วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

PA : รวบรวมข้อมูลวิชาการ รป.ม.

สรุปข้อมูลด้านวิชาการ รป.ม.PA@RU3HM
-------------------------------------------------
โปรดทราบ: PA6XX = PA7XX (6 คือรหัส กทม. 7 คือรหัส ตจว.)
-------------------------------------------------
PA601,PA701: ขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์
(I) PA601,PA701: การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM)
(II) PA601,PA701: NPM
(III) PA601,PA701: NPM สู่ NPS
(IV) PA601,PA701: ทฤษฎีการบริหาร (Management Theory)

(V) แนวสอบ(เก่า) ปกติมี 3 ข้อ ดังนี้
1) เลือกตอบเพียง 1 ทฤษฎีดังนี้ ได้แก่ ทฤษฎีระบบ ทฤษฎีจัดการเชิงสถานการณ์ ทฤษฎี Z ของ Ouchi และ ทฤษฎี X,Y
2) รายได้- รายจ่ายของรัฐคืออะไร หลักการการจัดเก็บภาษีที่ดีคืออะไร
3) New Public Management (NPM) คืออะไร ประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้หรือไม่ อย่างไร
---------------------------------------------
PA603,PA703: ระบบการเมืองและระบบราชการไทย
(I) PA603,PA703: HEADICE หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance :ธรรมาภิบาล)
(II) PA603,PA703: ระบบการเมืองและระบบราชการไทย 1
(III) PA603,PA703: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านและ Linkage การเมืองในประเทศ
(IV) PA603,PA703: รวมมิตรระบบการเมืองและระบบราชการไทย
(V) PA603,PA703: แนวคิดด้านองค์การและการบริหาร

(VI) แนวสอบ(เก่า) ปกติจะมี 3 ข้อ ประมาณนี้:-
1) อธิบาย 3 เสาหลักระบบราชการไทย (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น) และเขียนแผนภาพ พอสังเขป
2) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ตอบตาม (III) ได้เลย โดยยกตัวอย่างกัมพูชา และแนวทางแก้ไขให้ชัดเจน
3) ระบบราชการไทย จุดอ่อนและแนวทางการปรับปรุง
---------------------------------------------
PA604,PA704: การกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
(I) PA604,PA704: แนวทางการกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบายได้ที่นี่
(II) PA604,PA704: ตัวแบบนโยบายสาธารณะ ได้ที่นี่
(III) PA604,PA704: แนวทางการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ 1
(IV) PA604,PA704: นโยบายสาธารณะแบบเต็มๆ
(V) PA604,PA704: นโยบายสาธารณะ โดย รศ.พิพัฒน์ฯ
(VI) PA604,PA704: การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ 2
(VII) PA604,PA704: แบบทดสอบนโยบายสาธารณะ
(VIII) แนวสอบ PA604,PA704 #1
(IX) แนวสอบ PA604,PA704 #2
(X) PA604,PA704: แนวทางการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ จาก ru-e-book
(XI) PA604,PA704: ทำไมอเมริกันชนจึงอ้วน และบทวิเคราะห์ FOOD INC
(XII) PA604,PA704: กินเปลี่ยนโลก
(XIII) ทำวิจัย สู่นโยบายสาธารณะที่ดี
(XIV) FOOD INC บทวิเคราะห์ โดยไข่เน่า
(XV) PA604,704: สรุปข้อมูลแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 - 10 ของไทย
(XVI) PA604,704: จริยธรรม
(XVII) PA604,704: FOOD INC บทวิเคราะห์โดย NONSOUND2009
(XVII) PA604,704: วิเคราะห์บทความสึนามิ โดยหลวงพี่กอล์ฟ
(XVIII) PA604,704: วิเคราะห์วงจรระบบการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยหลวงพี่กอล์ฟ
(XIX) PA604,704: วิเคราะห์ FOOD Inc. และสรุปนโยบายสาธารณะของนักวิชาการ 3 คน โดยหลวงพี่กอล์ฟ
(XX) PA604,704: บทวิเคราะห์บทความการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อ.นิธิฯ โดยหลวงพี่กอล์ฟ
(XXI) PA604,704: บทความสึนามิ เสียงฝาก ออกจากใจ 2 ฮีโร่ 5 ปีสึนามิ 5 ปีแห่งการสูญเปล่า
(XXII) PA604,704 ข้อสอบประจำปี 2553
---------------------------------------------
RU600,700: ความรู้คู่คุณธรรม
PA602,702: ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
แนวข้อสอบ PA602,702: ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
PA602,702 แนวการเขียนข้อเสนอการวิจัย ส่ง ดร.วิโรจน์ ก่อสกุล
RU603,703: บัณฑิตศึกษา
---------------------------------
PA609,709: นวัตกรรมและนวัตกรรมในองค์การ
PA609,709: นวัตกรรมและนวัตกรรมในองค์การ ตอน เศรษฐกิจพอเพียง
PA609,709: องค์การและนวัตกรรมองค์การ โดย นก (สุจิรา สรจิตต์ประเสริฐ) รป.ม. 3/1
PA609,709: แนวสอบ/แนวตอบ องค์การและนวัตกรรมองค์การ โดยครูตาล รป.ม.3/1
PA609,709: แนวข้อสอบ/แนวตอบ (รวม)องค์การและนวัตกรรมองค์การ โดยฝ่ายวิชาการ รป.ม.3/1 (ตาล วาส แม๊กซ์ และทีมงาน)
PA609,709: ข้อสอบ องค์การและนวัตกรรมองค์การ
---------------------------------
PA610,710: การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวสอบ ผศ.วิชัยฯ
PA610,710: การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวข้อสอบ ดร.สุชาติฯ
PA610,710: การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวสอบ รศ.สมชัยฯ
PA610,710: การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวสอบฉบับเต็มจาก รป.ม.5 เชียงใหม่
PA610,710: การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวสอบโดยประธานโต
PA610,710: แนวสอบการบริหารเชิงกลยุทธิ์
---------------------------------
PA612/712: แนวสอบ/คำถามจาก ผศ.ดร.บุญยง : ประเทศไทยพัฒนาหรือยัง และจะพัฒนาตามแบบญี่ปุ่นได้หรือไม่อย่างไร
PA612/712: แนวสอบ รศ.ชลิดา :คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ
PA612/712: แนวสอบ รศ.ชลิดา :แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน
PA612/712: แนวสอบ รศ.ชลิดา : ความสุขและตัวชี้วัดความของคนในชาติ
PA612/712: แนวสอบ รศ.ชลิดา: การพัฒนามนุษย์ในประเทศไทย
PA612/712: แนวสอบ รศ.ชลิดา: ชุมชนเข้มแข็ง : บทบาทในการพัฒนาชาติ
สรุปข้อสอบที่ออก (ประมาณนี้):
1. ท่านคิดว่าประเทศไทยพัฒนาหรือยัง และจะพัฒนาตามแบบญี่ปุ่นได้หรือไม่อย่างไร ยกแนวคิดทฤษฎีที่เรียนมาประกอบให้ชัดเจน
2. ให้เขียนความหมายและความเชื่อมโยงกันของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเลือกทำ 2 ข้อ ได้แก่ 1) ชุมชนเข้มแข็ง 2) เศรษฐกิจพอเพียง และ 3) คุณธรรมและจริยธรรม
---------------------------------
ข้อมูลวิชาการอื่นๆ จากรุ่นพี่ รป.ม. 5 ระยอง เข้าไปโหลดแล้วใช้ประโยชน์ได้ทันที
รวมทั้งเพื่อนๆ รป.ม. รุ่น 3 ห้อง 1 และ ห้อง 2 รามฯ หัวหมาก
---------------------------------------------
Tai

PA604: การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบาย1

การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบาย
อ้างอิงจาก : ศ.ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ และดร.ศศิชา สืบแสง
---------------------------------------------------
1. การกำหนดทางเลือกนโยบาย
การพัฒนาและการกำหนดทางเลือกนโยบายจะกระทำควบคู่ไปกับการพยากรณ์เกี่ยวกับผลลัพธ์และคุณค่าของทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกให้ชัดเจน
การศึกษาการพัฒนาและการกำหนดทางเลือกนโยบาย พิจารณาได้จากปัจจัยต่อไปนี้
1. คุณลักษณะสำคัญของทางเลือก
2. การแสวงหาทางเลือกนโยบาย
3. การกลั่นกรองทางเลือกนโยบาย
4. การตรวจสอบทางเลือกนโยบาย
-----------------
1. คุณลักษณะสำคัญของทางเลือกนโยบาย ได้แก่ * การสร้างสรรค์ (creativity) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ไปปรากฏให้เป็นจริง * นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ไปสู่การใช้ประโยชน์
2. การแสวงหาทางเลือกนโยบาย จำแนกได้ดังนี้ 1) การพิจารณาระหว่างทางเลือกที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ 2) การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม
ทางเลือกนโยบายไม่จำเป็นต้องบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการเดียวกัน ดังนั้น การค้นหาทางเลือกนโยบายจึงอาจเกี่ยวข้องกับแนวทางพิจารณา 2 ประการคือ 1) การจำแนกลำดับชั้นของแนวทางแก้ไข 2) การตรวจสอบแนวทางแก้ไขตามที่ได้จัดลำดับชั้นไว้
3. การกลั่นกรองทางเลือกนโยบาย มักเป็นกระบวนการที่มีการกระทำซ้ำๆเพื่อให้มั่นใจว่าทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ กระบวนการในการกลั่นกรองนโยบายที่ใช้กันทั่วไป คือ กระบวนการประเมินผล เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนของนโยบาย
4. การตรวจสอบทางเลือกนโยบาย ต้องตรวจสอบความเป็นไปได้ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ด้านต้นทุนและผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดจากการนำทางเลือกนโยบายไปปฏิบัติ ใครคือผู้รับผลประโยชน์และผู้เสียประโยชน์จากทางเลือกนโยบายนั้น การกระจายของผลกระทบที่ไม่คาดหมาย

ข้อดีของ การเปรียบเทียบทางเลือกนโยบาย จะกระตุ้นให้เกิดความคิดในการดัดแปลงทางเลือกนโยบาย เพื่อให้ได้ทางเลือกที่มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งการดัดแปลงทางเลือกดังกล่าวเท่ากับการกำหนดทางเลือกนโยบายใหม่นั้นเอง

2. ทฤษฎีการตัดสินใจเลือกนโยบาย
2.1 ทฤษฎีหลักการเหตุผล (rational/comprehensive theory)
2.2 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน (the incremental theory)
2.3 ทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก (mixed scanning)
---------------------------
2.1 ทฤษฎีหลักการเหตุผล ประกอบด้วย
1) ผู้ตัดสินใจต้องเผชิญกับปัญหาที่สามารถจำแนกออกจากปัญหาอื่นได้ หรืออย่างน้อยต้องสามารถพิจารณาเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นได้อย่างมีความหมาย
2) ผู้ตัดสินใจมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ เป้าประสงค์(goals) ค่านิยม(values) หรือวัตถุประสงค์(obectives) ที่ผู้ตัดสินใจต้องคำนึงถึงและสามารถทำให้การพิจารณาปัญหามีความชัดเจนและจัดลำดับตามความสำคัญของแต่ละกรณี
3) การตรวจสอบทางเลือกต่างๆในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน
4) การตรวจสอบผลลัพธ์ทั้งทางด้านต้นทุน ผลประโยชน์ ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง
5) การเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นของทางเลือกแต่ละทาง
6) ผู้ตัดสินใจจะเลือกทางเลือกและผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือกที่จะต้องตอบสนองต่อ เป้าประสงค์ ค่านิยมหรือวัตถุประสงค์สูงสุดขององค์การ มุ่งเน้นการตัดสินใจเพื่อการบรรลุเป้าประสงค์สูงสุด

2.2 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน เป็นทฤษฎีที่มีลักษณะของการพรรณนาความเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจของรัฐบาล การตัดสินใจโดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือการเพิ่มเติมจากนโยบายที่มีอยู่อย่างจำกัด สาระสำคัญของทฤษฎี พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1) การพิจารณาในการเลือกเป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์ และการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ จะกระทำโดยพิจารณาร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากกว่าการที่จะแยกพิจารณาในแต่ละประเด็น
2) ผู้ตัดสินใจจะพิจารณาเฉพาะทางเลือกบางทางเลือกที่จะใช้ ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะแตกต่างไปจากนโยบายเดิมเพียงเล็กน้อย
3) การประเมินผลทางเลือกแต่ละทางเลือก จะกระทำเฉพาะเพื่อพิจารณาผลลัพธ์ที่สำคัญของทางเลือกบางทางเลือกเท่านั้น
4) สำหรับปัญหาที่ผู้ตัดสินใจกำลังเผชิญอยู่นั้น ผู้ตัดสินใจจะต้องทำการนิยามปัญหาใหม่อย่างต่อเนื่อง
5) ทฤษฎีนี้ถือว่าไม่มีการตัดสินใจเพียงครั้งเดียวหรือทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเพียงทางเดียว
6) การตัดสินใจโดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคจากวิธีการอื่นๆ และนำไปสู่สภาพปัจจุบันที่ดีกว่า รวมทั้งช่วยแก้ไขความไม่สมบูรณ์ทางสังคมให้เป็นรูปธรรมมากกว่าการพิจารณาเป้าประสงค์ของสังคมในอนาคต

