วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

PA 609,709: องค์การและนวัตกรรมในองค์การ (โดยนก รป.ม.3/1 หัวหมาก)

PA 609 องค์การ และ นวัตกรรมในองค์การ (โดยนก รป.ม.3/1 หัวหมาก)
Orgarnization and the Innovation
สรุปโดย นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1
สุจิรา สรจิตต์ประเสริฐ
----------------------------------------
อาจารย์มีหัวข้อบรรยาย ในวิชานี้อยู่ 6 หัวข้อ
1. Orgarnization and the Innovation
2. Information Technology
3. Internet
4. Information System & Organization
5. Modern Orgarnization
6. IT Governance

1.Orgarnization and the Innovation
อาจารย์บอกว่า การพัฒนา และ บริหารจัดการ และมีแนวคิดบริหารจัดการองค์การอย่างไร ซึ่งองค์การจะอยู่
รอดได้ต้องมี
- องค์การต้องมีนวัตกรรมเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
- ระบบคุณภาพ เพราะทุกวันนี้มีการแข่งขันเรื่องมาตรฐานคุณภาพ เช่นหน่วยงานต้องการ ISO เพื่อยืนยันคุณภาพ และเมื่อมีคณุภาพแล้วมีทำให้ลูกค้าพอใจ และสามารถแข่งขันกับหน่วยงานอื่นได้
- พันธมิตรเครือข่าย เราทำกิจกรรมอะไรแล้วมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของเรา ทำธุรกิจอะไรก็ต้องมีพันธมิตร เช่น ม.ราม มีสถาบันคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแลระบบไอที ต้องควรมีพันธมิตรค่ายข่ายกับ ไมโครซอฟ จะทำให้ได้ราคาซื้อขายในราคาถูกลง
- ต้องมีสารสนเทศที่ดี และ จะต้องมีช่องการสื่อสารเข้าถึงคนที่เราต้องการที่จะสื่อสารสามารถเข้าถึงได้
2. Information Technology
- เป็นหัวข้อเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาสร้างสารสนเทศ
- เป็นหัวข้อเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ว่าประกอบด้วยอะไร
3. Internet
- ทุกวันนี้ Internet มีบทบาทต่อองค์การมากมาย การทำธุรกิจการติดต่อสื่อสาร
ทำให้ก้าวมาสู่เครือข่ายสังคมในการใช้ Internet ซึ่งในสังคมหรือคนจะมีหลายหลากทำให้มีทั้งข้อมูลชั้นดี และไม่ดี ที่อยู่ใน Internet จึงทำเกิดพรบ.คอมพิวเตอร์ออกมาเพื่อควบคุมการใช้เครือข่าย Internet
4. Information System & Organization
- สารสนเทศในองค์การ องค์การทุกองค์การต้องมีข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้ในการทำงานใช้ในการจัดการ องค์การต้องมีสารสนเทศโดยมีการแบ่งระดับ ของสารสนเทศ ระดับที่ 1 1TPS ระดับที่ 2 MIS
5. Modern Orgarnization
- วันนี้เทคโนโลยี เข้ามาช่วยบริหารจัดการองค์การอย่างไร ทุกวันนี้ ธุรกิจต้องผูกติดกับไอที ไอที ต้องคู่กับธุรกิจ
6. IT Governance
ต้องมีการตรวจสอบ ทั้ง ด้าน Buisiness Process กับ IT Process เช่น หากตรวจสอบแค่บัญชี ผ(Buisiness Process ) ก็อาจจะไม่รู้ว่ามีการทุจริต เราต้องควรตรวจสอบโปรแกรมบัญชีด้วยว่า อาจจะมีการเขียนโปรแกรมไว้ว่า หาก มีเศษสตางค์ 35 สตางค์ ให้โอนเข้าบัญชีส่วนตัว ก็เกิดทุจริตหลายครั้งก็ได้หลายบาท แล้ว ควรจะต้องมีการตรวจสอบได้โปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1
หัวข้อแรก ที่อาจารย์บรรยายคือ
Orgarnization and the Innovation
โดยแยกบรรยาย ระหว่าง Orgarnization กับ Innovation
ความหมายของ Orgarnization ตามที่อาจารย์ได้สอน สรุปย่อๆ ดังนี้
อาจารย์ได้ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า เป็นการรวมตัวของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
เกิดจากปัจเจกชนที่มีความหลายหลาก
แต่มีขีดความสามารถในการทำงานของปัจเจกชนมีข้อจำกัด
แต่ละคนก็มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน
ดังนั้นเราต้องเอาคนที่มีความรู้ความสามารถมารวมตัวกัน
เพื่อให้งานของแต่ละคนดำเนินไป
แนวความคิดทางการจัดการ แบ่งเป็น 5 ยุค สรุปย่อๆ ได้คือ
ยุคที่1 ยุคก่อนวิทยาศาสตร์ ลักษณะ คือ ใช้บทลงโทษกับพนักงาน , ใช้การบังคับ , เป็นแบบทาส
