งรายงาน แล้วนำมาเย็บเป็นปกในของรายงานที่นักศึกษาต้องส่งคณะฯ หรือโครงการฯนักศึกษาทุกคนต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
1. รหัสวิชา 5 หลัก พิมพ์โดยไม่เคาะวรรค (RU603)
2. คำสำคัญ เป็นคำที่มีความหมายในการใช้เขียนรายงาน ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกช่อง
3. ก่อนการสั่งพิมพ์ให้ save ไว้ใน My document ก่อน เพื่อป้องกันการหลุดจากระบบ นักศึกษาสามารถเรียกพิมพ์อีกเมื่อไรก็ได้ที่ต้องการ
4. ถ้าไม่สามารถพิมพ์หน้าปกได้ให้ตรวจดูว่ามีข้อมูลรายงานอยู่ในระบบหรือไม่ ถ้ามีแล้วไม่ต้องพิมพ์ใหม่ให้ใช้โปรแกรม Microsoft Word พิมพ์ โดยหมายเหตุว่าได้ส่งรายงาน Online แล้ว
5. ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้ ให้พิมพ์ตามแบบฟอร์มใน Microsoft Word แล้วพิมพ์ส่งพร้อมเขียนหมายเหตุด้วยว่าลงฐานข้อมูล Online ไม่ได้
---------------------------------------------------------
นักศึกษาชั้นปริญญาโท ซึ่งศึกษากระบวนวิชา RU 603 บัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2553 ในหัวข้อเรื่อง “ปรัชญา วัตถุประสงค์และกระบวนการศึกษาวิชาบัณฑิตศึกษา (RU 603)" ซึ่งเป็นส่วนการบรรยายของ รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุขและคณะ นักศึกษาทุกคนต้องทำรายงาน 2 เรื่อง แสดงความสามารถในการแสดงออกซึ่งความคิดและเนื้อหาสาระในความคิดของนักศึกษาแต่ละท่าน ดังนี้ :-
---------------------------------------------------------
รื่องที่ 1 เป็นการเขียนบทความเรื่องใด ๆ ก็ได้ ที่นักศึกษาอยากจะเขียนโดยเสรี เนื้อหาสาระความยาว พิมพ์ขนาดกระดาษ A4 ไม่เกิน 5 หน้า
---------------------------------------------------------
เรื่องที่ 2 เป็นการตั้งคำถามว่า นักศึกษามีความรู้อะไรมากที่สุด สิ่งที่ท่านรู้ดีที่สุดในตัวท่าน แสดงออกมาให้กระจ่าง และอธิบายว่าความรู้ดังกล่าวนั้นท่านได้มาจากที่ใด อย่างไร และจะนำไปทำประโยชน์อะไร ได้อย่างไร พิมพ์ไม่เกิน 2 หน้า ให้นักศึกษาทุกคน ส่งรายงานทั้ง 2 ชิ้น และนักศึกษาสามารถเย็บรวมกันได้ โดยให้มีใบปะหน้าแสดง ดังนี้
---------------------------------------------------------
ชื่อ ...................................
รหัสประจำตัว 53148300...
สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
คณะ บัณฑิตวิทยาลัย
ภาคเรียนที่ 2/2553
เสนอ รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข
----------------------------------------------------------
ทั้งนี้ ไม่ต้องเย็บเล่ม – เข้าปก โดยเน้นความเรียบง่าย ประหยัด แต่มีเนื้อหาทางวิชาการ
-------------------------------------
*** ส่งรายงานที่โครงการฯ***
ภายในวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เพื่อจัดส่งให้กับบัณฑิตวิทยาลัยต่อไป

(อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 5 ตรงกันข้ามกับลิฟท์)
-------------------------------------
Tai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น