วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

RU600,700: ความรู้คู่คุณธรรม สรุปบรรยาย และการสอบ

วิชา RU600,700: ความรู้คู่คุณธรรม
วันที่เรียน: 10-12 ธันวาคม 2553 (วันที่ 10 ธ.ค. เรียนช่วง 17.00-21.00น.
ส่วน 11-12 ธ.ค. เรียนช่วง 08.00-17.00น. สอบวันที่ 12 ธ.ค. 2553 เวลา 17.00 - 18.00 น.)
สถานที่เรียน: - อาคารนพมาศ ชั้น 5 ห้อง 505
..........................................................................
คณาจารย์ที่สอน: รศ. เรืองยศ กาฬวิจิตร ผู้สอน และช่างภาพมืออาชีพ (โปร)
..........................................................................
อาจารย์ผู้ร่วมสอน:
- อ. ยุวรี อยู่เจริญ
- อ. น้ำผึ้ง ปูรณสุคนธ์
- อ. ชุติมา ประพาฬ
- อ. สิริรัตน์ พิตรโกวิท


..........................................................................
สรุปการบรรยาย:
--------------------------------------------------------------
อวิชา คือ การรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ และการไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ (เป็นทั้งรู้และไม่รู้)


คุณธรรม ไม่ใช่จริยธรรม แต่เป็นการแยกแยะออกได้ว่าอะไรดี หรืออะไรไม่ดี


ความรู้ ตามหลักของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ได้ทรงแสดงไว้ในหนังสือ ว่า ความรู้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ความรู้ระดับชุมชน/ท้องถิ่น 2) ความรู้ระดับประเทศ และ 3) ความรู้ระดับสากล


ความเชื่อ นอกจากที่ต้องเชื่อตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องคำนึงถึงความเชื่อต่างๆ ด้วย


การคิดไม่ตามกระแส ซึ่ง กระแส คือ อารมณ์ ได้แก่ รัก โลภ โกรษ และ หลง


ความโง่ เข้าครอบงำคนได้ด้วยความโลภ


บัณฑิต ต้องไม่ตามกระแสสังคม แต่จะต้องพิจารณาตามเหตุและผล ตามหลักวิชาการ และตามความรู้ที่เรามีอยู่


ทำอะไรก็ได้ที่ไม่ทำความเดือดร้อนให้คนอื่น


26 พ.ย. 2548 คือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ได้ทรงเสด็จมาพระราชทานปริญาบัตร และเปิดอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช


----------------------------------------
กิจกรรมฝึกให้คิด
----------------------------------------










คำถามคือ มีสี่เหลี่ยมจัตุรัตอยู่ทั้งหมดกี่รูป (ดูคำตอบบรรทัดสุดท้าย)
--------------------------------------------------------------
พฤติกรรมคนกับงาน มี 4 ประเภท ได้แก่ แข่งขัน ประสาน หลีกเลี่ยง และปรับตัว

ทุกคนควรตั้งเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน และมีโอกาสที่เป็นจริงได้

การเปลี่ยนแปลง (Change) ใน 3 สิ่งที่ควรทำ ได้แก่ วิธีการคิด วิธีการทำงาน และวิธีการสื่อสาร

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ 6 อย่าง (6 Q for success) ได้แก่
1. IQ (Intelligence Quotient) มนุษย์ปกติ มี IQ ประมาณ 90
2. EQ (Emotional Quotient) สังคมปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก
3. AQ (Adversity Quotient) คือ ความอดทน วิริยะ อุตสาหะ และสู้งาน
4. HQ (Health Quotient) คือ การมีสุขภาพดี ทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
5. MQ (Moral Quotient) คือ คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
6. SQ (Spiritual Quotient) ค่ือ การนับถือศาสนาในทางที่ถูกต้อง

มีรายละเอียด ดังนี้...
1. IQ (ในเรื่องชีวิตและงาน) ประกอบด้วย
1) Occupational Skill คือ ทักษะในการทำงาน จะเกี่ยวกับทักษะในการจัดการ (Managerial)
2) Cognitive คือ ทักษะในการคิด จะเกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพ (Interpersonal)
3) Business คือ ทักษะในด้านธุรกิจ ได้แก่ การรู้จักอดออม แบ่งส่วนการใช้สอยที่ดี จะเกี่ยวกับ การสร้างความสุขให้ชีวิต มีหลักธรรม (Spiritual)
2. EQ ได้แก่การ...
1) รู้จัก เข้าใจการบริหารตนเองและผู้อื่น เป็นการเชื่อมต่อความคิดและสติปัญญา
2) สร้างแรงจูงใจให้แก่ตนเองและผู้อื่น
3) มีสัมพันธภาพและทักษะในการสื่อสาร
4) ช่วยให้ผู้อื่นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ คือ ต้องรู้จักให้ให้เป็น ไม่ใช่แจกอย่างเดียว เช่น ฝึกคนให้ทำงานเป็น
.....อื่นๆ... หาอ่านเอง...
แบบทดสอบ MBTI ของ Mayer Brigge (Mayers Brigge ...) เพื่อทดสอบตนเองว่าอยู่ในกลุ่มคนประเภทใดต่อไปนี้
1. Extrovert: (E)กล้าพูดกล้าทำ กล้าแสดงออก เปิดเผย
2. Introvert: (I)ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก
3. Sensing: (S)มีประสาทสัมผัส รับรู้ดี
4. Intuitive: (N)ใช้ประสบการณ์ ลางสังหร เชื่อโชคราง
5. Thinking: (T) คือ ใช้ความคิดนำความรู้สึก
6. Feeling (F) คือ แสดงความรู้สึกทันที คนไทยถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ชอบเอาความคิดนำความรู้สึก (โกรษ --> ไม่ต่อว่า --> ไม่จบ) แต่ฝรั่งเอาความรู้สึกนำความคิด (โกรษ --> ต่อว่า ---> จบ)
7. Judging (J) คือ ละเอียด ละออ รอบคอบ เป็นขั้น เป็นตอน คิดสารตะอยู่เสมอ
8. Perceiving: P คือ ไม่เก็บความรู้สึก ทำเลย โฉ่งฉ่าง ไม่รอบคอบ
--------------------------------------------------------------
พัฒนาการทางด้านอาชีพ
ในเรื่องนี้ บุคลิกภาพกับอาชีพสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น ได้แก่
1) Conventional คือ ทำตามระบบ เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น เลขานุการ
2) Realistic คือ เรียนรู้และทำจากสิ่งที่เป็นจริง เกิดขึ้นจริง เช่น ช่าง ชาวนา
3) Investigative คือ ช่างเทคนิค เงียบๆ เช่น นักสืบ
4) Artistic คือ มีความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์อ่อนไหว หลุดโลก เช่น จิตรกร นักร้อง ดารา นักประพันธ์
5) Social คือ ช่างพูด ช่างคุย เช่น ครู พยาบาล ปฏิคม ประชาสัมพันธ์
6) Enterprising คือ ชอบเสี่ยง เช่น งานธนาคาร นักเล่นหุ้น

*** คนเราเลือกอาชีพตามสถานภาพทางสังคมในตอนแรก แต่เมือเวลาผ่านไประยะหนึ่ง จะทำตามอะไรที่มีความสุข ***
--------------------------------------------------------------
กิจกรรมกลุ่ม (เท่าที่จำได้)
1. นักบินอวกาศนาซ่า : สถานการณ์คือ ยานอวกาศขัดข้องและตกลงดวงจันทร์ในด้านมืด จะต้องนำสิ่งของที่มีอยู่ในยานติดตัวไปเพื่อให้มีชีวิตรอดไปถึงยานแม่ที่อยู่ด้านสว่าง ดังนั้น จะต้องตัดสินใจเลือกลำดับความสำคัญของสิ่งของต่างๆ ที่จะนำติดตัวไป (ดูการวิเคราะห์และตัดสินใจของบุคคลและกลุ่ม)

2. หา/ทักทายเพื่อน/สัมภาษณ์และจดรายละเอียดของเพื่อนลงในกระดาษว่า เพื่อนที่เราสัมภาษณ์เกิดเดือนไหนใน 12 เดือน รวมทั้ง เขียนชื่อและรายละเอียดของเราลงในเดือนที่เราเกิด โดยมีกติกาว่า ห้ามเขียนชื่อเพื่อนซ้ำกันในเดือนเดียวกัน (ดูประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน)

3. บริหารงบประมาณของกระทรวง จาก 4 กระทรวง ภายใน 8 เดือน ซึ่งนายก (อาจารย์) จะกำหนดเงื่อนไขในการบริหารงานแต่ละเดือนขึ้นมา แล้วให้แต่ละกระทรวงตัดสินใจว่าจะเอาหรือไม่เอาตามเงื่อนไขนั้น ได้แก่
ก) 4 ไม่เอา เสีย 100
ข) 3 ไม่เอา ได้ทีมละ 100 และ 1 เอา เสีย 300
ค) 2 ไม่เอา ได้ทีมละ 200 และ 2 เา เสียทีมละ 200
ง) 1 ไม่เอา ได้ 300 และ 3 เอา เสียทีมละ 100
จ) 4 เอา ได้ทีมละ 300
เป็นการดูผลในเรื่องการบูรณาการระหว่างกระทรวง

4. หัวหน้ากับลูกน้อง เริ่มด้วยการเลือกกลุ่มหัวหน้าและลูกน้อง แล้วให้กลุ่มลูกน้องออกไปนอกห้อง แล้วอาจารย์จะให้อุปกรณ์ (จิ๊กซอ) แก่กลุ่มหัวหน้าที่อยู่ในห้อง แล้วให้ปรึกษากันว่าจะสั่งการลูกน้องยังไง เสร็จแล้วให้ลูกน้องเข้ามารับคำสั่งแบบตัวต่อตัว แล้วให้หัวหน้าออกไปนอกห้อง ปล่อยให้ลูกน้องทำงานให้เสร็จ (ดูเรื่องประสิทธิภาพในการสื่อสารและการวางแผน)

5. ดูหนังสั้นเรื่องผึ้งกับตะบองเพชร แล้วให้กลุ่มเขียนหัวข้อหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในหนังออกมาให้มากที่สุดในเวลาจำกัด

6. กำหนดเป้าหมายที่จะทำในชีวิตที่สามารถเป็นจริงได้ แล้วเขียนออกมา
--------------------------------------------------------------
สรุปหัวข้อการสอบ (เท่าที่จำได้):
--------------------------------------------------------------
1. จากการฟังบรรยาย "ความรู้คู่คุณธรรม" โดย รศ. รังสรรค์ แสงสุข ท่านคิดว่จะสามารถนำแนวคิดต่างๆ จากการบรรยายไปใช้ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร

2. จากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ ท่านคิดว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวืตประจำวัน ในสังคม และในการทำงานได้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าร่วมประกอบด้วย
--------------------------------------------------------------
คำตอบก็คงเขียนถึงเนื้อหาสำคัญที่ได้จากการเข้าฟังบรรยาายและเข้าร่วมกิจกรรม คิดว่าคงไม่เกินความสามารถของทุกคนที่จะสามารถเขียนออกมาได้ไม่น้อยกวา 3 หน้านะ
.............................................................................................
30 อัน