ยุคที่ 2 ยุคการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ลักษณะคือ ต้องการเน้นการเพิ่มผลผลิตให้ได้มากๆ โดยเริ่ม
มาเน้นการฝึกทักษะของคน ต้องการให้คนเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ใช้เวลาน้อยที่สุด มีการนำระบบสายพานเข้ามาช่วย จ่ายค่าแรงงานตามชิ้นงานที่ผลิตได้ ใครทำมากก็ได้มากใครทำน้อยก็ได้น้อย
ยุคที่ 3 แนวความคิดมนุษย์สัมพันธ์ ลักษณะคือเน้นคน คนมีชีวิตจิตใจ คนมีความต้องการ 5 ระดับ (ทฤษฎีของมาสโลว์)
ยุคที่ 4 ยุคของการจัดการเชิงปริมาณ บอกว่าการตัดสินใจในการทำงานควรมีการตัดสินใจร่วมกัน
ยุคที่ 5 ยุคขอการจัดการสมัยใหม่ เกิดแนวคิดทฤษฎีระบบ , ทฤษฎี x y z และ มีการพัฒนามาจนถึง KM (Knowledge Management ) อาจารย์ได้บอกว่า เราต้องทำองค์กรของเราเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก่อนเราถึงจะบริการจัดการองค์ความรู้ได้
คนที่มีความรู้ ต่อมาเขาไม่อยู่ในองค์กรแล้ว จะทำให้ความรู้ของคนนั้นหายได้ด้วย องค์กรควรนำความรู้นั้นมาเก็บไว้ในระบบ เพื่อให้คนอื่นมาต่อยอดได้ มาศึกษาได้
Knowledge จะมี 2 ประเภทคือ 1. Explicit คือ ความรู้ที่ได้มีการวิเคราะห์ ได้มีการวิจัย ได้มีการจดบันทึก ความรู้จากตำราต่างๆ สามารถเอามาปฎิบัติได้ 2.Tacit ความรู้ที่อยู่ในตัวคน สามารถที่เอาไปใช้ได้แต่ยังไม่มีใครนำบันทึก เป็นความรู้ที่เกิดจากความชำนาญจนทำงานได้เร็วขึ้น ตรงนี้ควรไปศึกษาเพิ่มเติม
ระดับการบริหาร ได้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1. ผู้บริหารระดับสูง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน
2. ผู้บริหารระดับกลาง ทำหน้าที่ควบคุมและติดตามการปฎิบัติงาน
3. ผู้บริหารระดับต้น ทำหน้าที่ ทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายไว้
Fayol ได้บอกว่าในการบริหารจัดการนั้นแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
1. planning : วางแผน กำหนดเป้าหมาย สร้างกลยุทธ์
2. organizing : จัดโครงสร้างที่ชัดเจน มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
3. controlling : การติดตามควบคุมว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่
4. leading : การสร้างแจงจูงใจ
อาจารย์บอกว่า การพัฒนาโครงสร้างขององค์กร เดิม เป็นแเบบ ปิระมิด มีโครงสร้างขององค์องค์กร ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ช้า
เมื่อมี ไอทีเข้ามาใช้ทำให้ โครงสร้างขององค์การเปลี่ยนไปคือแบนราบ ลดขั้นตอน รวดเร็วขึ้น ดังนั้นไอทีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์กร
กระบวนการจัดการ MODEL OF MANAGEMENT
สิ่งที่เราต้องการคือผลผลิต ซึ่งผลผลิตอาจจะออกมาในรูปผลิตภัณฑ์ สินค้า การบริการ ซึ่งกระบวนการดังนี้
INPUT ได้แก่ 4 M เมื่อโลกเปลี่ยนก็พัฒนามาเป็น 6 M จนเป็น 8 M บวกกับ T&T คือ T ตัวแรกคือ เทคโนโลยีเฉพาะด้านขององค์กร กับ เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับตัวที่ 2 คือ Timing
Process คือขบวนการบริหารจัดการซึ่งต้องมีประสิทธิภาพเพิ่อให้ผลผลิตตามเป้าหมาย ขบวนการบริหารจัดการได้แก่ planning : วางแผน กำหนดเป้าหมาย สร้างกลยุทธ์ organizing : จัดโครงสร้างที่ชัดเจน มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน controlling : การติดตามควบคุมว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ leading : การสร้างแจงจูงใจ
OUTPUT คือ สินค้า หรือการบริการ สิ่งที่ตามมาคือกำไร ที่จะได้รับ แต่ทุกวันที่ธุรกิจจะไม่วังแค่ผลกำไรสูงสุดเท่านั้น แต่ต้องการดูแลภาคสังคมด้วย CSR ประกอบด้วย สิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม แรงงาน การไม่ยอมการทุจริต วันนี้ธุรกิจเริ่มมีเปลี่ยนจะได้มีทั้งได้กำไรบวกความสุข Business Enterprice
ภารกิจของผู้บริหารหากแบ่งตามทักษะแล้ว จะมี 3 ระดับคือ
