วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

PA612: แนวสอบ รศ.ชลิดา : ความสุขและตัวชี้วัดความของคนในชาติ

โดย กลุ่ม 2
---------------------------------------
คำจำกัดความ “ความสุข”
(พจนานุกรมของราชบัณฑิต 2548) ได้ให้ความหมายของ คำว่า “สุข” หมายถึง ความสบายกาย สบายใจ
(สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ 2548) ได้ให้ความหมายของความอยู่ดีมีสุข หมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ มีความรู้ มีงานที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และอยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการที่ดีของรัฐ
ดัชนีความสุขกับการพัฒนาประเทศ
แนวคิดดัชนีชี้วัดความสุขกับการพัฒนาประเทศ เป็นดัชนีทางเศรษฐศาสตร์แนวใหม่ ที่ใช้วัดความสำเร็จของการพัฒนาประเทศโดยใช้ ดัชนีชี้วัดความสุขรวมประชาชาติ (GNH : GROSS National Happiness ) เป็นเป้าหมายหลัก แทนการพัฒนาประเทศที่ยึดความเติบโตของตัวเลขรายได้มวลรวมประชาชาติ ( GDP : Gross Domestic Product ) และผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GNP : Gross National Product)
ความสุขรวมประชาชาติ (GNH : Gross National Happiness ) กล่าวถึงความสำคัญของการวัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและทางวัตถุเช่นเดียวกับ ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ( GNP : Gross National Product) แต่ขณะเดียวกันก็คำนึงถึง คุณค่าเชิงบวก ด้านสังคม อารมณ์ และจิตวิญญาณ ความเคารพต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมประเพณี รวมทั้งความจำเป็นที่ต้องมีธรรมาภิบาล เป็นพื้นฐานในการวางนโยบายและกำหนดเป้าหมายของชาติ
ในขณะเดียวกัน จีดีพี ไม่สามารถวัดสิ่งที่เป็นเชิงคุณภาพ เช่น ความสุขและความมีสวัสดิภาพที่ดีได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถวัดคุณค่าของการใช้เวลาว่างในการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การชื่นชมงานศิลปะ การชื่นชมธรรมชาติได้ เป็นต้น และจีดีพี ไม่นับรวมการทำงานทั้งหลายที่ไม่ได้รับเงิน เช่น งานบ้าน ทำกับข้าว ดูแลเด็ก คนชรา
ประเทศภูฎาน
ประเทศภูฎานได้สร้างแนวคิดใหม่ในการนิยามความเจริญก้าวหน้าแบบองค์รวม โดยการวัดความอยู่ดีมีสุขที่แท้จริงมากกว่าการบริโภคและกลายเป็นผู้นำในการเผยแพร่แนวคิดเรื่อง ความสุขรวมประชาชาติ (GNH : Gross National Happiness ) ซึ่งริเริ่มโดยกษัตริย์ จิกเม ซิงเย วังชุก ตั้งแต่วันที่ทรงขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1972 ทำให้ภูฎาน มีระบบเศรษฐกิจที่มุ่งรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมทางพุทธศาสนาของภูฎาน ไว้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ และแนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลกแนวคิดดังกล่าวประกอบด้วยเสาหลัก 4 ได้แก่


1. การมีเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง (economic self reliance)
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (environmental preservation)
3. การส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ (culture promotion)
4. การมีผู้นำที่ดีด้วยธรรมาภิบาล (good governance)
กลุ่มมูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Foundation- NEF)
ปัจจุบันมีหลายองค์กรที่ตระหนักถึงการมีชีวิตที่ดีของผู้คน และมองเห็นข้อบกพร่องของจีดีพี จึงพยายามพัฒนาตัวชี้วัดใหม่ขึ้นมา อาทิ ดัชนีโลกมีสุข (Happy Planet Index - HPI) ทำการศึกษาและวิจัยโดยกลุ่มมูลนิธิเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Foundation- NEF) มีการประกาศผลการจัดอันดับประเทศทั่วโลก ด้วยเกณฑ์ชี้วัดนี้เป็นครั้งแรกในปี 2550 New Economics Foundation (NEF) ได้กำหนดดัชนีความสุข (Happy Planet Index: H P I) ไว้
3 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย
1. ความพึงพอใจในการมีชีวิต
2. ความคาดหวังในชีวิต
3. การรักษาระบบนิเวศตามแบบฉบับเดิม
หรือเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
ดัชนีความสุข = ความพึงพอใจในการมีชีวิต + ความคาดหวังในชีวิต + การรักษาระบบนิเวศตามแบบฉบับเดิม
ดัชนีความสุข (Happy Planet Index =HPI) บอกว่า
1. คนจะมีความสุข สังคมจะอยู่เย็นเป็นสุขไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรโลกมากมายอย่างที่ใช้กัน
2. การพัฒนาที่สมดุลจะสร้างความสุขวันนี้ และมีเหลือให้ลูกหลานในวันหน้า นี่คือการพัฒนายั่งยืน
HPI ได้เสนอแนวทางไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุข โดยมีวิถีชีวิตอยู่ด้วยทรัพยากรที่จำกัด คือ
1. กำจัดความยากจนและหิวโหยให้หมดไป
2. สนับสนุนชีวิตที่มีความหมาย ซึ่งอยู่นอกจากงานซึ่งอาจไม่ได้ทำเพื่อเงินแต่ทำด้วยใจรัก
3. พัฒนานโยบายเศรษฐกิจในขอบเขตของทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ใช้เกินขีดจำกัด ทุกประเทศใช้เกินขีดจำกัดทั้งนั้น