2.3 ทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก Etzioni เห็นว่า การตัดสินใจโดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเพียงบางส่วนจะสะท้อนให้เห็นประโยชน์ของกลุ่ม และองค์การที่มีอำนาจสูงสุดในสังคม แต่ผลประโยชน์ของกลุ่มประชาชนที่ด้อยสิทธิ (the underprivileged) และกลุ่มที่ไม่มีบทบาททางการเมืองจะถูกละเลย
ทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึก จะเปิดโอกาสให้ผู้ตัดสินใจสามารถใช้ประโยชน์จากทั้ง ทฤษฎีหลักการเหตุผล และทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วนซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
ทฤษฎีการผสมผสานระหว่างทางกว้างและทางลึกมีความเหมาะสมสำหรับผู้ตัดสินใจนโยบายที่มีขีดความสามารถต่างกัน
แนวคิดของ Etzioni ช่วยให้ผู้สนใจศึกษา เข้าใจข้อเท็จจริงที่สำคัญว่า การตัดสินใจอาจจะแปรผันไปตามขนาดของเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ ทั้งในด้านขอบเขตและผลกระทบ และกระบวนการตัดสินใจที่แตกต่างกันอาจจะเหมาะสมกับธรรมชาติที่แตกต่างกันของเรื่องที่จะต้องตัดสินใจ

3. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกนโยบาย ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกนโยบาย พิจารณาได้จาก 1) ค่านิยม 2) ความสัมพันธ์กับนักการเมือง 3) ผลประโยชน์ของเขตเลือกตั้ง 4) มติมหาชน 5) ประโยชน์ของสาธารณะชน มีรายละเอียด ดังนี้
1) ค่านิยม เป็นผลมาจากกระบวนการหล่อหลอมทางสังคมและการเมือง ซึ่งมีผลต่อความเชื่อและค่านิยมของผู้ตัดสินใจนโยบาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ลักษณะของค่านิยมที่มีผลต่อการตัดสินในนโยบาย ได้แก่ (1) ค่านิยมขององค์การ (2) ค่านิยมด้านวิชาชีพ (3) ค่านิยมส่วนบุคคล (4) ค่านิยมด้านนโยบาย และ (5) ค่านิยมด้านอุดมการณ์
2) ความสัมพันธ์กับนักการเมือง ความจงรักภักดีต่อพรรคการเมืองของนักการเมืองแต่ละพรรค มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจนโยบายของนักการเมืองเหล่านี้. รูปแบบของระบอบการเมือง มีผลต่อการแสดงบทบาทของสมาชิกพรรค ดังนี้ (1) รูปแบบการแบ่งแยกอำนาจ สมาชิกมีอิสระที่จะออกเสียงตามมติของพรรคหรือไม่ก็ได้ แสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีของสมาชิกพรรคได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ถ้าสมาชิกพรรคไม่มีความจงรักภักดีต่อพรรคสมาชิกสามารถออกเสียงลงมติได้โดยอิสระ โดยที่พรรคก็ไม่มีอำนาจลงโทษสมาชิกที่ออกเสียงลงมติในรัฐสภาตรงกันข้ามกับมติพรรค (2) รูปแบบควบอำนาจ พรรคการเมืองรูปแบบนี้ จะมีกฎ ระเบียบในการควบคุม กำกับพฤติกรรมของสมาชิกพรรคอย่างเข้มงวด เพราะการใช้สิทธิออกเสียงของสมาชิกในพรรคมีผลต่อความอยู่รอดของฝ่ายบริหาร ดังนั้น มติของพรรคจึงเป็นสิ่งที่สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติตาม
3) ผลประโยชน์ของเขตเลือกตั้ง มีความสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้ตัดสินใจนโยบายมาก เนื่องจาก ประชาชนในเขตเลือกตั้งมีอำนาจที่จะกำหนดอนาคตของนักการเมืองในเขตเลือกตั้งของตนโดยตรง
4) มติมหาชน ผู้ตัดสินใจนโยบายจะต้องให้ความสนใจต่อมติมหาชน ในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของคนทั้งประเทศ เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่ออนาคตทางการเมืองของผู้ตัดสินใจนโยบายอย่างคาดไม่ถึงได้
5) ประโยชน์ของสาธารณชน เป็นเป้าประสงค์ที่สำคัญของนโยบายสาธารณะ การพิจารณาลักษณะของผลประโยชน์สาธารณะ จำแนกได้เป็น 3 ประการ คือ
(1) พิจารณาจากนโยบายในแต่ละด้านว่ามีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์มากหรือไม่ หรืออาจพิจารณาจากผลประโยชน์โดยตรงของกลุ่มผลประโยชน์แต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นที่ยอมรับ คือ ผลประโยชน์สาธารณะ
(2) แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งสรรผลประโยชน์อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ผลประโยชน์สาธารณะ
(3) พิจารณาจากความต้องการขององค์การและระเบียบวิธีปฏิบัติการ จะเป็นตัวแทนการสร้างประโยชน์ที่สมดุล หรือเพื่อการแก้ไขปัญหา เพื่อที่จะมีผลต่อการประนีประนอมต่อการก่อรูปนโยบาย และการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ จุดเน้นในประเด็นนี้จะมุ่งที่กระบวนการมากกว่าเนื้อหาของนโยบาย

4 รูปแบบของการตัดสินใจนโยบาย
4.1 การต่อรอง (Bargaining) เป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญ ซึ่งบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ ทำการเจรจาเพื่อปรับเป้าหมายที่ไม่สอดคล้องกันให้เป็นที่ยอมรับร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการยอมรับในการนำนโยบายไปปฏิบัติ การต่อรอง แบ่งเป็น 3 ประการ คือ 1) การต่อรองทางลับ 2) การให้รางวัล 3) การประนีประนอม
4.2 การโน้มน้าว (Persuation) ความพยายามที่จะทำให้กลุ่มการเมืองเชื่อมั่นในความถูกต้องต่อข้อเสนอนโยบายของตน เป็นการแสวงหาการสนับสนุนโดยปราศจากการปรับเปลี่ยนข้อเสนอของตน
4.3 คำสั่ง (Command) เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ตามลำดับขั้น ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นการแสดงถึงการใช้อำนาจของผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่า เพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆที่มีผลต่อผู้ใต้บังคับบัญชา โดยอาจใช้การให้รางวัล และการลงโทษเป็นเครื่องมือในการสั่งการให้ได้ผล

การประกาศใช้นโยบาย
1. องค์ประกอบของการพิจารณาการประกาศใช้นโยบาย
2. กลยุทธ์การประกาศใช้นโยบาย

องค์ประกอบการประกาศใช้นโยบาย
- พิจารณากลยุทธ์ในการนำไปปฏิบัติในกระบวนการกำหนดนโยบาย
- พิจารณาความเป็นไปได้ทางการเมืองโดยคิดเชิงกลยุทธ์
- ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบการวางแผนปฏิบัติ
- เชิญนักวิเคราะห์ร่วมในกระบวนการผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

กลยุทธ์การประกาศใช้นโยบายองค์ประกอบพื้นฐานกลยุทธ์ทางการเมือง
1. การประเมินผลและอิทธิพลความเป็นไปได้ทางการเมือง
2. กลยุทธ์ในเวทีทางการเมือง
2.1 สร้างความร่วมมือจากกลุ่มอื่น (co-optation)
2.2 ประนีประนอม (compromise)
2.3 ใช้สำนวนโวหารทางการเมือง (rhetoric)
2.4 การผลักดันนโยบาย (heresthetics)

แหล่งอ้างอิง : http://www.geocities.com/worawut47/policyexam.doc
----------------------------
อ่านแนวทางการวิเคราะห์นโยบายที่นี่

อ่านตัวแบบนโยบายสาธารณะ ได้ที่นี่

นโยบายสาธารณะแบบเต็มๆ
----------------------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

PA604: การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ1

การวิเคระห์นโยบายสาธารณะ
------------------------------------------
การศึกษานโยบายโดยการวิเคราะห์ สิ่งจำเป็นในการวิเคราะห์นโยบายคือ
1. นโยบายต้องอาศัยข่าวสาร 3 ระดับ ได้แก่

1.1 Facts ข้อเท็จจริง คือ การพิจารณาจากเหตุการณ์/สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ดูว่าปัญหาเกิดขึ้นกับใคร เช่น ในชุมชนเมืองต้องมีปัญหาขยะจำนวนมหาศาล ปัญหาโสเภณีเด็ก ผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์นโยบายจะต้องทำความเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและปัญหาเหล่านั้นต้องถูกนำไปแก้ไขโดยการกำหนดนโยบายสาธารณะขึ้นมา

1.2 Values ค่านิยม เป็นการพิจารณาเชื่อมโยงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าปัญหานั้นเกิดจากค่านิยม ความเชื่อ รสนิยม วัฒนธรรมใด เช่น ปัญหาขยะในชุมชนเกิดจากค่านิยมของคนในชุมชนเมืองที่รักความสะดวกสบายจึงเลือกใช้โฟมและถุงพลาสติกที่สุดท้ายก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาล หรือปัญหาโสเภณีเด็กเกิดจากค่านิยมของเด็กวัยรุ่นที่ชอบความสะดวกสบาย ชอบใช้ของฟุ่มเฟือย ราคาแพง

1.3 Actions การปฏิบัติ จากข้อเท็จจริงและค่านิยมนำไปสู่การปฏิบัติคือการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น จากปัญหาขยะในชุมชนการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาคือ รณรงค์ให้ประชาชนหิ้วถุงผ้าไปจ่ายตลาด นำปิ่นโตไปซื้ออาหาร รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ เพื่อทำให้ขยะโฟมและถุงพลาสติกลดน้อยลง

ค่านิยม ความชอบ ความเชื่อบางเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีบางอย่างมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวในการดำเนินงาน ดังนั้นการปฏิบัติใด ๆ ที่ขัดแย้งกับค่านิยมความเชื่อของชาวบ้านโอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมมีน้อยลง ดังนั้นข้อมูลที่เป็นค่านิยมจะมองข้ามไปไม่ได้

2. ข่าวสารทั้งสามประเภทอาศัยวิธีการวิเคราะห์หลายวิธี ได้แก่

2.1 การพยากรณ์หรือการคาดคะเนแนวโน้มหรือเหตุการณ์ในอนาคต อาจใช้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ ความน่าจะเป็นเข้าไปพยากรณ์

2.2 การพรรณนาหรือการอธิบายสิ่งที่ปรากฏ การพยากรณ์และการพรรณนาจะนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงว่าจากเหตุการณ์ที่ปรากฏขณะนี้เกิดเหตุการณ์อะไร เช่น ปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก ปัญหาเยาวชนติดสารเสพติด ก็อธิบายว่าปัญหานั้นเป็นอย่างไร พร้อมกันนั้นก็พยากรณ์ว่าถ้าหากการระบาดยังอยู่ในลักษณะเช่นนี้โดยปราศจากการแก้ไขจะนำไปสู่เหตุการณ์ร้ายแรงอย่างไร

2.3 การประเมิน นำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นค่านิยม เช่น ประเมินทัศนคติ ประเมินค่านิยมของประชาชนว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างไร

2.4 การเสนอแนะ ใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นการปฏิบัติ นั่นคือเป็นการเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติ เช่น พบสภาพความเป็นจริงประชาชนในชนบทห่างไกลมีปัญหาสุขภาพอนามัย เกิดจากธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมาตั้งแต่ไหนแต่ไรเรื่องการรักษาโรคเมื่อเจ็บป่วยแทนที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรค เมื่อประชาชนมีค่านิยมเช่นนี้ควรเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติ เช่น แนวทางปฏิรูประบบสุขภาพ แนวทางสร้างหลักประกันด้านสุขภาพ เป็นต้น ข้อเสนอแนะเหล่านี้ได้มาจากข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงและค่านิยมนั่นเอง

3. การวิเคราะห์ข่าวสารทั้งสามประเภท ต้องใช้เหตุผลเพื่อแปรสภาพสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย ข้อเท็จจริง ค่านิยม และการปฏิบัติจะถูกแปรสภาพออกมาเป็น Policy Argument (ข้อโต้แย้งนโยบาย ข้อมูลที่นำไปสู่ความมีเหตุมีผลเกี่ยวกับนโยบาย) เป็นข้อมูลที่นำไปใช้ประกอบในการกำหนดนโยบายหนึ่ง ๆ ประกอบด้วยข้อมูลสำคัญ 6 ประเภท ได้แก่