1. ทักษะด้านงานเทคนิค คือทักษะด้านการปฎิบัติงาน เช่นจบด้านบัญชีก็มีทักษะด้านบัญชี จบคอมฯ ก็มีทักษะด้านคอมฯ เป็นการทำงานเบื้องต้น
2. ทักษะด้านมนุษย์ เป็นทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร ในการทำงาน โดยมีการติดต่อ ทั้งผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และ เพื่อนที่อยู่ระดับเดียวกัน
3. ทักษะด้านมโนทัศน์ คือแนวคิดในการทำงาน เราควรมีแนวคิดในการทำงานมีการสร้างสรรค์งาน เพื่อการพัฒนา
สรุปได้ว่าหากเราเข้าทำงานใหม่ มีระดับทักษะด้านงานเทคนิค เมื่อเริ่มเป็นผู้จัดการ งานในหน้าที่ลดลง งานติดต่อสื่อสารมากขึ้น มีแนวคิดในการพัฒนางานมากขึ้น สามารถมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานได้ในระดับหนึ่ง หากเราก้าวไปดเป็นผู้บริหารต้องมีทักษะด้านความคิด มีนวัตกรรมอะไรใหม่ๆ ให้เราคิดพัฒนาองค์การ
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1

นวัตกรรม Innovation
องค์การจะอยู่รอดต้องมีนวัตกรรมเกิดขึ้น
ความหมายของนวัตกรรม หมายถึงวิธีการ หลักปฎิบัติ แนวคิด และสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ๆ ของบุคคล ที่นำมาใช้ในการปฎิบัติงาน ด้านต่างๆ
ทำให้เกิดกระบวนการ
1. การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่หรือปรับปรุงของเก่า ให้เหมาะสมกับสภาพงาน
2. มีการพัฒนาปรับปรุง โดยผ่านการทดลองหรือวิจัยจนมีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือได้
3. มีการนำไปทดลองใช้ในสถานการณ์จริงและปรับปรุงจนเกิดประสิทธิภาพ
วิธีคิดวิธีสร้างสรรค์นวัตกรรมมีอยู่ 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 เราต้องคิดสร้างสรรค์ คิดว่าต้องการทำนั้นทำนี่ Idea general ation
ขั้นตอนที่ 2 คิดว่าเราจะต้องมีการประเมินว่าทำออกมาแล้วผลจะเป็นอย่างไร จะกระทบอะไรหรือไม่ ดูความเป็นไปได้หรือไม่ เช่น จะทำให้การบริการดีขึ้นหรือไม่ ทำแล้วจะทำให้ผู้บริโภคจะรับได้หรือไม่ ระบบขนส่งจะเป็นอย่างไร ระบบการขายจะเป็นอย่างไร
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาขึ้นมาเป็นผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือการบริการ
ขั้นตอนที่ 4 นำไปใช้ทดลอง นำสินค้าไปขาย หรือ นำไปใช้งาน
สินค้าในที่นี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. สินค้าที่มีรูปร่าง จับต้องได้ ต้องมีการขนส่ง
2. สินค้าที่ไม่รูปร่าง จับต้องไม่ได้ ได้แก่ โปรแกรม ซอฟแวร์ สื่อเพลง ภาพยนต์ ซึ่งสามาถส่งผ่านการสื่อสารได้ ตกลงซื้อขายกันแล้ว ก็ส่งสินค้าผ่านมาให้ผู้ซื้อโดยส่งผ่านทางเครือข่ายการสื่อสาร
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสร้างนวัตกรรมให้มันเกิดในรูปสินค้า ที่ไม่มีรูปร่างได้ เราไม่จำเป็นต้องออกไปขายสินค้า เช่น การซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางเน็ต
ตัวขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดนวัตกรรม มีอยู่ 3ปัจจัยคือ
1. Buiness หน้าที่หลักคือ การเงิน การจัดการบัญชี บุคลากร ฯลฯ
2. Technology หน้าที่หลักคือ ออกแบบ สนับสนุนระบบอุตสาหกรรมการผลิต ฯลฯ
3. Human Values หน้าที่หลัก คือจิตวิทยา มนุษยวิทยา สังคมวิทยาฯลฯ
ซึ่งทั้ง 3 ส่วนเอื้อประโยชน์ต่อกัน ธุรกิจเมื่อนำไอทีมาใช้ ไอทีก็จะช่วยในด้านสนับสนุนด้านการผลิต Supply chain เมื่อคนนำไอทีมาใช้ ก็จะช่วยในการออกแบบสร้างสรรค์ พัฒนาสิ่งต่างๆ ปกติไอทีเป็นเครื่องมือให้คนเกิดแนวคิดมากมาย และ เมื่อธุรกิจนำคนมาใช้เกิดโครงสร้าง องค์การ ทีมงาน
ทั้ง 3 ส่วน เป็นแรงผลักดันทำให้เกิดนวัตกรรม
สรุปได้ว่า ตัวขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดนวัตกรรม คือ
การแข่งขันด้านราคา คิดนวัตกรรมก่อนก็สามารถกำหนดราคาได้ก่อนคนอื่น
เทคโนโลยี มันเกิดขึ้นแล้วมันเปลี่ยนแปลงเร็ว วันนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง 18 เดือน
