วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวข้อสอบ PA602,702: ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

แนวข้อสอบ PA๖๐๒,๗๐๒ : ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีดังนี้
(รศ. เฉลิมพล ศรีหงษ์ - ข้อมูล ณ มกราคม ๒๕๕๔)
------------------------------------------------------------------------------
*** ข้อสอบมีประมาณ ๖ ข้อ แบ่งเป็นเชิงคุณภาพ ๓ ข้อ และเชิงปริมาณ ๓ ข้อ ***
รุ่นพี่ รป.ม. 2 หัวหมาก บอกว่า อาจารย์สอนอะไรในชั่วโมง ก็ออกอันนั้นแหล่ะ โดยเฉพาะการวิเคราะห์ตาราง สรุปแล้ว มีดังนี้
๑. การวิจัยเชิงคุณภาพ ให้อธิบาย ดังต่อไปนี้
๑.๑ หลักการพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพ (ตามที่นักวิชาการท่านต่างๆ ได้อธิบายไว้)
๑.๒ การตรวจสอบข้อมูลแบบ ๓ เส้า
๑.๓ ในการวิจัยสนาม (Field Research) นั้น ตัวนักวิจัยใช้วิธีการอย่างไรดำเนินงาน

๒. การวิจัยเชิงคุณภาพ
๒.๑ อธิบายตาราง Frequency
๒.๒ อธิบายตาราง Descriptive Statistics
๒.๓ ตาราง Crosstab
- สร้างแบบสอบถาม
- มีตัวแปรอะไรบ้าง เป็นระดับใด
- ตั้งสมมุติฐานการวิจัย
- วิเคราะห์ผลโดยใช้ Chi-Square test เพื่อทดสอบสมมุติฐาน
------------------------------------------------------------------------------
แนวการตอบ ตามหลักการ ควรจะ...
(๑) อ้างถึงทฤษฎี ว่ามีวิธีการวิจัยกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร
(๒) แล้วค่อยสรุปว่า จะเลือกใช้วิธีการใด เพราะเหตุใด บอกข้อดีและข้อจำกัด
(๓) อธิบายกรอบแนวคิด
(๔) การตั้งสมมุติฐาน
(๕) การสุ่มตัวอย่าง
(๖) การเขียนแบบสอบถาม
(๗) การเก็บรวบรวมข้อมูล
(๘) การวิเคราะห์และการใช้สถิติ
--------------------------------------------------------------------------
๑. ข้อสอบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
ให้อธิบายสาระสำคัญ กระบวนการหรือวิธีการ และเงื่อนไขของการวิจัยเชิงคุณภาพแบบต่างๆ โดยเฉพาะ แบบสำรวจ (Survey research) ว่า วิธีไหนน่าจะเหมาะสมการเชิงคุณภาพมากที่สุด ให้อธิบายหลักการ ดูจากหน้า ๑๖-๑๘ เอกสารภาษาไทย รศ.เฉลิมพลฯ และเอกสาร ดร.สุภางค์ฯ หน้า 129 อาทิ เงื่อนไขในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่
- ข้อมูลไม่เป็นตัวเลขเยอะๆ
- กฎ กติกา ไม่ตายตัว
- มุ่งข้อมูลที่ละเอียด มีมากๆ
- ใช้วิธีตีความเอง
- ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า (*** หาอ่านให้เข้าใจว่าทำยังไง ***)

ข้อแนะนำ ให้อ่านหลักการของการวิจัยแบบสนาม (Field Research) ให้เข้าใจ และลองเขียนอธิบายให้ได้ใจความ เพราะเห็นว่าอาจารย์ได้ถามให้ห้องแล้วว่าควรใช้วิจัยแบบนี้ แต่ที่คาดการณ์ไว้ คงต้องทำความเข้าใจกับทุกแบบ ว่า แต่ละแบบมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรให้เข้าใจก่อน จะดีที่สุด

๒. ข้อสอบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
ให้วิเคราะห์และแปลผลตารางออกมาเป็นคำพูด ดูจากหน้า ๘๕-๘๖ เอกสารภาษาไทย รศ.เฉลิมพลฯ ดังนี้
๒.๑ Frequency
๒.๒ Descriptive Statistics
๒.๓ Crosstabs (Crosstabulation, Chi-Square Tests และ Symmetric Measures)
-------------------------------------------------------------------------------
ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างแนวข้อสอบเชิงปริมาณที่รุ่นพี่จาก รป.ม.5 ระยอง (คุณจ๊ะโอ๋) แนะนำไว้ ว่า...
-------------------------------------------------------------------------------
...ข้อมูลนี้เข้าไปดาว์โหลดได้จากเว็บไซต์ รป.ม. 5 ระยองโดยตรง และได้ส่งไปที่ yahoo mail แล้ว...
-------------------------------------------------------------------------------
มาดูกันที่คุณจ๊ะโอ๋ได้บอกไว้ว่า...