3.1 ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย (Policy Relevant Information: I) เป็นข้อมูลที่เป็นทั้งข้อเท็จจริงและค่านิยมที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา เป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การสร้างเหตุผลในการกำหนดนโยบาย หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงและค่านิยมที่บรรยายปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับประชาชน เช่น ปัญหาเกษตรกรมีรายได้น้อย ไม่มีที่ดินทำกิน คุณภาพชีวิตไม่ดี ก็ต้องดูว่าการที่เกษตรกรมีปัญหาเหล่านี้เป็นผลมาจากอะไร การขาดที่ดินทำกินต้องเช่าที่ดินคนอื่นทำได้เท่าไหร่ก็ต้องเอาไปจ่ายค่าเช่า ขาดแรงจูงใจในการบำรุงรักษาที่ดินเพราะไม่ใช่ของตัวเอง และนำไปสู่การบุกรุกป่าสงวนเพื่อหาที่ดินทำกิน นี่คือ Policy Relevant Information ที่จะนำไปสู่การกำหนดนโยบายออกมาเพื่อแก้ปัญหา

3.2 Policy Claim: C ข้ออ้างนโยบาย เป็นทั้งข้อเท็จจริงและค่านิยมและอาจจะรวมถึงการปฏิบัติด้วยที่เป็นข้อมูลข่าวสารเพื่อเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนช่วยให้เห็นความสำคัญในการกำหนดนโยบายนั้น ๆ ออกมา เช่น ปัญหาเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกิน ต้องรวบรวมตัวเลขออกมาให้ชัดเจนว่ามีเกษตรกรกี่แสนครอบครัวที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือเมื่อพูดถึงปัญหาการจราจรติดขัด Policy Claim เป็นผลสรุปจากการวิจัยว่าในหนึ่งชั่วโมงมียวดยานผ่านถนนเส้นนี้กี่คัน วินาทีละกี่คันเพื่อระบุถึงความหนาแน่นของถนนสายนี้ประกอบในการสร้างทางยกระดับ

3.3 Warrant: W ข้อมูลที่เป็นหลักประกัน ได้มาจากการประเมินค่านิยม ความเชื่อ เป็นข้อมูลที่ไปสนับสนุน Policy Relevant Information ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

3.4 Backing: B ข้อสนับสนุน เห็นได้ว่าทั้ง C, W, B ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อเท็จจริง ค่านิยม เพื่อสนับสนุนการนำเสนอนโยบายนั้น ๆ ทั้งสิ้น ข้อสนับสนุนเป็นข้อมูลที่จะไปสนับสนุนให้ Warrant มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

3.5 Qualifier: Q ข้อตรวจสอบ เป็นข้อมูลที่ไปยืนยันว่านโยบายที่นำเสนอนั้นมีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นไปได้ว่าลงมือปฏิบัติแล้วจะประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์ต่อประชาชน ข้อมูลที่เป็นข้อตรวจสอบมักผ่านการวิเคราะห์มาจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ที่ปรึกษาเพื่อทำให้ผู้อนุมัตินโยบายเกิดความเชื่อมั่นว่าหากอนุมัติไปแล้วจะไม่เกิดการสูญเปล่า ตั้งแต่ข้อ 3.1 – 3.5 จึงเป็นข้อมูลในเชิงบวกทั้งสิ้น โดยหลักการไม่ควรนำเสนอในทางบวกเท่านั้นควรเสนอข้อมูลในทางลบด้วย อาจเป็นปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นจากการกำหนดหรือดำเนินนโยบายนั้น ๆ

3.6 Rebuttal: R ข้อโต้แย้ง อาจเป็นข้อเท็จจริงหรือค่านิยมของประชาชนที่นำไปสู่การคัดค้านนโยบายนั้น เช่น ประชาชนโต้แย้งว่าประตูระบายน้ำมาสร้างตรงนี้ไม่ได้เพราะเป็นกลางน้ำควรไปสร้างที่ต้นน้ำมากกว่า ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายควรหาทางแก้ไขข้อโต้แย้งนี้ด้วย สรุป ข้อเท็จจริง ค่านิยม การปฏิบัติจะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการพยากรณ์ พรรณนา ประเมิน และเสนอแนะเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เรียกว่า Policy Argument ทั้ง 6 ประเภท

สรุป Policy Argument ทั้ง 6 ประเภท คือข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่นำเสนอเพื่อสะท้อนภาพให้เห็นถึงความจำเป็น ความสำคัญ ที่มา เจตนารมณ์ ความเดือดร้อนของประชาชน มีข้อมูลและสถิติแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน รวมทั้งผลเสีย ข้อโต้แย้ง และแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้

4. มุ่งผลิต/แปรสภาพข่าวสารนโยบาย เป็นการวิเคราะห์ลึกลงไปอีกว่า Policy Relevant Information ได้แก่

4.1 Policy Problems ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานโยบาย
4.2 Policy Alternatives / Policy Futures ข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกนโยบายหรืออนาคตนโยบาย
4.3 Policy Action ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบาย
4.4 Policy Outcomes ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์นโยบาย
4.5 Policy Performance ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความสำเร็จของนโยบาย

แหล่งข้อมูลอ้างอิง :http://sipaya17.blogspot.com/2008/03/blog-post_18.html
------------------------------------
อ่านแนวทางการกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบายได้ที่นี่

อ่านตัวแบบนโยบายสาธารณะ ได้ที่นี่

นโยบายสาธารณะแบบเต็มๆ
------------------------------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

PA604: ตัวแบบนโยบายสาธารณะ1

ตัวแบบของนโยบายสาธารณะ
---------------------------------------
1. ตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model)

ให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นหรือชนชั้นปกครองที่มีอำนาจการตัดสินใจนโยบายสาธารณะอย่างเด็ดขาด ชนชั้นปกครองจะยึดถือความพึงพอใจหรือค่านิยมของตนเองเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจนโยบาย โดยประชาชนไม่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย ซึ่งแสดงให้เห็นดังแผนภาพต่อไปนี้
ตัวอย่างนโยบาย เช่น นโยบายการเปิดเสรีทางการเมือง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511

2. ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่ม (Group Equilibrium Model)

ผู้กำหนดนโยบายจะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ที่ตอบสนองต่อความกดดันของกลุ่ม ได้แก่ การต่อรอง (Bargaining) การประนีประนอม (Compromising) ระหว่างความต้องการที่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มอิทธิพลและผลประโยชน์นักการเมืองจะพยายามที่จะก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเสียงข้างมากเพื่อให้การประนีประนอมประสบผลสำเร็จโดยง่าย ซึ่งแสดงให้เห็นดังแผนภาพต่อไปนี้
ตัวอย่างนโยบายได้แก่
- พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527
- พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
ตัวอย่างนโยบาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนผลสะท้อนกลับ คือ มาตรการปราบปรามผู้ละเมิดกฎหมาย

3. ตัวแบบสถาบัน (Institutional Model)

- ฐานคติที่สำคัญคือ นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของสถาบันการเมือง ซึ่งได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ สถาบันการปกครองท้องถิ่น และสถาบันพรรคการเมือง

- นโยบายจะไม่มีผลเป็นนโยบายสาธารณะ จนกว่านโยบายนั้นจะได้รับความเห็นชอบ ถูกนำไปปฏิบัติ และใช้บังคับโดยสถาบันราชการที่รับผิดชอบ

- สถาบันราชการมีบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะของนโยบายสาธารณะ 3 ประการ ได้แก่

1. สถาบันราชการเป็นผู้รับรองความชอบธรรมของนโยบาย
2. นโยบายสาธารณะมีลักษณะของความครอบคลุมทั้งสังคม
3. รัฐบาลเท่านั้นที่เป็นผู้ผูกขาดอำนาจการบังคับใช้ในสังคม

- สถาบันทางการเมืองมีบทบาทในการกำหนดแบบแผน โครงสร้าง พฤติกรรมของปัจเจกบุคคล และกลุ่มบุคคล และแบบแผนดังกล่าวจะดำรงอยู่อย่างมั่นคง

- โครงสร้างของสถาบันการเมือง การจัดระเบียบในสถาบัน และขั้นตอนการดำเนินการต่างๆของสถาบันทางการเมือง จะมีผลต่อเนื่องต่อการกำหนดนโยบายและเนื้อหาสาระของนโยบายสาธารณะ

ตัวอย่างนโยบาย ที่เป็นผลผลิตของสถาบันบริหาร ได้แก่
1) นโยบายการปรับลดบทบาทของรัฐจากการเป็นผู้ดำเนินการมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ กำกับ ดูแล
2) นโยบายการปฏิรูประบบราชการ
3) นโยบายการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น
4) นโยบายการเงินการคลัง
5) นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม
6) นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว

- การกำหนดนโยบายของสถาบันต่างๆนั้น ทุกสถาบันจะมีกรอบการปฏิบัติของตนเอง ดังนั้นในการวิเคราะห์นโยบาย จึงต้องไห้ความสนใจต่อกระบวนการในการกำหนดนโยบาย กฎ ระเบียบของแต่ละสถาบันด้วย

4. ตัวแบบกระบวนการ (Process Model)
- ฐานคติที่สำคัญคือ นโยบายเป็นผลลัพธ์ของกิจกรรมทางการเมือง โดยถือว่า กระบวนการและพฤติกรรมทางการเมือง คือ ศูนย์กลางของการศึกษานโยบาย

- นโยบายสาธารณะส่วนใหญ่ถูกกำหนดและนำไปปฏิบัติภายใต้กรอบความคิดตัวแบบกระบวนการทั้งสิ้น แต่จะมีความครอบคลุมแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของสังคม
- ชุดของกระบวนการนโยบายสาธารณะแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1) การจำแนกลักษณะปัญหา
2) การจัดทำทางเลือกนโยบาย
3) การให้ความเห็นชอบนโยบาย
4) การนำนโยบายไปปฏิบัติ
5) การประเมินผลนโยบาย
ตัวอย่าง เช่น นายก ญี่ปุ่น ประกาศยุบสภา จากการไม่ผ่านกฎหมายการแปรรูปการไปรษณีย์
5. ตัวแบบหลักเหตุผล (Rational Model)
ตัวแบบเหตุผล คือ ตัวแบบในการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะในฐานะที่เป็นผลประโยชน์สูงสุดทางสังคม

นโยบายที่ยึดหลักเหตุผล คือ นโยบายที่มุ่งผลประโยชน์สูงสุดทางสังคม ดังนั้นรัฐบาลควรยกเลิกหรือ หลีกเลี่ยงการใช้นโยบายที่มีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่าตอบแทน

ลักษณะสำคัญของผลประโยชน์สูงสุดทางสังคม ได้แก่
1) จะไม่มีการใช้นโยบายที่ต้นทุนสูงกว่าผลประโยชน์
2) ในระหว่างทางเลือกนโยบายทั้งหมดที่มีอยู่ ผู้ตัดสินใจนโยบายควรเลือกนโยบายที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อต้นทุนสูงสุด

ภายใต้กรอบความคิดของตัวแบบหลักเหตุผล นโยบายสาธารณะจะมีลักษณะของหลักการเหตุผลก็ต่อเมื่อ ความแตกต่างระหว่างคุณค่าที่บรรลุและคุณค่าที่ต้องเสียไป มีค่าเป็นบวก และมีค่ามากกว่าทางเลือกนโยบายอื่น
ในการเลือกนโยบายโดยยึดหลักเหตุผล ผู้กำหนดนโยบายจะต้องพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
1) จะต้องเข้าใจคุณค่าที่พึงปรารถนาของสังคมทั้งหมด
2) จะต้องเข้าใจทางเลือกนโยบายที่เป็นไปได้ทั้งหมด
3) จะต้องเข้าใจผลลัพธ์ทั้งหมดของทางเลือกนโยบาย แต่ละทางเลือก
4) สามารถคำนวณสัดส่วนระหว่างผลประโยชน์และต้นทุนของทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกได้
5) ผู้ตัดสินใจนโยบายจะต้องพิจารณาเลือกทางเลือกนโยบายที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

PA604: แนวสอบ(เก๋า เก่า)