จะมีการเปลี่ยนแปลงถึง 2 เท่า ราคาลดลงมาก
ความต้องการขอคน คนมีความต้องการหลากหลาย
สิ่งที่เราต้องการคือคนที่คิดสร้างนวัตกรรมใหม่ เราต้องจะต้องศึกษาตลอดเวลา เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับเราและองค์กร
และเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรแล้ว ก็จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน หรือเกิดแรงกดดันในองค์กรดัวนั้
1. บทบาทหน้าที่ของคนในองค์กร เนื่องจากเราต้องมีการฝึกทักษะในการใช้ ไอที จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน วิธีการทำงาน คนต้องไปศึกษาเพิ่มเติมให้มีทักษะเพิ่อรองรับกับไอที
2. โครงสร้างองค์กร ต้องเปลี่ยน เพราะคนที่มีหน้าที่ดูแล ไอที ต้องเข้ามาพัฒนาดูแลรับผิดชอบ ต้องมีการเพิ่มแผนก ไอที
3. กระบวนการจัดการต้องเปลี่ยน เมื่อมีไอทีมาช่วยก็จะทำให้เราทำงานได้รวดเร็วสะดวกขึ้น โดยมีระบบงานเข้ามาช่วย
4. กลยุทธ์ เมื่อมีการปรับเปลี่ยนทั้ง3ข้อ ดังนั้นกลยุทธ์ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้วย
กระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม
1. นวัตกรรมด้านกระบวนการ คือนวัตกรรมที่เกิดจากกระบวนการ ปรับกระบวนการให้มันดีขึ้น เช่น พัฒนานวัตกรรมแบบให้เกิดงานใหม่ เช่นการเข้าแถวรอคอย
2. นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ เช่นปรับโฉมเครื่องใช้ไฟฟ้า
3. นวัตกรรมด้าน รูปแบบธุรกิจ เช่น อยากกินเคเอฟซี ก็สั่งทางโทรศัพท์
Quality Assurance :เป็นแนวคิดของ Kano House Model
แนวคิดทางการบริหารอย่างมีคุณภาพ
ลูกค้าพึงพอใจในตัวสินค้า เพราะสินค้าที่มีคุณภาพ
สินค้ามีคุณภาพเพราะพนักงานมีความตั้งใจในการผลิต
การบริหารอย่างมีคุณภาพต้องมีเสาหลักอยู่ 3 เสาคือ
เสาแรก คือ เสาเทคนิค ทำหน้าที่ คิดวิเคราะห์ปัญหา ที่เกิดขึ้นในองค์กร รวบรวมวิเคราะห์ปัญหา โดยมีเครื่องมือ เช่น 7 QC
เสาที่สอง คือเสา Concepts เป็นเครื่องมือสำหรับพนักงาน โดยมีเครื่องมือ เช่น PDCA
เสาที่สาม คือเสาสำหรับผู้บริหาร เมื่อได้ข้อมูลจากเสาที่สองแล้ว ก็จะนำมาใช้ในการวางแผน เพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุงระบบในองค์การ เป็น policy
แต่เสาทั้ง 3 จะอยู่ได้ต้องมีฐาน ได้แก่
ฐานแรงจูงใจ เพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
ฐานเทคโนโลยี เราจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีเฉพาะด้าน และเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์กรควรมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่าคู่แข่ง เพื่อที่จะเกิดการได้เปรียบคู่แข่งขัน
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1


บทที่ 2
Information Technology ( สารสนเทศ + เครื่องไม้เครื่องมือ )หรือ (สารสนเทศที่เกิดจากเทคโนโลยี)
ความหมายของ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความรู้ในผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการดำเนินการใดๆ ที่อาศัยเทคโนโลยี ทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การรวบรวมและการนำข้อมูลมาใช้อย่างทันการ
เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งทางด้านการผลิต การบริการ การบริหาร และการดำเนินการ รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้
ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบ ทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม
ระบบสารสนเทศ และองค์การ มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง
ซึ่งระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์การจะต้องมีลักษณะที่สอดคล้อง
เป็นไปในทิศทางเดียวกับลักษณะขององค์การ
เพื่อจัดเตรียมระบบสารสนเทศ ให้กับ บุคลากรในองค์การ
ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สารสนเทศที่เกิดจากเทคโนโลยีประกอบด้วย