กรณีที่ ๑. เราต้องรู้ก่อนว่าระดับตัวแปร มีกี่ระดับ (ดูเอกสารหน้า ๒๐-๒๔) ดังนี้
ระดับตัวแปร แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ได้แก่ ระดับแบ่งกลุ่ม (Nominal scale) ระดับการจัดอันดับ (Ordinal scale) ระดับช่วง (Interval scale) และ ระดับสัดส่วน (Ratio scale) มีรายละเอียดที่ควรจำไว้ ดังนี้
๑) ระดับแบ่งกลุ่ม (Nominal scale) ไม่สามารถวัดค่าเป็นตัวเลขได้ และไม่สามารถบอกได้ว่าค่าตัวแปรใดมีค่ามากหรือน้อยกว่ากัน เช่น เพศ (ชาย หญิง) เชื้อชาติ (ไทย อังกฤษ ฯลฯ) และภาษา (ไทย อังกฤษ ฯลฯ) เป็นต้น

๒) ระดับการจัดอันดับ (Ordinal scale) ไม่สามารถวัดค่าเป็นตัวเลขได้ แต่บอกได้ว่ามีตัวแปรใดมีค่ามากหรือน้อยกว่ากัน เช่น ชั้นยศ ชั้นปีการศึกษา วุฒิการศึกาา และระดับความพึงพอใจ เป็นต้น

๓) ระดับช่วง (Interval scale) บอกได้ว่าค่าตัวแปรใดมีค่ามากหรือน้อยกว่ากัน แต่ไม่ใช่ค่าศูนย์สมบูรณ์ ซึ่งอาจมีค่าต่ำกว่าศูนย์ก็ได้ เช่น อุณหภูมิ เป็นต้น

๔) ระดับสัดส่วน (Ratio scale) บอกได้ว่าค่าตัวแปรใดมีค่ามากหรือน้อยกว่ากัน ซึ่งค่าศูนย์จะต้องเป็นค่าต่ำสุด เช่น น้ำหนัก ความสูง รายได้ อายุ และจำนวนบุตร เป็นต้น

กรณีที่ ๒ ต้องทราบว่าวิธีการทางสถิติมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีการใช้เทคนิควิธีการทางสถิติอย่างไร (ดูเอกสาร หน้า ๒๗-๓๘) ดังนี้

วิธีการทางสถิติ จำแนกออกเป็น ๒ วิธี ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics)

๑) การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) มีลักษณะสำคัญคือ เป็นเพียงการสรุปข้อมูลเท่าที่มีอยู่จริงว่า คืออะไร เท่านั้น โดยไม่มีการสรุปเหตุผลหรือสรุปเป็นหลักการทั่วไปนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่จริงนั้น มีเทคนิคทางสถิติ ๓ แบบ ได้แก่ การกระจายความถี่ (Frequency distribution) การวัดแนวโน้มสู่ศูนย์กลาง (Measures of central tendency) และ การวัดความแปรผัน (Measures of variability) มีรายละเอียด ดังนี้
(๑) การกระจายความถี่ (Frequency distribution) ใช้วิเคราะห์ตัวแปรระดับแบ่งกลุ่ม (Nominal scale) เช่น ท่านเพศ [ ] ชาย หรือ [ ] หญิง และวิเคราะห์ตัวแปรระดับจัดอันดับ (Ordinal scale) เช่น ท่านมีวุฒิการศึกษา [ ] ต่ำกว่าปริญญาตรี [ ] ปริญญาตรี หรือ [ ] สูงกว่าปริญญาตรี เป็นต้น
(๒) การวัดแนวโน้มสู่ศูนย์กลาง (Measures of central tendency) ใช้วิเคราะห์ตัวแปรระดับสัดส่วน (Ratio scale) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean, X bar), ค่ามัธยฐาน (Median, ค่ากลาง) และค่าฐานนิยม (Mode คือค่าที่มีจำนวนค่าปรากฎให้เห็นมากที่สุด) เช่น ท่านมีอายุ....ปี หรือ ท่านมีรายได้........บาท เป็นต้น (ระบุตัวเลขที่ชัดเจน)
(๓) การวัดความแปรผัน (Measures of variability) ใช้วิเคราะห์ตัวแปรระดับสัดส่วนเช่นกัน (Ratio scale) ได้แก่ ค่าพิสัย (Range หรือช่วงชั้นข้อมูล), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation, sd, s) และค่าความแปรปรวน (Variance) เช่น ท่านมีอายุ.......ปี หรือ ท่านมีรายได้..........บาท เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น... (ดูเอกสารหน้า ๒๘, ๓๙-๔๐, ๕๓, ๕๗ การวิเคราะห์ตาราง Frequencies และ Descriptives)
คำในตารางที่ควรทราบ ได้แก่
N คือ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
Valid คือ จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม
Missing คือ จำนวนผู้ไม่ตอบแบบสอบถาม
Frequencies คือ ค่าความถี่
Percent คือ ค่าร้อยละที่คิดจากจำนวนผู้ที่ตอบแบบสอบถามและผู้ไม่ตอบ เทียบกับจำนวนทั้งหมด
Valid Percent คือ ค่าร้อยละที่คิดจากผู้ที่ตอบแบบสอบถามเท่านั้น
Cummulative Percent คือ ร้อยละสะสม

