วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

PA604,704: บทวิเคราะห์บทความการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อ.นิธิฯ โดยหลวงพี่กอล์ฟ

บทวิเคราะห์บทความการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อ.นิธิฯ โดยหลวงพี่กอล์ฟ
-------------------------------------
อาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือต้องการลดความเลื่อมล้ำทางสังคมมันเกี่ยวกับจิตสำนึกหรือสัญลักษณ์

วิเคราะห์จากบทความของอาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์
สังคมเปลี่ยน ระบบการเมืองไทยต้องเปลี่ยน ระบบการเมืองไทยไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ภูมิหลังเศรษฐกิจการเมืองของไทย พบว่าการเกษตรเพื่อเลี้ยงตนเองลดน้อยลง ส่วนใหญ่ทำการเกษตรในเชิงพาณิชย์ เพราะมีการเติบโตของเมือง ในเขตชนบทเปลี่ยนไปเพราะขายพื้นที่ทำกินหรือเปลี่ยนอาชีพ เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ระบบการเมืองคงสภาพเดิมไม่ได้

ในสังคมมนุษย์ปัจจุบันเวลาพูดถึงสำนึกทางการเมืองเป็นเรื่องธรรมดาที่มีคนบางกลุ่มอยากเข้ามามีส่วนร่วมกำกับดูแลให้นโยบายเป็นประโยชน์แก่ตนเอง ระบบการเมืองไม่กระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่คนส่วนใหญ่ทุกครั้งที่ระบบเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยน ต้องปรับระบบการเมือง เพราะการเมืองคือการสะท้อนกฎเกณฑ์ กติกา ระเบียบปฏิบัติ ที่ประสานผลประโยชน์ของคนหลากหลายกลุ่ม ผลประโยชน์เปลี่ยน ตัวระบบการเมืองเองต้องเปลี่ยน ประเทศไทยเคยปรับระบบการเมืองมาหลายหนแล้ว การปรับเปลี่ยนการเมืองรับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมต้องใช้เวลา ช่วงนี้เป็นระยะเวลาของระบบการเมืองไทยปรับตัวเอง และพรรคการเมืองไทยควรเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมเพื่อปรับตัวเอง หากเปรียบเทียบในหลายสังคม ประเทศอังกฤษมีประชาธิปไตยตรงไปตรงมา ไม่เสียภาษีก็ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยไม่มีข้อยกเว้นหากคนชั้นนำในสังคมรู้แข่งขัน ประนีประนอมกันโดยวิธีการขยายกติกา โอกาสพัฒนาประชาธิปไตยก็มี แต่ต่างคนต่างแข่งขันต่างแยกกันดีโอกาสพัฒนาประชาธิปไตยก็น้อยลง

การชุมนุมในปัจจุบัน กรณีรับจ้างชุมนุม มนุษย์สามารถทำอะไรได้นอกเหนือเงื่อนไขเงินเพียงอย่างเดียวได้ เพราะมนุษย์มีแรงจูงใจในพฤติกรรมสลับซับซ้อนกว่าปัจจัยเดียว เพราะการชุมนุมไม่ใช่เรื่องง่าย คนส่วนหนึ่งมาชุมนุมไม่ใช่ต้องการโอกาสทางการเมือง แต่เกิดสำนึกว่าถูกเบียดบัง ถูกกดขี่ ทำให้เกิดวิวัฒนาการไม่ยอมเกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
สภาพปัจจุบัน วิเคราะห์ให้ดีทักษิณ ชินวัตรไม่ได้ดีเลิศอะไรมากมาย แต่ทักษิณคือสัญลักษณ์ของยุคสมัยอุดมคติ คำว่า ไพร่ เกิดขึ้นจากความเลื่อมล้ำในสังคมเกิดความเจ็บปวดทางความรู้สึกไม่พอใจกับสภาพเหลื่อมล้ำที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบตลอดเวลาทำให้เกิดการชุมนุม

ระบบอำมาตย์ มองว่าเป็นการใช้สัญลักษณ์เหมือนกัน ใครส่งเสียงดังก็เอาคนนั้นเป็นหลัก ระบบอย่างนี้เรียกว่า อำมาตย์ คือ ไม่ฟังเสียงประชาชน แต่ฟังคนเสียงใหญ่ การพิสูจน์ว่าตัวเองปฏิบัติต่อทุกคนให้เสมอภาค ไม่ใช่แค่คำพูด ต้องทำ ซึ่งทำยากในสภาพสังคมที่เหลื่อมล้ำสูง
------------------------------------
บทวิเคราะห์โดยหลวงพี่กอล์ฟ
------------------------------------
Tai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น