-ฮาร์ดแวร์ คือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
-ซอฟแวร์ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คำสั่งที่ทำให้ระบบตัวเครื่องมันทำงาน
-ข้อมูล
-และมีการเชื่อมโยงกันโดยผ่านเครือข่ายการสื่อสาร ก็จะได้ Information (หรือ Information คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล) สารสนเทศเป็นทรัพยากรสำคัญขององค์การ
-มีขั้นตอนการทำงาน
-คนเพื่อสั่งการให้ทำงานได้
ความสัมพันธ์ขององค์การ และระบบสารสนเทศ
1.องค์การต้องมีโครงสร้าง (มีการกำหนดหน้าที่การรับผิดชอบที่ชัดเจน)นอกจากนั้น องค์การต้องมีวัฒนธรรมองค์การ มีคุณธรรม จริยธรรม
2.องค์การต้องมีการบริหารการจัดการ ซึ่ง 4 หน้าที่หลัก
3.มี บทบาทของคนในองค์การ ต้องรู้ว่าใครมีหน้าที่อะไร ต้องจัดสรรคนเข้าทำงาน และแต่ละคนต้องรู้ว่าตัวเองมีหน้าที่อะไร
สารสนเทศที่ใช้ในองค์การมีหลายระดับ ได้แก่
TPS สารสนเทศที่เชิงรายงาน
MIS สารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการ
DSS สารสนเทศที่ใช้ในการสนันสนุนการตัดสินใจ
ESS สารสนเทศที่ใช้สำหรับผู้บริหารระดับสูง
-และเราจำเป็นต้องกำหนดระบบของเขตของสารสนเทศให้ชัดเจน ( system boundary )
-องค์การจะไปถึงเป้าหมายต้องมีสารสนเทศสนับสนุน โดยสารสนเทศต้องอยู่บนขอบเขตที่เรากำหนด
-บริษัทที่ผลิตสินค้าเองอยู่กี่แห่ง มีผู้ผลิตสินค้าเองกี่ราย สังคมต้องการมีมากน้อยแค่ไหน ระบบภาษีเป็นอย่างไร ระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างไร วัตถุดิบเป็นอย่างไร ซึ่งพวกนี้เราถือว่าเป็น External Information
ส่วนประกอบระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย
Input ผ่านกระบวนการ Process คือการ ประมวลผล โดยใช้โปรแกรม ซอฟแวร์เพื่อใช้ในการ ประมวลผล มีคนเพื่อใช้ในการประมวลผล มีที่เก็บข้อมูล มีเครื่องมือ และจะออกมาเป็น Output ผลลัพธ์ที่เป็น รายงาน กราฟ เสียง ฯลฯ และจะมี Feedblack กลับ เนื่องจากอาจเกิดปัญหา
ดูแล้วสิ่งที่ออกมามันไม่ถูก มันผิดเพราะเจ้าหน้าที่ใส่ข้อมูลผิด ใส่โปรแกรมผิด ฯลฯ ปัญหามันเกิดจากจากตรงไหน จึงนำกลับไปแก้ไข ปรับแก้ไขให้ถูกต้อง
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1

บทที่ 4 Information System & Organization ระบบสารสนเทศในองค์การ
-องค์การทุกองค์การต้องมีสารสนเทศ และ สารสนเทศที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องอาศัย ฮาร์แวร์ ซอฟแวร์ ข้อมูล ระบบเครือข่าย (communication)
ธุรกิจสมัยใหม่ ต้องดูสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องด้วย และเอาข้อมูลภายใน ข้อมูลภายนอกมาประกอบการพิจารณาเพื่อประกอบการวางแผน
ระบบสารสนเทศ มาใช้เพื่อการสนับสนุนในการทำงานของทุกหน่วย ทุกระดับ ในแต่ระดับมันมีปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน ดังนั้นต้องเอาสารสนเทศไปช่วยเขา เอาข้อมูลไปช่วยเขา เพื่อให้ปัญหามันลดลง
สารสนเทศที่นำมาใช้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1. สารสนเทศในเรื่องการสนับสนุนการทำงาน TPS เป็นสารสนเทศพื้นฐาน หรือ สารสนเทศเชิงรายการ เข้ามาที่ละรายการ เช่น ลูกค้าเขามาฝากเงิน ที่ธนาคารที่ละคน เราก็บันทึกทีละคน เราเรียกว่าสารสนเทศเชิงรายการ ใช้กับกลุ่มคนทำงาน เจ้าหน้าที่เคาท์เตอร์ เจ้าหน้าที่รับลงทะเบียน
2. สารสนเทศในการสนับสนุนการบริหารงาน ซึ่งเมื่อข้อมูลที่เขามาทุกวัน เราก็เอามารวมกันแล้ว ก็ไปผ่านระบบ ได้แก่
ระบบ MIS คือระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการ เช่น เมื่อได้ข้อมูลเข้ามาก็สามารถนำไปจัด สอบของมหาวิทยาลัยได้
ระบบ DSS คือระบบสารสนเทศใช้ในการสนับสนุนในการตัดใจ ในการทำงานขององค์กรทุกหน่วยงานก็มีปัญหา จึงต้องใช้ระบบ DSS เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยแต่ละฝ่าย