ก่อนเริ่มเรียน เรามาเริ่มต้นด้วยแนวสอบเก่ากันก่อน เพื่อจะได้เตรียมหาข้อมูลกันแต่เนิ่นๆ
-------------------------------------------------------
1. จงอธิบายคำกล่าวที่ว่า นโยบาบยสาธารณะเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ และการเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ของศาสตร์ด้านนโยบายจะสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทยได้หรือไม่ อย่างไร
2. นโยบายสาธารณะที่ดีควรมีลักษณะสำคัญอย่างไร รัฐบาลจะกำหนดนโยบายสาธารณะที่ดีได้หรือไม่ ถ้ามีท่านจะแนะนำกระบวนการและขั้นตอนในการกำหนดนโยบายอย่างไร จงอธิบาย
3. จงวิเคราะห์บทบาทการเป็นผู้นำคุณธรรมของข้าราชการ ว่ามีความสำคัญอย่างไร หรือไม่ต่อความโปร่งใสและความยุติธรรมในการบริหารนโยบายสาธารณะที่ดี อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
4. นักการเมืองที่มีคุณธรรมควรมีบทบาทอย่างไรในกระกวนการกำหนดนโยบายของรัฐ และจงเปรียบเทียบนโยบายประชานิยมของรัฐบาลปัจจุบันเช่นน้ำฟรี ไฟฟ้าและรถเมล์ฟรีกับนโยบายสาธารณะที่ดีในทัศนะของท่าน
-------------------------------------------------------
ที่มา: http://ru-polisci.com/forum/index.php/topic,1776.0.html
---------
อ่านแนวทางการวิเคราะห์นโยบายที่นี่

อ่านตัวแบบนโยบายสาธารณะ ได้ที่นี่

อ่านแนวทางการกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบายได้ที่นี่

นโยบายสาธารณะแบบเต็มๆ
--------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

PA603: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รศ.ดร.มนตรีฯ

ในกรณีที่ถามว่า "ประชาชนเป็นอย่างไร รัฐบาลเป็นอย่างนั้น"
ให้อ่านที่นี่่
http://mparu3hm.blogspot.com/2010/09/pa603.html

ในกรณีที่ รศ.ดร.มนตรีฯ ถามดังนี้
---------------------------------------
1. ติดตามเหตุการณ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
2. ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยง (LINKAGE) ระหว่างเหตุการณ์ต่างประเทศกับการเมืองในประเทศไทย
3. วิเคราะห์ผลกระทบต่อการต่อสู้ทางการเมืองของพรรคการเมือง กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง และบทบาทตัวบุคคล โดยอาศัยเหตุการณ์ระหว่างประเทศ
4. เสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหา มิให้การเมืองระหว่างประเทศสร้างความแตกแยกภายในประเทศ
5. เลือกกรณีศึกษาที่เหมาะสม นำเสนอเป็นตัวอย่าง
---------------------------------------
แนวตอบ
ข้อมูลจากท่าน อ.บุญเกียรติฯ
---------------------------------------
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
1.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สถานการณ์ที่เป็นปัญหามีอยู่ 2 ประเด็น
1.1 ปัญหาเรื่องม้งที่เป็นผู้อพยพในประเทศไทย
1.2 ปัญหาการปักปันพรมแดน

2.สหภาพพม่า
2.1 สถานการณ์ที่เป็นปัญหาคือปัญหาชนกลุ่มน้อยของพม่าที่ใช้ประเทศไทยเป็นที่พักพิง
2.2 ปัญหายาเสพติดในประเทศที่มีแหล่งผลิตในประเทศสหภาพพม่า
2.3 ปัญหาระบบการเมืองพม่าที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองโลก

3.สหพันธรัฐมาเลเซีย
3.1 ปัญหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในทะเลแต่ไม่ใช่ผลกระทบที่รุนแรง
3.2 ปัญหาการแก้ไขความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

4.ราชอาณาจักรกัมพูชา
4.1 ปัญหาการปักปันพรมแดน
4.2 ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหาร
4.3 ปัญหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย

กรณีศึกษาเฉพาะกัมพูชา
กัมพูชาและไทยมีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา และรูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชนที่คล้ายคลึงกัน มีความสัมพันธ์ในระดับประชาชน โดยเฉพาะประชาชนบริเวณแนวชายแดนที่ใกล้ชิด และมีการแลกเปลี่ยนทางการค้าปริมาณมาก (สินค้าเกษตร และเครื่องอุปโภคบริโภค) อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาผกผันบ่อยครั้ง สาเหตุหลักมาจากสถานการณ์การเมืองภายใน การปลุกกระแสชาตินิยมในหมู่ประชาชน และปัญหาเขตแดน

กัมพูชาเคยประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2501 (สถาปนาความสัมพันธ์กลับคืนในเดือนกุมภาพันธ์ 2502) และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2504 (สถาปนาความสัมพันธ์กลับคืนในปี 2509 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร) โดยทั้ง 2 กรณี มีสาเหตุมาจากข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหาร

นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์เผาสถานทูตไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2546 จากกรณีที่มีรายงานข่าวในกัมพูชาว่า นักแสดงชาวไทย (กบ-สุวนันท์ คงยิ่ง) กล่าวดูหมิ่นชาวกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลไทย ประกาศลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตลง

ไทยมีการค้ากับกัมพูชาในปี 2552 มีมูลค่า 56,578.4 ล้านบาท (1,658.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 51,258.4 ล้านบาท การค้าชายแดน ปี 2552 มีมูลค่า 45,374.6 ล้านบาทไทยได้เปรียบดุลการค้าชายแดน 40,384.1 ล้านบาท และประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนในกัมพูชาเป็นอันดับ 5 มีจำนวนเงินลงทุน 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์ต่างประเทศกับการเมืองภายในประเทศ
1.ปี 2551 องค์การ UNESCO ประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้นำประเด็นนี้มาโจมตีเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เหตุการณ์นี้พัฒนาไปสู่ความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาในที่สุด

2. วันที่ 12 พ.ค. นายนพดล ปัทมะ รมว.การต่างประเทศแจ้งว่า จะเดินทางไปยังเกาะกง กัมพูชา ในวันที่ 14 พ.ค. เพื่อร่วมเปิดถนนสายที่ 48 กับนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และวาระนี้จะหารือถึงการทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าให้มีการบริหารและจัดการร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งต้องรีบคุยกันเพราะเวลาเหลือน้อย เนื่องจากเรื่องการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนกรกฎาคม ที่ควิเบก ประเทศแคนาดา

- 14 พ.ค. นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศแถลงว่า การปักปันเขตแดนทางบกหรือพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร และเรื่องพื้นที่ทางทะเลบริเวณไหล่ทวีปที่กัมพูชาและไทยอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกัน เป็นการเจรจา 2 กรอบที่แยกออกจากกัน ทั้งในเรื่องคณะกรรมการที่รับผิดชอบและในสาระของแต่ละเรื่อง นอกจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ยังมีหน่วยงานราชการอื่นๆ ร่วมในการเจรจาด้วย

- 14 พ.ค. หลังร่วมพิธีเปิดถนนสายที่ 48 ที่เกาะกง นายนพดล หารือกับ นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา จากนั้นเปิดเผยว่า กัมพูชามีท่าทีที่อ่อนลงและผ่อนปรนมากขึ้นในเรื่องเขาพระวิหาร หลังจากไทยและกัมพูชาเห็นต่างกันมานาน ในคำวินิจฉัยของศาลโลกเมื่อปี 2505 ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ตัดสินว่าตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา ทางกัมพูชาจึงตีความ ว่าเส้นเขตแดนน่าจะเป็นไปตามคณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส แต่ไทยอ้างสิทธิ์ของไทยว่า เส้นเขตแดนนั้น ศาลโลกระบุว่าไม่มีเขตอำนาจ

นายนพดล ย้ำว่า การแบ่งพื้นที่ทับซ้อนทางบกและการแบ่งพื้นที่ทางทะเลกับเขาพระวิหารแยกออกจากกันสาระสำคัญอยู่ที่ไทยไม่เคยคิดจะเอาเขาพระวิหารไปแลกเปลี่ยนกับก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน และปฏิเสธว่าเรื่องการเปิดถนนสาย 48 ไม่เกี่ยวกับการลงทุนในกัมพูชาของพ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเริ่มสร้างมา 3-4 ปีแล้ว

- 22 พ.ค. นายนพดล กับ นายสก อาน หารือที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยมีผู้แทนระดับสูงของยูเนสโกเข้าร่วมด้วย ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ดังนี้

1.ไทยจะสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกซึ่งเสนอโดยกัมพูชา
2.กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหาร โดยฝ่ายกัมพูชาจะจัดทำแผนที่ฉบับใหม่แสดงขอบเขตปราสาทเขาพระวิหารเพื่อใช้แทนแผนที่ฉบับเดิมที่กัมพูชาใช้ประกอบคำขอขึ้นทะเบียน
3.การขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม
4.ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันจัดทำแผนบริหารจัดการในพื้นที่ที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนโดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อเสนอคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาภายในวันที่ 1 ก.พ.2553
- 30 พ.ค. กรณีที่ถูกวิจารณ์ว่า แผนที่ที่ทางกัมพูชายื่นให้ฝ่ายไทยรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของไทยประมาณ 200 เมตร นายนพดล ชี้แจงว่า ไทยถือแผนที่คนละฉบับกับกัมพูชา ไทยใช้แผนที่ แอล 7017 มาโดยตลอดตั้งแต่ศาลโลกมีคำวินิจฉัยและทุกหน่วยงานของไทยใช้แผนที่ฉบับดังกล่าวเช่นกัน
- 5 มิ.ย. กระทรวงการต่างประเทศได้รับแผนที่ฉบับใหม่จากฝ่ายกัมพูชาที่จะใช้แทนแผนที่เดิมที่ยื่นไว้เมื่อปี 2549 และได้ขอความร่วมมือกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ตรวจสอบข้อมูลในภูมิประเทศจริงเพื่อความถูกต้องชัดเจน
- 16 มิ.ย. แผนที่ฉบับใหม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- 17 มิ.ย. แผนที่ฉบับใหม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี โดยมติครม. มอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมกับ นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเพื่อยืนยันข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายตามที่ตกลงกันไว้ในการหารือที่กรุงปารีสด้วย
- 18 มิ.ย. นายนพดลลงนามในข้อตกลงร่วมกับกัมพูชาเมื่อ 22 พ.ค.2551 จากนั้นเปิดแถลงข่าวแสดงแผนที่ยืนยันว่า ไทยไม่เสียดินแดน

3.ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 วินิจฉัยชี้ขาดว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา เพื่อสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2

นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 วินิจฉัยชี้ขาดว่า คำแถลงการณ์ร่วมไทย - กัมพูชา เพื่อสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 วรรค 2 ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน

ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้ลงนามในคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะส่งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา เพื่อแจ้งผู้ร้อง และแจ้งไปยังผู้เกี่ยวข้องต่อไป

นายไพบูลย์ เปิดเผยว่า ตุลาการฯ 1 เสียงที่เห็นว่าแถลงการณ์ร่วมไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้น คือ นายเฉลิมพล เอกอุรุ ซึ่งให้ความเห็นว่า เป็นหนังสือสัญญาแต่ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา

4.แม้ว่าปมปัญหาพิพาทไทย-กัมพูชาในเรื่องเขตพื้นที่รอบปราสาทเขาพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ภาคประชาชนเรียกร้องรัฐบาลให้ยกเลิก MOU 2543 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องทั้งหมดนั้นจะยังไม่ได้ข้อสรุป แต่เรื่องดังกล่าวนั้นมีความสำคัญนอกเหนือจากอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่พิพาทดังกล่าว อีกด้วย

เนื่องจากปมดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปิดประตูขุมทรัพย์ทางทะเลในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา โดยกัมพูชาพยายามที่จะผลักดันการแบ่งเส้นเขตแดนด้วยแผนที่ 1: 200,000 ที่แนบตาม MOU 2543ซึ่งจะทำให้ พื้นที่ทับซ้อนของเขตแดนทางบกเชื่อมโยงไปถึงเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่มีมูลค่าอภิมหาศาล ตั้งแต่ปราสาทพระวิหาร ไปทางจังหวัดสระแก้ว-สุรินทร์-อุบลราชธานี-จันทบุรี และตราด

จึงไม่แปลกที่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ล้วนจับจ้องขุมทรัพย์นี้ตาเป็นมันโดยเฉพาะชาติมหาอำนาจที่พยายามเข้าไปแสวงหาประโยชน์จากขุมทรัพย์ใต้ทะเลที่มีการประเมินว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งที่ 2 ของโลกที่ยังเหลืออยู่ และจุดนี้เองที่นักการเมืองไทยและสมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาต่างรู้ดี และได้กลายเป็นแหล่งที่เตรียมผลประโยชน์รองรับไว้แล้วก่อนหน้า

ดังนั้น หากกรณีพิพาทไทย-กัมพูชา จบลงที่ไทยไปเสียท่ายอมรับแผนที่ 1: 200,000 ก็จะส่งผลกระทบต่อหลักหมุด 73ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสจัดทำขึ้น ตั้งแต่ปี 2451 ซึ่งมีการปักหลักหมุดทั้งหมด 73 หมุด ตั้งแต่หมุดหลักที่ 1 บริเวณช่องสำงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มาถึงหลักหมุด 73 ที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยที่ผ่านมาไทย-กัมพูชามีปัญหาเรื่องหลักหมุดต่อกันมาตลอด โดยเฉพาะมีหลายหลักหมุดในบางพื้นที่ที่สูญหายไป

