วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

PA617/717: สรุปเศรษฐกิจ การเมือง และการบริหาร

อ่านสรุป อ.สุรพงษ์ฯ โดยคุณครูน้องตาล ที่นี่ อ่านเรื่อง Soft power ได้จาก ลิงค์นี้ หรือ ที่นี่
-------------------------------------------------------------------
แนวข้อสอบ ดร.สุรพงษ์ฯ (เท่าที่พอจำได้ลางๆ)
1. จากที่ได้ศึกษาแนวคิดด้านการเมืองของ Aristotle ให้อธิบายความเป็นมาของการเมือง รวมทั้ง องค์ประกอบ แลความสำคัญในเชิงวิชาการโดยละเอียด
2. ให้เลือกนโยบายสาธารณะ 2 นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน แล้วเสนอแนวคิดว่ามีข้อดีข้อเสีย รวมทั้งความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ
-------------------------------------------------------------------
สรุป 30 กันยายน 2554
อาจารย์สุรพงษ์ ชัยนาม
อดีตเอกอัครราชฑูตเวียดนาม โปรตุเกส กรีซ เยอรมัน และแอฟริกาใต้
-------------------------------------------------------------------
สรุปเนื้อหา PA617/717: อ.สุรพงษ์ ชัยนาม
---------------------------------------
เนื้อหาที่บรรยายประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่
1.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2.โครงสร้างของอำนาจในแต่ละยุค แต่ละสมัยของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.มิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับผลประโยชน์ระหว่างประเทศและอำนาจ
4.นโยบายต่างประเทศหรือการฑูต
5.ASEAN (สมาคมเพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค)
6.เศรษฐศาสตร์การเมืองหรือเศรษฐกิจการเมือง
---------------------------------------
1.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและความร่วมมือ หรือสงครามและสันติภาพระหว่างประเทศ โดยมีอำนาจและผลประโยชน์เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายและท่าทีของแต่ละประเทศ เป็นปรากฎการณ์ประจำที่เกิดขึ้นเสมอๆ โดยอำนาจเกิดจากทรัพยากรของประเทศ ได้แก่ ทหาร ศักยภาพของคนในประเทศ และอื่นๆ

อนาธิปไตย (Anarchic World) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าสมัยใด คือ ตัวใครตัวมัน ไม่ขึ้นต่อใคร ใน 193 ประเทศทั่วโลกนี้ ไม่มีประเทศไหนสั่งการหรือบงการให้อีก 192 ประเทศทำตามได้ นั่นคือ
- ไม่มีตำรวจโลก
- ไม่มีรัฐบาลโลก
- เรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติเป็นปัจจัยชี้ขาดในการกำหนดนโยบายและท่าที

ทุกประเทศต่างดูแลผลประโยชน์และความมั่นคงปลอดภัยของตนเอง ธรรมชาติของประชาธิปไตยต้องมีความขัดแย้งเสมอ

พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกิดจากแนวคิด 3 สำนัก ได้แก่
-----------------------------------------------------------------
1) สัจจนิยม (Realism) เชื่อว่ารัฐ(รัฐบาล)เท่านั้นที่จะชี้ขาดทุกอย่างว่านโยบายจะเป็นอย่างไร ท่าทีของประเทศจะเป็นอย่างไร ส่วนตัวแสดงอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบย่อยๆ อยู่ภายใต้กรอบนโยบายของรัฐ

การวิเคราะห์หรือประเมินว่า ประเทศใดมีพฤติกรรมอย่างไร ให้ดูที่ธรรมชาติของมนุษย์ เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่ตายตัว มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายหรือท่าทีของแต่ละประเทศ เพราะรัฐบาลก็คือมนุษย์ และมนุษย์มีกิเลศและตัณหา

รัฐ ประกอบด้วย ดินแดนหรืออาณาเขต ประชากร รัฐบาล และทรัพยากร

โดยธาตุแท้แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจากการต่อสู้เพื่อผลประเทศของประเทศ โดยมีกลไกควบคุมไม่ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด คือ ทำให้เกิดการถ่วงดุลย์ระหว่างกันและกัน จึงเกิดเครื่องช่วยดูแลผลประโยชน์ของประเทศขึ้น ได้แก่ กำลังทหาร การสร้างพันธมิตร อแนวร่วม และการรวมกลุ่ม