ระบบ EIS คือระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับสูง เมื่อผุ้บริหารได้ข้อมูลตรงนี้สามารถนำมาปรับย้ายฐาน เปลี่ยนผลผลิต เช่น ดูข้อมูลแล้วเห็นว่าไทยค่าแรงแพงก็ย้ายไปเวียดนาม
(ระบบสนันสนุนการบริการนี้ใช้ในการสนับสนุนผู้บริการตั้งแต่ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง
และไม่ว่าจะมีกี่ฝ่ายกี่แผนก ทุกแผนกต้องมี TPS )
เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ ต้องการ สารสนเทศ TPS ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเครื่องจักร ว่าเครื่องจักรจะควบคุมอย่างไร วัตถุดิบจะต้องใส่อะไร จำนวนเท่าไร เมื่อหมดแล้วต้องไปเบิกตรงไหน
กลุ่มที่มีความรู้ในการใช้เครื่องไม้เครื่องมือในเรื่องการออกแบบ ออกแบบในเรื่องผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพราะเขาใช้เครื่องมือเป็น หากเป็นบัญชีก็ทำหน้าที่วิเคราะห์บัญชี วิเคราะห์การเงิน
ผู้จัดการฝ่ายผลิต จะวางแผนการผลิต ดูว่าวัตถุดิบเพียงพอหรือไม่ ขณะที่หน่วยงานให้ผลิต 1,000 ชิ้น ดูว่าวัตถุดิบ แต่ละประเภทเป็นอย่างไร วางแผนการผลิตให้ได้ตามเป้าตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ ติดตามและประเมิน
ผู้บริหารระดับสูง ดูแลอำนวยความสะดวก ดูว่าเครื่องจักรที่มีอยู่เพียงพอต่อการผลิตหรือไม่ พื้นที่ไม่เพียงพอต่อการเก็บหรือไม่
สำหรับฝ่ายขาย เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย จัดทำคำสั่งซื้อ สำหรับผู้จัดการฝ่ายขาย ต้องการวิเคราะห์ว่าสินค้าขายที่ไหนดี
วิเคราะห์ราคาสินค้า
ชนิดการตั้งสินใจ
การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง คือการตัดสินใจเป็นไปตามระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา ข้อบังคับ ของหน่วยงาน เช่น รับสมัครนักศึกษา ปรากฎว่า ผู้สมัครเอาเอกสารมาไม่ครบ เจ้าหน้าที่รับสมัครไม่สามารถรับสมัครได้ ต้องเอามาครบตามระเบียบ เป็นการตัดสินใจของผู้ปฎิบัติงานโดยใช้สารสนเทศ TPS
การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจตามระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา ข้อบังคับ ของหน่วยงานส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งละไว้ เพราะมีอำนาจเป็นผู้จัดการ หัวหน้าฝ่าย หัวหน้าแผนก เจ้าหน้าที่เคาท์เตอร์รับไม่ได้ ไปหาผู้จัดการ อาจจะให้สมัครได้แต่ต้องเอามาวันพรุ่งนี้ ใช้สารสนเทศ MIS , DSS ( ผู้บริหารระดับกลาง ผู้จัดการ มีรูปแบบการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง )
ผู้บริหารระดับสูง เมื่อได้รับข้อมูล EIS ,DSS จะมีการตัดสินใจ แบบไม่มีโครงสร้าง เมื่อเห็นว่า สินค้าตัวเดิมหรือ ตลาดเดิมขายไม่ได้ ก็เปลี่ยนหาสินค้าตัวใหม่เข้ามา เนื่องจากเขาเป็นเจ้าของกิจการ
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1

7. Modern Orgarnization
เมื่อโลกเปลี่ยน องค์กรก็ต้องเปลี่ยน เราอาจเอาคอมพิวเตอร์ตัวเดิม ปรับหาวิธีคิดให้มันใช้งานได้สะดวกขึ้น
อดัม กรีนสแปน บอกว่า อินเทอร์เน็ต กำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบเศรษฐกิจของโลก
เรียกว่า เศรษฐศาสตร์เครือข่าย และเป็นระบบการค้าที่ไร้พรมแดน
Peter f Drucker Guru of Guru แห่งการจัดการสมัยใหม่ เชื่อว่า จะก่อเกิดการปฎิวัติครั้งสำคัญ โดยมีเทคโนโลยีและสารสนเทศ เป็นตัวขับเคลื่อนและส่งผลให้โฉมหน้าของอำนาจเปลี่ยนไป จากอำนาจทุน เป็น อำนาจความรู้
เราต้องมีความรู้ เป็นคนที่มีความคิด ทำให้เกิดปัญญา
โลกาภิวัตน์ คือผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็น ถึงการเจริญเติบโต ของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วโลก