หลักหมุด 73 นี้เองที่เป็นที่รู้กันดีว่าหากมีการคลาดเคลื่อนแม้เพียง 1-2 ลิปดาแล้ว พื้นที่ทับซ้อนบริเวณอ่าวไทยที่มีอยู่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตรจะกลายเป็นของกัมพูชาทั้งหมด นอกเหนือจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 กิโลเมตรแล้ว หลักหมุด 73 นี้ก็เป็นจุดที่รัฐบาลไทยต้องให้ความสำคัญ และยืนกรานว่าจะยอมไม่ได้เด็ดขาด

ขุมทรัพย์มหาศาลใต้ทะเลอ่าวไทย
ในส่วนของขุมทรัพย์ทางทะเล 26,000 ตารางกิโลเมตรที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชานี้ จากการสำรวจเบื้องต้นพบข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งมีการประเมินว่ามีมูลค่าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวสูงถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรและถ้ามีการขุดเจาะจริงอาจพบในปริมาณมากกว่าที่ประมาณเบื้องต้นมากกว่าด้วย

แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญในแวดวงพลังงาน เปิดเผยว่า ล่าสุดองค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา หรือ Cambodian National Petroleum Authority (CNPA) ได้ว่าจ้างทีมผู้เชี่ยวชาญทำการสำรวจและขุดเจาะและพัฒนาทรัพยากรจากแหล่งพลังงานในพื้นที่ใกล้เคียงกับบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นจำนวน 10 หลุม และพบว่าบริเวณไหล่ทวีปของกัมพูชามีปริมาณก๊าซธรรมชาติกว่า 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันกว่า 200 ล้านบาร์เรล ขณะที่บริเวณไหล่ทวีปฝั่งไทยก็มีการสำรวจและขุดเจาะพบว่ามีปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมันกว่า 7 แสนล้านบาร์เรล

"การขุดเจาะสำรวจแหล่งพลังงานใต้ทะเลทั้งของไทยและกัมพูชาบริเวณใกล้เคียงกับแอ่งพลังงานที่อยู่ใจกลางพื้นที่ทับซ้อน ที่ถือว่ามีอยู่ในปริมาณมากซึ่งพูดง่ายๆว่านี่เป็นเพียงชายขอบของแอ่งพลังงาน ซึ่งหากมีการสำรวจพื้นที่ทับซ้อนใต้ทะเลก็ประมาณการได้ว่าจะมีพลังงานมหาศาลอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างก็ให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก”

สอดคล้องกับข้อมูลรายงานของบริษัทเชฟรอนที่ทำไว้เมื่อปี 2548 ว่า ได้มีการค้นพบบ่อน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตรทางตอนใต้ของกัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตร ที่คาดว่าจะมีน้ำมันสำรองถึง 700 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 3-5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ธนาคารโลกประเมินว่าแหล่งพลังงานในกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ไหล่ทวีป ขณะที่เขตพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา นั้นลักษณะทางธรณีวิทยาที่ชี้ว่าเป็นแอ่งกระทะที่มีการประเมินว่าคุณภาพของทรัพยากรใต้ทะเลมีคุณภาพระดับดีหรือใกล้เคียงกับแหล่งพลังงานของประเทศมาเลเซียเนื่องจากการทับถมในยุคเดียวกันนั่นเอง

แต่การที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงนั้น จำเป็นต้องสำรวจอย่างละเอียดอีกครั้งว่าพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่ปริมาณเท่าใด จำเป็นจะต้องมีการขุดเจาะขึ้นมาก่อนจึงจะประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้ แต่ขณะนี้แม้ว่าทั้งรัฐบาลไทย-กัมพูชาจะมีการให้สัมปทานบริษัทต่างๆ เพื่อทำการสำรวจแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครที่สามารถขุดเจาะน้ำมันขึ้นมาได้จริง เนื่องจากยังติดปัญหาข้อขัดแย้งพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา

ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในพื้นที่ทางทะเลของกัมพูชา บริษัท เชฟรอน ได้รับสัมปทานอนุญาตขุดเจาะ และยังมีบริษัทจากไทยคือบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (PTTEPI) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท. ได้ร่วมทุน 30% กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท Resourceful Petroleum Ltd. และ SPC Cambodia Ltd. อีก 10% เป็นของ CE Cambodia B Ltd. ทั้งนี้ ปตท.สผ.อ.ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ นอกชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวไทย แต่ยังมีพื้นที่แหล่งนี้ที่กัมพูชาเรียกว่า “บล็อก B” และ ปตท.สผ. ตั้งรหัสว่าโครงการจี 9/43 มีการพบเบื้องต้นว่ามีน้ำมันและก๊าซจำนวนมาก แต่ในหนังสือรายงานประจำปี 2550 ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา และกำลังแก้ไขปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตทางทะเล หรือเป็นหนึ่งในพื้นทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาอีกพื้นที่หนึ่ง

อย่างไรก็ตามเรื่องของการให้สัมปทานบริษัทต่างๆ ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าคนในแวดวงพลังงานรู้กันดีว่า ผลประโยชน์ด้านพลังงานกับภาคการเมืองของไทยนั้นมีสัมพันธ์อันแนบแน่น ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะได้ประโยชน์จากการให้สัมปทาน และสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นยุคสมัยที่ได้ชื่อว่ามีการแลกผลประโยชน์ด้านสัมปทานมากที่สุดด้วย

---------------------------------------
โห อาจารย์... ขอบพระคุณมากครับ แต่ว่า ใครจะไปจำได้เนี่ยยยยยยยยย
---------------------------------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

News: ผลการประชุมร่วม รป.ม. 3 ห้อง 1 และ ห้อง 2

เรียน เพื่อนๆ รป.ม. 3 ห้อง 1
ขอเรียนสรุปผลการประชุมกรรมการ ห้อง 1 และ ห้อง 2 เมื่อ 18 ก.ย. 2553 ดังนี้
1. งานไหว้ครู 2 ต.ค. 2553
2. หนังสือรุ่น
3. เสื้อยึด (T-Shirt) รป.ม.
4. กิจกรรมกลุ่ม
5. งานวิชาการ
---------------------------------
1. งานไหว้ครู วันที่ 2 ต.ค. 2553 มีกำหนดการดำเนินงาน ดังนี้
1) 06.30 น. ตัวแทน พร้อมกันที่หน้าลานพ่อขุนฯ
2) 08.15 น. เข้าห้องประชุม และเริ่มพิธีการไหว้ครู
3) ในช่วงเย็นวันพุธที่ 22 ก.ย. 2553 อาจารย์บุญเกียรติฯ ได้นัดหารือตัวแทนห้อง 1 และ 2 เวลา 18.30 น.
ที่ชั้นล่าง หน้าลิฟท์ อาคารสวรรคโลก (ที่เราเรียน) ห้องเรามอบคุณณรงค์ (ประชาสัมพันธ์) เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม
4) วันที่ 29 ก.ย. 2553 อาจารย์บุญเกียรติฯ นัดตัวแทนถือพาน ที่ชั้นล่าง หน้าลิฟท์ อาคารสวรรคโลก เพื่อซ้อมฯ
5) มีค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่าย ดังนี้
* ค่าพาน 1000 บาท
* ค่าของใส่บาตร 1,600 บาท (40 ชุด)
* รวมเป็นเงิน 2,600 บาท ให้เฉลี่ยกันจ่าย ห้องละ 1,300 บาท
* ค่าพวงมาลัย 24 พวง (แต่ละห้องจัดหามาเอง)

2. หนังสือรุ่น
เนื่องจากตัวแทนห้อง 2 ได้แจ้งว่า ห้อง 2 จะจัดทำหนังสือรุ่น รป.ม. 3 ซึ่งได้ออกแบบไว้แล้ว (จะนำเข้าหารือในห้อง เพื่อขอ มติ)

3. เสื้อยืด รป.ม.
เสื้อยึดนี้ จะเป็นคนละตัวกันกับที่ทางโครงการจะจัดทำให้ ซึ่งห้อง 2 เสนอว่า ห้อง 1 สนใจสั่งทำหรือไม่ จะได้ใส่มาเรียนพร้อมๆ กัน
ราคาตัวละ 200 บาท มีตราสัญลักษณ์ รป.ม. ที่หน้าอก และ มีคำว่า รป.ม.3 ที่ขอบแขนเสื้อ (จะนำเข้าหารือในห้อง เพื่อขอ มติ หากเห็นชอบ อาจใช้เงินจากกองกลาง)

4. กิจกรรมกลุ่ม
ตัวแทนห้อง 1 ได้เสนอไว้ 3 กิจกรรม ได้แก่
1) แจกของให้เด็กพิการซ้ำซ้อน ที่รามอินทรา กม.5 (ต้องจองคิว)
2) ลงนามถวายพระพร ที่ศิริราช
3) ทำบุญผ้าป่า/อื่นๆ ที่วัด
(จะนำเข้าหารือในห้อง เพื่อขอ มติ)

5. งานวิชาการ
ที่ประชุมเสนอให้ฝ่ายวิชาการคณะกรรมการทั้ง 2 ห้อง พบปะกันหลังเลิกเรียนทุกเย็นวันเสาร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านวิชาการ ทั้งแนวการตอบ Quiz ในห้อง และแนวสอบประเมินผล เนื่องจากเรียนสลับวิชากัน

เรื่องอื่นๆ จะแจ้งให้ทราบในโอกาส ต่อๆ ไป
-------------------------------------------------------------------
ต่าย ฝ่ายเลขานุการ ห้อง 1 รป.ม. 3 หัวหมาก
0-2283-3166
081-403-6208
mpa.ru3@gmail.com

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

PA603: แนวสอบประเมินผล

ข้อมูลแนวการสอบประเมินผล จาก เพื่อนๆ กรรมการ ร.ปม. 3 ห้อง 2
---------------------------------------------
1. อ.เจษฎาฯ
--------------------------------------
กรณีคำถามว่า...
การบริหารราชการสมัยใหม่ให้สัมฤทธิ์ผล ต้องนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารราชการ เห็นด้วยหรือไม่ เพราะอะไร จงอธิบายและยกตัวอย่างให้ชัดเจน

แนวการตอบ อธิบายหลัก Good Governace หรือ HEADICE แล้วยกตัวอย่างงานสองคล้องกับหลักการ ที่หนวยงานดำเนินการ

กรณีคำถามเกี่ยวกับระบบราชการไทย

แนวการตอบ

1. ระบบราชการไทยเป็นอย่างไร
แบบย่อๆ ละกันนะ

ในสมัยก่อนระบบราชการของไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ ( Patronage System) ซึ่ง David E. Hussey กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ Corporate Planning; Theory and Practice หน้า 124 ว่า ระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นในประเทศจีนโบราณ มีวิธีปฏิบัติกัน 3 แบบ คือ

1. สืบสายโลหิตจากบิดาถึงบุตร
2. แลกเปลี่ยนสิ่งของแลกตำแหน่ง
3. สนับสนุนผู้รับใช้ใกล้ชิดให้ได้ตำแหน่ง

โดยที่ไทยได้มีความสัมพันธ์กับจีนมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย กล่าวคือ ในป พ.ศ. 1825 กุบไลข่าน จักรพรรดิของจีนได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระองค์เองก็ได้เสด็จประพาสเมืองจีนถึง 2 ครั้ง คือใน ปี พ.ศ. 1837 และ พ.ศ. 1843 จึงน่าจะได้รับวัฒนธรรมระบบราชการมาจากจีน เพราะมีรูปแบบแห่งการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรงศรีอยุธยา (ตอนต้น) ได้ทรงปรับปรุงการปกครองเป็นแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ก็ได้ใช้ระบบอุปถัมภ์ในราชการมาโดยตลอดเช่นเดียวกัน และระบบนี้ได้หยั่งรากลึกลงในสังคมไทยจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้ทรงวางรากฐานการเข้ารับราชการตามระบบคุณธรรมคือมีการสอบแข่งขันตามหลักสูตรที่กำหนดไว้

ระบบอุปถัมภ์ ไม่มีระเบียบหรือหลักเกณฑ์ที่แน่นอน จะรับใครเข้าทำงานถือเอาความใกล้ชิด หรือพรรคพวกเป็นหลัก จึงมีชื่อเรียกระบบนี้อีกอย่างหนึ่งว่า “ระบบพรรคพวก” ซึ่งเป็นผลให้การบริหารราชการไม่มีประสิทธิภาพ เพราะว่าการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการคำนึงถึงความเป็นพรรคพวกเป็นสำคัญ มิได้คำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคคล ส่วนราชการต่างๆ จึงเต็มไปด้วยข้าราชการที่ไม่มีความรู้ความสามารถ เพื่อแก้ปัญหานี้จึงได้มีการนำ “ระบบคุณธรรม” (Merit System) มาใช้