2) เสรีนิยม (Liberalism) เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ทุกคนล้วนมีเหตุมีผล ไม่เห็นแก่ตัวไปทุกเรื่อง เมื่อรู้ว่าตนเองผิดพลาดก็พร้อนมที่จะปรับปรุงแก้ไขหรือประณีประนอมโดยมีเหตุมีผล และให้ความสำคัญกับอิทธิพลความคิดของมนุษย์ โดยไม่พึ่งการใช้กำลัง ใช้คิดคิดเสมือนเป็นอาวุธ
- มองความสัมพันธ์ว่า ไม่ใช่เป็นความขัดแย้ง
- โดยธรรมชาติของมนุษย์มีโอกาสทำชั่วมากกว่าทำดี

ดังนั้น รัฐจึงเป็นหลักในการกำหนดนโยบาย แต่ส่วนอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกัน ได้แก่ ภาคประชาสังคม ซึ่งรัฐจะเข้าแทรกแซงหรือบงการไม่ได้เรียกหลักการนี้ว่า การมีส่วนร่วม (รัฐ+ประชาสังคม) ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างประเทศ

สรุป: แนวคิดนี้มาจากความคิดที่มองว่า มีความซับซ้อนเกี่ยวกับการต่อรองระหว่างประเทศ มีตัวแสดงที่หลากหลาย (รัฐ+ประชาสังคม) มองการสร้างระเบียบโลกใหม่ว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการปฏิสัมพันธ์ในหลายๆ ระดับ (ภาครัฐ เอกชน การศึกษา NGO สื่อมวลชน ฯลฯ) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีประเพณีหรือค่านิยมร่วมกัน มีกฎข้อบังคับร่วมกัน มีองค์กรหรือสถาบันระหว่างประเทศ เน้นส่งเสริมความร่วมมือกัน

3) มาร์กซีส (Marxist) มองเรื่องของความขัดแย้งระหว่างประเทศ ว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เกิดจากชนชั้นเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความขัดแย้ง (นายทุน และกรรมาชีพ) โดยชนชั้นไม่มีเชื้อชาติ สัญชาติ หรือประเทศในระดับโลกจะอยู่ภายใต้ความครอบงำของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คือ ทุนนิยมโลก ทั้งชนชั้นนายทุนและกรรมาชีพจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลกันและกัน

มนุษย์ในสังคมพัฒนามาจากระบบทาส --> ศักดินา --> ทุนนิยม --> คอมมิวนิสต์

ทุนนิยม มองการสะสมทุนและแสวงหากำไร

เมื่อทั้งสองชนชั้นมีความขัดแย้งมากขึ้น ก็จะนำไปสู่การปฏิวัติ แล้วนำไปสู่การจัดชนชั้นใหม่ในแบบไม่มีชนชั้น กล่าวคือ อำนาจของชนชั้นนายทุน ก็มาเป็นอำนาจของชนชั้นกรรมาชีพ แล้วก็จะเกิดการขจัดอำนาจให้หมดไปจนไม่มีการแบ่งชนชั้น

2.โครงสร้างอำนาจในแต่ละกลุ่ม แต่ละสมัยของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
-----------------------------------------------------------------------
1) ยุคก่อนโลกาภิวัฒน์ (ก่อนการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน) ช่วง คศ.1945-1989 โครงสร้างอำนาจมี 2 ขั้ว ได้แก่ ค่ายเสรี และ ค่ายคอมมิวนิสต์ ลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบการต่อสู้ของลัทธิอุดมการณ์ จ้องทำลายกันเพื่อเอาชนะกัน มีความขัดแย้งรุนแรง เป็นความขัดแย้งทางลัทธิการเมือง

2) ยุคหลังโลภาภิวัฒน์ (หลังการพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน) หลัง ค.ศ.1989-ปัจจุบัน โครงสร้างอำนาจเกิดการเสียสมดุลย์อำนาจ เหลือเฉพาะค่ายเสรี เกิดการพัฒนาออกเป็นหลายๆ กลุ่ม เป็นโลกหลายขั้ว เกิดการถ่วงดุลย์อำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ เป็นการเมืองแบบเสรี หรือประชาธิปไตยแบบเสรี ไม่มีการเผชิญหน้า เกิดองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคต่างๆ ขึ้น เช่น ASEAN

กลุ่มอำนาจหลัก 5 กลุ่มที่มีการถ่วงดุลย์ระหว่างกันและมีผลต่อความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ ในโลกนี้ ได้แก่ US, EU, Japan, China และ BRIC (Brazil, Russia, India, China)
--------------------------
Tai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น