วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

PA604,704: วิเคราะห์บทความสึนามิ โดย หลวงพี่กอล์ฟ

สรุปข้อมูลโดยหลวงพี่กอล์ฟ
------------------------------------
รศ. พิพิฒน์ ไทยอารี
วิเคราะห์บทความเรื่องสึนามิว่ามีนัยยะในเชิงนโยบายสาธารณะอย่างไรและแผนผังที่รัฐต้องเข้ามาแก้ไขการคลังสาธารณะอย่างไร
-----------------------------------
บทความ “สึนามิ” สะท้อนถึงบทเรียนของรัฐบาลในอดีตที่ขาดแผนป้องกัน ความล้าสมัยด้านเทคโนโลยี คนหวังดี ประสงค์ดีไม่มีที่ยืนในสังคม เพราะมองว่าเป็นเรื่องใหม่เหมือนเป็นคนบ้าในสายตาชาวโลก ทำให้รัฐบาลขาดแผนป้องกันหรือนโยบายสาธารณะในการรับมือ วิเคราะห์ตามแนวนโยบายสาธารณะที่ผ่านมาเป็นเรื่องใหม่ในสังคม เชื่อว่าเป็นการทำนายหรือพยากรณ์เหตุการณ์ ทั้งเป็นกลุ่มนักวิชาการที่ขึ้นชื่อว่าทำนายเหตุการณ์สึนามิได้แม่นยำมากที่สุด แต่รัฐบาลไม่ได้มีแผนรับมือป้องกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความไม่ชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ รัฐหรือประชาชนขาดความรอบรู้ในเรื่องสึนามิ
.
แต่ปัจจุบันรัฐบาลสามารถออกเป็นนโยบายสาธารณะในการป้องกันเพื่อรับมือสถานการณ์ได้ โดยทำการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ ประชากร ที่ตั้งของรัฐ วัฒนธรรมการเมือง โครงสร้างสังคม เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อป้องกัน รับมือ ช่วยเหลือไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำ ผ่อนหนักให้เป็นเบา ควรติดตั้งระบบเตือนภัยที่ดีมีประสิทธิภาพ ประชาชนในพื้นที่ต้องคอยระมัดระวังฟังข้อมูลข่าวสารจากศูนย์เตือนภัย
.
ดังนั้น นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร และความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามนโยบายที่เกิดขึ้น มีการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระยะเวลาที่เหมาะสม เผยแพร่นโยบายสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณชนภายนอกนโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการทบทวนให้ทันสมัยอยู่เสมอ และต้องได้รับการตรวจสอบว่ายังมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะถูกดำเนินการโดยการตรวจประเมินระบบภายในหรือภายนอก และเป็นการทบทวนระบบ หลังจากถูกตรวจประเมินแล้ว
.
ในด้านความร่วมมือกับภาคประชาชนและมูลนิธินั้น รัฐบาลไม่สามารถทำงานอย่างเดียวได้ จึงต้องมีการประสานงานให้มูลนิธิต่างๆหรืออาสาสมัครร่วมกับภาคประชาชนในพื้นที่เป็นหูเป็นตาดูแลและตรวจสอบในสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งเครื่อมมือและการให้ความช่วยเหลือเพื่อเยี่ยวยาและให้ความรู้ขั้นพื้นฐานกับคนในพื้นที่
.
ด้านความเชื่อในการพยากรณ์ เป็นเรื่องส่วนบุคคลที่จะคิดว่าจริงหรือไม่จริง แต่สิ่งที่สำคัญการพยากรณ์นั้นเป็นความที่จะเป็นไปได้โดยการคาดคะเนจากภูมิอากาศภูมิประเทศ รัฐบาลควรที่จะประกาศหรือกระจายข่าวสารนั้นว่าจะเกิดโดยให้กรมอุตุนิยมหรือศูนย์ภัยพิบัตินั้นเป็นกระบอกเสียง หรือสื่อต่างๆนั้นเผยแพร่ข่าวสารให้ทั่วถึง ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายสาธารณะที่ทุกคนต้องได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครรับผิดชอบได้ เรื่องของดวงดาวในบทความนี้เป็นการคาดคะเน แต่เรื่องจริงคือการปฎิบัติป้องกันและรู้จักการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง
.