ระบบคุณธรรม จึงเข้ามามีบทบาทในการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ เพราะระบบนี้ถือหลักความเสมอภาคแห่งโอกาส หลักความสามารถ หลักความมั่นคง และหลักความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ระบบคุณธรรมยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ส่วนแบบยาวๆ ก็เปิดตามหนังสือ อ.เจษฎาฯ ว่ากันเองนะ

2. ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนามีอย่างไรบ้าง
1. ปัญหาด้านนโยบาย
1.1 ปัญหาด้านสมรรถนะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
1.2 ปัญหาด้านการควบคุม
1.3 ปัญหาด้านความร่วมมือและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
1.4 ปัญหาด้านอำนาจและความสัมพันธ์กับองค์การอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.5 ปัญหาด้านความสนับสนุนและความผูกพันขององค์การหรือบุคคลสำคัญในกระบวนการของการนำนโยบายไปปฏิบัติ

2. ปัญหาด้านโครงสร้าง
2.1 รวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
2.2 กระทรวง กรม และกอง ไม่รู้หน้าที่หลักและรองของตน
2.3 มีระบบการประเมินผลแบบปิด
2.4 มีกฎหมายและกฎระเบียบที่ล้าหลัง
2.5 ระบบงบประมาณไม่ได้ผล

3. ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล
3.1 ระบบเล่นพรรคเล่นพวกเพื่อสร้างเครือข่ายเกื้อหนุนซึ่งกันและกันเกิดอย่างกว้างขวางในระบบราชการทำให้ไม่สามารถดำรงไว้ซึ่งหลักการของระบบคุณธรรมอย่างแท้จริง
3.2 ต่างคนต่างทำ ข้าราชการส่วนภูมิภาคดำเนินงานตามนโยบายของ กระทรวง ทบวง กรม เป็นหลักมากกว่าตอบสนองปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่
3.3 การแก้ไขปัญหา ขาดการประสานงานของเจ้าหน้าที่
3.4 ข้าราชการพึ่งพาการจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางเป็นหลัก ยากที่จะทำงานเชิงบูรณาการ
3.5 สายงานที่จำแนกไว้มีเป็นจำนวนมาก หลายสายงานมีลักษณะซับซ้อนใกล้เคียงกันมาก ยึดคุณวุฒิทางการศึกษาของข้าราชการจนทำให้ไม่คล่องตัวในการสรรหา โยกย้าย
3.6 มาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่กำหนดไว้มีขอบเขตกว้างหรือคลุมเครือ
3.7 มีมาตรฐานกลางเพียงมาตรฐานเดียว (Single Scale) ทำให้ไม่ยืดหยุ่นในการบริหารกำลังคนที่มีหลากหลาย
3.8 การกำหนดทางก้าวหน้าของแต่ละสายงานยังมีความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม
3.9 ขาดแคลนและสูญเสียบุคลากรในตำแหน่งทางวิชาการ
3.10 ค่าตอบแทนภาครัฐต่ำกว่าการจ้างงานในตลาด
3.11 การแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนขั้นเงินเดือนยังคงอิงระบบอาวุโส
3.12 ผู้บริหารระดับต่างๆ ไม่สามารถบริหารกำลังคนและกำกับดูแลผลงานของบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการในการทำงานขององค์กรในแต่ละระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.13 ระบบบริหารงานบุคคลไม่เอื้อต่อหลักประกันด้านคุณธรรม (Merit based system) ได้อย่างจริงจัง ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถจำนวนมากไม่ได้รับความเป็นธรรม

4. ปัญหาด้านเทคโนโลยี
4.1 ปัญหามาตรฐานและรูปแบบในการจัดสร้างและจัดเก็บข้อมูล
4.2 ปัญหาการกระจายของข้อมูล
4.3 ความซ้ำซ้อนและความเข้ากันได้ของข้อมูล
4.4 ความเป็นปัจจุบันของข้อมูล
4.5 ความถูกต้องและความแม่นยำของข้อมูล
4.6 การเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
4.7 ปัญหาการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมของบุคลากรภาครัฐ

5. ปัญหาทางกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน
5.1 รัฐตรากฎออกมาควบคุมการประกอบกิจการหรือการประกอบอาชีพของเอกชนโดยไม่จำเป็นและซ้ำซ้อนกันมาก
5.2 รัฐเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ดำเนินการทางเศรษฐกิจและสังคมมากเกินไป
5.3 ระบบราชการมีศูนย์รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากเกินไป มิได้มีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นเท่าที่ควร
5.4 โครงสร้างของการบริหารแบบดั้งเดิมไม่สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศได้
5.5 กฎหมายให้อำนาจดุลยพินิจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐมากเกินไปโดยปราศจากการควบคุมการใช้ดุลยพินิจที่ดี มีขั้นตอนตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับมากเกินไป
5.6 กฎหมายจำนวนมากล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
5.7 กระบวนการนิติบัญญัติล่าช้าทำให้ไม่สามารถแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัยหรือตรากฎหมายขึ้นใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมได้
5.8 นักกฎหมายของฝ่ายบริหารส่วนใหญ่ยังมีความสับสนในแนวความคิดทางกฎหมายและขาดความเชี่ยวชาญในกฎหมายที่ตนเองต้องรับผิดชอบ

3. แนวทางการพัฒนาควรกระทำอย่างไร
แนวทางการพัฒนาระบบราชการไทยโดย วรัชยา ศิริวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง http://www.polpacon7.ru.ac.th/download/article/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%2040.doc
----------------------------------------------------------------------------------------
เสนอแนวทางไว้ดังนี้

1. ด้านการบริหารจัดการ (Management)
1.1 รัฐบาลควรส่งเสริมการปฏิรูประบบราชการอย่างต่อเนื่องและจริงจังโดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
1.2 ควรนำการบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้อย่างกว้างขวาง
1.3 การนำแนวคิดและเทคนิคการบริหารจากภาคเอกชนมาประยุกต์ใช้ เช่น Balanced Scorecard, Re-engineering, Kaizen, Total quality Management ฯลฯ
1.4 การลดอำนาจหน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
1.5 นำหลักการบริหารจัดการที่ดี (Good Governance) มาใช้อย่างกว้างขวางและปฏิบัติอย่างจริงจัง
1.6 สนับสนุนให้มีการกำหนดกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติราชการ
1.7 ให้ความสำคัญกับการควบคุมตรวจสอบขององค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญมากขึ้น
1.8 ให้ความสำคัญกับประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงานของภาครัฐ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
1.9 กำหนดวาระของผู้ดำรงตำแหน่งการบริหาร
1.10 การพัฒนาองค์การเพื่อเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

2. ด้านการให้บริการประชาชน (Citizen Service)
2.1 คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
2.2 พัฒนาระบบการให้บริการสาธารณะโดยนำระบบ One Stop Service มาใช้อย่างกว้างขวาง
2.3 สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณะมากขึ้น
2.4 ให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและคนยากจนให้ทั่วถึงและเป็นธรรม
2.5 จัดตั้งหน่วยงานกลางอำนวยความสะดวก และให้บริการประชาชน
2.6 รับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำไปปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชน
2.7 ปรับปรุงสำนักงานให้ทันสมัย สะดวกในการติดต่อ
2.8 นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานและให้บริการ

3. ด้านพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการ (Civil Servants)
3.1 ใฝ่รู้ ตื่นตัวในการศึกษาหาความรู้อย่างเสมอ (Alert) โดยเฉพาะความรู้ในด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3.2 สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-Confidence)
3.3 ยืนหยัดในความถูกต้อง (What’s Right)
3.4 คิดใหญ่ (Big Thinking) และทำให้ได้
3.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Initiatives) ข้าราชการยุคใหม่จะต้องกล้าคิดกล้าทำ กล้าวิพากษ์ และสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการทำงาน
3.6 จะต้องทำงานเชิงรุก (Proactive)
3.7 ปรับปรุงการทำงานอยู่เสมอ (Continuous Improvement)

บทสรุป
กระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิรูประบบราชการที่ได้นำเสนอดังกล่าว เป็นแนวทางหนึ่งในการนำไปพัฒนาระบบราชการให้ก้าวไปสู่การเป็นราชการยุคใหม่ และพัฒนาไปสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ต่อไป ทั้งนี้การปฏิรูประบบราชการให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนในสังคม นับตั้งแต่ผู้บริหารระดับประเทศ ผู้บริหารระดับสูง นักวิชาการ ข้าราชการ สื่อมวลชน ภาคเอกชน และประชาชน ที่จะต้องช่วยกันปฏิรูปให้สำเร็จ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการปฏิรูปภาครัฐที่ว่า “เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีความสุข สังคมไทยมีเสถียรภาพ ชาติไทยมีเกียรติภูมิ ได้รับความเชื่อถือ และมีความสามารถสูงในการแข่งขันในเวทีโลก”

4. ข้อเสนอแนะ
ก็ให้ทำตามแนวทางการพัฒนาข้างต้น (เหอๆ จริงๆ คือยังคิดไม่ออก)

ใครจำได้ทั้งหมดนี้ ก็เอา A ไปเลย เพราะถือว่าขั้นเทพแล้ว
--------------------------------------
2. รศ.ดร. มนตรีฯ

กรณีที่ถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้อ่านที่นี่
http://mparu3hm.blogspot.com/2010/09/pa603_21.html

ตัวอย่างคำถาม
ประชาชนเป็นอย่างไร รัฐบาลก็เป็นอย่างนั้น หากพิจารณาพฤติกรรมของพรรคการเมืองและนักการเมือง รวมถึงรัฐบาลที่ผ่านมาจนถึงรัฐบาลปัจจุบัน มีประเด็นน่าสังเกตุอะไรบ้าง ขอให้วิเคราะห์ให้ชัดเจน และเสนอแนวทางปรับปรุงให้การเมืองไทยมีคุณภาพกว่าที่เป็นอยู่

แนวการตอบ ตอบตามหลักทฤษฎี หรือหลัการตามบทเรียน เช่น
1) พฤติกรรมพรรคการเมือง (อธิบายในแต่ละข้อย่อยๆ ต่อไปนี้ ว่าเป็นอย่างไร)
(ก) ไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง... (ข) หาคะแนนเสียงไม่มีสิ้นสุด... (ค) ซื้อสิทธิซื้อเสียงในการเลือกตั้ง...
2) พฤติกรรมนักการเมือง (อธิบายในแต่ละข้อย่อยๆ ต่อไปนี้ ว่าเป็นอย่างไร)
(ก) หาผลประโยชน์ทางการเมือง... (ข) ไม่มีอุดมการณ์ทางการเมือง... (ค) ชอบเล่นเกมส์ต่อรองทางการเมือง...
3) พฤติกรรมของรัฐบาลที่ผ่านมา (อธิบายในแต่ละข้อย่อยๆ ต่อไปนี้ ว่าเป็นอย่างไร)
(ก) ใช้อำนาจทางการบริหารประเทศเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตนเองและกลุ่มพวกพ้องที่ส่อไปในทางทุจริตคอรัปชั่น...
(ข) ใช้อำนาจทางการบริหารเข้าไปก้าวก่ายองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบพฤติกรรมการบริหารของรัฐบาลและการเข้าไปแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐบาล ....
4) พฤติกรรมของรัฐบาลปัจจุบัน
(ก) เป็นรัฐบาลที่บริหารประเทศโดยใช้วิธีต่อรองทางการเมืองระหว่างพรรคแกนนำและพรรคร่วมรัฐบาลกันเอง เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เพราะเป็นรัฐบาลแบบผสม ไม่มีเอกภาพในการบริหารและการตัดสินใจ.....
(ข) รัฐบาลใช้วาทะกรรมทางการเมือง มากกว่าทำงานบริหารประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน จนทำให้เกิดความแตกแยกในตัวนักการเมืองเองหรือประชาชนตามมา

สรุป
1) คุณภาพของประชาชน จะเห็นได้ว่า คุณภาพของชาติมาจากคุณภาพของประชาชนในประเทศและคุณภาพทางการศึกษา
2) ความคิดความเชื่อของประชาชนในชาติ ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะระดับล่าง(รากหญ้า) คิดว่าการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นนำ หรือพรรคการเมือง ไม่เกี่ยวกับประชาชน(ตนเอง) การเลือกตั้งเป็นเพียงหน้าที่ เมื่อได้ผู้แทนแล้วก็เป็นเรื่องของผู้แทน โดยไม่สนใจจะติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้แทน หรือคิดเพียงว่า จะยุบสภาพ จะเอาออก หรือจะปฏิวัติเมืองไหร่
3) ค่านิยม วัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชน ชอบคนมีเงิน เชิดชูคนมีเงิน เงินไม่มา กาไม่เป็น โดยไม่สนใจว่าเงินที่ได้นั้นมีที่มาอย่างไร