Tai

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

RU603,703: บัณฑิตศึกษา การสอบ และการส่งรายงาน

ถึงเพื่อน รป.ม. 3 รามฯ หัวหมาก และเหล่าผองเพื่อนจากโครงการอื่นๆ ทุกท่าน
วันนี้ (อังคารที่ 23 พ.ย. 2553 ถ้าใครตื่นเช้าๆ ออกไปนอกบ้าน จะเห็นว่ามีหมอกลงหนาพอสมควร หรือว่าเป็นควันก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่รู้สึกว่าอากาศมันเย็นลงนะ)
----------------
เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว (20-21 พ.ย. 2553) มีเรียน วิชา RU603/703: บัณฑิตศึกษา ที่อาคารสุโขทัย ห้อง 322 โดยคณาจารย์หลายๆ ท่าน มาช่วยกันป้อนองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ให้อย่างมากมาย (มีทำรายงาน 2 เรื่อง และมีข้อสอบ 2 ข้อ พร้อมกับ Quiz ท้ายชั่วโมง 1 ครั้ง โดยแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น เข้าเรียน 10 คะแนน ส่งรายงาน 2 ฉบับ 20 คะแนน Quiz 30 คะแนน และสอบ 40 คะแนน) พอสรุปได้ ดังนี้.-
----------------
1. วันแรก:
ช่วงเช้า: วิชา ปรัชญา วัตถุประสงค์และกระบวนการศึกษา
----------------
มีคณาจารย์ 4 ท่าน ได้แก่ 1) รศ.รังสรรค์ แสงสุข (อดีตอธิการบดี ม.รามฯ) 2) พระมหาศิลปะ จากมหาวิทยาลัยสงฆ์ (จุฬาฯ) 3) อ. ศิวรัตน์ สุวรรณกาศ ผอ.เขตบางแค กทม. และ 4) ผศ. พิมล พูพิพิธ (ผู้จัดการโครงการ)
----------------
ท่านอาจารย์รังสรรค์ฯ ได้ให้แนวทางในการเรียนรู้แบบ Key Concept ไว้ ประกอบด้วย
1) Want to know คือ เรียนเพื่อรู้ ซึ่งแบ่งความรู้ไว้ 3 ระดับ คือ ความรู้พื้นถิ่น ความรู้ระดับประเทศ และความรู้ระดับโลก
2) Want to be คือ นำความรู้ไปใช้ เพื่อรับผิดชอบบ้านเมือง ช่วยชาติ ช่วยชน และให้เกิดผลกำไรต่อสาธารณะ (Public profit)
3) Want to live peacefully คือ เรียนเพื่อให้อยู่อย่างมีสันติสุข มีความสุขในสังคมโลก รวมไปถึงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมของชาติไว้
4) Want to learn คือ การเรียนให้ถูกวิธี คือ สามารถนำข้อมูล (Data) มาทำการสังเคราะห์ให้เป็นข้อมูลข่าวสาร (Information) โดยใช้กระบวนการต่างๆ (Procedure/Process) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดเป้นความสามารถ (Skill)
----------------
จากการ Want ทั้ง 4 ข้อข้างต้นก็เพื่อนำไปสู่ Long learning คือการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยอาจารย์ได้ฝากข้อคิดในการเรียนไว้ว่า
"จงมีความเพียรอันบริสุทธิ์ จึงสำเร็จได้ทุกประการ"
"เรียนให้เกิดปัญญา"
"การศึกษาคือกระบวนการสร้างปัญญา"
นอกจากนั้น ท่านอาจารย์ยังได้ให้ข้อคิดอื่นๆ ได้แก่
1) บัณฑิตเป็นผู้รุ้ ผู้ฝึกตน
2) บัณฑิตต้องรู้ค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็น
3) ทุกสิ่งที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกสูตรที่คิด เป็นจิตวิญญาณของมนุษย์ นั่นคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
4) พูดให้มีตรรก
5) พึงข่มผู้ที่ควรข่ม พึงชมผู้ที่ควรชม
6) ครู คือ ผู้ให้ ผู้เติมเต็ม และผู้มีเมตตา
7) พรสวรรค์ และพรแสวง
8) นกไร้ขน ก็เหมือนคนไร้เพื่อน
9) เราเป็นครูกันคนละอย่าง
-----------------
ท่านอาจารย์พระมหาศิลปะ ได้ให้แนวคิดไว้ ดังนี้
1) เรียนเพื่อให้คิดให้เป็น ทำให้เป็น สังเคราะห์เป็น และเป็นแสงสว่างให้สังคม
2) พัฒนาความเสื่อมโทรมทางศิลธรรม จริยธรรม และคุณธรรม โดยการ
- ให้คุณค่าของชีวิต
- มีความซื่อสัตย์
- มีความอดทนต่อสิ่งกระตุ้นทั้งหมายทั้งปวง (Motivation)
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (Responsibility)
- มีการตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
- มีการยับยั้งชั่งใจ
- รู้ว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง
- รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
3) คน 2 ลักษณะ ได้แก่ ฉลาดในประโยชน์ตนเอง และฉลาดในประโยชน์สังคม
4) สิ่งที่สังคมคาดหวัง คือ เป็นคนฉลาดด้วย (คือมีความรู) และเป็นคนดีด้วย (คือประพฤติดี) นั่นคือ เป็นคนที่มีความรับผิดชอบ และขยันหมั่นเพียร
5) คุณสมบัติของบัณฑิต ได้แก่
- มีความกตัญญู รู้คุณคน ให้ความเคารพบุพการี และผู้มีพระคุณ
- ทำตนให้บริสุทธิ์ คือ มีศีล 5 ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันตน
- ทำตัวเองให้ปราศจากผู้อื่น คือ เพียรพยายามให้คนอื่นเป็นคนดี โดยเราทำให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น
- มีสังคหะ คือ การสงเคราะห์ เอ็นดู เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น
6) อาวุธ 4 ประการ ได้แก่
- ปัญญาวุธ คือ มีความรู้เป็นอาวุธ
- ความสงบ ความสงัด เพื่อให้เกิดปัญญา (ปลีกวิเวก)
- เรียนรู้เพิ่มเติมในศาสตร์ต่างๆ อยู่เสมอ
- มีความเพียร และความขยัยอยู่เป็นนิจ
----------------
ท่านอาจารย์ศิวรัตน์ฯ ได้ให้แนวคิดในการเรียนที่ ม.รามฯ และการบริหารงานไว้ ดังนี้
(ท่านอาจารย์ เป็นศิษย์เก่า ม.รามฯ รุ่นแรก)
1) มีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริง
2) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3) มีความภาคภูมิใจ
4) มีโอกาสได้สมาคมกับเพื่อนต่างอาชีพและต่างวัย
5) มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
-------------------
6) การยอมรับต่อการทำงานในภาครัฐ เป็นสิ่งที่เลือกไม่ได้ มีดังนี้
- เจ้านาย
- ลูกน้อง
- เพื่อนร่วมงาน
- ที่ทำงาน
7) การทำงาน จะต้อง
- มีความรู้จริงในวิชาการที่ปฏิบัติงาน
- มีทั้งการบริหารงานและการทำงาน
- ต้องรู้เขา รู้เรา
8) หลักการทำงาน
- รู้เขารู้เรา
- เอาใจเขามาใส่ใจเรา
- รู้ว่าอะะไรควร อะไรไม่ควร
- มีการจัดลำดับความสำคัญของงานตามลำดับ ได้แก่ อะไรต้องทำ อะไรควรทำ และอะไรทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
9) สิ่งที่หัวหน้างาน ควรทำ
- ความรอบรู้
- ทำในสิ่งใหม่ๆ
- เลือกตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำ
- กล้าที่จะรับฟัง
- กล้าเสี่ยง
- กล้ายอมรับในความเปลี่ยนแปลง
- กล้าเผชิญหน้า
10) การบริหารเวลา ได้แก่ เวลาในการทำงาน การเรียน และครอบครัว ควรแบ่งเป็น 3 ช่วงๆ ละ 8 ชั่วโมง ดังนี้
- 8 ชั่วโมง สำหรับการพักผ่อน
- 8 ชั่วโมง สำหรับเรื่องส่วนตัว และครอบครัว
- 8 ชั่วโมง สำหรับการทำงาน
11) การบริหารคน ให้ได้งาน และได้ใจคน
- การครองตน อยู่ในกรอบของศีลธรรม
- การครองคน ด้วยการถ่ายทอดความรู้ (ให้เกิดความคิด -->ตัดสินใจ--->ถ่ายทอด-->ติดตามงาน)
- การครองงาน
----------------
ส่วนช่วงบ่ายมี 2 วิชา มีเอกสารแจก โดยมีเนื้อหารวมไปถึงวันที่ 2 ด้วย ได้แก่ (คร่าวๆ นะ หาอ่านในเอกสารเพิ่มเติมกันเอง)
1. การวิจัยในสังคมปัจจุบัน โดย รศ. ดร. มณี อัชวรานนท์ ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนา ม.รามฯ
ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยไว้ ดังนี้
1) นิยาม การวิจัย คือ กระบวนการศึกษาและพัฒนาความรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่ง ในการพัฒนาความรู้อย่างเป็นระบบ นั้น เกิดจาก การอ่าน การลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกตุ การถกเถึยง และการทดลอง
2) นักวิจัย
3) ผลการการวิจัย เพื่อนำไปใช้พัฒนาคน เศรษฐกิจ สังคม วิทยาการ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
4) ตัวอย่างของการทำวิจัย มีทั้ง ทำไปโดยไม่รู้ตัว เช่น การจัดวางสินค้าในห้างสรรสินค้า หรือการทำหีบห่อ (packaging)
5) ผลของการวิจัย จะต้องเที่ยงตรง และนำไปใช้ประโยชน์ได้
6) ประโยชน์ของการวิจัย ก็คือ รู้ความต้องการของตลาด หรือผู้ใช้งาน
7) ทิศทางการวิจัย ได้แก่
- พัฒนาคุณภาพสังคม คุณภาพชีวิต
- พัฒนาให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
- สร้างความเข้มแข็งให้ชมชนและสังคม
- ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เช่น การส่งสินค้าออกต่างประเทศ
- การต่างประเทศ
- ความั่นคงของรัฐ เช่น ปัญหาชายแดน
- พัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ
- ทางการแพทย์ ฯลฯ
8) ประเภทของการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ
9) เชิงปริมาณ ทำได้โดย การพรรณาโวหาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และรวมรวมจากเอกสาร แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยการตีความ
10) จรรยาบรรณของนักวิจัย
- ซื่อสัตย์ ซื่อตรง
- ให้เกียรติ
- มีศักดิ์ศรี
- ไม่อคติ มีอิสรภาพทางความคิด
- ปฏิบัติตามเงื่อนไข
- อุทิศเวลา
- มีความรับผิดชอบ
11) ขั้นตอนการวิจัย
- เลือกหัวข้อ (ที่อยากรู้คำตอบ หรือ จากปัญหาที่เกิดขึ้น)
- สำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย
- สมมติฐานการวิจัย
- ออกแบบการวิจัย
- เก็บข้อมูล
- วิเคราะห์ข้อมูล
- รายงานผล
----------------
2. หลักการทั่วไปของการเขียนอ้างอิง โดย ผศ. ดร. ประภาส พาวินันท์
1) ได้นำเสนอวิธีการอ้างอิงในงานวิชาการ โดยประเทศไทยใช้ตามรูปแบบ APA ซึ่งการเขียนอ้างอิงนั้น ก็เพื่อ บอกกล่าวหรือชี้แจงแหล่งที่มาของข้อมูล
2) ประเภทของแหล่งอ้างอิง ได้แก่
- การบรรยาย
- เอกสารปฐมภูมิ (คือเอกสารที่เจ้าของข้อมูลถ่ายทอดลงไปโดยตรงที่สื่อ โดยไม่ต้องจัดพิมพ์)
- จารึก
- เอกสารสิ่งพิมพ์
- เว็บไซต์
* ระวังจะเกิดเหตุการ Plagiarism คือ คัดลองงานผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต อาจถูกฟ้องร้องได้
4) ทำไม่ต้องอ้างอิง ก็เพื่อ
- จริยธรรมทางวิชาการ : เคารพและให้เกียรติ
- ลดปัญหาการละเมิดกฏหมายลิขสิทธิ์
- ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
- เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม
- ประเมินคุณภาพและความตั้งใจของผู้เขียน
5) วิธีการอ้างอิงตาม APA มี 2 รูปแบบ คือ
- อ้างอิงในเนื้อหา ประกอบด้วย ชื่อผู้เขียน, ปีที่เขียน, เลขหน้า เช่น Mattia, 1987, pp. 83-84
- อ้างอิงท้ายงานวิชาการ (บรรณานุกรม)
6) ทำไมต้องใช้แบบ APA
- เป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน
- เป็นมาตรฐานทางวิชาการ
------------------------------
(มี QUIZ ท้ายชั่วโมง 4 ข้อ ตัวการเขียนอ้างอิงหลายๆ แบบ มีที่ผิด ให้แก้ไขให้ถูกต้อง)
------------------------------
วันที่ 2
------------------------------
ช่วงเช้า วิชา สังคมและชุมชนวิชาการ โดย รศ. คิม ไชยแสนสุข (อธิการบดี ม.รามฯ)
ได้ถ่ายทอดแนวคิดต่างๆ ไว้ ดังนี้
ประการที่ 1 มโนทัศน์แห่งการเปลี่ยนแปลง (Change) ประกอบด้วย
- วิวัฒนาการ (Evolution) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมี Charles Darwin ชาวอังกฤษ (ค.ศ. 1809-1882) เขียนทฤษฎี วิวัฒนาการ ขึ้นเป็นแม่แบบของการศึกษาวิวัฒนาการ
- ปฏิรูป (Reform) เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยพฤติกรรมของมนุษย์เข้าไปชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป
- ปฏิวัติ (Revolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ การปฏิวัติยึดอำนาจการปกครอง การปฏิวัติอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และวัฒนธรรม
- การเปลี่ยนแปลงกับการพัฒนา (Change and Development)
- Economic Development
----------------------
*** สิ่งที่บ่งชี้ว่ามีการพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลง (Change) ในทางบวก ในทางที่เป็นประโยชน์
---------------------------------
ท่านอาจารย์เล่าให้ฟังว่า ประเทศไทยเรามีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาแล้ว 10 ฉบับ โดยฉบับแรกในปี พ.ศ. 2504 (รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ) ซึ่งสมัยนั้น มีเพลงที่ฮิตมากๆ คือ เพลงผู้ใหญ่ลี ออกมาตรงกันกับปีที่ทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 พอดี เนื้อเพลงก็ประมาณนี้
-----------
"พ.ศ. 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านก็มาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี
ต่อไปนี้ ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา
ทางการเขาสั่งมาว่า ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร
ฝ่ายตาสีหัวคอน ถามว่า สุกร นั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอนทันใด สุกรนั้นไซร้ คือ หมาน้อยธรรมดา หมาน้อย หมาน้อยธรรมดา"
-----------
ผลจากการสื่อสารที่ผิดพลาด (misconcept) ทำให้มีหมาบ้าเต็มบ้านเต็มเมือง ... เหอๆ... เกี่ยวกันมั้ยนี่
ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับปี 2504 ดังกล่าว ถือว่า ประเทศไทยทำขึ้นก่อนประเทศอื่นๆ อาทิ เกาหลี ใต้หวัน สิงคโปร และมาเลเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ถือว่ายังเป็นวุ้นและยังสู้กันเองในประเทศอยู่เลย แต่ไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ แล้ว ... แต่สุดท้าย...ปัจจุบัน...เรากลับตามหลังประเทศเหล่านั้น...แทบไม่เห็นฝุ่น... เพราะ 49 ปีที่ผ่านมา เราเลี้ยวผิดไปหลายแยก ทั้งๆ ที่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ เพราะถ้าเราไม่เลี้ยวผิด ป่านนี้ เราคงไปไกลลิบ นำหน้าประเทศคู่แข่งดังกล่าวแล้ว
-----------
แต่ก็ยังโชคดีอยู่ตรงที่ เราไม่ได้เลี้ยวผิดไปทุกแยก บางแยกก็เลี่้ยวถูก
-----------
ดังนั้น ก่อนถึงปี 2554 เราควรสำรวจดูว่า 49 ปีที่ผ่านมา เราเลี้ยวผิดไปกี่แยกแล้ว เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไว้สอนลูกหลานในอีก 50 ปี โดยทำลายแทงเส้นทางการเดนิทางพัฒนาทางเศรษฐกิจไว้
-----------
ท่านอาจารย์คิมฯ บอกว่า "ผิดก็เป็นครู ถูกก็เป็นครู"
--------------------------------------
มาว่ากันต่อ...
ประการที่ 2 โลกาภิวัตน์