เดิมเชื่อว่าโลกว่าโลกกลม ยุคที่โคลัมบัส ค้นพบอเมริกา ได้นั้น เชื่อว่ามีระบบคมนาคมที่ดี ระบบการเดินทางสะดวกขึ้น ทำให้วัฒนธรรมจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง จึงถือว่าเป็นการเกิดโลกาภิวัฒน์ ยุคแรก โดยยุคนี้เป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคม จึงมีแนวคิดว่า ประเทศของฉันจะแข่งกับประเทศอื่นได้อย่างไร ประเทศไหนแข็งแรงก็ได้เปรียบ ยูโรปก็จะมาล่าอาณานิคมจากประเทศที่เล็กกว่า
ในยุคที่ 2 อยู่ในยุดช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มีการปฏิวัติอุสาหกรรม เป็นยุคที่มีเครื่องมือเครื่องไม้สะดวกขึ้น มีรถไฟ มีเรือ สื่อสารคมนาคมที่ดี ทำให้การสื่อสารวัฒนธรรมจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งได้เร็วขึ้น โดยบอกว่าเราจะสร้างบริษัทในต่างประเทศได้อย่างไร
ในยุดปัจจุบัน ในโลกมีการสื่อสารเร็วขึ้น เมื่อโลกแบนราบ ปัจเจกชนเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้เร็ว โดยบอกว่าเราจะแข่งกับคนในโลกได้อย่างไร เป็นเรื่องคนกับคน
ในโลกของอินเทอร์เน็ตมันเร็วมาก ใครสามารถคิดค้นอะไรได้ก่อนก็จะทำให้สามารถสร้างคุณค่าให้กับตัวเองได้
โทมัส ฟรีดแมน บอกว่าโลกแบน ประการที่ 10 ที่ทำให้โลกแบนคือ The Steroids โดยมี 4 ตัวคือ
Digital สามารถส่งข้อมูลได้เร็ว และไม่ผิด
Mobil เราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เราไม่จำเป็นต้องทำงานที่ออฟฟิค
Personal มันมีความเป็นส่วนตัว ไม่มีใครมารบกวน
Virtual มันเป็นโลก ที่มีห้องเรียนโดยผ่านอินเทอร์เน็ต
ความรู้มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะข้อมูลมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
สารสนเทศมันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สารสนเทศมันมีข้อมูลเต็มไปหมดไม่รู้ว่าอะไรมันผิดมันถูก ต้องวิเคราะห์
เมื่อโลกเจริญขึ้นการเคลื่อนย้ายคนสะดวกขึ้นแต่เราไม่ต้องเคลื่อนย้ายคน
การเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ คนทำงานจากอีกที่ก็สามารถสื่อสารผ่านศูนย์ไอทีที่ใหญ่ในโลก เช่นที่อินเดีย
The Three of Business Pressure
แรงกดดันที่ทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลง
Business Environment (Pressures)
แรงกดดัน หรือ แรงผลักดัน ที่ทำให้องค์กรเปลี่ยน มี 3 ประการคือ
1.Economic (market) เศรษฐกิจ และแรงงาน
Global economy and strong competition
วันนี้ตลาด(เศรษฐกิจ)โลก มันมีการแข่งขันที่สูง
Need for real-time operations
ผู้บริโภคมีความต้องการลักษณะ real time เช่น ถามอะไรต้องตอบทันที หรือส่งเครื่องไปต้องซ่อมทันที หรือ ส่งข้อมูลอะไรไปต้องตอบทันที
Changing workforce
แรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แรงงานมีการย้ายโอนไป แต่ไม่จำเป็นต้องย้ายตัวบุคคลไป
Powerful customers
ผู้บริโภคมีความสามารถซื้อสูงขึ้น ผู้บริโภคมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพราะเข้าถึงข้อมูล เช่นอยากซื้อตู้เย็นก็ ดูจาก อินเตอร์เน็ตได้ว่าอันไหนถูก
2.Societal ,Poitical , Legal สังคม การปกครอง กฏหมาย
Terroist attacks and homeland security
การโจมตีก่อการร้าย และการรักษาความปลอดภัย ความปลอดภัยในชุนชน เพราะผู้ก่อการร้ายก็นำไอทีไปใช้ในการก่อการร้าย
Ethical issues
ปลูกฝังจริยธรรม วันนี้จริยธรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ทุกวันนี้พยายามลักลอบขโมยข้อมูล
Compliance with government requlations and deregulations
การปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย กฎหมายออกไม่ทันกับเทคโนโลยี ที่มีการปรับเปลี่ยน วันนี้มือถือสามารถดูทีวีได้ กฎหมายก็ออกไม่ทัน พรบ.คอมฯ ทำให้สังคมเรียบร้อยขึ้น
Social responsibility
ความรับผิดชอบต่อสังคม ตอบสนองภาคสังคม ซึ่งทุกวันนี้สังคมต้องการภาคธุรกิจ หรือองค์กรทั้งหลายดูแลสังคมอย่าเอาเปรียบสังคมต้องมี CSR ( Corporate Social Responsibility ) ธุรกิจอย่าทำกำไรอย่างเดียว ธุรกิจต้องดูในเรื่องสิทธิมนุษย์ชน ดูในเรื่องแรงงาน ดูในเรื่องสิ่งแวดล้อม ดูในเรื่องการไม่ยอมรับการทุจริต