จะเห็นว่า ประชาชนขาดความสนใจ ขาดความตื่นตัว และขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเมือง ถึงจะมีส่วนร่วม ก็เป็นแบบขาดเห็นผลเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง การมีส่วนร่วมก็ถูกครอบงำหรือปลุกระดมทางความคิดมากกว่าเต็มใจหรือสมัครใจโดยแท้จริง จากการวิเคราะห์ดังกล่าว ชั้ให้เห็นว่า คำกล่าวที่ว่า ประชาชนเป็นอย่างไร รัฐบาลก็เป็นอย่างนั้น ยังสามารถใช้ได้กับสังคมไทยในปัจจุบัน

ส่วนแนวทางการปรับปรุงให้การเมืองไทยมีคุณภาพกว่าที่เป็นอยู่
1. การสร้างหลักประกันทางการเมือง โดยพรรคการเมืองและนักการเมืองต้องสร้างหลักประกันทางการเมือง เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและวางใจได้ว่า ผู้แทนที่เขาเลือกเข้าไปนั้น จะใช้อำนาจทางการบริหารเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศและประชาชน บนหลักแห่งความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และเป็นไปด้วยควาวซื้อสัตย์สุจริต และด้วยความมีสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน
2. พรรคการเมืองและนักการเมือง สามารถนำข้อเรียกร้องของประชาชนจากภาคส่วนต่างๆ เข้าไปสู่ระบบการเมือง และกลั่นกรองออกมาเป้นผลสำเร็จในรูปของนโยบาย มาตรการ และแนวทางการจัดการบริหารเพื่อสาธารณะ ให้กระจายไปเป็นโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างทั่วถึง เพียงพอ และเท่าเทียมกัน เป็นพื้นฐานของความยุติธรรม สอดคล้องกับปรัชญาและอุดมการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง และเพื่อความอยู่รอดของรัฐ
3. การมีส่วนร่วมทงการเมือง ต้องสร้างแนวคิดให้กับประชาชนในเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่เฉพาะสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งจนลืมมองข้ามการมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะอื่นด้วยหัวใจสำคัญคือ อำนาจทางการเมืองของประชาชน ไม่ใช่เป้นอำนาจของรัฐบาล หรือพรรคการเมือง หรือนักการเมืองคนใดคนหนึ่ง

ดังนั้น ประชาชนต้องแสดงบทบาทในการควบคุม ติดตาม กำกับและตรวจสอบระบบการเมืองอยู่เสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าการเมืองไทย จะพัฒนาไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น
(เป็นเพียงตัวอย่างนะ ต้องอ่าน/เขียนเพิ่มเติมกันเอง)
--------------------------------------
3. ผศ.ดร.กิตติฯ
--------------------------------------
เหมือนกับที่ทำ Quiz ในห้อง ได้แก่
1. ตัวแบบการเมืองในปัจจุบันเป็นอย่างไร เป็นพหุนิยมหรือไม่
2. คนไทยรักสงบ ประณีประนอมจริงหรือไม่ จะทำอย่างไรให้คนไทยประณีประนอมกัน
3. จะพัฒนาการเมืองไทยอย่างไร ทั้งส่วนของ "ระบบ" และ "วัฒนธรรม"
--------------------------------------------------------------------------------------------
แนวตอบ
อาจารย์เคยเฉลยในห้อง ว่า เป็นภาคี-รัฐสังคม ส่วนแบบ อำนาจนิยม และเสรีนิยม ให้เลือกเอง
เรื่องนี้ เป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของแต่ละคน แต่ขอแนะนำให้เลือกเพียงแบบเดียว

ตัวอย่างการตอบ ข้อ 1.ตัวแบบการเมืองไทย
1. แบบรัฐราชการ ครอบงำโดยทหารและราชการ ระบบราชการปราศจากการควบคุมหรือกำหนดทิศทางโดยพลังนอกระบบราชการ และมีการแย่งชิงงบประมาณ

2. แบบพหุนิยม สมาชิกในสังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยมีการเจรจาอย่างสันติ ประชาธิปไตยเบ่งบานมากขึั้น แต่ก็แบ่งขั้ว แบ่งฝัก แบ่งฝ่าย ก่อให้เกิดความขัดแย้งทั้งในครอบครัว ญาติมิตร ชุมชน สังคม และประชาคม

การเมืองไทยในปัจจุบัน อาจเป็นได้ทั้งแบบรัฐราชการ และพหุนิยม เนื่องจากการรัฐประหารในปี 2549 มีการยึดอำนาจของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย (ทักษิณ) เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งการบริหารโดยมี รธน.2550 มีการยุบพรรคไทยรักไทย และพรรคอื่นๆ จนไม่สามารถดำรงอยู่ได้ คงเหลือเพียงพรรคเพื่อไทย (ไทยรักไทยเดิม) ที่เป็นผลจากการยุบพรรค เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล เป็นรัฐบาลประชาธิปัตต์ เกิดกระแสการเรียกร้องสิทธิต่างๆ ของประชาชน มีการแบ่งขั้วอำนาจ มีการชุมนุมของประชาชน มีการลดบทบาทนักการเมืองใน รธน.2550 มีการรวมศูนย์อำนาจต่างๆ ไว้ในส่วนกลาง มีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นลดน้อยลง มีการต่อรองทางการเมืองของนักการเมือง มีการเรียกร้องต่างๆ เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งเป็นการขัดแยังที่ต่างฝ่ายไม่ยอมเจรจากัน เพียงมุ่งหวังการเอาชนะ มีกระบวนการทั้งภายในและภายนอก ใช้อำนาจทั้งทางการเมืองโดยตรงและโดยอ้อมเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากประเทศชาติ ดังนั้น ประเทศไทยจึงเป็นแบบผสมผสานระหว่างรัฐราชการและพหุนิยม

3. แบบภาคีรัฐ-สังคม คือ ความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจการเมืองไทยในรูปแบนใหม่ที่ให้ความสำคัญระหว่างรัฐบาลกับภาคธุรกิจ ในเรื่องของการริเริ่ม ปรับเปลี่ยน หรือขัดขวางนโยบายทางเศรษฐกิจ หรือมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล รัฐบาลไม่สามารถควบคุมธุรกิจด้วยตัวของรัฐเพียงอย่างเดียวแบบอามาตยาธิปไตย ตัวอย่างเช่นประเทศไทยได้ก้าวพ้นจุดนั้นมาแล้ว โดยกลุ่มภาคีทางเศรษฐกิจ โดยระบบภาคีธุรกิจจะใช้หลักการของความอิสระของกลุ่มเข้าสัมพันธ์กับรัฐ และให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มต่างๆ อาจมีการตั้งองค์กรต่างๆ เช่น คณะกรรมการร่วมรัฐ-เอกชน สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า เป็นต้น

ภาคีรัฐ-สังคม แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1) ภาคีรัฐ-สังคมแบบเสรี หรือแบบที่มีภาคสังคมเป็นฝ่ายนำ (Liberal Corporatism) มีลักษณะเด่นอยู่ที่ความอิสระ ความเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสูงของกลุ่มต่างๆ ภาคเอกชนมีบทบาทหลักในการจัดตั้งและดำเนินงานในกลุ่มที่เป็นตัวแทนของเขา และมีบทบาทอยู่ในระบบการไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มกับรัฐ ภาคีรัฐ-สังคมแบบเสรีมักพบในประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้ว

2) ภาคีรัฐ-สังคมแบบอำนาจนิยม หรือแบบที่มีรัฐเป็นฝ่ายนำ (Authoritarian Corporatism) มีลักษณะสำคัญอยู่ที่กลุ่มธุรกิจยังต้องพึ่งพิงหรือขึ้นต่อรัฐ หรือมีหน่วยงานของรัฐอุดหนุน หรือให้ความสนับสนุน หรือควบคุมอยู่ ส่วนใหญ่เป็นองค์กรส่งเสริมของรัฐ ภาคีรัฐ-สังบคมแบบอำนาจนิยมมักพบในประเทศตะวันออกที่ยังไม่พัฒนาหรือประเทศโลกที่ 3

จากการแบ่งแยกเป็น 2 ประเภทดังกล่าว จึงเกิดคำถาม 2 ข้อที่ว่า
1) ไทย อยู่ในแบบไหน
2) ภาคีรัฐ-สังคม ต่างกับความคิดแบบพหุนิยมอย่างไร

แนวตอบ
1. ไทย แม้ว่าจะเป็นประเทศในโลกที่ 3 แต่ไทยกลับมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการเมืองแบบภาคีรัฐ-สังคมแบบเสรี เพราะกลุ่มทางธุรกิจมีอำนาจเหนือกว่าและสามรถควบคุมรัฐได้ เป็นกรณีที่น่าศึกษาอย่างยิ่งสำหรับนักวิชาการ แต่สำหรับชาวบ้าน(ตาดำๆ) คงกระจ่างในเรื่องนี้อยู่แล้วว่า ภาคธุรกิจหรือเงิน มีอำนาจเหนือรัฐมาเป็นเวลานานแล้ววววว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 10 ปี ล่าสุดเงินหรือทุนยิ่งมีความสำคัญยิ่งกว่ารัฐด้วยซ้ำไป

2. ภาคีรัฐ-สังคม ต่างกับความคิดแบบพหุนิยม ตรงที่ความคิดแบบพหุนิยมคิดว่า กลุ่มผลประโยชน์จะจัดตั้งกันอย่างสมัครใจ ไม่จำกัดจำนวนและประเภท กลุ่มเหล่านี้แข่งขันกันเพื่อให้ได้นโยบายหรือมาตรการทางกฏหมายตามที่ตนต้องการ โดยรัฐไม่เข้ามาแทรกแซงหรือรับรองสนับสนุนกลุ่มใดเป็นพิเศษ หรือภาครัฐไม่มีผลประโยชน์และเจตนารมณ์ที่เป็นของตนเอง ซึ่งแตกต่างกับภาคีรัฐ-สังคม ที่จะมองตรงความสัมพันธ์ แม้จะยอมรับว่ากลุ่มผลประโยชน์มีอิทธิพลต่อนโยบายและมาตรการต่างๆ แต่สำคัญตรงที่รัฐยังอาจกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับภาคสังคม และจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่งกลุ่มต่างๆ ในภาคสังคม โดยกลุ่มธุรกิจมิได้แค่สนับสนุนนโยบาย แต่ยังมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ

ตัวอย่างการตอบ ข้อ 2. คนไทยรักสงบ?
โดยหลักความเป็นจริงแล้ว พื้นฐานของคนไทยเป็นคนที่มีจิตใจดี รักสงบ มีความประนีประนอมสูง ในปัจจุบันกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีสูง การเรียกร้องสิทธิส่วนรวมมีค่อนข้างสูง เกิดปัญหาการแตกแยกทางสังคม เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เกิดปัญหาการเรียกร้อง สร้างข้อแม้ต่างๆ เกิดขึ้นในสังคมไทย ดังนั้น วิธีการที่จะทำให้คนไทยกลับมาประนีประนอมกันอีกครั้ง จะต้องเริ่มจากตัวนักการเมือง ชนชั้นนำของประเทส โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลักดัน หรือการพัฒนาทางการเมือง ชีวิตทางสังคม เศรษฐกิจ ให้เกิดความเข้มแข็ง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การยอมรับในเสียงของประชาชน การสร้างความสมานฉันท์ แนวคิดในการรักชาติ ซึ่งอาจจะทำให้ประชาชนคนไทยหันมารักสงบ และเกิดการประนีประนอมของคนในชาติได้

ตัวอย่างการตอบ ข้อ 3. จะพัฒนาการเมืองไทย?
แนวคิดการพัฒนา ได้แก่
1) พัฒนาโครงสร้างทางการเมือง ได้แก่ (1) การลดอำนาจของนักการเมืองลงจากเดิมที่ รธน.2540 ให้นักการเมืองมีอำนาจมาก ต่อมา รธน.2550 ได้ลดอำนาจนักการเมืองลง และ (2) ปรับโครงสร้างระบบราชการ โดยลดขนาดและยุบเลิกหน่วยงานที่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน
2) เสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองโดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชนกับนักการเมืองและมีการบูรณาการทุกภาคส่วน
3) การกระจายอำนาจทางการเมือง - ตามแนวคิดของ รธน.2540 ท้องถิ่นมีอำนาจตัดสินใจ แต่อยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐ และมีการกระจายอำนาจทางการเมืองลงสู่ท้องถิ่น
4) ธรรมรัฐ สร้างทางเลือกและระบบที่ดี (สังคมดี รัฐบาลดี มีการจัดการที่ดี) โดยมีการนำหลักแนวคิดเรื่องธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้