--------------------------------------
โลกาภิวัตน์ เป็นคำใหม่มาแทน Delvelopment
โลกาภิวัตน์ = โลก + อภิวัตตน (Globalization) คือ อาการที่สรพพสิ่งที่มนุษย์ทำแล้ว การแพร่ถึงกันทั่วโลก อาทิ โลกาภิวัตน์ทางการเงินเสรี โลกาภิวัตน์ทางการค้าเสรี โลกาภิวัตน์ด้านการลงทุนเสรี โลกาภิวัตน์ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี และโลกาภิวัตน์ด้านข่าวเสารข้อมูล เป็นต้น
-----------
บางเรื่องอาจเกิดโลกาภิวัตน์แล้วก็จบไปก็มี
ข่าวสารข้อมูลปัจจุบันก็เป็นโลกาภิวัตน์ เช่น เหตุการณ์ 9/11 เกิดขึ้นที่อเมริกา แต่ทุกประเทศทั่วโลกได้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้พร้อมๆ กันด้วยการออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)
-----------
มีหลายทฤษฎีที่อธิบาย Globalization และหนึ่งในนั้น คือ The World is Flat ซึ่งเขียนโดย Thomas L. Friedman ได้บอกไว้ว่าโลกได้ผ่านโลกาภิวัตน์มาแล้ว 3 ครั้ง มีสาระพอสรุปได้ ดังนี้
The First Globalization โดย
- ค.ศ. 1492 Christopher Columbas ได้ออกเดินเรือสำรวจโลก ได้พบดินแดนใหม่ คือ อเมริกา และหลังจากนั้น ก็เป็นยุคการล่าอาณานิคมระหว่างอังกฤษ สเปน และฝรั่งเศษ
---------------------------------------
ท่านอาจารย์ได้เล่าเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ให้ฟังเกี่ยวกับที่อังกฤษ สเปน และฝรั่งเศษ ได้รู้จักเอเชียและแอฟริกาดีกว่าอเมริการเสียอีก ดังนี้
* อเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งกรุงโรม ได้ยกทัพยึดอินเดีย เมื่อก่อน 2000 ปี
* จูเลียตซีซาร์ ยกทัพไปยึดแอฟริกา เมื่อก่อน 2000 ปี
* เสปน เป็นชาติแรกที่เข้ายึดอเมริกา หลังจากที่ให้ทุนแก่ Christopher Columbus ออกสำรวจ
* อังกฤษก็เข้ายึดอเมริกาเหนือพร้อมกับฝรั่งเศษ ทำให้เกิดการต่อสู้กันจนทำให้ฝรั่งเศษเป็นฝ่ายชนะ
* โปรตุเกตเข้าไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยพระนารายมหาราช
* เดิมทีนั้น คนลาตินอเมริกาพูดภาษาสเปนเกือบทั้งทวีป ยกเว้นบลาซิลที่พูดโปรตุเกต
---------------------------------------
- ค.ศ. 1497 Vasco da Gama พร้อมคณะผ่าน Cape of Good Hope ถึง Malabar Coast of India เมื่อ May 21, 1498 อเล็กซานเดอร์มหาราช
- ค.ศ. 1499-1500 Amerigo Vespucci พบ Brazil
- ค.ศ. 1500 Portugal claimed Brazil
* ยุคนี้ ทำให้โลกเปลี่ยนจากขนาดใหญ่ เป็น ขนาดกลาง
---------------------------------------
The Secord Globalization เกิดเมื่อประมาณ ค.ศ. 1800
* 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 อเมริกาประกาศตัวเป็นอิสรภาพ ไม่ขึ้นต่อใคร และสิ่งสำคัญของอเมริกา คือ มีพื้นที่มหาศาล มีทองอยู่มาก แต่ขาดแคลนแรงงาน จึงเกิดความคิดอุบาทว์ขึ้น คือ เกิดการล่าทาส จากทวีปแอฟริกา ประมาณ 20 ล้านคนเพื่อไปทำงานที่อเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศษ
* อังกฤษมีกองเรือที่ใหญ่มาก น่านน้ำทั่วทั้งแอฟริกาและเอเซียถูกอังกฤษยึดครอง
* ฝรั่งเศษก็เช่นเดียวกัน ได้เข้ายึดเวียดนาม ลาว เขมร แล้วยังเข้ายึดเมืองจันทบุรี และตราดของไทย ทำให้ไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศษเพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และตราดคืนมา
* ยุคนี้เป็นยุคของการต่อเรือและกิจการเดินเรือขนาดใหญ่ ทำให้การติดต่อถึงกันได้ง่ายและเร็วขึ้น เปลี่ยนโลกจากขนาดกลางเป็นขนาดเล็ก
-----------------------------------
The Third Globalization เกิดเมือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20
* ยุคนี้ เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เป็นยุคอินเทอร์เน็ต
* เกิด FTA เป็นกระแสที่แรงมาก
* เกิดการต่อต้านจากท้องถิ่น เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ บางครั้งทำให้เกิดผลกระทบกับสินค้าและผลผลิตของท้องถิ่น
* ทำให้ Modern trade คือ บรรษัทข้ามชาติ เข้ามายึดกิจการค้า ทำให้โชว์ห่วยเจ้ง
* ไทยเปิดการเงินเสรีเมื่อปี 2533 และเปิดเต็มที่เมือปี 2536-2537 ทำให้ปี 2540 เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง คือ ค่าเงินบาทลอยตัว
* ปัจจุบันกระแสที่มาแรงมากคือการค้าเสรี โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2015 จะเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ ผลิตที่ไหนก็ได้
* ค.ศ. 2015 คือ ปี พ.ศ. 2558 คาดว่า (FTA) จะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี โครเตรียมคนของตัวเองได้ดีก่อน (ถือว่าเป็นคนสากล) ก็จะสามารถทำมาหากินได้ทุกประเทศ ถือว่าเป็นผู้ได้เปรียบ
--------------------------------------
ประการที่ 3 วิสัยทัศน์ (Vision)
--------------------------------------
- การมีเป้าหมายที่ชัดเจน
- การวาดภาพแห่งอนาคต
- การระบุคุณค่าที่ชัดเจน
--------------------------------------
* Vision หรือ วิสัยทัศน์ คือความสามารถจินตนาการเหตุการในอนาคตให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนและมีคุณค่าในปัจจุบัน
* ยกตัวอย่าง ประเทศมาเลเซีย เป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ประกาศ Vision ของประเทศว่า ในอีกกี่ปี จะเป็น High Economy Country
* หรืออีกตัวอย่าง บริษัทหนึ่ง ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มยอดขายในอีกกี่ปี จะทำได้มากขึ้น 10 เท่า โดยบอกพนักงานทราบและให้เตรียมพร้อม
* นายที่ดีต้องบอกให้ทุกคนเห็นคุณค่า เช่น เพิ่มเงินเดือน เพิ่มตำแหน่ง เป็นการระบุคุณค่าที่ชัดเจน
* บอกให้คนในองค์กรรู้ว่าจะได้อะไรจากวิสัยทัศน์นั้น เพื่อเกิดกำลังใจ และบอกได้ว่าใครได้ประโยชน์ ถ้าได้ประโยชน์กันทุกฝ่ายก็จะยิ่งดี คือ คิดถึงประโยชน์ของทุกฝ่าย
-------------------------------------------
ประการที่ 4 กระบวนทัศน์ (Paradigm)
-------------------------------------------
คนที่จะมีวิสัยทัศน์ได้ จะต้องมีกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm หรือ Paradaigm shift)
Paradigm เป็นทัศนแม่แบบที่สอบว่าความคิดความอ่านทำให้มนุษย์มีแบบแผนของความคิด การใช้ชีวิตในการปฏิบัติงาน (อ่านแล้วก็งง ใครช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมที mpa.ru3@gmail.com)
-------------------------------------------
- New paradigm เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จักจบสิ้น เช่น มนุษย์โบราณไม่มีเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย อยู่กันเป็นกลุ่ม แย่งของกินกัน ไม่มีประเทศ แต่รู้จักแย่งชิง และพิทักษ์รักษาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตน
- สู้กันด้วยสองมือ สองเท้า และร่างกาย
- เกิดการเรียนรู้ว่าสู้กันทุกครั้งก็บาดเจ็บล้มตาย เกิดการใช้สิ่งของมาช่วยในการต่อสู้ เช่น กิ่งไม้แล้วชนะ เจ็บน้อย (เริ่มรู้จักใช้เครื่องทุ่นแรง)
- กลุ่มอื่นๆ ก็เกิดการเรียนรู้เช่นเดียวกัน
- เกิดยุคหิน คือ นำหินมาทำประโยชน์ เช่น ใช้ทำหอก ทำมีด
* เปลี่ยนกระบวนทัศน์จากใช้กิ่งไม้เป็นใช้หิน
* เกิดการใช้เหล็กเป็นเครื่องมือ เกิดการเรียนรู้ต่อๆ กันไป แล้ยวเกิดการประดิษฐ์ธนู และอาวุธอื่นๆ ที่ทันสมัยขึ้น
* ในกระบวนการผลิตก็เช่นเดียวกัน เช่น การผลิตนาฬิกาของสวิสเซอร์แลนด์ ทำให้ทุกคนใช้นาฬิกาแบบไขลาน
* จากนั้นเกิดนาฬิกาแบบควอต โดย Seiko ของญี่ปุ่น และมีคนเริ่มนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา
* ในการสงครามก็เช่นกัน เกิด Paradigm shift ขึ้น ดังตัวอย่างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันแพ้อังกฤษกับฝรั่งเศษ และต้องชดใช้โดยเซ็นต์สนธิสัญญาแวร์ซายน์
* หลังจากนั้น ฮิตเลอร์ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รบชนะอังกฤษและฝรั่งเศษ แต่มีอเมริกาเข้ามาช่วย ในขณะที่รัสเซียเข้ามาสู้กับเยอรมันเช่นกัน แต่รัฐเซียแพ้เยอรมัน ทำให้เยอรมันเข้ายึดเมืองเซ้นต์ปีเตอร์เบิร์ก
* แต่เยอรมันต้องแพ้สงครามที่เมืองเซ้นต์ปีเตอร์เบิร์กเพราะเจอสภาพอากาศที่หนาวจัด (-40 องศาฯ)
* แต่สุดท้ายผู้ที่ชนะสงครามก็คือ อเมริกาและรัสเซีย
* จะเห็นได้ว่า อเมริกามี paradigm shift โดยให้การสนับสนุนเลี้ยงดูทั้งญี่ปุ่นและฝรั่งเศษจนเจริญร่ำรวยเป็นประเทศเศรษฐกิจของโลก คือ ไม่ต้องรบกันแต่ทำมาหากินแผนใหม่ให้ร่ำรวย เป็นกระบวนทัศน์ใหม่
* การศึกษาดูงาน ก็เป็นส่วนหนึ่งให้หูตาสว่างกว้างไกลขึ้น เพื่อทำให้เกิดวิสัยทัศน์ให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ๆ
-------------------------------------------
ประการที่ 5 ฉันทานุมัติกรุงวอชิงตัน (Washington Consensus)
-------------------------------------------
* Washington concensus ไม่ได้เกิดจากการประชุม หรือการลงมติใดๆ แต่เกิดจากความคิดของ John Williamson เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
* Washington concensus เป็น policy menu ด้านเศรษฐกิจ เป็นการประดิษฐ์เมนูในการดำเนินนโยบาย จากวิกฤตเศรษฐกิจในลาตินอเมริกา เมือปี ค.ศ. 1989
-------------------------------------------
Policy reform 1989 หรือ Policy menu 10 รายการ ได้แก่
1) วินัยการคลัง โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบไม่ขาดดุลงบประมาณมากจนเกินไป หากขาดดุลมากอยู่แล้ว ให้ลดการขาดดุลให้น้อยลงจากภาระ Debt crisis หรือวิกฤตหนี้สินล้นพ้นตัว
2) การคลังด้านการใช้จ่าย ต้องจัดลำดับความสำคัญรายจ่าย โดยตัดรายจ่ายการอุดหนุนการผลิตเพื่อให้ธุรกิจเข้มแข็ง โดยรัฐจะต้องควบคุมรายจ่ายในด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านสาธารณูปโภค
3) ปฏิรูประบบภาษี โดยขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น และใช้ภาษีเป็นเครื่องมือจูงใจในการผลิต
4) อัตราดอกเบี้ย ควรปล่อยให้เป้นไปตามกลไกของตลาด (Demand, Supply) โดยเสนอแนะให้ฝ่ายการเงินดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นบวก คือ สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ นั่นคือ ออมเงินแล้วไม่ขาดทุน
5) อัตราแลกเปลี่ยน ให้เป็นประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ ให้แข่งขันต่อโลก และให้เกื้อกูลต่อการส่งออก
* ไทยประสบปัญหาคือค่าเงินบาทแข็งตัวมาก ทำให้การส่งออกมีน้อยลง เพราะค่าเงินประเทศอื่นอ่อนตัวลง
6) การค้าระหว่างประเทศ ให้เปิดการค้าเสรี โดยให้เลิกกำแพงภาษี (Free trade) ไม่ควรเก็บภาษีวัตถุดิบนำเข้าเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำเข้าเยอะๆ และผลิตสินค้าได้มากขึ้น
7) ส่งเสริมรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพื่อให้นักลงทุนเข้ามาเยอะๆ และได้เรียนรู้เทคโนโลยีและ Know how ต่างๆ
8) การแปรรูปกิจการของรัฐ ด้วยการโอนให้เอกชนดำเนินการแทน (Privatization)
9) ลดกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ลง ให้เศรษฐกิจเดินไปตามกลไกตลาด (Dereguration)
10) การรับรองกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ให้เกิดความชัดเจน
* เมื่อย่อความจาก 10 เมนูแล้วจะได้ 4 เมนู คือ
1) Liberatization คือ เสรีนิยมด้านเศรษฐกิจ
2) Stabilization คือ รักษาเสถียรภาพ (การเงิน ดอกเบี้ย และดุลการชำระเงินคลัง)
3) Privatization คือ การแปรรูป
4) Dereguration คือ ลดกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ลง
*** 4 Action (LSPD)
-------------------------------------------
ประการที่ 6 เศรษฐศาสตร์อุปทาน
1) Supply-side Economics เชื่อว่า supply สำคัญกว่า demand ดังนั้น ในการจัดการดำเนินเศรษฐกิจ ต้องจัดการกับฝั่ง supply ก่อน เรียก classic economics (Reganonics = Regan + Economics) 1980
-------------------------------------------
ประการที่ 7 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : สามห่วง สองเงื่อนไข = ทางสายกลาง
สามห่วง คือ มีเหตุผล พอประมาณ และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
สองเงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ (ระมัดระวัง รอบรู้ รอบคอบ) และ เงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา และแบ่งปัน) ซึ่งใช้กับเรื่องชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน
-------------------------------------------
* เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบใหม่
* ทฤษฎีใหม่ เป็นกรอบเล็ก
-------------------------------------------
ประการที่ 8 กับดักหรือหลุมพลางสู่การหลงผิด
-------------------------------------------
1) ความหลงผิดในองค์ประกอบ (Fallacy of Composition) คือ หลงผิดในส่วนย่อย แล้วคิดว่าเป็นความผิดในส่วนใหญ่ เช่น มีเด็กจากสถาบันหนึ่งไปประท้วง จำนวน 7-8 คน แล้วสังคมบอกว่า สถาบันนั้นทั้งสถานบันมาประท้วง เป็นต้น
2) ความหลงผิดในการวิภาค (Fallacy of Division) คือ ความจริงเกิดขึ้นในส่วนใหญ่ แล้วคิดว่าส่วนเล็กๆ จะเป็นจริงไปด้วย เช่น ประเทศญี่ปุ่นรวยกว่าประเทศไทย นั่นเป็นความจริง แต่ไม่ได้หมายถึงนายทาเคชิจะรวยกว่านายโชค เป็นต้น
3) ความหลงผิดในสาเหตุแห่งเรื่องที่เกิดขึ้น (Fallacy of False Cause) คือ เห็นผลแล้ว แต่สืบสาวหาต้นเหตุผิด เช่น ในไทยจะบริโภคน้ำแข็งเยอะและเกิดโรคสุนัขบ้าในช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. แล้วมีคนสรุปว่า เพราะคนกินน้ำแข็งมาก จึงทำให้เกิดหมาบ้าเยอะ เป็นต้น
-------------------------------------------
ประการที่ 9 ทุนนิยม (Capitalism)
ประการที่ 10 สังคมนิยม (Socialism)
1) Karl Marx (1818*1883) : Das Kapital (1867)
2) ต่อมาปรับปรุงโดย Friedrich Engels (1820-1895) ในปี ค.ศ. 1885
ประการที่ 11 Demand-Side Economics : John Maynard Keynes
-------------------------------------------
... จริงๆ แล้ว ท่านอาจารย์ยังให้ข้อมูลอีกเยอะแยะเลย แต่ขอสรุปจบไว้แค่นี้ ...
-------------------------------------------
ช่วงบ่าย มี 3 วิชา ได้แก่
1) การเขียนผลงานทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพ โดย รศ. ทิพย์สุเนตร อนัมบุตร
2) การพัฒนาบุคลิกภาพของบัณฑิตและการนำเสนอผลงาน โดย รศ. อรุณทวดี พัฒนิบูลย์
3) การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา โดย ดร. บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์
... หาอ่านกันเองนะ ...
---------------
จัดทำรายงานวิชา 2 ฉบับ วิชา "ปรัชญา วัตถุประสงค์และกระบวนการศึกษา" ของท่านอาจารย์รังสรรค์ฯ ส่งภายใน 29 พ.ย. 2553
---------------
การส่งรายงาน วิชา RU 603 นักศึกษาต้องลงข้อมูลการส่งรายงาน online ทาง website http://www.report.ru.ac.th/ (ลงบันทึกการส่งแบบออนไลน์ 2 ครั้ง)
เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้สั่งพิมพ์แบบปกนำส่งรายงาน แล้วนำมาเย็บเป็นปกในของรายงานที่นักศึกษาต้องส่งคณะฯ หรือโครงการฯนักศึกษาทุกคนต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
1. รหัสวิชา 5 หลัก พิมพ์โดยไม่เคาะวรรค (RU603)
2. คำสำคัญ เป็นคำที่มีความหมายในการใช้เขียนรายงาน ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกช่อง
3. ก่อนการสั่งพิมพ์ให้ save ไว้ใน My document ก่อน เพื่อป้องกันการหลุดจากระบบ นักศึกษาสามารถเรียกพิมพ์อีกเมื่อไรก็ได้ที่ต้องการ
4. ถ้าไม่สามารถพิมพ์หน้าปกได้ให้ตรวจดูว่ามีข้อมูลรายงานอยู่ในระบบหรือไม่ ถ้ามีแล้วไม่ต้องพิมพ์ใหม่ให้ใช้โปรแกรม Microsoft Word พิมพ์ โดยหมายเหตุว่าได้ส่งรายงาน Online แล้ว
5. ในกรณีที่นักศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้ ให้พิมพ์ตามแบบฟอร์มใน Microsoft Word แล้วพิมพ์ส่งพร้อมเขียนหมายเหตุด้วยว่าลงฐานข้อมูล Online ไม่ได้
---------------------------------------------------------
นักศึกษาชั้นปริญญาโท ซึ่งศึกษากระบวนวิชา RU 603 บัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2553 ในหัวข้อเรื่อง “ปรัชญา วัตถุประสงค์และกระบวนการศึกษาวิชาบัณฑิตศึกษา (RU 603)" ซึ่งเป็นส่วนการบรรยายของ รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุขและคณะ นักศึกษาทุกคนต้องทำรายงาน 2 เรื่อง แสดงความสามารถในการแสดงออกซึ่งความคิดและเนื้อหาสาระในความคิดของนักศึกษาแต่ละท่าน ดังนี้ :-
---------------------------------------------------------
รื่องที่ 1 เป็นการเขียนบทความเรื่องใด ๆ ก็ได้ ที่นักศึกษาอยากจะเขียนโดยเสรี เนื้อหาสาระความยาว พิมพ์ขนาดกระดาษ A4 ไม่เกิน 5 หน้า
---------------------------------------------------------
เรื่องที่ 2 เป็นการตั้งคำถามว่า นักศึกษามีความรู้อะไรมากที่สุด สิ่งที่ท่านรู้ดีที่สุดในตัวท่าน แสดงออกมาให้กระจ่าง และอธิบายว่าความรู้ดังกล่าวนั้นท่านได้มาจากที่ใด อย่างไร และจะนำไปทำประโยชน์อะไร ได้อย่างไร พิมพ์ไม่เกิน 2 หน้า ให้นักศึกษาทุกคน ส่งรายงานทั้ง 2 ชิ้น และนักศึกษาสามารถเย็บรวมกันได้ โดยให้มีใบปะหน้าแสดง ดังนี้
---------------------------------------------------------
ชื่อ ...................................
รหัสประจำตัว 53148300...
สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
คณะ บัณฑิตวิทยาลัย
ภาคเรียนที่ 2/2553
เสนอ รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข
----------------------------------------------------------
ทั้งนี้ ไม่ต้องเย็บเล่ม – เข้าปก โดยเน้นความเรียบง่าย ประหยัด แต่มีเนื้อหาทางวิชาการ
-------------------------------------
*** ส่งรายงานที่โครงการฯ***
ภายในวันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เพื่อจัดส่งให้กับบัณฑิตวิทยาลัยต่อไป

(อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 5 ตรงกันข้ามกับลิฟท์)
-------------------------------------
Tai

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวข้อสอบ PA604,704 การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ บทสรุปข้อสอบ ปี 2553

และแล้วก็มาถึงบทสรุป ข้อสอบ PA604, PA704 ประจำปี 2553
การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (เท่าที่จำได้นะ)
-----------------------------------------------------------------
1. หากท่านเป็นผู้กำหนดนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับ สึนามิ ให้วิเคราะห์และให้เหตุผลในการกำหนดนโยบาย
2. ให้วิเคราะห์ "จริยธรรมกับนโยบายสาธารณะ" โดยยกบทวิเคราะห์วิจารณในห้องเรียน (ซื้อขายเหรียญ และขายไต) และเห็นอย่างไรหากกำหนดให้มีกฎหมายขึ้นมารองรับการขายบริการ(โสเภณี)
3.วิเคราะห์นโยบายของนักวิชาการทั้ง 3 คน ว่านโยบายใครเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด และ วิเคราะห์การกำหนดนโยบายจากสารคดี FOOD INC.
4. วิเคราะห์นโยบายเชิงระบบ และยกตัวอย่างนโยบายสาธารณะมา 1 นโยบาย
-----------------------------------------------------------------
(เลือกตอบ 3 ข้อ แต่จะทำทั้ง 4 ข้อก็ได้)
Tai

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

PA604,704: บทความสึนามิ ” เสียงฝาก “ออกจากใจ 2 ฮีโร่ 5 ปีสึนามิ 5 ปีแห่งการสูญเปล่า

” เสียงฝาก “ออกจากใจ 2 ฮีโร่ 5 ปีสึนามิ 5 ปีแห่งการสูญเปล่า
--------------------------------------------
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 รายการทีวีทุกช่องรายว่า เกิดแผ่นดินไหวมากกว่า 9 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางในทะเลนอกชายฝั่งทิศตะวันตกของตอนเหนือ เกาะสุมาตรา ทำให้เกิดการสั่นไหวที่รุนแรงของแผ่นดิน และเกิดคลื่นยักษ์ “สึนามิ” ตามมาในมหาสมุทรอินเดีย ส่งผลให้ผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้กับจุดเกิดเหตุแผ่นดินไหว เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไปจนถึงบังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา หมู่เกาะมัลดีลฟ์ แม้กระทั่งโซมาเลีย เคนยา แทนซาเนีย