3.Technology
Information overload
ข้อมูลเกินพิกัด คือ วันนี้ข่าวสารดูง่ายนิดเดียว และรวดเร็วสามารถสื่อสารได้ทั่วโลก ข่าวสารมัน เยอะ สามารถทราบข่าวสารได้ทั่วโลก ช่องทางการในการรับส่งข้อมูลมีมากมาย แต่ไม่ทราบว่าข่าวสารนั้นมันถูกหรือผิด ผู้รับข้อมูลเองเมื่อได้รับข้อมูลต่างๆ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับด้วย
Technological innovation and obsolescence
เทคโนโลยี นวัตกรรม เนื่องจากเทคโนโลยี มีการพัฒนาเร็ว สิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้ หรือ นวตกรรมที่เกิดขึ้นหรือถูกสร้างวันนี้มันอายุสั้น อายุการใช้งานยังไม่หมด แต่อายุของ innovation มันหมด เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีมันเร็วมาก เช่น การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเทคโนโลยีทุกวันนี้มันพัฒนาเร็ว
ฉะนั้นสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ คือ Organization Performance Responses ทำช่องทางองค์กรของเราให้รองรับ หรือ มีสมรรถนะในการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจาก 3 องค์ประกอบข้างต้น ดังนั้นเรา ต้องสร้างสมรรถนะองค์กรให้เกิดขึ้นเพื่อที่จะผลักดันหรือตอบสนองธุรกิจ สิ่งที่ต้องทำคือเอาไอทีเข้ามาช่วย เพราะไอทีจะทำให้การทำงานเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพในการนำไอทีเข้ามาช่วยนั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือด้านล่าง คือการดำเนินงาน ระบบการเงิน ระบบบัญชี ระบบบุคลากร และเราต้องมีระบบ KM หรือ การจัดการความรู้ ซึ่งเป็นระบบด้านหลังของหน่วยงาน และ เวลาติดต่อภาคประชาชนต้องมีระบบดูแลลูกค้า CRM (Customer Relationship Management) คือระบบลูกค้าสัมพันธ์ ระบบดูแลลูกค้า 2 ระบบทำให้องค์กรอยู่รอด
นอกจากนั้นถ้าต้องการให้งานดำเนินการสะดวกขึ้นต้องใช้ระบบ OAS ( Office Automation Systems ) หรือ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ มาช่วยทำให้องค์กรอยู่รอด
วันนี้องค์กรจะอยู่ได้ต้องมีนวัตกรรม ระบบคุณภาพ ระบบพันธมิตรและ ระบบสื่อสาร ต้องมีช่องทางสื่อสารที่แข็งแรง
Electronic commerce พาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์
Strategic systems ระบบเชิงกลยุทธ์
Customer focus and service(CRM) self-service ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ทำให้สะดวกขึ้น เน้นการบริการลูกค้าและบริการตนเอง
Continuous improvement efferts ( just-in-time, total quality management ),KM, ERP ความพยายามพัฒนาต่อเนื่อง
Business process restructuring and management (BPM) การปรับโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจและการจัดการ
Intelligent data management การจัดการข้อมูลอัจฉริยะ
On-demand made-to-order mass customization ตามความต้องการสั่งทำ ตามจำนวนมาก เพื่อการปรับแต่ง
Better data management การจัดการข้อมูลที่ดีกว่า
Business allances
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1
สรุป ในการเขียนสอบ วิชา PA 609 ส่วนของตัวเอง เห็นว่าควรจะเรียบเรียงในการตอบดังนี้
1. หัวข้อแรก ควรจะบอกถึงความหมายของสารสนเทศ สักหน่อย
2. หัวข้อที่สอง ควรจะบอกถึงว่าหน่วยทำไมต้องมีสารสนเทศ (แรงผลักดัน ที่ทำให้เกิดสารสนเทศ)
3. หัวข้อที่สาม ควรจะบอกถึง เมื่อเอาสารสนเทศมาใช้ มันมีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร
4. หัวข้อที่สี่ ควรจะบอกถึง การเอาสารสนเทศมาใช้ มันมีเครื่องมือการบริหารอะไรบ้าง และเมื่อเอามาใข้แล้วมันมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร (ผลกระทบ)
5. สรุป
นก รปม.หัวหมาก รุ่น 3 ห้อง 1 โชคดีจ๊ะ
------------------------------
Tai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น