การพัฒนาการเมืองไทยในด้านระบบ
การจัดการในด้านระเบียบบริหารราชการไทย การสร้างความเข้มแข็งของระบบราชการไทย รวมไปถึง รธน. โดยไม่มุ่งเน้นเฉพาะส่วน กล่าวคือ การพัฒนาทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง รวมไปถึงระบบราชการ โดยทุกฝ่ายจะต้องอยู่ในหลักอำนาจอธิปไตย ประชาชนมีสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน การยอมรับกลไกของ รธน. การทำงานของรัฐบาลด้วยความรับผิดชอบ มีเหตุผลที่จะอธิบายได้ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบได้ เป็นต้น

การพัฒนาการเมืองไทยด้านวัฒนธรรม (การให้การศึกษา การให้ข้อมูลข่าวสาร และจริยธรรมของนักการเมือง)
การพัฒนาด้านวัฒนธรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมที่จะกำหนดตัวผู้ปกครอง การมีสิทธิเลือกตั้ง การถอดถอน การตัดสินใจ การวิพากษ์วิจารณ์คัดค้านหรือสนับสนุน การชุมชนเคลื่อนไหวทางการเมืองที่อยู่ในกรอบของกฏหมาย เป็นต้น รวมไปถึงพรรคการเมือง นักการเมือง ข้าราชการ นักปกครองต้องสร้างความเข้าใจในระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง การเคารพในกติกา การมีจริยธรรมของนักการเมือง การสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคม ความเสมอภาคของประชาชน ดังนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการเมืองไทย จำเป็นต้องเริ่มจากการศึกษาของประชาชน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน การศึกษาวิเคราะห์ปัญหา การเชื่อมโยงและประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างการเมืองภาคประชาชน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาการเมืองเป็นไปด้วยความเข้มแข็ง ทำให้ระบบการเมืองมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อการบริหารประเทศและประชาชนโดยรวม

--------------------------------------
4. อาจารย์อีกหนึ่งท่าน ของห้อง 2 คือ รศ.สุรพันธ์
ให้ทำเฉพาะในห้องตอนเรียน ไม่ออกข้อสอบ
โดยถามว่า "ให้อธิบาย การจัดระบบบริหารราชการแผ่นดินของไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี จนถึงปัจจุบันโดยสังเขป"

ส่วน ดร.สุขุมรัฎฐ์ฯ
คาดว่าน่าจะเป็น 3 เสาหลัก ระบบราชการไทย แต่ก็อย่าลืมอ่านระบบการเมืองด้วยนะ
นอกจากนั้นอย่าลืมอ่านการพัฒนาระบบราชการไทยได้ที่นี่
http://www.opdc.go.th/oldweb/Mission/File_download/22_12_47/reform.pdf
เพราะอาจเป็นคำถามของทั้ง อ.เจษฎา และ ดร.สุขุมรัฎฐฯ ก็เป็นได้

-----------------------------------------------------------
ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบนะครับ หากมีข้อมูลอื่นๆ จะนำลงให้บล็อกนี้ให้อีกนะ
-----------------------------------------------------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

PA603: HEADICE : หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 7 ประการ

PA603: หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล
สรุปบทเรียน จาก ดร.สุขุมรัฎฐ์ สาริบุตร
--------------------------------------------------
หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) 6 ประการ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (Rule of Law) เพื่อส่วนรวม สังคมยอมรับ และเต็มใจปฏิบัติ เป็นหลักที่ถือเป็นกฎ กติกาในสังคมที่ทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้อง มีระบบลงโทษที่เหมาะสม รวมทั้งมีการบังคับใช้ที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน จะช่วยควบคุมการใช้อำนาจของรัฐให้เป็นไปอย่างชอบธรรม พร้อมกับช่วยคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดโดยการใช้อำนาจรัฐ

2. หลักคุณธรรม (Ethic) สำหรับเจ้าหน้าที่และข้าราชการให้มีคุณธรรม ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นการพัฒนาให้บุคลากรของภาครัฐยึดมั่นในความถูกต้อง การส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นผู้ที่มีความซื่่อสัตย์ มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริต ทั้งนี้ เพราะระบบคุณค่าและค่านิยมต่างๆ ในระบบราชการจะเป็นปัจจัยกำหนดพฤติกรรมของข้าราชการ และชี้นำวิธีการให้บริการแก่ประชาชนด้วย

3. หลักความโปร่งใส (Transparency) โปร่งใส ตรวจสอบได้ การทำงานที่เปิดเผยและสามารถตรวจสอบได้ จะส่งผลให้การทุจริต คอรัปชั่นและความด้วยประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการลดลง และทำให้ข้าราชการมีความรับผิดชอบต่อการทำงานและผลของงาน มีการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องเป็นธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติโดยรวมมากขึ้น

4. หลักการมีส่วนร่วม (Public participacy) ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจ เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมจึงเป็นกระบวนการที่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ดังนั้น การมีส่วนร่วมจึงเป้นการสื่อสารสองทาง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฟังความเห็นซึ่งกันและกันระหว่างรัฐกับประชาชน ในขณะเดียวกันจะก่อให้เกิดกระบวนการติดตาม ตรวจสอบนโยบายและการดำเนินงานของรํบให้ดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

5. หลักความสำนึกรับผิดชอบ (Responsibility) เจ้าหน้าที่และข้าราชการต้องร่วมกันรับผิดชอบในงานที่ทำ เป็นกระบวนการทำงานที่จะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น ความสำนึกรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานจะต้องมีลักษณะสำคัญ 6 ประการ คือ การมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน การปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการพฤติกรรมที่ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดการรับผิดชอบ การทำงานอย่างไม่หยุดยั้ง การมีแผนสำรอง และการติดตามประเมินผลการทำงาน

6. หลักความคุ้มค่า (Effectiveness) การใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ คือ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และความีภูมิคุ้มกัร ทนต่อการเปลี่ยนแปลงภายในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า โดยยึดถือประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุดในการทำงาน

ซึ่งหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 เรื่องดังกล่าว จะนำไปสู่ความมุ่งหมายให้บรรลุเป้าหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (HEADICE) 7 ประการ ได้แก่

1. ปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน (Happiness you can drink) ซึ่งได้แก่ การบริหารราชการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและพยายามมุ่งให้เกิดผลกระทบในเชิงบวกต่อการพัฒนาชีวิตของประชาชน

2. ปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ (Archievement) ได้แก่ การบริหารเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ตรงตามวัถุประสงค์ที่วางไว้โดยมีการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ และการจัดทำข้อตกลงว่าด้วยผลงานในทุกระดับ

3. ปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (Efficiency) ได้แก่ การบริหารที่จะต้องพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้ากับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยสามารถวิเคราะหืความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของแผนงานหรือโครงการต่างๆ เทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ รวมทั้งจัดระบบการวางเป้าหมายการทำงาน และวัดผลงานของแต่ละบุคคลที่เชื่อมโยงกับระดับองค์การ

4. ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Decrease in steps) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น ได้แก่ การกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานและการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และจัดให้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ เพื่อให้การปฏิบัติงานเสร็จสิ้นที่จุดบริการใกล้ตัวกับประชาชน รวมทั้งการปฏิบัติงานในรูป one-stop service
5. ปรับปรุงงานให้ทันสมัยต่อสถานการที่เปลี่ยนแปลง (Improvement) เป็นการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์ ได้แก่ การทบทวนและปรับปรุงกระบวนการ และขั้นตอนการทำงานใหม่อยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นต้องทบทวนลำดับความสำคัญและความจำเป็นของแผนงานและโครงการทุกระยะ การยุบเลิกส่วนราชการที่ไม่จำเป็นและการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์อยู่เสมอ

6. อำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความความต้องการของประชาชน (Convenience & Responsiveness) ได้แก่ การปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นถึงความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการเป็นหลัก โดยมีการสำรวจความต้องการของประชาชน และความพึงพอใจของผู้รับบริการในหลากหลายวิธีและเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติราชการต่อไป

7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ (Evaluation) ได้แก่ การตรวจสอบและวัดผลการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดระบบการควบคุมตนเอง ซึ่งจะทำให้สามารถผลักดันการปฏิบัติงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--------------------------------------------------
สรุปโดยย่อๆ ก็ตามนั้น แต่เนื้อหาสรุปจากแหล่งอื่นๆ ก็ตามนี้
http://eservices.dpt.go.th/eservice_6/ejournal/28/28-09.pdf?journal_edition=28
และ
http://actboard.129jump.com/viewthread.php?tid=2033
--------------------------------------------------

การนำหลักการบริหารการจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาลมาใช้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย เพราะหลักธรรมาภิบาลก็คือ การบริหารที่สามารถตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม

การประยุกต์ใช้ธรรมาภิบาลในการบริหาร
การบริหารงานในรูปแบบของธรรมาภิบาลนั้น จะเน้นที่การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มั่นคง ไม่ล้มละลาย ไม่เสี่ยงต่อความเสียหาย พนักงานมีความมั่นใจในองค์การว่าสามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ในระยะยาว การนำธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารนั้น เพื่อให้องค์การมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากสังคม ได้แก่
1) ความรับผิดชอบตรวจสอบได้
ความรับผิดชอบ คือ บุคคล องค์การ และผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะเกี่ยวกับการกระทำ กิจกรรม หรือการตัดสินใจใดๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสาธารณะ ความรับผิดชอบที่กล่าวมา หมายถึง การเปิดผยข้อมูล การมีความยุติธรรม ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค และตรวจสอบได้ โปร่งใส และดำเนินการภายใต้กรอบของกฏหมาย
2) ความโปรงใส
ความโปร่งใน หมายถึง การตัดสินใจและการดำเนินการต่างๆ อยู่บนกฎ ระเบียบชัดเจน การดำเนินงานของรัฐบาลในด้านนโยบายต่างๆ นั้น สาธารณะชนสามารถรับทราบ และมีความมั่นใจได้ว่า การดำเนินงานของรัฐนั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของนโยบาย
3) การปราบปรามทุจริตและการประพฤติมิชอบ
การที่องค์การภาครัฐใช้อำนาจหน้าที่ หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในทางส่วนตัว เหล่านี้ถือเป็นการทุจริต และการประพฤติมิชอบทั้งต่อองค์การภาครัฐและองค์การในภาคเอกชน การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและการทำให้เกิดความโปร่งใส รวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามการฉ้อฉลและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
4) การสร้างการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจดำเนินนโยบาย มีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานของสถาบัน การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบและเรียกร้องในกรณีที่เกิดความสงสัยในกระบวนการดำเนินงานของรัฐได้เป็นอย่างดี
5) การมีกฎหมายที่เข้มแข็ง
ธรรมาภิบาลมีพื้นฐานการดำเนินการอยู่บนกรอบของกฏหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ มีการให้ความเสมอภาคเท่าเทียม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีกฏหมายที่เข้มแข็ง มีการระบุการลงโทษที่ชัดเจน และมีผลบังคับใช้ได้ จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครอง เพื่อป้องกันการละเมิดหรือฝ่าฝืน การมีระบบกฏหมายที่ดีจะส่งเสริมการปกครองตามหลักนิติธรรม
6) การตอบสนองที่ทันการ
ธรรมาภิบาล หมายถึง การให้การตอบสนองที่ทันการต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในเวลาที่ทันการ
7) ความเห็นชอบร่วมกัน
สังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ธรรมาภิบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานความต้องการที่แตกต่าง ให้อยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมและขององค์การเป็นหลัก
8) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลักธรรมาภิบาลนั้น ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า
9) ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง
หลักธรรมาภิบาลจะเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การ รู้สึกมีส่วนร่วมหรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์การ บุคคลสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลักที่จะช่วยสร้างความเติบโตให้กับหน่วยงาน

*** อย่าลืมสรุปส่งท้ายแบบประทับใจ ***
--------------------------------------------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

PA603 : ระบบการเมืองและระบบราชการไทย 2 และกำหนดการนำเสนอผลงาน อ.เจษฎา

มีลิงค์ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการไทยมาฝาก
ตามลิงค์นี้เลยครับ http://www.opdc.go.th/oldweb/Mission/File_download/22_12_47/reform.pdf

และ http://www.vcharkarn.com/vblog/37220/1

และอีกลิงค์ เกี่ยวกับสมรรถนะ http://www.dusit.ac.th/personnel/competency/Binder2.pdf
---------------------------------------------------------

กำหนดการนำเสนอผลงาน อ.เจษฎา สรณวิช
---------------------------------------------------------
1. ให้นำเสนผลงาน การนำระบบบูรณาการไปใช้ในหน่วยงานของท่าน สัมฤทธิ์ผลหรือไม่ มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไร ทั้งมีแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคอย่างไร
2. ให้เวลานักศึกษากลุ่มละไม่เกิน 10 นาที นำเสนอเป็น Power Point
3. นำเสนออาจารย์ในวันที่ 10 - 11 ก.ย. 2553
4. แบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 คน
---------------------------------------------------------
Tai

อ่านวิชาการ รป.ม. ทั้งหมด