ประเทศไทยก็ไม่ได้รับการยกเว้นจาก “ปีศาจร้าย” ตนนี้

หลังจากเกิดเหตุการณ์ “สึนามิ” พัดถล่มชายฝั่งเมืองไทยพังวินาศ โทรทัศน์รายงานตัวเลขการสูญเสีย-ตัวเลขการสูญหายของผู้คนมากมาย ท่ามกลาง ภาพความชุลมุนที่ว่า ปรากฏภาพของ 2 คน
ดร.สมิธ ธรรมสโรช
คนแรก เป็นภาพของชายร่างใหญ่ ผมสองสี หน้าตาใจดี ดร.สมิธ ธรรมสโรช นักวิชาการที่ออกมาเตือนเรื่องเมืองไทยจะต้องเผชิญหน้ากับคลื่นยักษ์ วันนั้นไม่มีคนเชื่อ แต่ ณ วันนี้ทุกอย่างพิสูจน์แล้วว่าสิ่งที่เขาพูดเป็นเรื่องจริง

เชื่อหรือเปล่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ซึ่งเป็นวันที่ครบรอบการสูญเสียชีวิตของผู้คนมากมาย 5 ปีเต็มแล้ว..ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เริ่มต้นเล่ากับ ไทยรัฐออนไลน์ ด้วยน้ำเสียงผิดหวัง และเหนื่อยหน่ายว่า จากวันนั้นถึงวันนี้ทั้งหมดเป็น 5 ปีแห่งการสูญเสียโอกาส ซึ่งระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมามันพิสูจน์ได้ว่า

วันที่ผ่านมาประเทศไทยและผู้รับผิดชอบในโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ยัง “โง่งม” และไม่เคยเรียนรู้อะไรเลย
“ไม่ต้องอะไรอื่นไกล ปัจจุบันผมเพิ่งลงไปดูในพื้นที่ปรากฏว่าทุ่นเตือนภัยเพื่อวัดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์พิบัติภัยแห่งชาติว่าความแรงระดับนี้จะเกิดสึนามิหรือไม่ ถ้าเกิดแล้วลูกใหญ่แค่ไหนยังติดไม่ครบถ้วนตามเป้าหมายแล้ว ทุ่นเตือนภัยที่ติดตั้งเอาไว้เมื่อ 3-4 ปีก่อนนั้น วันนี้แบตเตอรี่ก็หมด ทั้งๆ ที่รู้ แต่คนที่รับผิดชอบก็ยังไม่ได้ไปเปลี่ยน

นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการป้องกันการสูญเสียทั้งหมดที่ ดร.สมิธ ได้เคยวางเอาไว้เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เช่น แผนจะต้องติดทุ่นเตือนภัยเพิ่มอีก 2 จุด ที่จะเอาไปวางไว้ระหว่างหมู่เกาะอันดามันกับหมู่เหมาะนิโคบา ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บริเวณชายฝั่ง จ.ภูเก็ต ไปจนถึง จ.ระนอง 3-4 ปีแล้วก็ไม่ได้ไปติดตั้ง ทั้งๆ ที่งบประมาณมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท ได้ทำเรื่องผ่านไปเรียบร้อยแล้ว

“ผมไม่รู้ว่าเขาทำอะไรกันอยู่ เพราะที่ผ่านๆ มาเห็นเขามาเซ็นสัญญาประมูลกัน 3-4 ครั้ง แต่ก็ยังไม่ได้ประมูลให้เสร็จสิ้นเสียที และเมื่อเราเห็นว่าทุกอย่างมันล่าช้า เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาอีก ก็เป็นห่วงว่าจะเกิดการเสียหายอย่างมหาศาล ผมจึงไปที่รัฐสภาเพื่อฟ้องร้องให้ตรวจสอบ ปรากฏว่าโดน ผอ.กลุ่มงานคลังพัสดุ ฟ้องกลับหาว่าหมิ่นประมาท”

อดีตผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า วันนี้ไม่มีใครรู้ว่าหลังจากเหตุการณ์สึนามิผ่านไป 5 ปี จนถึงวันนี้ในฐานะผู้เคยเป็นหนึ่งที่มีส่วนร่วมกับเหตุการณ์มาตั้งแต่ต้นๆ วันนี้ตนก็ยังเจ็บตัวมากขนาดไหน ทั้งที่ที่ผ่านมาทำเพื่อคนอื่นมาตลอด

“วันนี้เข้าปีที่ 5 ปี คุ้มค่ากับการแลกไหม สำหรับตัวผมไม่คุ้มแน่นอน ซึ่งความเสียใจมันทำให้ผมตัดสินใจลาออกจากผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แต่ถ้าการต่อสู้แล้วประชาชนได้ประโยชน์ผมถือว่าคุ้ม แต่อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาไม่ใช่แค่ผมจะต้องสู้กับคลื่นยักษ์สึนามิเท่านั้น ยังต้องสู้กับคน ต้องสู้กับความไม่รู้ ต้องสู้กับความเฉยชา บอกให้เขาทำอะไรก็ไม่ทำ บอกให้เขาจัดซื้อก็ไม่ได้ จี้ให้เขาเปลี่ยนแบตเตอรี่ทุ่นเตือนภัยเขาก็ไม่ใส่ใจ สิ่งที่ผมต้องเผชิญทำให้ผมแทบหมดกำลังใจจะต่อสู้”

ถามว่าความทรงจำตลอดระยะเวลา 5 ปีสึนามิที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ดร.สมิธ บอกว่า วันนี้ประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศที่วัวหายแล้วล้อมคอกเหมือนเดิม 5 ปีที่ผ่านมา หน่วยราชการก็ไม่มีใครจริงจังเกี่ยวกับเรื่องสึนามิ และก็ 5 ปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการลงไปให้ความรู้กับชาวบ้าน-นักเรียน กระทั่งชาวประมงที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยว่าเมื่อถึงเวลาที่มีแผ่นดินไหว จะต้องทำและป้องกันตัวหรือหลบหนีสึนามิอย่างไร วันนี้ก็ยังไม่มีความรู้เหมือนเดิม แทนที่ภาครัฐจะจัดการกลับเพิกเฉยในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมนานถึง 5 ปีเต็ม
ดร.สมิธ ฟันธงเอาไว้ว่า วันนี้ญี่ปุ่นผู้ศึกษาเรื่องสึนามิบอกว่าอีกไม่นานจะเกิดสึนามิอีกครั้ง ที่สำคัญมันจะเกิดขึ้นใกล้ๆ ประเทศไทย แล้วคลื่นที่ว่ามันจะลูกใหญ่กว่าครั้งก่อนมาก

“ผมพยากรณ์ได้ว่าถ้ารัฐบาลปล่อยปละละเลยเรื่องภัยธรรมชาติอย่างรัฐบาลนี้ อีกไม่นานจะมีการสูญเสีญครั้งยิ่งใหญ่ของคนไทย โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ริมชายฝั่ง ตั้งแต่จังหวัดระนองไปถึงสตูลจะมีการตายมากมายมหาศาลแน่นอน” อดีตผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าว

นี่คือภาพสะท้อนที่ชัดเจนกับ บทเรียน 5 ปี ซึ่งระบบการจัดการต่างๆ ยังไม่ได้ไปไหน และเป็นเรื่องที่หลายคนไม่รู้ จากปากคำของหนึ่งในฮีโร่ ดร.สมิธ ธรรมสโรช

พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
ถ้า ดร.สมิธ ธรรมสโรจน์ เป็นภาค “ฮีโร่” ผู้มีบาดแผล แบบที่คนทั่วไปไม่เคยรู้ พญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ก็เป็นอีกหนึ่ง “ฮีโร่” ที่มีบาดแผลฉกรรจ์โจ่งแจ้งมากมาย เป็นบาดแผลที่ว่ากันว่า หนักหนาสาหัสมากครั้งหนึ่งในชีวิต แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานถึง 5 ปีแล้ว เธอก็ยังไม่ลืมวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ภาพของผู้หญิงเก่ง ปากกล้า รูปร่างเล็ก แต่งตัวจัด ผมเผ้าซอยสั้นแต่หลากสี กำลังกุลีกุจอจัดการศพกองเท่าภูเขาย่อมๆ หลายลูก พร้อมกับก้มหน้าก้มตาจดบันทึกรายละเอียดลงไปในสมุด ภาพที่สื่อออกไปใครๆ ต่างก็ชื่นชมและยกให้เธอเป็นอีกหนึ่ง “ฮีโร่” ของเหตุการณ์สึนามิ

“..ทุกๆ ครั้งที่มีคนเรียกหมอคำนี้ (ฮีโร่) หมอจะปฏิเสธทันทีว่าหมอไม่ใช่ ฮีโร่…” หมอพรทิพย์ ให้เหตุผลว่า “ฮีโร่” มันมีแต่ในหนัง โดยตลอดระยะ 40 วันไปคลุกกับสึนามิเธอเจอปัญหามากมาย โดนทั้งก้อนอิฐ หิน คำด่า คำครหา หรือแม้โดนตราหน้าว่า “โกงเงินศพ”ทั้งหมดเป็นข้อหาที่หนักหนามากที่สุดในชีวิต

หมอไม่เคยคิดเลยว่าจะมีคนที่เลวร้ายแบบนี้อยู่ในโลก”

คุณหมอพรทิพย์ ย้อนภาพที่ยังติดตามาตลอดระยะเวลา 5 ปี ว่า วันที่เกิดเหตุเธอกำลังอยู่ในงานเลี้ยงฉลองวันปีใหม่อย่างสนุกสนาน แต่ทันทีที่เหลือบไปเห็นตัววิ่งรายงานข่าวว่ามีสึนามิถล่ม และคนไทยตายเกือบพันคน หลังจากรายงานผู้บังคับบัญชาตามละดับขั้นพร้อมกับประสานทีมงานทำงานเสร็จก็ รีบนั่ง C 130 ลงไปทันที

“วันที่หมอไปทุกๆ อย่างสับสนไปหมด ซึ่งพอลงไปยัง อ.ตะกั่วป่า เห็นสภาพศพ 500 คน หมอรู้ทันทีเลยว่านรกมีจริง คือคนกองเต็มวัด แน่นอนว่าในสถานการณ์ไม่มีผู้บัญชาการแบบนั้นทำให้การประสานงานวุ่นวายไปหมด วันนี้กล้าพูดได้ว่าตลอด 40 วันที่อยู่ในพื้นที่ นี่เป็นเคสที่เหนื่อยและโกลาหลมากที่สุดในชีวิต แต่ก็โชคดีที่เรามีอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยเหลือก็ดี และนี่คือสิ่งที่ทั่วโลกชื่นชมที่คนไทยยังรักกัน” หมอพรทิพย์กล่าว

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากความภูมิใจข้างต้น หมอพรทิพย์ บอกว่า มันก็ยังมีบาดแผลฉกรรจ์ เป็นเสมือนแผลเป็นที่ไม่มีวันลบเลือนก็คือความขัดแย้งระหว่างคนไทยด้วยกัน

“5 ปีแล้วน่าแปลกที่ยังไม่ลืม ยังคิดอยู่ตลอดเลยว่า ทำไมคนอย่างเราต้องมาเจออะไรแบบนี้ หมอโดนตำรวจกล่าวหาว่าเราโกงเงินบริจาค 60-70 ล้านบาท มันน่าหดหู่ก็คือ ความใจแคบ ปากต่อปากพูดกันไป อันนี้มันเป็นความใจแคบทั้งๆ ที่เราไม่ได้มีอะไรกันเลย ที่สำคัญเมื่อผ่านเหตุการณ์นี้มาวิจัย ต่างประเทศเชิญไปบรรยายสิ่งที่เราทำลงไป ถูกทุกขั้นตอน ครบถ้วน ซึ่งถ้าเรามองย้อนดูสิ่งที่เราได้รับกับตำรวจ ก็มองว่ามันคือ “มารตัวแรง” ก็ถือว่าเป็นแบบฝึกหัดที่ดี ซึ่งที่สุดแล้วหมอก็ผ่านมาได้ ที่สำคัญวันนี้เราพิสูจน์แล้วว่าทุกๆ อย่างมันใสสะอาดไม่ใช่หมอชนะ แต่เราเคลียร์สิ่งที่เขากล่าวหาได้หมด ขณะที่คนเป็นตำรวจทั้งยศพันตำรวจตรี พันตำรวจโทมันไม่ได้จับศพสักคน แค่อยากมีอำนาจและมากล่าวหาคนอื่นฝ่ายเดียวอย่างนี้มันไม่ใช่ลูกผู้ชาย” หมอพรทิพย์กล่าว

