วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

PA601: แนวข้อสอบ 4 (สรุปอีกที)

ทฤษฎีการบริหาร (Management Theory) ในภาพกว้างๆสามารถเรียงลำดับความพัฒนาการศึกษาแต่ละแนวคิดได้ ดังนี้
1. การศึกษาการบริหารแบบคลาสสิค (Classical management approach)
- การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management)
- การจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic management)
- การจัดการตามแบบหลักการบริหาร (Administrative management)

2. การศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral management approach)
- การศึกษาทางจิตวิทยาอุตสาหกรรม (industrial psychology approach)
- ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of needs theory) หรือทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ (Maslow'stheory of motivation)
- ทฤษฎี X และทฤษฎี Y

3. การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ (The quantitative management approach)
- ศาสตร์การจัดการ (Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ (Operation research)
- การจัดการปฏิบัติการ (Operations management)
- ระบบข้อมูลการจัดการ (Management System : MIS)

4. กลุ่มทฤษฎีการบริการ ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ (Recent development in managementtheory)
- ทฤษฎีระบบ (System theory)
- ทฤษฎีจัดการเชิงสถานการณ์ (Contingency theory)
- ทฤษฎี Z ของ Ouchi
- TQM : Total Quality Management
------------------------
กล่าวโดยสรุป
------------------------
@ ทฤษฎีการศึกษาการจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral management approach)
การบริหารเชิงพฤติกรรม จะมุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการทำความเข้าใจมนุษย์ถ้าผู้บริหารได้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลและปรับองค์การให้สอดคล้องกับพวกเขาแล้วความสำเร็จขององค์การก็จะตามมาเองการศึกษาทางจิตวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial psychology approach)

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of needs theory) หรือทฤษฎีการจูงใจของ มาสโลว์ (Maslow's theory of motivation) Abraham Maslow (1908-1970)
มาสโลว์ เป็นนักจิตวิทยาผู้เสนอแนวความคิดว่าบุคคลได้รับการกระตุ้นโดยความต้องการและจะกระทำเพื่อให้ได้รับการตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้นทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of needs theory) ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นตามลำดับ ตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานต่ำสุดไปถึงสูงสุด คือ
1) ความต้องการทางกายภาพ (Physiological needs)
2) ความต้องการความปลอดภัย( Safety needs)
3) ความต้องการทางสังคม (Social needs)
4) ความต้องการยกย่องชื่อเสียง ( Esteem needs)
5) ความต้องการความสมหวังและความสำเร็จของชีวิต(Self-actualization needs)

@ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ Douglas Mc (1906-1964)
ทฤษฎี X (Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้นไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน

ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบมีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงานแมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y

@ การศึกษาการจัดการเชิงปริมาณ (The quantitative management approach)
เป็นทัศนะการจัดการซึ่งนำเทคนิคทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือสถิติและข้อมูลมาเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาทางการบริหารจัดการ

ศาสตร์การจัดการ (Management science) หรือการวิจัยการปฏิบัติการ (Operation research) เป็นทัศนะการบริหารเชิงปริมาณซึ่งประยุกต์ใช้โมคณิตศาสตร์ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ผู้ตัดสินใจจะใช้หลักเกณฑ์เชิงปริมาณในการเลือกระหว่างทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะในการวางแผน

การจัดการปฏิบัติการ (Operations management) เป็นการบริหารซึ่งใช้เทคนิคเชิงปริมาณเพื่อปรับปรุงผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการเช่น การจัดการสินค้าคงเหลือ (Inventory management) เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ

ระบบข้อมูลการจัดการ (Management System : MIS) เป็นการบริหารจัดการที่มุ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล และการส่งข้อมูล เพื่อสนับสนุนหน้าที่การจัดการ เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

