วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

PA603: HEADICE : หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 7 ประการ

PA603: หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล
สรุปบทเรียน จาก ดร.สุขุมรัฎฐ์ สาริบุตร
--------------------------------------------------
หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) 6 ประการ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) เพื่อส่วนรวม สังคมยอมรับ และเต็มใจปฏิบัติ เป็นหลักที่ถือเป็นกฎ กติกาในสังคมที่ทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้อง มีระบบลงโทษที่เหมาะสม รวมทั้งมีการบังคับใช้ที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน จะช่วยควบคุมการใช้อำนาจของรัฐให้เป็นไปอย่างชอบธรรม พร้อมกับช่วยคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดโดยการใช้อำนาจรัฐ

2. หลักคุณธรรม (Ethic) สำหรับเจ้าหน้าที่และข้าราชการให้มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นการพัฒนาให้บุคลากรของภาครัฐยึดมั่นในความถูกต้อง การส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นผู้ที่มีความซื่่อสัตย์ มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริต ทั้งนี้ เพราะระบบคุณค่าและค่านิยมต่างๆ ในระบบราชการจะเป็นปัจจัยกำหนดพฤติกรรมของข้าราชการ และชี้นำวิธีการให้บริการแก่ประชาชนด้วย

3. หลักความโปร่งใส (Transparency) โปร่งใส ตรวจสอบได้ การทำงานที่เปิดเผยและสามารถตรวจสอบได้ จะส่งผลให้การทุจริต คอรัปชั่นและความด้วยประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการลดลง และทำให้ข้าราชการมีความรับผิดชอบต่อการทำงานและผลของงาน มีการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเป็นธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติโดยรวมมากขึ้น

4. หลักการมีส่วนร่วม (Public participacy) ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมจึงเป็นกระบวนการที่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ดังนั้น การมีส่วนร่วมจึงเป้นการสื่อสารสองทาง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังความเห็นซึ่งกันและกันระหว่างรัฐกับประชาชน ในขณะเดียวกันจะก่อให้เกิดกระบวนการติดตาม ตรวจสอบนโยบายและการดำเนินงานของรํบให้ดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

5. หลักความสำนึกรับผิดชอบ (Responsibility) เจ้าหน้าที่และข้าราชการต้องร่วมกันรับผิดชอบในงานที่ทำ เป็นกระบวนการทำงานที่จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ความสำนึกรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานจะต้องมีลักษณะสำคัญ 6 ประการ คือ การมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน การปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการพฤติกรรมที่ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการรับผิดชอบ การทำงานอย่างไม่หยุดยั้ง การมีแผนสำรอง และการติดตามประเมินผลการทำงาน

6. หลักความคุ้มค่า (Effectiveness) การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ คือ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และความีภูมิคุ้มกัร ทนต่อการเปลี่ยนแปลงภายในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า โดยยึดถือประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุดในการทำงาน

ซึ่งหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 เรื่องดังกล่าว จะนำไปสู่ความมุ่งหมายให้บรรลุเป้าหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (HEADICE) 7 ประการ ได้แก่

1. ปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (Happiness you can drink) ซึ่งได้แก่ การบริหารราชการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและพยายามมุ่งให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกต่อการพัฒนาชีวิตของประชาชน

2. ปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ (Archievement) ได้แก่ การบริหารเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ตรงตามวัถุประสงค์ที่วางไว้โดยมีการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และการจัดทำข้อตกลงว่าด้วยผลงานในทุกระดับ

3. ปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (Efficiency) ได้แก่ การบริหารที่จะต้องพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้ากับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยสามารถวิเคราะหืความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของแผนงานหรือโครงการต่างๆ เทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ รวมทั้งจัดระบบการวางเป้าหมายการทำงาน และวัดผลงานของแต่ละบุคคลที่เชื่อมโยงกับระดับองค์การ

4. ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Decrease in steps) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ได้แก่ การกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานและการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ เพื่อให้การปฏิบัติงานเสร็จสิ้นที่จุดบริการใกล้ตัวกับประชาชน รวมทั้งการปฏิบัติงานในรูป one-stop service
5. ปรับปรุงงานให้ทันสมัยต่อสถานการที่เปลี่ยนแปลง (Improvement) เป็นการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์ ได้แก่ การทบทวนและปรับปรุงกระบวนการ และขั้นตอนการทำงานใหม่อยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นต้องทบทวนลำดับความสำคัญและความจำเป็นของแผนงานและโครงการทุกระยะ การยุบเลิกส่วนราชการที่ไม่จำเป็นและการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์อยู่เสมอ

6. อำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความความต้องการของประชาชน (Convenience & Responsiveness) ได้แก่ การปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นถึงความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการเป็นหลัก โดยมีการสำรวจความต้องการของประชาชน และความพึงพอใจของผู้รับบริการในหลากหลายวิธีและเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติราชการต่อไป

7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ (Evaluation) ได้แก่ การตรวจสอบและวัดผลการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดระบบการควบคุมตนเอง ซึ่งจะทำให้สามารถผลักดันการปฏิบัติงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--------------------------------------------------
สรุปโดยย่อๆ ก็ตามนั้น แต่เนื้อหาสรุปจากแหล่งอื่นๆ ก็ตามนี้
http://eservices.dpt.go.th/eservice_6/ejournal/28/28-09.pdf?journal_edition=28
และ
http://actboard.129jump.com/viewthread.php?tid=2033
--------------------------------------------------

การนำหลักการบริหารการจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาลมาใช้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย เพราะหลักธรรมาภิบาลก็คือ การบริหารที่สามารถตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม

การประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหาร
การบริหารงานในรูปแบบของธรรมาภิบาลนั้น จะเน้นที่การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคง ไม่ล้มละลาย ไม่เสี่ยงต่อความเสียหาย พนักงานมีความมั่นใจในองค์การว่าสามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ในระยะยาว การนำธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารนั้น เพื่อให้องค์การมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากสังคม ได้แก่
1) ความรับผิดชอบตรวจสอบได้
ความรับผิดชอบ คือ บุคคล องค์การ และผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะเกี่ยวกับการกระทำ กิจกรรม หรือการตัดสินใจใดๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสาธารณะ ความรับผิดชอบที่กล่าวมา หมายถึง การเปิดผยข้อมูล การมีความยุติธรรม ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค และตรวจสอบได้ โปร่งใส และดำเนินการภายใต้กรอบของกฏหมาย
2) ความโปรงใส
ความโปร่งใน หมายถึง การตัดสินใจและการดำเนินการต่างๆ อยู่บนกฎ ระเบียบชัดเจน การดำเนินงานของรัฐบาลในด้านนโยบายต่างๆ นั้น สาธารณะชนสามารถรับทราบ และมีความมั่นใจได้ว่า การดำเนินงานของรัฐนั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของนโยบาย
3) การปราบปรามทุจริตและการประพฤติมิชอบ
การที่องค์การภาครัฐใช้อำนาจหน้าที่ หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในทางส่วนตัว เหล่านี้ถือเป็นการทุจริต และการประพฤติมิชอบทั้งต่อองค์การภาครัฐและองค์การในภาคเอกชน การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและการทำให้เกิดความโปร่งใส รวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามการฉ้อฉลและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
4) การสร้างการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจดำเนินนโยบาย มีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานของสถาบัน การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบและเรียกร้องในกรณีที่เกิดความสงสัยในกระบวนการดำเนินงานของรัฐได้เป็นอย่างดี
5) การมีกฎหมายที่เข้มแข็ง
ธรรมาภิบาลมีพื้นฐานการดำเนินการอยู่บนกรอบของกฏหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ มีการให้ความเสมอภาคเท่าเทียม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีกฏหมายที่เข้มแข็ง มีการระบุการลงโทษที่ชัดเจน และมีผลบังคับใช้ได้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครอง เพื่อป้องกันการละเมิดหรือฝ่าฝืน การมีระบบกฏหมายที่ดีจะส่งเสริมการปกครองตามหลักนิติธรรม
6) การตอบสนองที่ทันการ
ธรรมาภิบาล หมายถึง การให้การตอบสนองที่ทันการต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในเวลาที่ทันการ
7) ความเห็นชอบร่วมกัน
สังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ธรรมาภิบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานความต้องการที่แตกต่าง ให้อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมและขององค์การเป็นหลัก
8) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลักธรรมาภิบาลนั้น ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า
9) ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง
หลักธรรมาภิบาลจะเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การ รู้สึกมีส่วนร่วมหรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์การ บุคคลสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลักที่จะช่วยสร้างความเติบโตให้กับหน่วยงาน

*** อย่าลืมสรุปส่งท้ายแบบประทับใจ ***
--------------------------------------------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น