อย่างไรก็ดี ความเสียใจตลอดระยะ 5 ปีที่ผ่านมา คุณหมอพรทิพย์ยอมรับว่าทุกๆ ครั้งพอถึงวันครบรอบโศกนาฏกรรมสึนามิ จะพยายามหนีทุกๆ ครั้งที่เขาเชิญไปร่วมงาน เพราะรู้ดีว่าตัวเธอเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งหากลงไปร่วมงานมันจะไปกระตุ้นต่อมรำคาญของตำรวจ อย่างไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นยังไงเราก็ไม่เลิกทำดี

“สำหรับหมอแล้ววันนี้เป็นวันที่ครบรอบ 5 ปีแห่งการสูญเสียชีวิตผู้คนมากมายแล้ว แต่น่าแปลกก็คือบทเรียนราคาแพงในวันนั้น วันนี้ประเทศไทยยังหลวมเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการที่ไม่ดี อีกทั้งอำนาจต่างๆ ภาครัฐยังมอบเอาไว้ให้ตำรวจใช้ตามแต่ใจ คำถามก็คือวันนี้พอคุณมีอำนาจอยู่ในมือเชื่อหรือเปล่าว่าทุกๆ อย่างเขาซ้อมกันหมด แต่กับเรื่องศพไม่เคยซ้อม เรื่องการฝึกการบริหารสถานการณ์วิกฤติไม่เคยซ้อม ทั้งๆ ที่เป็นส่วนสำคัญมากๆ ซึ่ง 5 ปีสึนามิก็ไม่เห็นมีการซักซ้อมกับเรื่องการจัดการศพขนาดมากๆ แต่ก็ ไม่มีการทำเลยสักครั้ง จนถึงวันนี้” หมอพรทิพย์ กล่าว

นอกจากสิ่งที่ฮีโร่ทั้ง 2 คน กล่าวถึงอารมณ์ความรู้สึก กลิ่นศพ ความไม่มีระบบ คนคดโกง ป้ายสีของเมืองไทย ที่ยังตราตรึงทุกๆ ครั้งเมื่อโศกนาฏกรรมสึนามิเวียนมาบรรจบ อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นหัวใจหลักไม่อาจมองข้ามไปได้ ก็คือคำถามใหญ่ที่ว่า เมื่อมาถึงวันครบรอบ 5 ปีแห่งการสูญเสียชีวิตของผู้คนมากมายที่ผ่านมา ณ วันนี้คนในพื้นที่ริมชายฝั่ง ชีวิตของชาวบ้านตาดำๆ ก็ยังคงแขวนไว้บนเส้นดาย ต้องเผชิญกับระบบเตือนภัยและระบบการจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพ ทุ่นเตือนภัยที่มีก็เหมือนไม่มี หลุมหลบภัยใกล้กับริมชายฝั่งทะเลก็ไม่มี ที่หลบภัยบนภูเขาก็ยังไม่ไปถึงไหน ของที่ผู้เกี่ยวข้องจัดลงไปในพื้นที่ประสบภัย ก็ไม่เคยตรงกับสิ่งที่ชาวบ้านต้องการ…?

แม้กระทั่งการจัดการระบบศพจำนวนมหาศาลอย่างนี้ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบกลับไม่แยแสใส่ใจ นำบทเรียนโศกนาฏกรรมสึนามิมาปรับปรุง แก้ไข และเตรียมทุกๆ ขณะของความพร้อมก่อนเหตุจะเกิดหรือไม่
หรือผู้มีอำนาจจะต้องรอให้มีกองศพสูงเสียดฟ้าอีกมากเท่าใด ประเทศไทยจึงจะเปลี่ยนแปลง…???
------------------------------------
ขอบคุณ ภาพ-ข่าวทีมงานไทยรัฐออนไลน์
ขอบคุณ แฟ้มภาพ ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ที่มา: http://www.bankrunu.com/?p=4032
------------------------------------
หวังว่าเพื่อนๆ คงได้ไอเดียเพิ่มเติมนะครับว่า จากเหตการณ์ดังกล่าว
จากข้อมูลฮีโร่ทั้ง 2 ท่าน ดังกล่าว ควรจะกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะได้อย่างไรบ้าง
มองหา keyword ให้เจอ
------------------------------------
ดร.สมิธ ธรรมสโรจ
----------------------------------
ข้อบัญญัติบรรเทาสาธารณภัย 10 ประการ (อีกครั้ง)
1. สังเกตปรากฎการณ์ของชายฝั่ง หากน้ำทะเลลดระดับลงมาก หลังเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่า อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้รีบอพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยง ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง
2. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ที่ท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่า จะเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก
3. คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอก จากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากการแกว่งไปแกว่งมาของน้ำทะเล ดังนั้น ควรรอสักระยะหนึ่ง จึงจะสามารถลงไปชายหาดได้
4. ติดตามการเสนอข่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
5. ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยที่จะเจอคลื่นสึนามิ หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ เพื่อลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง
6. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
7. ในย่านที่มีความเสี่ยงภัยทึ่จะเจอคลื่นสึนามิ ให้หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่ง
8. จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อยู่อาศัย ควรมีระยะห่างจากฝั่ง
9. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัย จากคลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว
10. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณสุข การรื้อถอน และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง
------------------------------------
Tai

PA604,704: บทวิเคราะห์บทความการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อ.นิธิฯ โดยหลวงพี่กอล์ฟ

บทวิเคราะห์บทความการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อ.นิธิฯ โดยหลวงพี่กอล์ฟ
-------------------------------------
อาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือต้องการลดความเลื่อมล้ำทางสังคมมันเกี่ยวกับจิตสำนึกหรือสัญลักษณ์

วิเคราะห์จากบทความของอาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์
สังคมเปลี่ยน ระบบการเมืองไทยต้องเปลี่ยน ระบบการเมืองไทยไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ภูมิหลังเศรษฐกิจการเมืองของไทย พบว่าการเกษตรเพื่อเลี้ยงตนเองลดน้อยลง ส่วนใหญ่ทำการเกษตรในเชิงพาณิชย์ เพราะมีการเติบโตของเมือง ในเขตชนบทเปลี่ยนไปเพราะขายพื้นที่ทำกินหรือเปลี่ยนอาชีพ เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ระบบการเมืองคงสภาพเดิมไม่ได้

ในสังคมมนุษย์ปัจจุบันเวลาพูดถึงสำนึกทางการเมืองเป็นเรื่องธรรมดาที่มีคนบางกลุ่มอยากเข้ามามีส่วนร่วมกำกับดูแลให้นโยบายเป็นประโยชน์แก่ตนเอง ระบบการเมืองไม่กระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่คนส่วนใหญ่ทุกครั้งที่ระบบเศรษฐกิจสังคมเปลี่ยน ต้องปรับระบบการเมือง เพราะการเมืองคือการสะท้อนกฎเกณฑ์ กติกา ระเบียบปฏิบัติ ที่ประสานผลประโยชน์ของคนหลากหลายกลุ่ม ผลประโยชน์เปลี่ยน ตัวระบบการเมืองเองต้องเปลี่ยน ประเทศไทยเคยปรับระบบการเมืองมาหลายหนแล้ว การปรับเปลี่ยนการเมืองรับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสังคมต้องใช้เวลา ช่วงนี้เป็นระยะเวลาของระบบการเมืองไทยปรับตัวเอง และพรรคการเมืองไทยควรเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมเพื่อปรับตัวเอง หากเปรียบเทียบในหลายสังคม ประเทศอังกฤษมีประชาธิปไตยตรงไปตรงมา ไม่เสียภาษีก็ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยไม่มีข้อยกเว้นหากคนชั้นนำในสังคมรู้แข่งขัน ประนีประนอมกันโดยวิธีการขยายกติกา โอกาสพัฒนาประชาธิปไตยก็มี แต่ต่างคนต่างแข่งขันต่างแยกกันดีโอกาสพัฒนาประชาธิปไตยก็น้อยลง

การชุมนุมในปัจจุบัน กรณีรับจ้างชุมนุม มนุษย์สามารถทำอะไรได้นอกเหนือเงื่อนไขเงินเพียงอย่างเดียวได้ เพราะมนุษย์มีแรงจูงใจในพฤติกรรมสลับซับซ้อนกว่าปัจจัยเดียว เพราะการชุมนุมไม่ใช่เรื่องง่าย คนส่วนหนึ่งมาชุมนุมไม่ใช่ต้องการโอกาสทางการเมือง แต่เกิดสำนึกว่าถูกเบียดบัง ถูกกดขี่ ทำให้เกิดวิวัฒนาการไม่ยอมเกิดขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
สภาพปัจจุบัน วิเคราะห์ให้ดีทักษิณ ชินวัตรไม่ได้ดีเลิศอะไรมากมาย แต่ทักษิณคือสัญลักษณ์ของยุคสมัยอุดมคติ คำว่า ไพร่ เกิดขึ้นจากความเลื่อมล้ำในสังคมเกิดความเจ็บปวดทางความรู้สึกไม่พอใจกับสภาพเหลื่อมล้ำที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบตลอดเวลาทำให้เกิดการชุมนุม

ระบบอำมาตย์ มองว่าเป็นการใช้สัญลักษณ์เหมือนกัน ใครส่งเสียงดังก็เอาคนนั้นเป็นหลัก ระบบอย่างนี้เรียกว่า อำมาตย์ คือ ไม่ฟังเสียงประชาชน แต่ฟังคนเสียงใหญ่ การพิสูจน์ว่าตัวเองปฏิบัติต่อทุกคนให้เสมอภาค ไม่ใช่แค่คำพูด ต้องทำ ซึ่งทำยากในสภาพสังคมที่เหลื่อมล้ำสูง
------------------------------------
บทวิเคราะห์โดยหลวงพี่กอล์ฟ
------------------------------------
Tai

PA604,704: วิเคราะห์ FOOD INC และสรุปนิยามนโยบายสาธารณะ โดยหลวงพี่กอล์ฟ

วิเคราะห์ FOOD INC และสรุปนิยามนโยบายสาธารณะ โดยหลวงพี่กอล์ฟ
------------------------------
ผศ. สุรัตน์ โหราชัยกุล
นิยามของนักวิชาการ 3 คน (เฮกโก, อิสตัน, เจินกิ้นส) คิดว่านิยามของนักวิชาการคนใดสอดคล้องกับโลกความเป็นจริงมากที่สุด เพราะอะไร ยกตัวอย่างนโยบายสาธารณะประกอบ
------------------------------
ส่วนที่ 1 ประเมินนโยบายสาธารณะตามนิยามของนักวิชาการ 3 คน

เลือกนิยามของ David Easton สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด Easton มองว่านโยบายสาธารณะ คือ นโยบายใดนโยบายหนึ่งประกอบด้วยเครือข่ายแห่งการตัดสินใจและการกระทำที่สรรหาคุณค่าทางสังคม

เพราะอำนาจในการจัดสรรค่านิยมของสังคมทั้งมวลและผู้มีอำนาจในการจัดสรร คือ รัฐบาลและสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำมีผลมาจากการจัดสรรค่านิยมในสังคม นโยบายของรัฐบาลมีลักษณะเป็น นโยบายประชานิยม การตัดสินใจในนโยบายใดๆ ต้องดูความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก

เช่น โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ เรียกกันว่า 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นโครงการรัฐบาลที่ทำเพื่อให้ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพ โดยคนไทยทุกคนสามารถรับบริการรักษาโรค โดยจ่ายเพียงสามสิบบาท โดยภาครัฐจะให้ประชาชนลงทะเบียนกับโรงพยาบาลและรัฐจัดสรรงบประมาณลงในโรงพยาบาลตามจำนวนคน และแจกบัตรประจำตัวให้แก่ผู้รับบริการ เรียกกันว่า บัตรทอง
การให้บริการและการเข้าถึงการบริการในการประกันสุขภาพ ถือเป็นภารกิจหลักที่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญ หากทำการศึกษาแหล่งที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายในการประกันสุขภาพให้กับประชาชน รัฐบาลและเจ้าหน้าที่จะต้องให้การบริการในด้านการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยที่ไม่มีช่องว่างในการบริการระหว่างคนรวยและคนจน นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค
ผลของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งมีทั้งข้อดีและเสีย รัฐบาลจะต้องนำข้อมูลมาทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลของนโยบายต่อไปและเข้าสู่กระบวนการเดิม เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าหากระบบในการบริหารจัดการดี มีทรัพยากรที่พอเพียง การที่จะปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลต่างๆก็จะสนองตอบนโยบายได้เป็นอย่างดี แต่หากขาดสิ่งที่มาสนับสนุนดังที่กล่าวมาการที่จะนำพานโยบายให้บรรลุผลก็คงสำเร็จยากแน่นอน

Easton ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตัดสินใจนโยบายกับประชาชนในสังคม ว่าการตัดสินใจในนโยบายใดของรัฐบาลต้องคำนึงถึงค่านิยมและระบบความเชื่อของคนในสังคมเป็นสำคัญ ซึ่งหากกำหนดนโยบายไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนรัฐบาลย่อมถูกปฏิเสธ

ส่วนที่ 2 ประเมินนโยบายสาธารณะว่าด้วยอาหารของ Us ตามคำบอกเล่าใน Food Inc.