เกณฑ์ในการพิจารณาหาดัชนี HPI ประกอบด้วย 7 หัวข้อสำคัญซึ่งประเมินทั้งทางปริมาณและคุณภาพ ดังนี้
1. ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
2. ความเข้มแข็งในการรักษาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
3. ความเข้มแข็งทางสุขภาพอนามัย
4. ความเข้มแข็งทางสุขภาพจิต
5. ความเข้มแข็งทางการทำงาน และสวัสดิการแรงงาน
6. ความเข้มแข็งทางสังคม ความปลอดภัย การหย่าร้าง ความขัดแย้งระหว่าง
พลเมือง กฎหมาย
7. ความเข้มแข็งทางการเมือง

ดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์ หรือ Human Development Index : HDI
องค์กรของสหประชาชาติ UNDP ได้พัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์ หรือ Human Development Index : HDI ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. การประเมินอายุเฉลี่ยของประชากร
2. ระดับความรู้หนังสือในแง่อ่านออกเขียนได้
3. รายได้เฉลี่ย
โดยคำนวณออกมาเป็นคะแนนหนึ่งถึงร้อย โดยประเทศที่มีคะแนนต่ำกว่า 50 ถือว่ามีการพัฒนาการของประชากรต่ำและหากมากกว่า 80 คะแนนก็ถือว่าสูง แต่ทว่า Human Development Index : HDI ก็มิใช่ดัชนีที่สมบูรณ์และยังมีข้อจำกัดในการวัดความอยู่ดีมีสุขของประชาชนในประเทศต่างๆ อยู่มาก

ตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย
ความอยู่ดีมีสุข
หมายถึง การมีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้ มีงานทำที่ทั่วถึง มีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ มีครอบครัวทีอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี และอยู่ภายใต้ระบบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ




องค์ประกอบของความอยู่เย็นเป็นสุข


แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society)คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
ดัชนีชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขอาจแบ่งได้ 3 ระดับ
1) ระดับสังคมไทย 2) ระดับชุมชน 3) ระดับครอบครัว/บุคคล
**** สรุป ****
การพัฒนาประเทศไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของคนและสังคมไทยร่วมกัน จำเป็นต้องให้ความสำคัญ ดังนี้
1. พัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรอบรู้และมีสุขภาพแข็งแรง
2. สร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลายประเภทอย่างทั่วถึง
3. เสริมสร้างครอบครัวให้มีความเข้มแข็งบนบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของครอบครัวไทย
4. ขับเคลื่อนการเสริมสร้างชุมชนท้องถิ่นและประชาสังคมให้เข้มแข็งต่อเนื่อง
ตารางแสดงการเปรียบเทียบประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก
การจัดอันดับ Happy Planet Index (HPI)
ปี ค.ศ.2006 ปี ค.ศ.2009
อันดับ 1 วานูอาตู
อันดับ 2 โคลัมเบีย
อันดับ 3 คอสตาริกา
อันดับ 4 โดมินิกา
อันดับ 5 ปานามา
อันดับ 6 คิวบา
อันดับ 7 ฮอนดุรัส
อันดับ 8 กัวเตมาลา
อันดับ 9 เอล ซา วาดอร์
อันดับ 10 เซนต์วินซองค์
อันดับ 11 เวียดนาม
อันดับ 17 ฟิลิปปินส์
อันดับ 23 อินโดเนียเซีย
อันดับ 31 จีน
อันดับ 32 ไทย
อันดับ 1 คอสตาริกา
อันดับ 2 โดมินิกัน
อันดับ 3 จาไมกา
อันดับ 4 กัวเตมาลา
อันดับ 5 เวียดนาม
อันดับ 6 โคลัมเบีย
อันดับ 7 คิวบา
อันดับ 8 เอล ซา วาดอร์
อันดับ 9 บราซิล
อันดับ 10 ฮอนดูรัส
อันดับ 41 ไทย

การจัดอันดับ Human Development Index (HDI)
ปี ค.ศ.2010 อันดับ 1 "นอร์เวย์“
สำหรับประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ที่สุดในโลกรองลงไป ได้แก่
อันดับ 2 ออสเตรเลีย อันดับ 3 นิวซีแลนด์
อันดับ 4 อเมริกา อันดับ 5 ไอร์แลนด์
อันดับ 6 เลคเทนสไตล์ อันดับ 7 เนเธอร์แลนด์
อันดับ 8 แคนนาดา อันดับ 9 สวีเดน
อันดับ 10 เยอรมัน อันดับ 92 ไทยแลนด์
จาก UNDP REPORT
ข้อมูลโดย พี่นก BEN10
---------------------------------------
Tai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น