ตัวอย่างการแปลผลจากตาราง Frequency ที่กำหนดให้ (นอกเหนือจากที่ต้องออกแบบสอบถามแล้ว) เช่น (ดูตารางหน้า ๕๓ ประกอบ)
*** จากตารางเราสามารถบอกได้ว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๔๐ คน มีผู้ตอบแบบสอบถามที่มีวุฒิการศึกษาสูงสุดที่ได้รับต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน ๑๑๙ คน ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษาสูงสุดที่ได้รับระดับปริญญาตรี จำนวน ๑๖๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๑ และมีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามที่มีระดับการศึกษาสูงสุดที่ได้รับสูงกว่าปริญญาตรี จำนวน ๖๑ คน คิดเป็นร้อยะล ๑๗.๙ ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

*** จากตาราง มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๔๐ คน มีผู้ตอบคำถามว่าไปลงคะแนนเลือกตั้ง สส. คร้้งล่าสุดหรือไม่ พบว่า มีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๓๓๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๙ มีกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๑ และในจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ตอบคำถามว่าไปเลือกตั้ง มีจำนวน ๑๗๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๐.๙ และในจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ตอบคำถามว่าไม่ไปเลือกตั้ง มีจำนวน ๑๖๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๑

ตัวอย่างการแปลผลจากตาราง Descriptive ที่กำหนดให้ (นอกเหนือจากที่ต้องออกแบบสอบถามแล้ว) เช่น
จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน ๓๔๐ คน พบว่า มีกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับรายได้ จำนวน ๓๓๗ คน มีผู้มีรายได้ต่ำสุดอยู่ที่ ๔,๕๐๐ บาท มีผู้มีรายได้สูงสุดอยู่ที่ ๕๐,๐๐๐ บาท มีความแตกต่างระหว่างผู้มีรายได้สูงสุด กับ ผู้มีรายได้ต่ำสุดอยู่ที่ ๔๕,๕๐๐ บาท โดยมีค่าเฉลี่ยของรายได้ของกลุ่มตัวอย่างนี้ เท่ากับ ๑๔,๖๓๖.๕๐ บาท มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของรายได้ของกลุ่มตัวอย่างนี้ เท่ากับ ๙,๒๗๔.๒๙๖ บาท หมายความว่า ร้อยละ ๖๘ ของกลุ่มตัวอย่าง จะมีรายได้อยู่ระหว่าง ๕,๓๖๓ - ๒๓,๙๑๑ บาท

หมายเหตุ ค่า ๕,๓๖๓ - ๒๓,๙๑๑ มากจากการนำค่าเฉลี่ย หรือ Mean หรือ X bar - 1SD (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ถึง X-bar + 1SD
*** จะต้องเริ่มจาก หาค่า Mean ก่อน แล้วจึงหาค่าที่ต่างไปจากค่า Mean ทั้งด้านที่มากกว่าและน้อยกว่า แต่ต้องอย่าลืมดูค่าต่างๆ ด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะค่า Max. กับ Min. อย่างเดียว
-------------------------------------------------------
(มีในข้อสอบ ๑) จากตัวอย่างในหน้า ๘๕ เป็นการหาค่าความถี่ว่า ควรมี หรือไม่ควรมี หรือ ไม่มีความคิดเห็น มีจำนวนเท่าไหร่
*** แบบ Frequency จะต้องมองเห็นภาพคำถามในแบบสอบถามว่า (๑) จะถามอะไร เป็นแบบปลายปิด (๒) มีคำตอบให้เลือกตอบกี่ข้อ และ(๓) มีอะไรบ้าง (๔) จากกลุ่มตัวอย่างกี่คน โดยสังเกตุจากหัวตาราง
*** ให้แต่งประโยคคำถาม/คำตอบ
*** ให้นำตัวเลขมาเขียนในรายงานเพื่ออธิบาย

(มีในข้อสอบ ๒)*** แบบ Descriptive จะต้องใช้คำถามแบบกึ่งปลายปิดกึ่งปลายเปิด เพื่อให้ได้คำตอบที่เป็นตัวเลขแท้ๆ เช่น ท่านอายุ.......ปี
เช่นตารางอายุ ซึ่งมีข้อมูล ดังนี้
N = ๕๘๘ Min. = ๒๓ Max.= ๖๗ และ Mean หรือ X bar = ๔๐.๘๔ แปลผลได้ว่า
จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๕๘๘ พบว่า คนที่อายุต่ำสุด เท่ากับ ๒๓ ปี คนที่อายุสูงสุด เท่ากับ ๖๗ ปี และค่าเฉลี่ยอายุของกลุ่มตัวอย่างนี้ เท่ากับ ๔๐.๘๔ ปี
(ค่าเฉลี่ย เป็นชื่อของสถิติ อายุสื่อถึงค่าตัวแปร และจากตัวอย่างนี้บ่งบอกถึงทั้งกลุ่มไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง)

-------------------------------------------------------
๒) การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน (Inferential statistics)
(เดี๋ยวจะลงต่อให้จบ...)
-------------------------------------------------------
ขอให้โชคดีทุกๆ คน
Tai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น