@ กลุ่มทฤษฎีการบริการที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลังๆ (Recent development in management theory)
ทฤษฎีระบบ (System theory)
ทฤษฎีนี้เป็นทัศนะการบริหารที่มองว่าองค์การเป็นระบบที่ดำเนินงานอยู่ในสภาพแวดล้อมหมายถึงการรวมกันของส่วนต่าง ๆ ที่ดำเนินงานอยู่ระหว่างกันเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันระบบองค์การจะดำเนินอยู่บนพื้นฐานของส่วนประกอบ 5 ส่วน คือ
1) ปัจจัยนำเข้า (Input)
2) กระบวนการเปลี่ยนแปลง (Transformation process)
3) ปัจจัยส่งออก (Outputs)
4) สิ่งป้อนกลับ (Feedback)
5) สภาพแวดล้อม (External environment)

@ทฤษฎีจัดการเชิงสถานการณ์ (Contingency theory)
การบริหารจัดการเชิงสถานการณ์ จะมุ่งเน้นการปรับปรุงพฤติกรรมทางการบริหารให้เข้ากับสถานการณ์ขององค์การความสำเร็จหลักของการบริหารจะถูกกำหนดโดยสถานการณ์ไม่มีกลยุทธ์การบริหารอย่างเดียวที่สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ทุกอย่าง

@ทฤษฎี Z คือ การบริหารงานแบบญี่ปุ่น ที่มีลักษณะเด่น 7 ประการ ได้แก่
1. การจ้างงานตลอดชีพ (Lifetime Employment) การจ้างงานลักษณะนี้ เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร และมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร คนที่อยู่ในบริษัท (องค์กร) นานๆ อาจได้รางวัล (reward) เป็นหุ้นของบริษัทด้วย
2. การประเมินผลงาน (Evaluation) เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาระดับสูง ที่จะต้องประเมินผลงานผู้ใต้บังคับบัญชา และผลงานดังกล่าวจะเกี่ยวกับระบบการจ่ายเงินโบนัส เป็นการให้รางวัลการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบและความสามารถ
3. การเลื่อนตำแหน่งแบบช้าๆ (Slow Promotion) มีความสัมพันธ์กับระบบการจ้างงานตลอดชีพ และระบบอาวุโส (Seniority System) ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน
4. การทำงานที่ถนัด (Non-Specialized Career Paths) พนักงานจะทำงานตรงกับความถนัด และความสามารถของตนเอง ไม่นิยมการสับเปลี่ยนตำแหน่งให้พนักงานได้ทำหน้าที่ต่างๆ ไปเรื่อยๆ (ไม่เห็นด้วยกับ Re-engineering ที่พนักงานจะทำงานหลายๆ อย่าง หรือสลับตำแหน่งไปเรื่อยๆ)
5. มีการควบคุมแบบไม่เด่นชัด (Implicit Control Mechanism) ใช้มากที่สุด คือ มักใช้การควบคุมที่ไม่เป็นทางการ โดยใช้สมุดคู่มือการปฏิบัติงาน การให้รายละเอียดหรือการอธิบายการทำงาน จะใช้วิธีบอกกล่าวมากกว่าเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
6. การร่วมตัดสินใจ (Collective Decision Making) ลักษณะของการบริหารที่มีการร่วมตัดสินใจ ปรากฏไม่เด่นชัด ยิ่งถ้าเป็นบริษัทข้ามชาติที่ร่วมทุนด้วยแล้ว การทำกิจกรรมในลักษณะที่เป็นกลุ่มๆ ยังไม่ค่อยแพร่หลาย
7. ความผูกพันทั้งหมด (Wholistic Concern) ผู้บริหารขององค์กรจะเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมไม่บ่อยครั้งมากนัก ยิ่งถ้าเป็นบริษัทข้ามชาติด้วยแล้วผู้จัดการจะเข้าร่วมกิจกรรมเป็นครั้งคราวเท่านั้น

ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมจากบลอกนี้นะ http://gotoknow.org/blog/sombatn-ednuqakm/99135
------------------------------------------
อ่านเถอะนะ อ่านเยอะๆ แล้วจะดีเอง
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น