วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

PA604,704: วิเคราะห์ FOOD INC และสรุปนิยามนโยบายสาธารณะ โดยหลวงพี่กอล์ฟ

วิเคราะห์ FOOD INC และสรุปนิยามนโยบายสาธารณะ โดยหลวงพี่กอล์ฟ
------------------------------
ผศ. สุรัตน์ โหราชัยกุล
นิยามของนักวิชาการ 3 คน (เฮกโก, อิสตัน, เจินกิ้นส) คิดว่านิยามของนักวิชาการคนใดสอดคล้องกับโลกความเป็นจริงมากที่สุด เพราะอะไร ยกตัวอย่างนโยบายสาธารณะประกอบ
------------------------------
ส่วนที่ 1 ประเมินนโยบายสาธารณะตามนิยามของนักวิชาการ 3 คน

เลือกนิยามของ David Easton สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด Easton มองว่านโยบายสาธารณะ คือ นโยบายใดนโยบายหนึ่งประกอบด้วยเครือข่ายแห่งการตัดสินใจและการกระทำที่สรรหาคุณค่าทางสังคม

เพราะอำนาจในการจัดสรรค่านิยมของสังคมทั้งมวลและผู้มีอำนาจในการจัดสรร คือ รัฐบาลและสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำมีผลมาจากการจัดสรรค่านิยมในสังคม นโยบายของรัฐบาลมีลักษณะเป็น นโยบายประชานิยม การตัดสินใจในนโยบายใดๆ ต้องดูความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

เช่น โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ เรียกกันว่า 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการรัฐบาลที่ทำเพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพ โดยคนไทยทุกคนสามารถรับบริการรักษาโรค โดยจ่ายเพียงสามสิบบาท โดยภาครัฐจะให้ประชาชนลงทะเบียนกับโรงพยาบาลและรัฐจัดสรรงบประมาณลงในโรงพยาบาลตามจำนวนคน และแจกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้รับบริการ เรียกกันว่า บัตรทอง
การให้บริการและการเข้าถึงการบริการในการประกันสุขภาพ ถือเป็นภารกิจหลักที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญ หากทำการศึกษาแหล่งที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายในการประกันสุขภาพให้กับประชาชน รัฐบาลและเจ้าหน้าที่จะต้องให้การบริการในด้านการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยที่ไม่มีช่องว่างในการบริการระหว่างคนรวยและคนจน นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
ผลของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งมีทั้งข้อดีและเสีย รัฐบาลจะต้องนำข้อมูลมาทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลของนโยบายต่อไปและเข้าสู่กระบวนการเดิม เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าหากระบบในการบริหารจัดการดี มีทรัพยากรที่พอเพียง การที่จะปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลต่างๆก็จะสนองตอบนโยบายได้เป็นอย่างดี แต่หากขาดสิ่งที่มาสนับสนุนดังที่กล่าวมาการที่จะนำพานโยบายให้บรรลุผลก็คงสำเร็จยากแน่นอน

Easton ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตัดสินใจนโยบายกับประชาชนในสังคม ว่าการตัดสินใจในนโยบายใดของรัฐบาลต้องคำนึงถึงค่านิยมและระบบความเชื่อของคนในสังคมเป็นสำคัญ ซึ่งหากกำหนดนโยบายไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนรัฐบาลย่อมถูกปฏิเสธ

ส่วนที่ 2 ประเมินนโยบายสาธารณะว่าด้วยอาหารของ Us ตามคำบอกเล่าใน Food Inc.

Food inc. เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเบื้องหลังธุรกิจอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่แอบแฝงบางประเด็นที่ประชาชนไม่ได้มีโอกาสรับรู้ ในความไม่ปลอดภัยหรือกลไกการผลิต วัตถุดิบต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องประสบเจอในชีวิตประจำวัน คือ การบริโภคอาหารเหล่านี้นั่นเอง รวมไปถึงอำนาจของบรรษัทที่มีต่อเกษตรกร ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบขาดเสรีภาพส่วนบุคคล โดยที่รัฐบาล ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือซึ่ง เป็นการมองข้ามประโยชน์สุขของประชาชน ที่เรียกว่า นโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เสมอภาคกัน

การประเมินเกี่ยวกับเรื่อง Food inc. คือหลักประสิทธิภาพ ความเป็นธรรม
ความยุติธรรม และเสรีภาพส่วนบุคคล

หลักประสิทธิภาพ การสรรหาวิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้บรรลุเป้าหมายเกิดประโยชน์สูงสุด อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ถ้ามองการกลไกการทำธุรกิจในภาคเอกชนของบรรษัทนั้นถือว่าประสบความสำเร็จคือ หาผลกำไรมากที่สุดโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ ใช้ทรัพยากรมนุษย์และธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมกับงาน ผลิตผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด มีการใช้มืออาชีพเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจการ

แต่สิ่งที่บรรษัทปฎิบัตินั้นมุมมองของนโยบายสาธารณะคือ การเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรผู้ที่ทำไร่ทำนาเป็นอย่างยิ่ง และไม่ได้คำนึงถึงกระบวนการผลิตที่บิดเบือนไปจากธรรมชาติโดยบรรษัทนั้นเข้ามามีบทบาทในการผลิตมากอย่างคิดโกงคำนึงถึงแต่เป้าหมายคือผลกำไรมากเกินไปโดยทำอะไรก็ได้ที่ให้ตนเองนั้นอยู่รอดโดยการตัดมือตัดเท้าชาวไร่ชาวนาในการทำมาหากิน การผลิตที่ไม่สามารถผลิตทรัพยากรที่มีความต้องการของตลาดได้ เพราะมีกรรมวิธีที่ต่างกัน ซึ่งแน่นอนการผลิตของชาวไร่ชาวนาเป็นไปตามธรรมชาติ ที่มีปัจจัยที่เกิดผลกระทบหลายๆอย่างในการผลิต

ความเป็นธรรม ในเรื่อง Food inc. นั้น ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมหลายๆอย่างที่บรรษัทได้กระทำต่อขาวไร่ชาวนา เช่น เมล็ดการเพาะปลูกที่ถูกตกแต่งพันธุกรรมและนำไปจดสิทธิบัตรแล้วนำมาครอบงำให้ชาวไร่ชาวนาปลูก โดยอาศัยอำนาจรัฐบาล มองแบบหยาบๆคือเมื่อเพาะปลูกแล้วก็ได้ผลผลิตแต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธ์ไว้ได้อีก จำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธ์ใหม่อยู่เสมอจากบรรษัท หากเก็บไว้ก็จะถูกฟ้องร้อง ชาวไร่ชาวนาก็ต้องสู้คดีเองโดยใช้ทุนส่วนตัว ซึ่งแน่นอนไม่สามารถสู้กับอำนาจทุนของบรรษัทเหล่านี้จึงต้องแพ้ไปในที่สุด

ผู้บริโภคก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมโดยไม่เปิดเผยในสิ่งที่เค้าบริโภคว่ามีอะไรเจือปนหรือกรรมวิธีผลิตอย่างตรงไปตรงมาแล้วถ้ามีใครวิพากวิจารณ์ก็จะถูกฟ้องร้องเพราะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทั้งที่เราทุกคนได้จ่ายภาษีให้กับรัฐแต่การรับรู้ความเป็นจริงไม่ได้สนองตอบกลับมา

ความยุติธรรม ในเรื่อง Food inc. การที่บรรษัทเหล่าในนี้ใช้กฎหมายตัวเดียวกับประชาชน แต่ก็สามารถหลบเหลี่ยงข้อกฎหมายได้ ฉะนั้นผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนต้องออกมาหาข้อเรียกร้องเอง เพื่อหาความยุติธรรม ในเรื่องของโรงงานเลี้ยงสัตว์นั้นถ้าเป็นชาวไร่ชาวนาธรรมดา ถ้าถูกตรวจพบว่ามีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ก็จะถูกปิด แต่บรรษัทเหล่านี้กลับถูกมองว่าไม่มีข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิดเชื้อโรคเลย การปลิวของละอองเกสรนั้นบรรษัทก็จะหาว่าชาวละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความไม่ยุติธรรมเป็นสองมาตรฐานที่รัฐได้กระทำกลับประชาชน ผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่เหมือนกับกลับบรรษัท ต่างกันเพียงแค่ความร่ำรวย

หลักเสรีภาพส่วนบุคคล ในเรื่อง Food inc. ชี้ให้เห็นถึงการขาดเสรีภาพของชาวไร่ชาวนาที่ถูกจำกัดอย่างขาดเสรีภาพ ในเรื่องการผลิตผลผลิตเช่นการเก็บเมล็ดพันธ์ข้าวโพด
การเลี้ยงสัตว์ที่ต้องปกปิดแสงอาทิตย์ ซึ่งทำให้เสรีภาพในการทำมาหากินถูกกีดกัน เพราะว่าชาวไร่ชาวนานั้นมีความจำกัดในเรื่องเสรีภาพในการทำมาหากินมากเกินไป การเลี้ยงสัตว์อย่างธรรมชาติก็ไม่น่าถูกกดขี่จากรัฐและบรรษัทเหล่านั้น เพราะทุกคนมีเสรีภาพในการทำมาหากินโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน เพราะอาศัยธรรมชาติและธรรมชาติก็ไม่มีส่วนได้เสียของการทำเกษตร การเลี้ยงสัตว์ นี่สิ่งที่เห็นได้ชัดในเสรีภาพในการทำมาหากิน แต่บรรษัทมีอิสระเสรีในการกระทำสิ่งต่างๆได้อย่างเต็มที่
----------------------------
บทวิเคราะห์และสรุปโดยหลวงพี่กอล์ฟ
----------------------------
Tai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น