Food inc. เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเบื้องหลังธุรกิจอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่แอบแฝงบางประเด็นที่ประชาชนไม่ได้มีโอกาสรับรู้ ในความไม่ปลอดภัยหรือกลไกการผลิต วัตถุดิบต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องประสบเจอในชีวิตประจำวัน คือ การบริโภคอาหารเหล่านี้นั่นเอง รวมไปถึงอำนาจของบรรษัทที่มีต่อเกษตรกร ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบขาดเสรีภาพส่วนบุคคล โดยที่รัฐบาล ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือซึ่ง เป็นการมองข้ามประโยชน์สุขของประชาชน ที่เรียกว่า นโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เสมอภาคกัน

การประเมินเกี่ยวกับเรื่อง Food inc. คือหลักประสิทธิภาพ ความเป็นธรรม
ความยุติธรรม และเสรีภาพส่วนบุคคล

หลักประสิทธิภาพ การสรรหาวิธีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้บรรลุเป้าหมายเกิดประโยชน์สูงสุด อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ถ้ามองการกลไกการทำธุรกิจในภาคเอกชนของบรรษัทนั้นถือว่าประสบความสำเร็จคือ หาผลกำไรมากที่สุดโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำ ใช้ทรัพยากรมนุษย์และธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมกับงาน ผลิตผลผลิตได้ตามความต้องการของตลาด มีการใช้มืออาชีพเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจการ

แต่สิ่งที่บรรษัทปฎิบัตินั้นมุมมองของนโยบายสาธารณะคือ การเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรผู้ที่ทำไร่ทำนาเป็นอย่างยิ่ง และไม่ได้คำนึงถึงกระบวนการผลิตที่บิดเบือนไปจากธรรมชาติโดยบรรษัทนั้นเข้ามามีบทบาทในการผลิตมากอย่างคิดโกงคำนึงถึงแต่เป้าหมายคือผลกำไรมากเกินไปโดยทำอะไรก็ได้ที่ให้ตนเองนั้นอยู่รอดโดยการตัดมือตัดเท้าชาวไร่ชาวนาในการทำมาหากิน การผลิตที่ไม่สามารถผลิตทรัพยากรที่มีความต้องการของตลาดได้ เพราะมีกรรมวิธีที่ต่างกัน ซึ่งแน่นอนการผลิตของชาวไร่ชาวนาเป็นไปตามธรรมชาติ ที่มีปัจจัยที่เกิดผลกระทบหลายๆอย่างในการผลิต

ความเป็นธรรม ในเรื่อง Food inc. นั้น ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมหลายๆอย่างที่บรรษัทได้กระทำต่อขาวไร่ชาวนา เช่น เมล็ดการเพาะปลูกที่ถูกตกแต่งพันธุกรรมและนำไปจดสิทธิบัตรแล้วนำมาครอบงำให้ชาวไร่ชาวนาปลูก โดยอาศัยอำนาจรัฐบาล มองแบบหยาบๆคือเมื่อเพาะปลูกแล้วก็ได้ผลผลิตแต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธ์ไว้ได้อีก จำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธ์ใหม่อยู่เสมอจากบรรษัท หากเก็บไว้ก็จะถูกฟ้องร้อง ชาวไร่ชาวนาก็ต้องสู้คดีเองโดยใช้ทุนส่วนตัว ซึ่งแน่นอนไม่สามารถสู้กับอำนาจทุนของบรรษัทเหล่านี้จึงต้องแพ้ไปในที่สุด

ผู้บริโภคก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมโดยไม่เปิดเผยในสิ่งที่เค้าบริโภคว่ามีอะไรเจือปนหรือกรรมวิธีผลิตอย่างตรงไปตรงมาแล้วถ้ามีใครวิพากวิจารณ์ก็จะถูกฟ้องร้องเพราะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ทั้งที่เราทุกคนได้จ่ายภาษีให้กับรัฐแต่การรับรู้ความเป็นจริงไม่ได้สนองตอบกลับมา

ความยุติธรรม ในเรื่อง Food inc. การที่บรรษัทเหล่าในนี้ใช้กฎหมายตัวเดียวกับประชาชน แต่ก็สามารถหลบเหลี่ยงข้อกฎหมายได้ ฉะนั้นผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนต้องออกมาหาข้อเรียกร้องเอง เพื่อหาความยุติธรรม ในเรื่องของโรงงานเลี้ยงสัตว์นั้นถ้าเป็นชาวไร่ชาวนาธรรมดา ถ้าถูกตรวจพบว่ามีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ก็จะถูกปิด แต่บรรษัทเหล่านี้กลับถูกมองว่าไม่มีข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิดเชื้อโรคเลย การปลิวของละอองเกสรนั้นบรรษัทก็จะหาว่าชาวละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความไม่ยุติธรรมเป็นสองมาตรฐานที่รัฐได้กระทำกลับประชาชน ผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่เหมือนกับกลับบรรษัท ต่างกันเพียงแค่ความร่ำรวย

หลักเสรีภาพส่วนบุคคล ในเรื่อง Food inc. ชี้ให้เห็นถึงการขาดเสรีภาพของชาวไร่ชาวนาที่ถูกจำกัดอย่างขาดเสรีภาพ ในเรื่องการผลิตผลผลิตเช่นการเก็บเมล็ดพันธ์ข้าวโพด
การเลี้ยงสัตว์ที่ต้องปกปิดแสงอาทิตย์ ซึ่งทำให้เสรีภาพในการทำมาหากินถูกกีดกัน เพราะว่าชาวไร่ชาวนานั้นมีความจำกัดในเรื่องเสรีภาพในการทำมาหากินมากเกินไป การเลี้ยงสัตว์อย่างธรรมชาติก็ไม่น่าถูกกดขี่จากรัฐและบรรษัทเหล่านั้น เพราะทุกคนมีเสรีภาพในการทำมาหากินโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน เพราะอาศัยธรรมชาติและธรรมชาติก็ไม่มีส่วนได้เสียของการทำเกษตร การเลี้ยงสัตว์ นี่สิ่งที่เห็นได้ชัดในเสรีภาพในการทำมาหากิน แต่บรรษัทมีอิสระเสรีในการกระทำสิ่งต่างๆได้อย่างเต็มที่
----------------------------
บทวิเคราะห์และสรุปโดยหลวงพี่กอล์ฟ
----------------------------
Tai

PA604,704: วิเคราห์วงจรระบบนโยบายสาธารณะ โดยหลวงพี่กอล์ฟ

บทวิเคราะห์วงจรระบบการทำนโยบายสาธารณะ โดยหลวงพี่กอล์ฟ
---------------------------
ผศ. พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล

ยกตัวอย่างนโยบายสาธารณะที่มีการทำงานเป็นวงจรระบบ แล้วบอกข้อดี-ข้อเสียของนโยบายสาธารณะประกอบ
---------------------------
(วงระบบ นโยบายที่เข้ากับวงจรระบบ และวิเคราะห์นโยบาย)

[ ปัจจัยนำเข้า ] -----> [ กระบวนการทางการเมือง ] ------> [ ปัจจัยนำออก ]

^...................................[ ผลย้อนกลับ ]...............................^

ระบบการเมือง เกิดจากแนวคิดของ เดวิด อีสตัน ที่ประกอบด้วย สภาพแวดล้อม คือ สภาพสังคม สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อระบบ

ปัจจัยนำเข้า คือ ข้อเรียกร้องหรือความต้องการของประชาชน เพื่อให้รัฐได้สนองความต้องการ เช่น การศึกษา สาธารณะสุข หรือแม้แต่ความมีส่วนร่วมทางการเมือง

กระบวนการทางการเมือง เป็นการเอา ปัจจัยนำเข้ามาสู่กระบวนการทางการเมืองหรือการที่รัฐบาลเอานโยบายต่างของพรรคการเมืองที่ได้สัญญาประชาคมกับประชาชนมาพิจารณาว่าจะกระทำหรือไม่กระทำ การจัดทำนโยบายนั้นหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานต่างๆนั้นจะเป็นผู้นำนโยบายไปปฎิบัติ

ปัจจัยนำออก คือ ผลผลิตของรัฐบาลจากการตัดสินใจที่ออกมาจากกระบวนการทางการเมือง เป็นการบริการนโยบายสาธารณะ เพื่อสนองความต้องการของประชาชน

ผลสะท้อนกลับ คือ ผลสะท้อนอันเนื่องมาจากการทำงานของรัฐหรือตัวนโยบายของรัฐที่นำไปใช้ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี เป็นสิ่งที่ถูกตัดสินจากประชาชนว่าพอใจมากน้อยเพียงใด รัฐบาลก็ต้องนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

สรุป ระบบการเมืองมีลักษณะเป็นวงจร มีการทำงานเป็นรูปแบบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา มีการนำเข้าสู่กระบวนการและนำออก โดยไปปฎิบัติเพื่อความต้องการของประชาชนส่วนผลตอบรับนั้นก็มีประชาชนเป็นตัวตัดสิน และวนเวียนไปอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ

ยกตัวอย่าง
นโยบายสาธารณะที่มีการทำงานเป็นวงจรระบบ คือ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นนโยบายสาธารณะที่เห็นว่าสอดคล้องกับทฤษฎีระบบ มองว่าเป็นการตอบสนองของระบบการเมืองที่ได้รับอิทธิพลต่างๆ จากสภาพแวดล้อม ซึ่งเรียกร้องผ่านระบบ และกระบวนการต่างๆที่มีอำนาจหน้าที่จัดสรรคุณค่าแก่ประชาชนในสังคม

ปัจจัยนำเข้าอาจจะเป็นข้อเรียกร้องต้องการหรือการสนับสนุนจากประชาชน จะถูกนำเข้าสู่ระบบการเมือง เพื่อกลั่นกรองแล้วตัดสินใจออกมาเป็นนโยบายสาธารณะ ดังนั้นนโยบายสาธารณะจึงเป็นผลผลิตของระบบ ผลของนโยบายจะตกอยู่กับประชาชน โดยจะประเมินว่านโยบายดังกล่าวตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากน้อยเพียงใดจากผลย้อนกลับมา

เริ่มต้นต้องหาผู้เกี่ยวข้องกับนโยบาย ซึ่งจากนโยบายนี้ก็คือ ประชาชนที่จะเข้ารับบริการด้านสุขภาพ บุคลากรทางสาธารณสุข และรัฐบาล

สภาพแวดล้อมของนโยบาย สภาพแวดล้อมของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคนอกเหนือจากปัญหาสุขภาพของประชาชน และการที่ประเทศไทยยังขาดระบบประกันสุขภาพที่ดีแล้ว สิ่งแวดล้อมทางการเมืองส่งผลอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดนโยบายนี้ขึ้นมา นั่นคือในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำประชาชนต่างมีรายได้ลดลงหรือมีความเป็นอยู่ที่ด้อยลงเมื่อพรรคการเมืองนำเสนอนโยบาย ประชาชนจึงให้การสนับสนุน

ดังนั้นโดยภาพรวมนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเกิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญคือชนชั้นนำในรัฐบาล เป็นฝ่ายที่ศึกษาและผลักดันให้เกิดนโยบายนี้ ประกอบกับสภาพแวดล้อมของนโยบายในขณะนั้นคือการมีปัญหาด้านระบบประกันสุขภาพที่ยังไม่ทั่วถึง พร้อมกับสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่เหมาะสมและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ประชาชนมีรายได้ต่ำลงทำให้สนับสนุนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคจึงเกิดขึ้น

เมื่อมีนโยบายออกมา นโยบายได้ส่งผลสะท้อนกลับมาที่ผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายคือตัวประชาชนเองได้รับการประกันสุขภาพโดยรักษาโรคต่างๆในราคา 30 บาท ขณะเดียวกันนโยบายนี้ก็ส่งผลต่อคะแนนนิยมทางการเมืองให้กับรัฐบาล และส่งผลให้เจ้าหน้าที่ทางสาธารณะสุขต้องปรับระบบการทำงาน และการให้บริการต่อประชาชน

ข้อดี
1.ประชาชนทุกคนโดยเฉพาะผู้ยากไร้ได้มีหลักประกันสุขภาพ อย่างทั่วถึงเท่าเทียม
2.ประชาชนมีสิทธิเลือกบริการที่หลากหลายจากผู้ให้บริการประเภทต่าง ๆ
3.ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้กับประชาชน
4.ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น