แต่บทความสะท้อนว่ารัฐบาลไม่มีความเอาใจใส่ในการป้องกัน จากเนื้อหาที่ว่า ทุ่นเตือนภัยแบตฯ หมด หอเตือนภัยก็ใช้การไม่ได้หมด เป็นปัญหาที่รัฐบาลควรมีชุดของการปฎิบัติงานที่มีแบบแผน ระบบและกระบวนการอย่างจริงจังและชัดเชน ควรตัดสินใจปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่เพื่อประชาชนจำนวนน้อย สอดคล้องกับนโยบายสาธารณะในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนอย่างแท้จริง เพราะชีวิตของประชาชนเมื่อเกิดการสูญเสียแล้วนั้น ไม่มีอะไรจะมารับผิดชอบได้
.
สรุป เราเรียนรู้จากสึนามิ ที่ผ่านมาแล้วว่าเกิดความเสียหายขนาดไหน เราก็ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงแก้ไขรับมืออยู่เสมอ เพราะสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศเราก็ได้เกิด
เราจะได้ไม่สูญเสีย จงเรียนรู้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพื่อให้ก่อเกิดการพัฒนา
------------------------------------------------------------------
การคลังสาธารณะ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำนโยบายสาธารณะเพราะการกระทำใดๆก็ตามที่เป็นประโยชน์ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ส่วนรวมต้องใช้งบประมาณมาก
การลงทุนนี้ก็ถือว่าคุ้มค่ามากที่สุดเพราะผลตอบแทนไม่อาจจะตีราคาได้ ฉะนั้นถ้าจะชี้ให้เห็นการแก้ไขการคลังสาธารณะนั้น จึงมีความคิดเห็นดังนี้
.
สิ่งรัฐต้องเข้ามาแก้ไขการคลังสาธารณะ คือ
1. การวางกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ
2. รักษาการเคารพสิทธิ/สัญญาการค้า
3. จัดสรรสินค้า บริการ กลไกตลาด
4. การตัดสินใจในการบริโภค การสะสมทุน และการลงทุนเพื่อสังคม
5.การป้องกันภาวะเศรษฐกิจ
6. ความเป็นธรรมทางสังคม
รัฐมีหน้าที่ด้านการคลังสาธารณะ ดังนี้
1. การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคม
2. การกระจายรายได้และความมั่นคงของสังคม
3. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ4. การส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
-------------------------------------
สรุปข้อมูลโดยหลวงพี่กอล์ฟ
-------------------------------------
เพิ่มเติม ข้อบัญญัติบรรเทาสาธารณภัย 10 ประการ โดย ดร.สมิธ ธรรมสโรช
1. สังเกตปรากฎการณ์ของชายฝั่ง หากน้ำทะเลลดระดับลงมาก หลังเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่า อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้รีบอพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยง ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง
2. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ที่ท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่า จะเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก
3. คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอก จากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากการแกว่งไปแกว่งมาของน้ำทะเล ดังนั้น ควรรอสักระยะหนึ่ง จึงจะสามารถลงไปชายหาดได้
4. ติดตามการเสนอข่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
5. ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยที่จะเจอคลื่นสึนามิ หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ เพื่อลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง
6. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
7. ในย่านที่มีความเสี่ยงภัยทึ่จะเจอคลื่นสึนามิ ให้หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่ง
8. จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อยู่อาศัย ควรมีระยะห่างจากฝั่ง
9. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัย จากคลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว
10. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณสุข การรื้อถอน และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง
-------------------------------------
Tai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น