ข้อเสีย
1. ยังไม่ครอบคลุมคนที่ไม่มีเลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก รวมทั้งชาวเขา และคนไร้หลักแหล่ง ซึ่งไม่มีการตั้งงบประมาณไว้
2. ยังมีความแตกต่างระหว่างบัตรทอง (30บาท) กับบัตรข้าราชการ และบัตรประกันสังคม และยังมีความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท ในเรื่องสถานพยาบาล จำนวนหมอ พยาบาล ซึ่งยังขาดแคลนในชนบทในระบบ 30 บาทยังไม่มีแรงจูงใจพอที่จะให้หมอกระจายตัวไปอยู่ในชนบท มีระบบบัตรทอง 2 แบบคือบัตรทองแบบจ่าย 30 บาท และบัตรทองไม่ต้องจ่าย (ฟรี) ก็ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน เพราะการเก็บค่าธรรมเนียม 30 บาททุกครั้งที่ไปรับการรักษานั้น เป็นปัญหาสำหรับคนป่วยเรื้อรัง ที่ต้องไปพบหมอเป็นประจำ และสำหรับบางคนเงิน 30 บาทก็เป็นอุปสรรคต่อการเข้ารับบริการได้
3. ยังไม่ครอบคลุมทุกโรค มีการยกเว้นโรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกไต และยาต้านไวรัสเอชไอวี
4. ยังกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนตามเขตการปกครอง แบ่งพื้นที่แบบภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงบริการสำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ชายขอบ และผู้ที่อพยพเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร
5. ใช้วิธีกำหนดงบประมาณต่อหัวไว้ค่อนข้างต่ำ เป็นเหตุให้ต้องมาจำกัดสิทธิประโยชน์ในการรักษา ทำให้คุณภาพการบริการลดลง
6. ยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการดำเนินการเบ็ดเสร็จโดยรัฐ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมตัดสินใจ หรือมีส่วนร่วมในการจัดการบริหารงบประมาณ และการบริหารระบบบริการสุขภาพในชุมชนของตนเอง
จากกรอบวงจรระบบจะเห็นได้ว่านโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ก่อกำเนิดมาจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ โดยอาศัยการสนับสนุนในส่วนของประชาชน ข้อเรียกร้อง สภาพทางสังคม และแนวทางพื้นฐานแห่งรัฐ ขณะเดียวกันก็มีเสียงคัดค้านจากสถานพยาบาล ผู้บริหารระดับสูง พนักงานสายปฏิบัติ หลังจากนั้นรัฐบาลได้นำแนวคิดดังกล่าวสู่กระบวนการทางการเมืองด้วยการแปรรูปออกมาเป็นนโยบาย โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหัวจักรสำคัญในการสนองตอบนโยบาย และสุดท้ายก็นำมาสู่กระบวนการประเมินผลของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งมีทั้งข้อดีและเสีย รัฐบาลจะต้องนำข้อมูลมาทำการศึกษาและวิเคราะห์ผลของนโยบายต่อไปและเข้าสู่กระบวนการเดิม ดังนั้นจะเห็นว่าหากระบบในการบริหารจัดการดี มีทรัพยากรที่พอเพียง การที่จะปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลต่างๆก็จะสนองตอบนโยบายได้เป็นอย่างดี แต่หากขาดสิ่งที่มาสนับสนุนดังที่กล่าวมาการที่จะนำพานโยบายให้บรรลุผลก็คงสำเร็จยากแน่นอน
------------------------------------------------
(วิเคราะห์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

สรุป แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงยังต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้วิสัยทัศน์แห่งการพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) ที่นอกจากจะมีเป้าหมายการพัฒนาคน ชุมชน เศรษฐกิจ ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมุ่งให้เกิดธรรมาภิบาลขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะในการบริหารจัดการประเทศ การวางแผน และจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ส่วนรวม ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และมีประสิทธิภาพสูง

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
จากเนื้อหาสาระโดยสรุปของแผนฯ ฉบับที่ 11 และวิสัยทัศน์ประเทศไทยสู่ปี 2570 นั้น ทำให้เห็นมิติของกระบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนในหลายประเด็น ที่สำคัญ คือ ในส่วนของสถาปัตยกรรมทางสังคม ได้มีเนื้อหาที่สื่อถึงมิติในงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเน้นให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนา ในส่วนของสัญญาประชาคมใหม่ ได้กล่าวถึง กระบวนการสัญญาประชาคม บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ โดยดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนตั้งแต่การสร้างความคิดร่วม (Social Consensus) การหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและยึดถือ (Social Commitment) และนำไปสู่การปฏิบัติ (Action) ซึ่งเป็นภาพรวมและแนวทางกว้างๆ ในการนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป

ส่วนใหญ่นั้นได้กล่าวถึงเศรษฐกิจรวมทั้งแนวโน้มทางด้านเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ยังมีเนื้อหาสาระบางส่วนที่ขาดหายไป อาทิเช่น มิติของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นน่าจะมีบรรจุไว้ในแผนฯ 11 ด้วย

ประการสำคัญ คือ ทำอย่างไรจะให้แผนฯ 11 ที่ได้กำหนดไว้มีการพิจารณาอย่างครบถ้วนทุกมิติและรอบด้าน รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขโดยให้ประชาชนและทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
-----------------------------
บทวิเคราะห์โดยหลวงพี่กอล์ฟ
-----------------------------
Tai

PA604,704: วิเคราะห์บทความสึนามิ โดย หลวงพี่กอล์ฟ

สรุปข้อมูลโดยหลวงพี่กอล์ฟ
------------------------------------
รศ. พิพิฒน์ ไทยอารี
วิเคราะห์บทความเรื่องสึนามิว่ามีนัยยะในเชิงนโยบายสาธารณะอย่างไรและแผนผังที่รัฐต้องเข้ามาแก้ไขการคลังสาธารณะอย่างไร
-----------------------------------
บทความ “สึนามิ” สะท้อนถึงบทเรียนของรัฐบาลในอดีตที่ขาดแผนป้องกัน ความล้าสมัยด้านเทคโนโลยี คนหวังดี ประสงค์ดีไม่มีที่ยืนในสังคม เพราะมองว่าเป็นเรื่องใหม่เหมือนเป็นคนบ้าในสายตาชาวโลก ทำให้รัฐบาลขาดแผนป้องกันหรือนโยบายสาธารณะในการรับมือ วิเคราะห์ตามแนวนโยบายสาธารณะที่ผ่านมาเป็นเรื่องใหม่ในสังคม เชื่อว่าเป็นการทำนายหรือพยากรณ์เหตุการณ์ ทั้งเป็นกลุ่มนักวิชาการที่ขึ้นชื่อว่าทำนายเหตุการณ์สึนามิได้แม่นยำมากที่สุด แต่รัฐบาลไม่ได้มีแผนรับมือป้องกัน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกิดความไม่ชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ รัฐหรือประชาชนขาดความรอบรู้ในเรื่องสึนามิ
.
แต่ปัจจุบันรัฐบาลสามารถออกเป็นนโยบายสาธารณะในการป้องกันเพื่อรับมือสถานการณ์ได้ โดยทำการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ ประชากร ที่ตั้งของรัฐ วัฒนธรรมการเมือง โครงสร้างสังคม เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อป้องกัน รับมือ ช่วยเหลือไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำ ผ่อนหนักให้เป็นเบา ควรติดตั้งระบบเตือนภัยที่ดีมีประสิทธิภาพ ประชาชนในพื้นที่ต้องคอยระมัดระวังฟังข้อมูลข่าวสารจากศูนย์เตือนภัย
.
ดังนั้น นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร และความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามนโยบายที่เกิดขึ้น มีการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระยะเวลาที่เหมาะสม เผยแพร่นโยบายสิ่งแวดล้อมสู่สาธารณชนภายนอกนโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการทบทวนให้ทันสมัยอยู่เสมอ และต้องได้รับการตรวจสอบว่ายังมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะถูกดำเนินการโดยการตรวจประเมินระบบภายในหรือภายนอก และเป็นการทบทวนระบบ หลังจากถูกตรวจประเมินแล้ว
.
ในด้านความร่วมมือกับภาคประชาชนและมูลนิธินั้น รัฐบาลไม่สามารถทำงานอย่างเดียวได้ จึงต้องมีการประสานงานให้มูลนิธิต่างๆหรืออาสาสมัครร่วมกับภาคประชาชนในพื้นที่เป็นหูเป็นตาดูแลและตรวจสอบในสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งเครื่อมมือและการให้ความช่วยเหลือเพื่อเยี่ยวยาและให้ความรู้ขั้นพื้นฐานกับคนในพื้นที่
.
ด้านความเชื่อในการพยากรณ์ เป็นเรื่องส่วนบุคคลที่จะคิดว่าจริงหรือไม่จริง แต่สิ่งที่สำคัญการพยากรณ์นั้นเป็นความที่จะเป็นไปได้โดยการคาดคะเนจากภูมิอากาศภูมิประเทศ รัฐบาลควรที่จะประกาศหรือกระจายข่าวสารนั้นว่าจะเกิดโดยให้กรมอุตุนิยมหรือศูนย์ภัยพิบัตินั้นเป็นกระบอกเสียง หรือสื่อต่างๆนั้นเผยแพร่ข่าวสารให้ทั่วถึง ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายสาธารณะที่ทุกคนต้องได้รับการตอบสนอง โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครรับผิดชอบได้ เรื่องของดวงดาวในบทความนี้เป็นการคาดคะเน แต่เรื่องจริงคือการปฎิบัติป้องกันและรู้จักการแก้ไขปัญหาที่แท้จริง
.
แต่บทความสะท้อนว่ารัฐบาลไม่มีความเอาใจใส่ในการป้องกัน จากเนื้อหาที่ว่า ทุ่นเตือนภัยแบตฯ หมด หอเตือนภัยก็ใช้การไม่ได้หมด เป็นปัญหาที่รัฐบาลควรมีชุดของการปฎิบัติงานที่มีแบบแผน ระบบและกระบวนการอย่างจริงจังและชัดเชน ควรตัดสินใจปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก มิใช่เพื่อประชาชนจำนวนน้อย สอดคล้องกับนโยบายสาธารณะในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนอย่างแท้จริง เพราะชีวิตของประชาชนเมื่อเกิดการสูญเสียแล้วนั้น ไม่มีอะไรจะมารับผิดชอบได้
.
สรุป เราเรียนรู้จากสึนามิ ที่ผ่านมาแล้วว่าเกิดความเสียหายขนาดไหน เราก็ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงแก้ไขรับมืออยู่เสมอ เพราะสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศเราก็ได้เกิด
เราจะได้ไม่สูญเสีย จงเรียนรู้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เพื่อให้ก่อเกิดการพัฒนา
------------------------------------------------------------------
การคลังสาธารณะ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำนโยบายสาธารณะเพราะการกระทำใดๆก็ตามที่เป็นประโยชน์ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ส่วนรวมต้องใช้งบประมาณมาก
การลงทุนนี้ก็ถือว่าคุ้มค่ามากที่สุดเพราะผลตอบแทนไม่อาจจะตีราคาได้ ฉะนั้นถ้าจะชี้ให้เห็นการแก้ไขการคลังสาธารณะนั้น จึงมีความคิดเห็นดังนี้
.
สิ่งรัฐต้องเข้ามาแก้ไขการคลังสาธารณะ คือ
1. การวางกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ
2. รักษาการเคารพสิทธิ/สัญญาการค้า
3. จัดสรรสินค้า บริการ กลไกตลาด
4. การตัดสินใจในการบริโภค การสะสมทุน และการลงทุนเพื่อสังคม
5.การป้องกันภาวะเศรษฐกิจ
6. ความเป็นธรรมทางสังคม
รัฐมีหน้าที่ด้านการคลังสาธารณะ ดังนี้
1. การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคม
2. การกระจายรายได้และความมั่นคงของสังคม
3. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ4. การส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
-------------------------------------
สรุปข้อมูลโดยหลวงพี่กอล์ฟ
-------------------------------------
เพิ่มเติม ข้อบัญญัติบรรเทาสาธารณภัย 10 ประการ โดย ดร.สมิธ ธรรมสโรช
1. สังเกตปรากฎการณ์ของชายฝั่ง หากน้ำทะเลลดระดับลงมาก หลังเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่า อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้รีบอพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยง ให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง
2. ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ที่ท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่า จะเกิดคลื่นสึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก
3. คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอก จากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากการแกว่งไปแกว่งมาของน้ำทะเล ดังนั้น ควรรอสักระยะหนึ่ง จึงจะสามารถลงไปชายหาดได้
4. ติดตามการเสนอข่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
5. ในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยที่จะเจอคลื่นสึนามิ หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ เพื่อลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง
6. วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
7. ในย่านที่มีความเสี่ยงภัยทึ่จะเจอคลื่นสึนามิ ให้หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่ง
8. จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อยู่อาศัย ควรมีระยะห่างจากฝั่ง
9. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัย จากคลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว
10. วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณสุข การรื้อถอน และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง
-------------------------------------
Tai